ท่าอากาศยานนานาชาติมัสกัต

พิกัด: 23°35′18.92″N 58°17′26.16″E / 23.5885889°N 58.2906000°E / 23.5885889; 58.2906000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานนานาชาติมัสกัส

مطار مسقط الدولي
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานทหาร/สาธารณะ
ผู้ดำเนินงานOman Airports
พื้นที่บริการMuscat
สถานที่ตั้งMuscat, Oman
ฐานการบิน
พิกัด23°35′18.92″N 58°17′26.16″E / 23.5885889°N 58.2906000°E / 23.5885889; 58.2906000
แผนที่
MCTตั้งอยู่ในโอมาน
MCT
MCT
Location of Airport in Oman
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
08R/26L 3584 11758 Asphalt
08L/26R 4000 13123 Asphalt
สถิติ (2017)
Total passengers14,034,865 เพิ่มขึ้น
Total Aircraft movements114,258 เพิ่มขึ้น

ท่าอากาศยานนานาชาติมัสกัต (IATA: MCTICAO: OOMS), ชื่อเดิมคือ ท่าอากาศยานนานาชาติซีป ,[1] เป็นท่าอากาศยานหลักของ [โอมาน] ตั้งอยูห่างจากเมืองเก่าราวๆ 32 กิโลเมตร และอยู่ในเขตเมืองหลวงของกรุงมัสกัด ท่าอากาศยานแห่งนี้เป็นทำหน้าที่บริการสารการบินประจำชาติอย่างโอมานแอร์ และสารการบินต้นทุนต่ำอย่าง ซาลามแอร์ ที่ให้บริการทั้งภายในภูมิภาคและรวมถึงเอเชีย แอฟริกา และยุโรป

ประวัติ[แก้]

ในปี 2516 เปิดให้บริการท่าอากาศยานนานาชาติซีป เพื่อใช้ทดแทนสนามบินเล็กๆ อย่าง เบย์ อัล ฟาลาซ [2] ซึ่งเป็นหน่วยบัญชาการของกองทัพอากาศมาก่อน รวมถึงใช้ในสงครามกัฟ ในปี 2534 ในชื่อปฏิบัติการ เมจิก รันอะบาว โดยความร่วมมือของกับกองทัพเรือโอมาน[3] ฐานแห่งนี้ถูกใช้ปล่อย Vickers VC10 ของฝูงบิน RAF ในระหว่างฝึกสงคราวอ่าวกับกองทัพอากาศ SEPECAT Jaguars.[4]

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ชื่อสนามบินแห่งนี้ได้รับการเปลี่ยนอย่างเป็นทางการจาก ท่าอากาศยานนานาชาติซีป เป็น ท่าอากาศยานนานาชาติมัสกัต[1]

สิ่งอำนวยความสะดวก[แก้]

พื่นที่ของท่าอากาศยานทั้งหมด 21.24 ตารางกิโลเมตร โดยมีจุดเด่นของอาคารผู้โดยสารหนึ่งหลังเดิมที่มีขนาดเล็ก หนึ่งรันเวย์ และส่วนประกอบอย่างอาคารสินค้า อาคารบริการต่างๆ หลังจากมีการสร้างขยายทำให้ท่าอากาศยานแห่งนี้มีอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ อาคารควบคุมการบินหลังใหม่ อาคารใหม่ๆ เหล่านี้ได้รับการทดสอบตอนเดือนธันวาคม 2560 ซึ่งผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจ[5] สิ่งอำนวยความสะดวกยังรวมถึงอาคารผู้โดยสารระดับ VIP และอาคารปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของโอมานแอร์ สำหรับไฟลท์ของกษัตริย์และกองทัพอากาศโอมานนั้น จะใช้สนามบินแห่งนี้บางส่วนด้วย

ปี 2562 ท่าอากาศยานแห่งนี้ได้รับการติดตั้งระบบตรวจจับโดรนอย่างAaronia AARTOS C-UAS [6] ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติแห่งแรกที่ได้รับการติดตั้งระบบดังกล่าว

อาคารผู้โดยสาร[แก้]

Aerial view of the entire airport showing the new terminal in the center with the old facilities on top
Terminal 2, the former main building

อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 (อาคารใหม่)[แก้]

อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ถูกเปิดให้ใช้งานเมื่อวันที 20 เดือนมีนาคม ปี 2561 เป็นอาคารทางเหนือของอาคารหลังเดิมและรันเวย์เดิม อาคารหลังใหม่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 20 ล้านคนต่อปีเมื่อเฟสแรกเสร็จสิ้น [7] สำหรับในส่วนของเฟสที่สองและสามนั้น ท่าอากาศยานสามารถรองรับได้ที่ 24 และ 48 ล้านคนตามลำดับ [7] สำหรับอาคารผู้โดยสารมีพื้นที่ 580,000 ตาราเมตร มีจำนวนเคาเตอร์เช็คอิน 118 เคาเตอร์ และ 10 สายพานรับกระเป๋า และจำนวน 82 เคาเตอร์สำหรับตรวจลงนามพาสปอร์ต มีจุดเชื่อมเครื่องบิน 45 จุด และมีอาคาร ATC สูง 97 เมตร อาคารใหม่แห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างรันเวย์เก่าและรันเวย์ใหม่ ส่วนรันเวย์ใหม่นั้นสามารถรองรับเครื่องขนาดใหญ่อย่าง Airbus A380s และ Boeing 747s.ได้[8]

วันที่ 31 มกราคา 2561 มีการประกาศย้ายอาคารผู้โดยสารไปยังหลังใหม่ ในวันที่ 20 มีนาคม 2561 [9] อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ถูกให้บริการครั้งแรกเมื่อเวลา 15.00 น. โดยสารการบินโอมานแอร์ และขาเข้าจากนาจาฟ เวลา 18.30 น.

อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (อาคารเก่า)[แก้]

อาคารหลังที่ 2 เป็นอาคารเดี่ยว สองชั้นรูปตัวที เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2513 ถูกนำมาเพื่อใช้ทดแทน ท่าอากาศยานบาอิทอัลฟาลาจ และสามารถที่จะขยายเพื่อรองรับการเพิ่มจำนวนของผู้โดยสารได้[10]

อาคารผู้โดยสารหลังนี้มีเคาเตอร์เช็คอินทั้งหมด 58 เคาเตอร์ ห้องพักผู้โดยสารขาออกจำนวน 23 จุด และ 4 สายพานกระเป๋า และรวมถึงจุดให้บริการและร้านค้าบางส่วน [10] การให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างอาคารและเครื่องบินจะใช้รถบัสเพื่อให้บริการเนื่องจากตัวอาคารผู้โดยสารแห่งนี้ไม่มีสะพานเชื่อมต่อระหว่างอาคารกับเครื่องบินโดยตรง

หลังจากการเปิดใช้งานอาคารผู้โดยสารหลังใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2561 อาคารผู้โดยสารหลังเก่าถูกใช้สำหรับสารการบินต้นทุนต่ำ[9] ในวันที่อาคารผู้โดสารหลังใหม่ถูกเปิดใช้อย่างเป็นทางการไฟลท์สุดท้ายของอาคารผู้โดยสารหลังเก่านี้คือไฟลท์ที่เดินทางไปยังนครซูริค ประเทศสวิซเซอร์แลนด์ และไฟลท์ในประเทศไปยังซาลาล่า

ทางวิ่งและลานจอดเครื่องบิน[แก้]

ท่าอากาศยานแห่งนี้มีรันเวย์ 2 แห่ง โดยใช้รันเวย์ 08R/26L เดิมนั้นเป็นซึ่งรันเวย์นี้รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่อย่าง โบอิ่ง 747-400 และ โบอิ่ง 777 ส่วนทางวิ่งแห่งใหม่ที่อยู่ทางทิศเหนือของอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ คือทางวิ่ง 08L/26R ที่มีความยาว 4000 เมตร และสามารถรองรับการขึ้นลงของเครื่องบินอย่างโบอิ่ง 747-8 แอร์บัส เอ380 และแอนโทนอฟ เอเอ็น 2255 ได้ ซึ่งทางวิ่งแรกนั้นทางสนามบินได้ทำการปิดเพื่อปรับปรุงและขยาย[11]

อาคารผู้โดยสารหลังเก่าสามารถรองรับการจอดของเครื่องบินได้ 32 ลำ [10] ทั้งสองด้านของอาคารผู้โดยสารรูปตัวที

สายการบินและจุดหมายปลายทาง[แก้]

ผู้โดยสาร[แก้]

