รายชื่อธงในประเทศจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ธงในประเทศจีน)

หน้านี้คือรายการของธงต่างๆ ของประเทศจีน ที่เคยใช้ในอดีตและมีการใช้อยู่ในปัจจุบัน ทั้งในสาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง มาเก๊า และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

ธงชาติ[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง การใช้ คำอธิบาย
พ.ศ. 2492 - ธงชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน ธงพื้นสีแดง ที่มุมธงด้านคันธง มีดาว 5 ดวงสีเหลือง เป็นดาวดวงใหญ่ 1 ดวง ดาวดวงเล็ก 4 ดวง ธงนี้ใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และมาเก๊า
พ.ศ. 2471 - ธงชาติสาธารณรัฐจีน ธงพื้นสีแดง มีรูปสี่เหลี่ยมสีน้ำเงินที่มุมธงด้านคันธง ภายในช่องสีน้ำเงินมีดวงอาทิตย์สีขาว มีรัศมี 12 แฉก ธงนี้ใช้ในไต้หวันและดินแดนภายใต้อาณัติ

ธงเขตการปกครอง[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง การใช้ คำอธิบาย
ธันวาคม 2529 – ธันวาคม 2540 ธงเมืองหนานจิง[1]
ธันวาคม 2538 – ธงเมืองซู่โจว[2]
พฤษภาคม 2540 – มกราคม 2541 ธงเมืองฮาร์บิน[3] A white, five-petal flower surrounding a snowflake on a dark green field
มีนาคม 2549 – ธงเมืองไคเฟิง
มีนาคม 2552– ธงเมืองShangrao

เขตปกครองพิเศษ[แก้]

เขตปกครองพิเศษฮ่องกง[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง การใช้ คำอธิบาย
พ.ศ. 2413 - 2419 ธงอาณานิคมฮ่องกงของอังกฤษ ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีอักษรย่อ "HK" ภายใต้มงกุฎ
พ.ศ. 2419 - 2498 ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของอาณานิคมฮ่องกง (พ.ศ. 2419 - 2498)
พ.ศ. 2498 - 2502 ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของอาณานิคมฮ่องกง (พ.ศ. 2498 - 2502)

พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2540 ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร และ ธงเรือพลเรือนสหราชอาณาจักร มีตราแผ่นดินของอาณานิคมฮ่องกง (พ.ศ. 2502 - 2540)
พ.ศ. 2540 - ธงประจำเกาะฮ่องกง ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีรูปดอกชงโคห้ากลีบสีขาวบนพื้นธงสีแดง

เขตปกครองพิเศษมาเก๊า[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง การใช้ คำอธิบาย
พ.ศ. 22132373 ธงชาติสมัยพระเจ้าเปโตรที่ 2, ใช้ในอาณานิคม ใช้ในดินแดนมาเก๊า เนื่องจากไม่มีธงประจำอาณานิคมของตน.
พ.ศ. 2373 – 2453 ธงชาติราชอาณาจักรโปรตุเกส สมัยสมเด็จพระราชินีมารีอาที่ 2 ใช้ในอาณานิคม ธงสองสีแบ่งครึ่งตามแนวตั้ง ด้านติดคันธงเป็นพื้นสีฟ้า ด้านปลายธงสีขาว
พ.ศ. 2453 - 2542 ธงชาติโปรตุเกส ใช้ในอาณานิคม ธงชาติโปรตุเกสมีการเปลี่ยนแปลงแบบหลายครั้ง ภาพธงในที่นี้เป็นแบบธงชาติที่ใช้ใน พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นปีที่โปรตุเกสส่งมอบมาเก๊าคืนให้จีน
ธงอาณานิคมมาเก๊าโดยนิตินัย ธงนี้ใช้เป็นธงราชการของดินแดนมาเก๊าในอาณัติโปรตุเกส
ธงอาณานิคมมาเก๊าโดยพฤตินัย ธงนี้ใช้เป็นธงของดินแดนมาเก๊าในอาณัติโปรตุเกสในเวทีระหว่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการ และได้มีการใช้ในพิธีส่งมอบดินแดนมาเก๊าคืนประเทศจีน ใน พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2518 - 2542 ธงเขตเทศบาลนครมาเก๊า (Municipality of Macau) ในความปกครองของโปรตุเกส ธงพื้นสีฟ้า กลางมีตราประจำอาณานิคมมาเก๊า
พ.ศ. 2542 - ธงประจำเกาะมาเก๊า ธงพื้นสีเขียว กลางธงมีรูปดอกบัวอยู่เหนือสะพานและผืนน้ำ เบื้องบนรูปดังกล่าวเป็นรูปดาวห้าแฉก 5 ดวง เรียงกันเป็นแนวโค้ง

