ธงศาสนาพุทธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ธงฉัพพรรณรังสี)

ธงศาสนาพุทธ
ชื่ออื่น ธงฉัพพรรณรังสี
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ 17 เมษายน 2428
ลักษณะ สีน้ำเงิน สีเหลือง สีแดง สีขาว สีส้ม ห้าสี
ออกแบบโดย เฮนรี สตีล โอลคอต

ธงศาสนาพุทธ ที่ใช้ทั่วไปเป็นสากลมีชื่อเรียกว่า ธงฉัพพรรณรังสี เริ่มปรากฏการใช้ตั้งแต่ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 หรือปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19

ลักษณะ[แก้]

คำว่า "ฉัพพรรณรังสี" อันเป็นชื่อของธง แปลว่ารัศมี 6 สี (มาจากคำสมาสในภาษาบาลี "ฉ" (หก) + "วณฺณ" (สี) + "รํสี" (รังสี, รัศมี) มีที่มาจากสีของรัศมีซึ่งกล่าวกันว่าแผ่ออกจากพระกายของพระพุทธเจ้า คือ

ผู้ออกแบบธงได้นำสีทั้งหกตามบรรยายข้างต้นมาดัดแปลงเป็นผืนธง โดยมีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งเป็นแถบเรียงเป็นแนวตั้งความกว้างเท่ากัน 6 แถบ เรียงลำดับแถบสีจากด้านซ้าย (ซึ่งเป็นด้านต้นของธง) ไปทางขวาดังนี้ แถบแรกสีน้ำเงิน แถบที่ 2 สีเหลือง แถบที่ 3 สีแดง แถบที่ 4 สีขาว แถบที่ 5 สีแสด ส่วนแถบสุดท้ายหรือแถบสีประภัสสร เป็นแถบสีที่เกิดจากการนำแถบสีทั้ง 5 สีแรกในตอนต้นมาเรียกลำดับใหม่ในแนวนอน

ความหมาย[แก้]

สีในธงฉัพพรรณรังสีแต่ละสีมีความหมายอื่นแฝงดังต่อไปนี้

สีนีละ: พระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันแผ่ไพศาลไปทั่วสกลจักรวาล
สีปีตะ: มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง คือ การหลีกเหลี่ยงความสุดโต่งทั้งปวง
สีโรหิตะ: การอำนวยพรให้ประสบความสำเร็จ สมบูรณ์พร้อมด้วยสติปัญญา คุณงามความดี ความเป็นผู้มีโชค และเกียรติยศทั้งปวง
สีโอทาตะ: ความบริสุทธิ์แห่งพระธรรม ซึ่งเป็นของที่ไม่จำกัดกาล (อกาลิโก) และนำชนไปสู่ความหลุดพ้น
สีมัญเชฏฐะ: พระปัญญาคุณแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
สีประภัสสร: ความจริงทั้งหมดในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ประวัติ[แก้]

ธงนี้ออกแบบโดยพุทธสมาคมโคลอมโบ เมื่อ พ.ศ. 2423 พันเอกเฮนรี เอส. โอลคอตต์ เป็นผู้แก้ไขให้เป็นแบบที่ใช้ในปัจจุบัน เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2428 ที่ประเทศศรีลังกา ต่อมาองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (World Fellowship of Buddhists - WFB) ได้ประกาศให้ธงนี้เป็นธงพุทธศาสนาสากลเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา

ธงแบบอื่นๆ[แก้]

โดยทั่วไปแล้ววัดในศาสนาพุทธทั้งสายเถรวาทและสายมหายานในประเทศต่างๆ นิยมแสดงธงฉัพพรรณรังสีตามแบบข้างต้นเป็นสัญลักษณ์ อย่างไรก็ตาม ในบางกลุ่มหรือบางสำนักเลือกใช้สีธงที่ต่างออกไปเพื่อเน้นแนวทางคำสอนแห่งสำนักของตนเอง

