ที-34

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
T-34
A T-34-85 tank on display at Musée des Blindés in April 2007.
A T-34-85 tank on display at Musée des Blindés in April 2007.
ชนิดรถถังขนาดกลาง
แหล่งกำเนิด สหภาพโซเวียต
บทบาท
ประจำการ1940–ประมาณทศวรรษ 1960s (USSR)
1950s–ปัจจุบัน (ประเทศอื่น)
ผู้ใช้งานสหภาพโซเวียต และ 39 ประเทศ
สงครามสงครามโลกครั้งที่สอง, and many others
ประวัติการผลิต
ผู้ออกแบบKMDB
ช่วงการออกแบบ1937–40
ช่วงการผลิต1940–58
จำนวนที่ผลิต84,070[1]
35,120 T-34/76[1]
48,950 T-34-85[1]
ข้อมูลจำเพาะ (T-34 Model 1941[4])
มวล26.5 ตัน
ความยาว6.68 m (21 ft 11 in)
ความกว้าง3.00 m (9 ft 10 in)
ความสูง2.45 m (8 ft 0 in)
ลูกเรือ4 (T-34-76)
5 (T-34-85)

เกราะHull front 47 mm /60° (upper part)[2]
45 mm (1.8")/60° (lower part),
Hull side 40 mm[3]/41°(upper part),
Hull rear 45 mm,
Hull top 20 mm,
Hull bottom 15 mm;
Turret front 60 mm (2.4"),
Turret side 52 mm/30°,
Turret rear 30 mm,
Turret top 16 mm[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]
อาวุธหลัก
76.2 mm (3.00 in) F-34 tank gun
(T-34-85: 85 mm ZiS-S-53 gun)
อาวุธรอง
2 × 7.62 mm (0.308 in) DT machine guns
เครื่องยนต์Model V-2-34 38.8 L V12 Diesel engine
500 hp (370 kW)
กำลัง/น้ำหนัก18.9 hp (14 kW) / tonne
กันสะเทือนChristie
ความสูงจากพื้นรถ0.4 m (16 in)
พิสัยปฏิบัติการ
  • 400 km (T-34) (250 mi)
  • 240 km (T-34-85) (150 mi)
ความเร็ว53 km/h (33 mph)

ที-34 (T-34) เป็นรถถังขนาดกลางสัญชาติโซเวียตที่ถูกนำเสนอในปี ค.ศ. 1940 ได้มีชื่อเสียงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กับปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา

ปืนรถถังขนาด 76.2 มม.(3 นิ้ว) ที่ทรงพลังมากกว่าปืนรถถังที่ร่วมสมัย[5] ในขณะที่เกราะแบบลาดเอียง 60 องศา ซึ่งสามารถป้องกันได้ดีต่ออาวุธต่อต้านรถถัง ระบบกันสะเทือนของคริสตีได้รับการสืบทอดมาจากการออกแบบรถถังรุ่นเอ็ม1928 ของชาวอเมริกันนามว่า เจ. วอลเตอร์ คริสตี รถถังแบบรุ่นที่ถูกขายที่มีป้อมปืนน้อยให้กับกองทัพแดง และได้ถูกบันทึกว่า เป็น"รถแทรกเตอร์ฟาร์ม" ภายหลังจากถูกกองทัพสหรัฐปฏิเสธ ที 34 มีผลอย่างมากต่อความขัดแย้งในแนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง และมีผลกระทบที่ยาวนานต่อการออกแบบรถถัง ภายหลังจากที่เยอรมันได้เผชิญหน้ากับรถถังคันนี้ในปี ค.ศ. 1941 นายพลเยอรมัน นามว่า เพาล์ ลูทวิช เอวัลท์ ฟ็อน ไคลสท์ ได้เรียกมันว่า "รถถังที่ดีเยี่ยมที่สุดในโลก" และไฮนทซ์ กูเดรีอันได้ยืนยันว่า รถถังที-34 "มีความเหนือกว่า"รถถังเยอรมันอย่างมาก[6][7] "ในช่วงต้นของเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941 หัวหน้ากองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ อัลเฟรท โยเดิล ได้บันทึกไว้ในอนุทินสงครามของเขาที่กล่าวถึง ความประหลาดใจที่อาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ชนิดนี้ที่น่าทึงและไม่รู้จัก ได้ถูกปล่อยมาต่อสู้รบกับกองพลจู่โจมเยอรมัน"[8] แม้ว่าเกราะและอาวุธยุทโธปกรณ์ของมันจะมีมากกว่าในช่วงสงคราม แต่ก็ยังได้ถูกอธิบายว่า เป็นการออกแบบรถถังที่มีอิทธิพลมากที่สุดในสงคราม[9]