ธงราชการทหาร[แก้]

กองเรือเป่ย์หยาง[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง การใช้ คำอธิบาย
พ.ศ. 2431 - 2438 ธงประจำตำแหน่งผู้บัญชาการกองเรือเป่ย์หยาง
ธงรักษาการณ์ผู้บัญชาการกองเรือเป่ย์หยาง
ธงผู้บัญชาการจังหวัดประจำกองเรือเป่ย์หยาง
ธงนายพลทหารเรือกองเรือเป่ย์หยาง

กองทัพสมัยใหม่[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง การใช้ คำอธิบาย
กองทัพปลดปล่อยประชาชน
ค.ศ. 1948-ปัจจุบัน ธงประจำกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ธงพื้นสีแดง ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปดาวสีเหลือง และเส้นตรง 3 เส้น เรียงเป็นอักษรจีนคำว่า "8" และ"1" หมายถึง วันที่ 1 สิงหาคม (เดือน 8) อันเป็นวันก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
ค.ศ. 1992-ปัจจุบัน ธงประจำกองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ธงกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ตอนล่างเป็นแถบสีเขียว
ค.ศ. 1992-ปัจจุบัน ธงประจำกองทัพอากาศกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ธงกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ตอนล่างเป็นแถบสีฟ้า
ค.ศ. 1992-ปัจจุบัน ธงประจำกองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ธงกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ตอนล่างเป็นแถบสีน้ำเงิน 3 ริ้ว แถบสีขาว 2 ริ้ว หมายถึงท้องทะเล
ค.ศ. 2016-ปัจจุบัน ธงประจำหน่วยขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ ธงกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ตอนล่างเป็นแถบสีเหลือง หมายถึงเปลวไฟและควันขณะกำลังปล่อยขีปนาวุธ
ค.ศ. 2018-ปัจจุบัน ธงประจำตำรวจติดอาวุธปลดปล่อยประชาชนจีน ธงกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ตอนล่างเป็นแถบสีเขียวขี้ม้า 3 ริ้ว หมายถึง
กองทัพสาธารณรัฐจีน
ค.ศ. 1958-ปัจจุบัน ธงประจำกระทรวงกลาโหม ธงพื้นสีส้ม กลางธงมีตรากระทรวงกลาโหม
ค.ศ. 1934-ปัจจุบัน ธงประจำกองทัพบกสาธารณรัฐจีน
(กองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีนในอดีต)
ธงพื้นสี้น้ำเงินขอบสีแดง ภายในมีรูปพระอาทิตย์สีขาวมีรัศมี 12 แฉก
ค.ศ. 1928-ปัจจุบัน ธงฉานกองทัพเรือสาธารณรัฐจีน ใช้ธงอย่างเดียวกับธงพรรคก๊กมินตั๋ง
25 กรกฎาคม ค.ศ. 1960-ปัจจุบัน ธงประจำนาวิกโยธินสาธารณรัฐจีน ธงพื้นสีแดง กลางธงมีตรานาวิกโยธินไต้หวัน
ค.ศ. 1981-ปัจจุบัน ธงประจำกองทัพอากาศสาธารณรัฐจีน ธงพื้นสีฟ้า กลางธงมีตรากองทัพอากาศไต้หวัน
ค.ศ. 1952-2012 ธงประจำเหล่าทหารพลาธิการสาธารณรัฐจีน ธงสีเขียว กลางธงมีตราเหล่าทหารพลาธิการไต้หวัน
ค.ศ. 1986-ปัจจุบัน ธงประจำทหารสารวัตรสาธารณรัฐจีน ธงพื้นสีเขียว กลางธงมีตราทหารสารวัตรไต้หวัน
1 มีนาคม ค.ศ. 2002-ปัจจุบัน ธงประจำหน่วยบัญชาการกำลังสำรองสาธารณรัฐจีน ธงพื้นสีแดง กลางธงมีตรากองบัญชาการกำลังสำรองไต้หวัน