สายการบินที่ให้บริการในไฟลท์ปกติและเช่าเหมาลำมายังและออกจากมัสกัส[12]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
แอร์อาระเบีย ชาร์จาห์
แอร์อินเดีย เบงคลูรู, เจนไน, เดลี, กัว, ไฮเดอราบัด, มุมไบ
แอร์อินเดียเอกซ์เพรส กันนุระ, โคจิ, โกฬิกโกฏ, มังกาลอร์, ธิรุวานดรัม
บังคลาเทศพิมาน จิตตะกอง, ธากา, สิเลฏ1
บริติชแอร์เวย์ ตามฤดูกาล: ลอนดอน–ฮีทโธรว์
จาม วิงส์ แอร์ไลน์ ดามัสกัส
อียิปต์แอร์ ไคโร
เอมิเรตส์ ดูไบ
เอธิโอเปียนแอร์ไลน์ อาดดิสอาบาบา
เอทิฮัด อาบูดาบี
ฟลายดูไบ ดูไบ
โกแอร์ กันนุระ, มุมไบ[13]
กัลฟ์แอร์ บาห์เรน
อินดิโก มุมไบ
อิหร่าน อาเซมาน แอร์ไลน์ส ชบาฮาร์โกนารัก,[14] ชิราซ
คีชแอร์ บันดาร์อับบาส, ชบาฮาร์โกนารัก, เกาะคีช, ชิราซ[15]
เคแอลเอ็ม อัมสเตอร์ดัม, ดัมมัม
คูเวตแอร์เวย์ คูเวต
โอมานแอร์[16] อาบูดาบี, อัมมาน–ควีนอาลียา, เอเธนส์, บาห์เรน, เบงคลูรู, กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ, ไคโร, กาซาบล็องกา, เจนไน, โคลัมโบ–พัณฑารนายกะ, ดัมมัม, ดาร์ เอส ซาลาม, เดลี, โดฮา, ดูไบ, ดุกม์, แฟรงก์เฟิร์ต, กัว, กว่างโจว, ท่าอากาศยานนานาชาติราชีพ คานธี, อิสลามาบัด, อิสตันบูล, ชัยปุระ, จาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา, ญิดดะฮ์, การาจี, กาฐมาณฑุ–ตริภูวัน, คาซาบ, โคจิ, โกฬิกโกฏ, กัวลาลัมเปอร์, คูเวต, ลาฮอร์, ลอนดอน–ฮีทโธรว์, ลัคเนา, มาเล, มะนิลา, อัลมะดีนะฮ์, แมนเชสเตอร์, มิลาน–มัลเปนซา, มอสโก–โดโมเดโดโว,[17] มุมไบ, มิวนิก, ไนโรบี–เคนยัตตา, ปารีส–ชาร์ล เดอ โกล, ริยาด, เศาะลาละฮ์, เตหะราน, ธิรุวานดรัม, แซนซิบาร์, ซูริค
ตามฤดูกาล: อเล็กซานเดรีย–บอร์ก เอล อาหรับ[18]
ปากีสถาน อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์ไลน์ กวาดาร์, อิสลามาบัด, การาจี, ลาฮอร์, เปชาวาร์, เซียลคอต, ตูรบัต
เพกาซัส แอร์ไลน์ส อิสตันบูล–ซาบีฮา เกิคเช่น)
กาตาร์แอร์เวย์ โดฮา
เกชม์แอร์ เกชม์
รีเจนท์แอร์เวย์ จิตตะกอง, ธากา
ซาลามแอร์[19] อาบูดาบี,[20] อเล็กซานเดรีย–บอร์ก เอล อาหรับ, บาห์เรน, จิตตะกอง,[21] โคลัมโบ–พัณฑารนายกะ,[22] ดัมมัม,[23] โดฮา, ธากา, ดูไบ, อิสตันบูล–ซาบีฮา เกิคเช่น), ญิดดะฮ์, การาจี, กาฐมาณฑุ–ตริภูวัน, คาร์ทูม, คูเวต, มาชาด, อัลมะดีนะฮ์, มุลตาน, ริยาด, เศาะลาละฮ์, ชีราซ, เซียลคอต, เตหะราน
ตามฤดูกาล: บากู, อัฏฏออิฟ, ทบิลิซี, แทรบซอน
ให้เช่า: มูไคซนา[24]
เซาเดีย ญิดดะฮ์, อัลมะดีนะฮ์, ริยาด
สไปซ์เจ็ท อัห์มดาบาด
ศรีลังกันแอร์ไลน์ โคลัมโบ–พัณฑารนายกะ
สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ ดูไบ, ซูริค
การบินไทย กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ, การาจี
เตอร์กิชแอร์ไลน์ อิสตันบูล
ยูเอส–บังลาแอร์ไลน์ จิตตะกอง, ธากา
Notes
  • ^1 เที่ยวบินของสายการบินบังคลาเทศพิมาน จากมัสกัตไปธากาแวะพักที่ซิลเฮต อย่างไรก็ตาม เที่ยวบินจากธากาไปมัสกัตไม่มีวันหยุด.

