ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ท่าอากาศยานกิมโป)
ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ

김포국제공항
金浦國際空港

Gimpo Gukje Gonghang
Kimp'o Kukche Konghang
บริเวณอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานการท่าอากาศยานเกาหลี
พื้นที่บริการโซล
สถานที่ตั้งเกาหลีใต้ เขตคังซอ โซล ประเทศเกาหลีใต้
ฐานการบิน
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล18 เมตร / 58 ฟุต
เว็บไซต์[1]
แผนที่
GMPตั้งอยู่ในเกาหลีใต้
GMP
GMP
ที่ตั้งในประเทศเกาหลีใต้
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
14R/32L 3,200 10,499 อัสฟาลต์
14L/32R 3,600 11,811 คอนกรีต
สถิติ (2014)
จำนวนเที่ยวบิน138,706
จำนวนผู้โดยสาร21,566,946
น้ำหนักสินค้า (ตัน)271,990
ข้อมูลจาก KAC[2]

ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพ (เกาหลี: 김포국제공항) หรือรู้จักกันในชื่อ ท่าอากาศยานคิมโพ (IATA: GMPICAO: RKSS) ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของโซล ห่างจากย่านใจกลางประมาณ 15 กิโลเมตร เคยเป็นท่าอากาศยานหลักของเกาหลีใต้ ก่อนถูกแทนที่ด้วยท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อนในปี ค.ศ. 2001 สถิติปี ค.ศ. 2014 มีผู้โดยสาร 21,566,946 คน นับว่ามากเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ รองจากอินช็อนและเชจู

ประวัติ[แก้]

ท่าอากาศยานถูกสร้างประมาณปี ค.ศ. 1939–1942 เป็นช่วงระหว่างภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น

เครื่องบินมิตซูบิชิ เคไอ-51 ที่ท่าอากาศยานคิมโพ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1945

ยุคสงครามเกาหลี[แก้]

ท่าอากาศยานคิมโพได้เป็นฐานทัพหลักของกองทัพสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเกาหลี ในชื่อ เค-14

วันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 กองทัพเกาหลีเหนือ ได้บุกโจมตีเกาหลีใต้ ก่อให้เกิดชนวนสงครามขึ้น และเครื่องบินที่นี่ (ซี-54 สกายมาสเตอร์) ได้เสียหายไป 1 ลำ ทำให้อเมริกาต้องอพยพผู้คนรวม 748 คนออกจากท่าอากาศยานคิมโพและซูว็อน[3] บ่ายวันนั้น เครื่องบินเอฟ-82 ทวินมัสแตง จำนวน 5 ลำ ได้นำเครื่องบินซี-54 สกายมาสเตอร์ จำนวน 4 ลำออกจากคิมโพ เมื่อเห็นว่าซี-54 หนึ่งลำถูกทำลายที่ซูว็อนโดยเครื่องบิน KPAF ลาว็อคกิน ลา-7 5 ลำ ต่อมา เครื่องบิน LA-7 จำนวนหนึ่ง ถูกยิงโดยเครื่องบินของอเมริกา[4] ไม่กี่วันต่อมา เครื่องบินเอฟ-80ซี 4 ลำ ได้ยิงเครื่องบิน อิลยูชิน อิล-10 จำนวน 4 ลำ ตกที่คิมโพ[3]

คิมโพถูกยึดครองโดย KPA หลังจากการยึดครองโซลในวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1950 วันถัดมา เครื่องบินบี-29 8 ลำ ได้ระเบิดคิมโพและย่านรถไฟโซล[3] ต่อมาในเดือนกรกฎาคม KPAF ได้ใช้ฐานที่ตั้งนี้ในการโจมตีกองทัพสหประชาชาติ ต่อมาวันที่ 10 กรกฎาคม เครื่องบินยัก-7 จำนวนเจ็ดลำ ได้มาซ่อนอยู่ที่คิมโพ เพื่อใช้โจมตีสหประชาชาติที่ช็องจู ซึ่งวันถัดมาก็ได้ทำการระเบิดเครื่องเอฟ-80 บางลำในบริเวณนี้ ในวันที่ 15 กรกฎาคม กองทัพอเมริกาได้บุกคิมโพอีกครั้ง และได้ทำลายเครื่องบินยัก-7 จำนวนสองถึงสามลำ รันเวย์ก็ได้รับเสียหาย[5] ในวันที่ 5 สิงหาคม กองทัพอากาศที่ห้าได้บุกคิมโพ และทำลายเครื่องบินอีก 9 ลำ[6]