ธงอื่นๆ ที่ไม่ใช่ธงของรัฐบาล[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง การใช้ คำอธิบาย
พ.ศ. 2438 - ธงพรรคก๊กมินตั๋ง ธงพื้นสีน้ำเงิน มีภาพดวงอาทิตย์รัศมี 12 แฉกสีขาว เป็นสัญลักษณ์แทนความคิดเชิงก้าวหน้า
พ.ศ. 2464 - ธงพรรคคอมมิวนิสต์จีน ธงพื้นแดง มีตราค้อนเคียวไขว้ที่มุมธงด้านคันธง
พ.ศ. 2466 - ธงพรรคเยาวชนจีน ธงพื้นสีเหลือง มีแถบสีน้ำเงิน-ขาว-แดง พาดกลางธง
พ.ศ. 2515 – ธงพรรคแรงงาน
พ.ศ. 2529 - ธงพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DPP)
พ.ศ. 2500 - ธง Chushi Gangdruk

ธงในอดีต[แก้]

จักรวรรดิจีน[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง การใช้ คำอธิบาย
พ.ศ. 2405 - 2432 ธงชาติจีนสมัยราชวงศ์ชิง ธงสามเหลี่ยมสีเหลืองมีรูปมังกรห้าเล็บ (ไม่มีการกำหนดขนาดมาตรฐาน)
พ.ศ. 2433 - 2455 ใช้เป็นธงจักรพรรดิ์นาวีของกองเรือเป่ย์หยาง
?-? ธงประจำตำแหน่งจักรพรรดิ

รัฐบาลเป่ย์หยาง[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง การใช้ คำอธิบาย
10 มกราคม พ.ศ. 2455 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2471 ธงชาติสาธารณรัฐจีนยุคแรก ธงนี้ใช้อยู่ในเมืองเซี่ยงไฮ้ และดินแดนทางภาคตะวันออกของเฉียงเหนือของจีนจนถึง พ.ศ. 2471 แต่ละริ้วสีในธงมีความหมายถึง ชนชาติต่างๆ 5 ชนชาติใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์จีน โดยสีแดงหมายถึง ชาวฮั่น สีเหลืองหมายถึงชาวแมนจู สีน้ำเงินหมายถึงชาวมองโกล สีขาวหมายถึงชาวฮุยหุย (จีนมุสลิม) และ ชาวอุยกูร์ (Uyghurs) และ สีดำหมายถึงชาวทิเบต

พ.ศ. 2454 - 2471 ธงประจำกองทัพสาธารณรัฐจีนยุคแรก เดิมธงนี้เป็นธงในเหตุการณ์การลุกฮือหวูชาง (Wuchang uprising) เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2454 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติซินไฮ่ ต่อมาได้ใช้เป็นธงของกองทัพสาธารณรัฐจีนยุคแรก ตั้งแต่ พ.ศ. 2454 - 2471