  • ชาวพุทธในประเทศญี่ปุ่นได้แทนแถบสีน้ำเงินด้วยสีเขียวและแทนแถบสีแสดด้วยสีม่วง สีทั้ง 5 สีในธงของพุทธศาสนิกชนญี่ปุ่นหมายถึงพระธยานิพุทธะในคติมหายานทั้ง 5 พระองค์ ส่วนนิกายโจโดชินชู (นิกายสุขาวดีที่แท้จริง) แทนที่แถบสีแสดด้วยสีชมพู
  • ในทิเบต สีต่างๆ ในธงฉัพพรรณรังสีหมายถึงสีจีวรของพระภิกษุในพุทธศาสนานิกายต่างๆ ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว พระสงฆ์ทิเบตใช้จีวรสีแดงเข้ม (maroon) ฉะนั้นแถบสีแสดจึงมักถูกแทนที่ด้วยสีแดงเข้มอยู่บ่อยครั้ง
  • ผู้นับถือศาสนาพุทธแบบธิเบตในประเทศเนปาลแทนที่ส่วนแถบสีแสดด้วยสีลูกพลัม
  • พุทธศาสนิกชนในพม่าแทนแถบสีแสดด้วยสีชมพู
  • สมาคมสร้างคุณค่า หรือ "โซคา งัคไค" ซึ่งเป็นสมาคมชาวพุทธที่ปฏิบัติตามแนวทางคำสอนของพระนิชิเรน ใช้ธงสัญลักษณ์เป็นธงไตรรงค์สีน้ำเงิน-เหลือง-แดง[1]


ธงธรรมจักร[แก้]

ธงธรรมจักร
ธงสัญลักษณ์พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้

สำหรับในประเทศไทย ธงสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธที่ใช้โดยทั่วไปคือ ธงธรรมจักร อันหมายถึง ธรรมะที่นำไปสอนในที่ต่างๆ แล้วยังความสันติสุขให้เกิดขึ้นในที่นั้นๆ ลักษณะธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเหลืองแก่ ตรงกลางเป็นรูปพระธรรมจักรสีแดง

รูปธรรมจักรในธงนั้นมีซี่ล้อหรือกำ 12 ซี่ หมายถึง ปัจจยาการ หรือปฏิจจสมุปบาท 12 ประการ ซึ่งโดยปกติแล้ว การทำรูปธรรมจักรประดับศาสนสถานนิยมทำแบบมีกำ 8 ซี่ แต่ละซี่มีความหมายถึงองค์ของอริยมรรคแต่ละองค์ อันมีองค์ 8 วงล้อหมายถึง ทุกข์และสมุทัย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนเกิดมาแล้วจะต้องประสบ ดุมที่เป็นศูนย์กลางและสงบนิ่งไม่หมุน หมายถึง จุดหมายสูงสุด คือ นิโรธหรือนิพพาน

คณะสงฆ์ไทยได้ประกาศใช้ธงธรรมจักรอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2501[2]

ในประเทศไทยนั้น เมื่อมีการประกอบพิธีสำคัญหรืออยู่ในวาระสำคัญทางศาสนาพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา ก็จะมีการประดับธงธรรมจักรร่วมกับธงชาติไทยอยู่เสมอ

เนื่องจากประเทศไทย มีอุดมคติรัฐที่สามสถาบันคือชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยธงชาติ มีสี น้ำเงิน ขาว แดง ธงศาสนามีสีแสด ธงพระมหากษัตริย์มีสีเหลือง ซึ่งทั้ง5สีของธงสามสถาบัน ก็จะได้ สีทั้ง5ของฉัพพรรณรังสี คือ น้ำเงิน ขาว แดง แสด เหลือง ประเทศไทยจึงนิยมใช้แค่ธงธรรมจักร เพราะเมื่อประดับร่วมกับธงชาติ ธงพระมหากษัตริย์ ก็เป็นฉัพพรรณรังสีในตัว จึงไม่จำเป็นต้องใช้ธงฉัพพรรณรังสีก็ได้ จนเกิดเป็นเอกลักลักษณ์ของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันมีแนวคิดโจมตีสถาบัน และแสดงออกไม่เห็นด้วยในการที่จะประดับศาสนสถานด้วยธงพระมหากษัตริย์ โดยอ้างความไม่เป็นสากล จึงเหลือเพียงธงชาติและธงศาสนาเท่านั้น