เมื่อสงครามอินช็อนเริ่มขึ้นในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1950 กองทัพแบตตาไลออนที่สอง ได้ยึดคิมโพในวันที่ 17 กันยายน[7] และคิมโพถูกควบคุมโดยกลุ่มกองทัพ และเช้าวันที่ 18 กันยายน กองทัพสามารถรักษาลานจอดให้ปลอดภัยได้ ซึ่งลานจอดก็อยู่ในสภาพดีเยี่ยม เนื่องจากเกาหลีเหนือไม่สามารถทำลายมันได้[8] วันที่ 19 กันยายน กองทัพวิศวกรรมอเมริกาได้ทำการซ่อมทางรถไฟ 13 กิโลเมตร และซ่อมเครื่องบิน 32 ซี-54 ให้บินได้เหมือนเดิม ซึ่งกลุ่มทหาร VMF-212 ก็ถือเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ขึ้นเครื่องบินจากคิมโพไปย็อนโป ในวันที่ 25 กันยายน กองทัพวิศวกรรมได้ทำการซ่อมแวมรันเวย์ยาว 6,000 ฟุต (1,800 เมตร) ให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม[9] วันที่ 6 ตุลาคม กลุ่ม USAF ได้มาควบคุมท่าอากาศยานต่อจาก USMC[3]

ต่อมาทหารอเมริกาถูกโจมตีที่เส้นขนานที่ 38 ในวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1951 นายพลริดจ์เวย์ จึงได้สั่งให้ทหารถอนกำลังย้ายลงไปทางใต้ ทำให้กัมโปถูกจีนและเกาหลีเหนือยึดครอง

กองทัพอเมริกาได้กลับมาอีกครั้งในเดือนมกราคม ค.ศ. 1951 และได้ทำการบุกโจมตีจีนและเกาหลีเหนือที่คิมโพในวันที่ 25 มกราคม ทำให้จีนและเกาหลีเหนือต้องย้านไปที่ราบลุ่มแม่น้ำฮัน และในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 กองทัพได้กลับมายึดครองคิมโพอีกครั้ง[10]

วันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1953 นักบินชาวเกาหลีเหนือ โน คัม-ซ็อก ได้นำเครื่องบินเอ็มไอจี-15 ลงจอดที่คิมโพ

หลังสงครามเป็นต้นมา[แก้]

ในปี ค.ศ. 1958 คิมโพได้กลายเป็นท่าอากาศยานนานาชาติของโซล มีเที่ยวบิน 226,000 เที่ยวต่อปี ท่าอากาศยานมีอาคารผู้โดยสารในประเทศ 1 แห่ง และระหว่างประเทศ 2 แห่ง ต่อมาเที่ยวบินระหว่างประเทศส่วนใหญ่ได้ย้ายไปที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ปัจจุบันคิมโพมีรันเวย์สองทาง (3600 เมตร × 45 เมตร และ 3200 เมตร× 60 เมตร) อาคารผู้โดยสาร 2 แห่ง อาคารสินค้า 1 แห่ง

ท่าอากาศยาน ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำฮัน ชานกรุงโซล (ชื่อคิมโพ มาจากชื่อเมืองแถวนั้น)

ท่าอากาศยานคิมโพ ได้ทำการเปิดเที่ยวบินใหม่ ดังนี้

สายการบินที่เคยมาลงที่ท่าอากาศยานคิมโพ แต่ยกเลิกไปแล้ว ได้แก่ แอร์นิวซีแลนด์, แอนเซตต์ออสเตรเลีย (ปิดกิจการ), คอนติเนนตัล แอร์ไลน์ (ยุบรวมกับยูไนเต็ดแอร์ไลน์), ไอบีเรียแอร์ไลน์, คูเวตแอร์เวย์, เลาดาแอร์ (ยุบรวมกับออสเตรียนแอร์ไลน์), ควอนตัส (ขนส่งเฉพาะสินค้า), ซาอุเดีย, สวิสแอร์ (ปิดกิจการ), วีเอเอสพี (ปิดกิจการ),การบินไทย

สายการบินและจุดหมายปลายทาง[แก้]

ท่าอากาศยานนานาชาติคิมโพให้บริการทั้งเที่ยวบินภายในประเทศ และเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และจีน