ที-34 เป็นหัวหลักของกองกำลังยานเกราะโซเวียตในช่วงตลอดสงคราม ข้อมูลจำเพาะทั่วไปของมันยังแทบไม่เปลี่ยนแปลงจนถึงปลายปี ค.ศ. 1944 เมื่อได้อัพเกรดอำนาจการยิงด้วยการเปิดตัวรถถังรุ่นที-34/85 ที่ถูกทำออกมาดีมากขึ้น วิธีการผลิตนั้นได้ถูกทำออกมาอย่างประณีตและมีเหตุผลอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของแนวรบด้านตะวันออก ทำให้ที-34 ถูกผลิตออกมาได้เร็วและราคาถูกกว่า ในท้ายที่สุด โซเวียตได้สร้างที-34 จำนวนกว่า 80,000 คันของทุกรุ่นทั้งหมด ทำให้สามารถเข้าสู่สนามรบได้จำนวนมากขึ้นเรือย ๆ แม้จะต้องประสบความสูญเสียในการสู้รบกับกองทัพแวร์มัคท์ของเยอรมัน[10] การแทนที่รถถังเบาและขนาดกลางจำนวนมากในการเข้าประจำการในกองทัพแดง เป็นรถถังที่ถูกผลิตขึ้นได้มากที่สุดในสงครามและเป็นรถถังที่ผลิตขึ้นได้มากที่สุดเป็นอันดับสองตลอดกาล (รองลงจากรถถังรุ่น ที-54/ที 55)[11] ด้วยจำนวนที่สูญเสีย 44,900 คันในช่วงสงคราม มันยังเป็นการสูญเสียรถถังมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา[12] การพัฒนาได้นำไปสู่รถถังรุ่น ที-44 โดยตรง จากนั้นก็เป็นรถถังรุ่น ที-54 และที-55 ซึ่งจะพัฒนามาเป็นรถถังรุ่น ที-62 ที-72 และที-90 ในภายหลัง ซึ่งเป็นแกนหลักของยานเกราะของกองทัพสมัยใหม่จำนวนมาก ที-34 รุ่นต่าง ๆ ได้ถูกส่งออกไปอย่างกว้างขวางในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และเมื่อไม่นานมานี้ ในปี ค.ศ. 2018 มีจำนวนมากกว่า 130 คัน ที่ยังอยู่ในประจำการ[13]

กำเนิด[แก้]

ที-34 พัฒนาขึ้นมามาจากรถถังตระกูลบีที หรือที่ภาษารัสเซียเรียก แบแต ซึ่งเป็นรถถังเคลื่อนที่เร็ว และถูกนำเข้าประจำการณ์แทนรถถังตระกูลบีที และ ที-26 โดยช่วงก่อน ค.ศ. 1939 รถถังโซเวียตส่วนมากเป็นรถถังเบารุ่นที-26 และ รถถังเคลื่อนที่เร็วตระกูลบีที รุ่น ที-26 นั้นเป็นรถถังเคลื่อนที่ช้าสำหรับทหารราบมันถูกออกแบบมาให้เกาะไปกับทหารเดินเท้า ส่วนบีทีนั้น เป็นรถถังของทหารม้า มันเร็วมาก และถูกออกแบบให้สู้กับรถถัง แต่ไม่ใช่กับทหารราบ แต่ทั้งสองแบบมีเกราะบาง ป้องกันอาวุธเล็ก ได้ แต่ต้านปืนต่อสู้รถถังขนาดใหญ่ไม่ได้ ขณะที่เครื่องยนต์น้ำมันก๊าดของรถถังก็มักมีปัญหาไฟลุกอยู่ บ่อยครั้ง ทั้งสองแบบ ต่างก็พัฒนามาจากมันสมองของชาวต่างชาติทั้งสิ้น ที-26 นั้นพัฒนามาจากรถถัง วิคเกอร์-6 ตัน ของอังกฤษ ส่วน บีที ก็เป็นการออกแบบโดยวอลเตอร์ คริสตี้ วิศวกรอเมริกัน

เอ-20, เอ-32[แก้]

ค.ศ. 1937 กองทัพแดงมอบหมายให้ มิคาอิล กอชกิ้น ( Mikhail koshkin ) ให้เป็นผู้นำทีมออกแบบรถถังที่จะมาแทนรถถังบีที พวกเขาก็ได้รถถังต้นแบบที่เรียกกันว่า เอ-20 ตามขนาดเกราะที่หนา 20 มม.ติดปืนขนาด 45 มม.และใช้เครื่องยนต์ วี-2ที่พัฒนาใหม่ ใช้น้ำมันดีเซลซึ่งติดไฟได้ยากกว่า มันมีล้อขนาด 8x6 คล้ายกับล้อขนาด 8x2 ของบีที ที่สามารถวิ่งได้แม้ไม่มีตีนตะขาบ ทำให้ไม่ต้องซ่อมบำรุงรักษาตีนตะขาบที่ในยุคนั้นยังไม่สมบูรณ์นัก มันทำความเร็วบนถนนได้กว่า 85 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกจากนั้น ทีมออกแบบยังได้ยืมแนวคิดจากการวิจัยโครงการรถถังบีทีก่อนหน้านี้ เรื่องการโค้งมนของเกราะ เพื่อให้กระสุนที่ถูกยิงมาแฉลบออกไปมาใช้ด้วย แต่ข้อได้เปรียบในด้านการรบอื่นๆของ เอ-20 ยังไม่มี

