หม่อมราชวงศ์บุตรี วีระไวทยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บุตรี วีระไวทยะ

ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ (ที่สามจากซ้าย)
เกิดหม่อมราชวงศ์บุตรี กฤดากร
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 (82 ปี)
ตำบลคลองตัน จังหวัดพระนคร
คู่สมรสมีชัย วีระไวทยะ
บุตรสุจิมา แสงชัยวุฒิกุล
บุพการีหม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร
หม่อมหลวงต่อ ชุมสาย

ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ (นามเดิม หม่อมราชวงศ์บุตรี กฤดากร; เกิด 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485) เป็นเจ้าหน้าที่ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ อดีตรองราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ อดีตคุณข้าหลวงในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ผู้บริหารงานในพระองค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี [1]

ประวัติ[แก้]

ท่านผู้หญิงบุตรีเกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485[2][3] ณ บ้านพร้อมพงศ์ ตำบลคลองตัน จังหวัดพระนคร เป็นธิดาคนเดียวของพลโท หม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร และหม่อมหลวงต่อ ชุมสาย

ในวัยเยาว์ท่านผู้หญิงบุตรี ได้รับการส่งตัวไปอยู่ใน ถวายตัวเป็นข้าหลวงรุ่นเยาว์ในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในขณะประทับอยู่ที่เมืองไบรตัน ประเทศอังกฤษ ซึ่งหม่อมหลวงต่อ ชุมสาย มารดาของท่านผู้หญิงก็เป็นข้าหลวงในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ซึ่งพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ก็ทรงชุบเลี้ยงและให้ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนชั้นดีในประเทศอังกฤษ โดยบรรดาข้าหลวงรุ่นเยาว์นี้ จะมีหน้าที่เป็นพระสหายของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในรัชกาลที่ 6 ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชกระแสทูลชวนให้พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวร ท่านผู้หญิงบุตรี ได้ทูลขอพระราชาทานพระอนุญาตจากพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ขอศึกษาต่อที่อังกฤษ ซึ่งพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ก็พระราชทานพระอนุญาตตามนั้น

เมื่อกลับเมืองไทย ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ได้กลับมาถวายงานรับใช้ใต้ฝ่าพระบาทพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เรื่อยมาจนพระนางเจ้าสุวัทนาฯ สิ้นพระชนม์ในปี 2528 จึงถวายงานรับใช้สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ต่อมา ท่านผู้หญิงเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะองคมนตรี และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้เป็นผู้บริหารงานในพระองค์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ต่อจากคุณหญิงสัตยวดี จารุดุล พระขนิษฐาในพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี อดีตรองราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ

ครอบครัว[แก้]

ท่านผู้หญิงบุตรีสมรสกับมีชัย วีระไวทยะ[4] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน มีบุตรสาวคนเดียว คือสุจิมา แสงชัยวุฒิกุล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ อดีตรองราชเลขาธิการ
  2. อาริยา สินธุจริวัตร บุนนาค และทองเจือ เพียรสถาพร. โครงการกุลสตรีวังหลัง-วัฒนาศึกษา : เพชรเม็ดงาม 130 ปี กุลสตรีวังหลัง-วัฒนาวิทยาลัย พ.ศ. 2417-2547. กรุงเทพฯ : โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย, 2551. 831 หน้า. หน้า 287. ISBN 978-974-6192-02-6
  3. สุวิทย์ ไพทยวัฒน์. "ประวัติหม่อมราชวงศ์บุตรี วีระไวทยะ", พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จากข้อมูลประวัติศาสตร์บอกเล่า. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2538. 204 หน้า. หน้า 99. ISBN 978-974-6123-66-2
  4. ท่านผู้หญิง (ม.ร.ว.) บุตรี (หนูชิด) วีระไวทยะ (กฤดากร)[ลิงก์เสีย]
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๕, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๘๖, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๐, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๕๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๓๗, ๑๔ มิถุนายน ๒๕๒๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๔, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๗, ๗ มีนาคม ๒๕๔๖
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๔, ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๗