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
โคเรียนแอร์ เชจู, ซาช็อน, เซี่ยงไฮ้–หงเฉียว, โตเกียว–ฮาเนดะ, ปักกิ่ง–นครหลวง, ปูซาน, ยอซู, อุลซัน, โอซากะ–คันไซ
จินแอร์ เชจู
เจแปนแอร์ไลน์ โตเกียว–ฮาเนดะ
เชจูแอร์ เชจู, ปูซาน, โอซากะ–คันไซ
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ ปักกิ่ง–นครหลวง
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ เซี่ยงไฮ้–หงเฉียว
ไชนาแอร์ไลน์ ไทเป–ซงชาน
เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์ เซี่ยงไฮ้–หงเฉียว
ทีเวย์แอร์ เชจู, ไทเป–ซงชาน
ออลนิปปอนแอร์เวย์ โตเกียว–ฮาเนดะ
อีวีเอแอร์ ไทเป–ซงชาน
อีสตาร์เจ็ต เชจู, ไทเป–ซงชาน, ปูซาน
เอเชียนาแอร์ไลน์ ควังจู, เชจู, เซี่ยงไฮ้–หงเฉียว, โตเกียว–ฮาเนดะ, ปักกิ่ง–นครหลวง, ยอซู, โอซากะ–คันไซ
แอร์ไชนา ปักกิ่ง–นครหลวง
แอร์โซล เชจู
แอร์ปูซาน เชจู, ปูซาน, อุลซัน

สถิติ[แก้]

สายการบินที่มีผู้ใช้บริการสูงสุด[แก้]

อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ บริเวณขาออก
อาคารผู้โดยสารในประเทศ บริเวณขาออก

สายการบินที่มีผู้ใช้บริการสูงสุด ที่ท่าอากาศยานคิมโพ ในปี ค.ศ. 2012

อันดับสายการบินที่มีผู้ใช้บริการสูงสุด 10 อันดับแรก (ข้อมูลปี ค.ศ. 2012)
อันดับ สายการบิน จำนวนผู้โดยสารในประเทศ (คน) จำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ (คน) รวมทั้งหมด %
1 โคเรียนแอร์ 4,876,772 1,189,804 6,066,576 31.22%
2 เอเชียนาแอร์ไลน์ 3,202,570 1,004,217 4,206,787 21.65%
3 เชจูแอร์ 1,584,560 213,353 1,797,913 9.25%
4 สายการบินทีเวย์ 1,576,329 27,536 1,603,865 8.25%
5 จินแอร์ 1,529,612 224 1,529,836 7.87%
6 อีสเตอร์เจ็ต 1,364,448 18,895 1,383,343 7.12%
7 แอร์ปูซาน 1,200,356 1,200,356 6.18%
8 เจแปนแอร์ไลน์ 655,035 655,035 3.37%
9 ออลนิปปอนแอร์เวย์ 545,250 545,250 2.81%
10 เซี่ยงไฮ้แอร์ไลน์ 101,240 101,240 0.52%

สิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ[แก้]

หน่วยงานการสืบสวนอุบัติเหตุทางรถไฟและเครื่องบิน (ARAIB) ได้ทำห้องตรวจสอบความปลอดภัยของท่าอากาศยาน[13] ถึงแม้หน่วยงานการสืบสวนอุบัติเหตุทางเครื่องบินเกาหลี (KAIB) จะเข้ามาแทนที่ แต่ก็ยังคงมีห้องนั้นอยู่เช่นเดิม[14]

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์[แก้]

โบอิง 747 ของโคเรียนแอร์ กำลังบินขึ้น

ระบบขนส่งสาธารณะ[แก้]

รถไฟ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Gimpo International Airport. Airport.co.kr. Retrieved on 24 August 2013.
  2. Korean airport statistics
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "History Milestones Sunday, January 01, 1950 – Thursday, December 31, 1959". U.S. Air Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-28. สืบค้นเมื่อ 25 June 1950. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "Valor Awards for James Walter Little". Gannett Company. 2011. สืบค้นเมื่อ 25 June 2013.
  5. Futrell, Robert F. (1997). The United States Air Force in Korea, 1950–1953. United States Government Printing Office. pp. 99–101. ISBN 9780160488795.
  6. Futrell, p.102
  7. Hoyt, Edwin P. (1984). On to the Yalu. Stein and Day. p. 58. ISBN 0812829778.
  8. Hoyt, p.61
  9. Futrell, p.178-9
  10. Futrell, p.293
  11. • Gimpo-Beijing air route to open in July เก็บถาวร 2012-03-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. South Korea News (26 April 2011). Retrieved on 12 July 2013.
  12. • Songshan to begin direct flights to Gimpo in Seoul. Taipei Times (30 April 2012). Retrieved on 6 March 2015.
  13. "Office Location เก็บถาวร 2014-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." () Aviation and Railway Accident Investigation Board. Retrieved on 15 February 2012. "CVR/FDR analysis and wreckage laboratory : Gimpo International Airport 274 Gwahae-dong, Gangseo-gu, Seoul, Korea 157–711"
  14. "KAIB/AAR F0201." Korea Aviation Accident Investigation Board. 4/168. Retrieved on 18 June 2009. "The main office is located near Gimpo International Airport, and the flight recorder analysis and wreckage laboratories are located inside the airport."
  15. "Aircraft accident Boeing 747-2B5B HL7445 Seoul-Gimpo (Kimpo) International Airport". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-22.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]