สินค้า[แก้]

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
คาร์โกลักซ์ เจนไน, ฮ่องกง, ลักเซมเบิร์ก, มุมไบ
ดีเอชแอล เอวิเอชั่น ดูไบ

สถิติการใช้ท่าอากาศยาน[แก้]

Oman Air Airbus A330-300s parked on the apron of the old terminal. Until the opening of the new Terminal 1, there were no jetbridges available.
Annual Passenger Traffic[25]
Year Passengers % Change
2018 15,413,135 เพิ่มขึ้น 9% [26] [1] เก็บถาวร 2018-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
2017 14,034,865 เพิ่มขึ้น 28%
2016 10,314,449 เพิ่มขึ้น 18%
2015 8,709,505 เพิ่มขึ้น 5%
2014 8,310,927 เพิ่มขึ้น 10%
2013 7,546,715 เพิ่มขึ้น 16%
2012 6,479,860 เพิ่มขึ้น 13%
2011 5,751,516 เพิ่มขึ้น 26%
2010 4,556,502 เพิ่มขึ้น 14%
2009 4,002,121 ลดลง -5%
2008 4,220,429 ลดลง -12%
2007 4,777,747 Steady
Annual freight and movements[27]
Year Freight in MT Aircraft movements
2018 212,764 333,134
2017 200,852 203,572
2016 180,332 153,326
2015 154,868 109,920
2014 147,248 98,085
2013 120,040 81,244
2012 113,269 73,842
2011 98,780 68,696
2010 96,390 67,160
2009 64,419 55,330
2008 58,486 45,600
2007 77,292 45,655
2006 99,529 46,319

References[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Oman Airports". www.omanairports.co.om. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019.
  2. "Airport History". Oman Airports Management Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2012.
  3. Gp Capt Brian Burridge, Royal Air Force Nimrods in the Gulf
  4. "19 Years Over Iraq". The Official RAF Annual Review 2010. Stamford: Key Publishing: 9. ธันวาคม 2010.
  5. timesofoman.com - Muscat airport’s new terminal to be operational by end 2017: Al Futaisi 12 February 2017
  6. "Drone Detection System for Muscat Intl Airport". สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2019.
  7. 7.0 7.1 "New terminal complex for Muscat International Airport". Bechtel.
  8. omanairports.co.om - New Airport Development เก็บถาวร 2016-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 30 September 2016
  9. 9.0 9.1 gulfnews.com - New Muscat airport terminal to open on March 20 31 January 2018
  10. 10.0 10.1 10.2 omanairports.co.om - Airport Development เก็บถาวร 2016-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 30 September 2016
  11. "Pilot information for Muscat international Airport". Our Airports. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2015.
  12. omanairports.co.om - TimeTable เก็บถาวร 2016-04-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 23 July 2016
  13. "GoAir expands International network in July/August 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2019.
  14. "Iran Aseman Airlines adds Chah Bahar – Muscat service from April 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2019.
  15. July 22, 2019. "Kish Airlines". En.kishairlines.ir. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2019.
  16. omanair.com - Our Network เก็บถาวร 2019-09-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 3 October 2018
  17. Liu, Jim (10 พฤษภาคม 2018). "Oman Air plans Moscow launch in late-October 2018". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2018.
  18. "Oman Air files expanded new routes in S19". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2019.
  19. salamair.com - Destinations retrieved 8 September 2018
  20. "Salam Air outlines further network expansion in S19". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2019.
  21. "Salam Air adds Chittagong service from May 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2019.
  22. https://www.salamair.com/en/news/salamair-announces-entry-into-the-sri-lankan-market-adds-colombo-to-network
  23. Liu, Jim. "Salam Air schedules new routes in Nov 2019". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2019.
  24. "Salam Air plans Mukhaizna charters from June 2018". Routesonline. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2019.
  25. Musacat, OOMS. "Oman Airports". www.omanairports.co.om. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019.
  26. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019.
  27. Cargo Flights. "Oman Airports". www.omanairports.co.om. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019.

External links[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Muscat International Airport