ธงพระรัตนตรัย

ธงพระรัตนตรัย

ธงพระรัตนตรัย เป็นธงที่สร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ให้เป็นเครื่องหมายสมมติแทนพระรัตนตรัย เกิดจากการผสมผสานระหว่าง

๑.) “ธงฉัพพรรณรังสี” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่พุทธศาสนิกชนนานาชาติใช้อยู่แล้ว "ฉัพพรรณรังสี" คือรัศมี 6 ประการที่แผ่ออกมาจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย ๕ สี ๖ แถบ คือ สีนีละ (สีเขียวเหมือนดอกอัญชัญ หรือก็คือสีน้ำเงิน) สีปีตะ (สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง) สีโรหิตะ(สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน) สีโอทาตะ(สีขาวเงินยวง) สีมัญเชฏฐะ(สีแดงเหมือนหงอนไก่) และสีประภัสสร (สีเลื่อมพรายเหมือนแก้งผลึก ก็คือการส่องประกายและสะท้อนสีทั้ง๕ข้างต้น) โดยธงฉัพพรรณรังสี ออกแบบโดยพุทธสมาคมโคลอมโบ เมื่อ พ.ศ. 2423

๒.)“ธงธรรมจักร”เป็นธงสัญลักษณ์ของพุทธศาสนาที่ประเทศไทยใช้ธงอยู่เดิม ธงธรรมจักรเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเหลืองแก่ ตรงกลางเป็นรูปพระธรรมจักรสีแดง  โดยธรรมจักรซึ่งมีซี่ล้อหรือกำสิบสองซี่ หมายถึง ปัญญา๓ระดับในอริยสัจ๔ (สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ) หรืออีกนัยหนึ่ง แทน ปัจจยาการ หรือปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ประการ ธงธรรมจักรที่ประดับศาสนสถานนั้นอาจทำธรรมจักรมีกำ ๘ ซี่ เพื่อให้มีความหมายถึงองค์ของอริยมรรคมีองค์๘ ธงธรรมจักรประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2501

๓.)สัญลักษณ์ของดอกบัว ๘ ดอก ล้อมรอบธงฉัพพรรณรังสีและธรรมจักร ดอกบัวหมายถึงพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรงแล้ว ที่มี๘ดอกมาจากบทที่ว่าคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ   ได้แก่ ๑.โสดาปัตติมรรค   ๒.โสดาปัตติผล   ๓.สกทาคามิมรรค   ๔.สกทาคามิผล  ๕.อนาคามิมรรค   ๖.อนาคามิผล   ๗.อรหัตตมรรค   ๘.อรหัตตผล โดยดอกบัวแต่ละดอกมี ๙ กลีบ หมายถึงมุ่งไปสู่พระนิพพาน

ธงพระรัตนตรัยได้ออกแบบใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ โดย เจ้าอาวาสวัดป่าภูมาศ เหตุจากการเดินทางไปสักการบูชาพุทธสถาน ณ ประเทศศรีลังกา ที่พบว่าสถานที่ทั่วเมืองศรีลังกา และอินเดียนิยมประดับด้วยธงฉัพพรรณรังสีเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงพระพุทธศาสนา จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะสร้างอนุสรณ์ถวายพระพุทธศาสนาและสาธารณชน จึงออกแบบ “ธงพระรัตนตรัย” ให้เป็นสัญลักษณ์สมมติแทนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บรรจุรวมอยู่ในธงผืนเดียว เพื่อขึ้นน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมะบูชา สังฆะบูชา และเพื่อความถาวรแห่งพระพุทธศาสนาสืบไป


ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-24. สืบค้นเมื่อ 2011-08-02.
  2. [1]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]