ธันวาคม พ.ศ. 2458 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2459 ธงชาติจักรวรรดิจีนของหยวน ซื่อไข่ ธงนี้ดัดแปลงมาจากธงชาติสาธารณรัฐจีนยุคแรก มีความหมายว่า ชนชาติจีนฮั่น เป็นชนชาติที่มีอำนาจเหนือชนชาติจีนอื่นๆ ทั้งหมด
แผ่นดินใหญ่: พ.ศ. 2471 -  2492
ไต้หวัน: พ.ศ. 2488 -
ธงชาติสาธารณรัฐจีน ธงนี้ปัจจุบันใช้ในไต้หวันเท่านั้น ส่วนในสาธารณรัฐประชาชนจีนจะไม่มีการใช้ นอกจากการอ้างอิงในบริบททางประวัติศาสตร์
พ.ศ. 2475 - 2488 ธงชาติแมนจูกัว ธงพื้นสีเหลือง ที่มุมธงด้านคันธง เป็นแถบตามแนวนอนสีแดง-น้ำเงิน-ขาว-ดำ ธงนี้มีที่มาจากธงชาติสาธารณรัฐจีนเดิม โดยพื้นสีเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในธงนั้น หมายถึง ประเทศนี้เป็นประเทศที่ชาวแมนจูปกครอง

รัฐบาลคอมมิวนิสต์[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง การใช้ คำอธิบาย
พ.ศ. 2474 - 2477 ธงสาธารณรัฐเจียงซีโซเวียต (Jiangxi Soviet) ธงพื้นแดงมีรูปค้อนเคียวไขว้และดาวที่มุมธงด้านคันธง เบื้องล่างมีอักษรจีนเขียนว่า "คอมมิวนิสต์จีน" (Zhonggong, 中共) โดยอ่านจากขวาไปซ้าย
พ.ศ. 2474 - 2477 ธงสาธารณรัฐจีนโซเวียต ธงพื้นสีแดง กลางธงมีตราประจำสาธารณรัฐ.
พ.ศ. 2476 - 2477 ธงรัฐบาลปฏิวัติฟูเจียน ธงพื้นสีแดง ครึ่งล่างสีน้ำเงิน ตรงกลางธงมีดาวห้าแฉกสีเหลือง.

ธงกลุ่มการเมืองในอดีต[แก้]

ภาพธง ระยะเวลาที่ใช้ธง การใช้ คำอธิบาย
พ.ศ. 2395 - 2496 ธง อาณานิคมนานาชาติเซี่ยงไฮ้
?-พ.ศ. 2455 ธงชาติทิเบต ธงพื้นสีแดง กลางธงมีวงกลมสีเหลือง
พ.ศ. 2455 - 2493 ธงเขตปกครองตนเองทิเบต สัญลักษณ์ของทิเบต กำหนดขึ้นโดยองค์ทะไลลามะ ปัจจุบันใช้เป็นธงของรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่น และถือเป็นธงนอกกฎหมายในสาธารณรัฐประชาชนจีน
ถึงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2471 ธงกลุ่มขุนศึกเฟิงซี (Fengtian clique - จีน 奉系; พินอิน: Fèng Xì) ใช้ในยุคที่ประเทศจีนแตกแยก มีการตั้งตัวเป็นใหญ่โดยกลุ่มขุนศึกต่างๆ จนถึงยุคการรวมชาติจีน พ.ศ. 2471
พ.ศ. 2463 - 2483 ธงกลุ่มขุนศึกแซ่หม่า (Ma clique - จีนตัวเต็ม: 馬家軍; จีนย่อ: 马家军; พินอิน: Mǎ Jiājūn) ใช้ในยุคที่ประเทศจีนแตกแยก มีการตั้งตัวเป็นใหญ่โดยกลุ่มขุนศึกต่างๆ
พ.ศ. 2483 – 2486 ธงชาติสาธารณรัฐจีน-นานกิง. ธงแถบสามเหลี่ยมเหนือธงชาติสาธารณรัฐจีนมีคำขวัญว่า "สันติภาพ ต่อต้านคอมมิวนิสต์ สร้างชาติ" (和平反共建國, Hépíng fǎn'gòng jiàn guó).

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "市徽图案废止后著作权的归属". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-21. สืบค้นเมื่อ 2013-12-07.
  2. "蘇州市城鄉建設檔案館". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 2013-12-07.
  3. "哈尔滨市市旗市徽制作和使用管理暂行办法". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-03-21. สืบค้นเมื่อ 2013-12-07.