กอชกิ้นได้ขอสตาลินเดินหน้าพัฒนารถถังต้นแบบรุ่น 2 เพื่อให้เป็นรถถังครอบจักรวาล ติดอาวุธหนักกว่า มีเกราะหนากว่า และสามารถใช้ทดแทนได้ทั้งรถถัง ที-26 และ บีที รถต้นแบบนี้พวกเขาเรียกมันว่า เอ-32 ตามความหนา 32 มม.ของเกราะด้านหน้า มันติดปืนขนาด 76.2 มม. และใช้เครื่องยนต์แบบ เอ-20 รถ ถังรุ่นนี้เคลื่อนที่ได้ดีพอๆกับ เอ-20 แม้จะหนักกว่า

สงครามฟินแลนด์ช่วยแจ้งเกิด[แก้]

ต่อมาเกิดสงครามฤดูหนาวระหว่างโซเวียตกับฟินแลนด์และรถถังรุ่นที่มีอยู่ของโซเวียตแสดงผลงานการรบได้ย่ำแย่มาก ปัญหาการไม่ยอมรับรถถัง เอ-32 ของบรรดานายทหาร และปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการผลิตรถถังรุ่นใหม่ที่สูงมากจึงถูกมองข้ามไป ประกอบกับมีประเด็นเรื่องความสำเร็จของการทำสงครามสายฟ้าแล่บของเยอรมนีในฝรั่งเศสมาเสริม รถถัง เอ-32 รุ่นที่มีเกราะด้านหน้าหนา 45 มม.และมีตีนตะขาบที่กว้างกว่าเดิม จึงเข้าสู่สายพานการผลิต มันได้รับชื่อว่า ที-34 คอชกิ้นเลือกใช้ชื่อนี้ก็เพราะ ค.ศ. 1934 เป็นปีที่ลูกของเขาเกิดแนวคิดเกี่ยวกับรถถังรุ่นใหม่ และเพื่อเป็นการร่วมฉลองการออกกฤษฎีกาขยายกองกำลังยานเกราะ

ที-34 คลอด ผู้ให้กำเนิดตาย[แก้]

ที-34 ต้นแบบ 2 คันสร้างเสร็จต้น ค.ศ. 1940 และได้แสดงแสนยานุภาพโดยการวิ่งไกล 2,000 กิโล เมตรจากโรงงานที่คาร์คอฟ (ปัจจุบันเรียก คาร์คิฟ อยู่ในยูเครน) เพื่อไปมอสโก ก่อนจะไปฟินแลนด์ มิ้นส์ก และเคี๊ยฟ ก่อนจะกลับไปโรงงานเพื่อปรับปรุงข้อบกพร่อง ที-34 รุ่นพร้อมใช้งานออกมาในเดือนกันยายนปีเดียวกัน และเข้าทดแทนรถถัง ที-26 , รถถังขนาดกลางที-28 และ บีที ปลายเดือนเดียวกันนั้น กอชกิ้นก็เสียชีวิตจากโรคปอดบวม รถรุ่นแรกติดปืนขนาด 76.2 มม.จึงเรียกกันว่า ที-34/76 ในปี ค.ศ. 1944 มีการปรับปรุงระบบอาวุธ โดยหันมาใช้ปืนขนาด 85 มม. จึงเรียกว่า ที-34/85 เพื่อนำมาต่อกรกับรถถถังพันท์เซอร์และทีเกอร์ของฝ่ายเยอรมัน

รับศึกหนักเยอรมัน[แก้]

ในเบื้องต้น ที-34 ผลิตกันที่เมืองคาร์คอฟ โดยโรงงานอื่นๆส่งส่วนประกอบต่างๆมาสนับสนุน ต่อมามีการย้ายฐานการผลิตไปเมืองอื่น ก่อนที่นาซีเยอรมันจะบุกสหภาพโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่องนี้กดดันให้ประเทศต้องเร่งผลิตที-34 ออกมาเต็มกำลังหลังจากที่ก่อนหน้านี้ถกเถียงกันว่า ควรหันไปผลิตรถถังรุ่นเก่า หรือไม่ก็หันพัฒนารุ่นที่ก้าวหน้ามากกว่า ช่วงที่ประเทศเข้าสู่สงคราม ที-34 มีสัดส่วนแค่ 4 เปอร์เซ็นต์ของรถถังของประเทศ

การปรากฏตัวของที-34 ในฤดูร้อน ค.ศ. 1941 ทำให้ทหารเยอรมันประหลาดใจ และตกใจอย่างมากแม้ คาดว่าจะเจอการตอบโต้อย่างหนักจากฝ่ายศัตรูมาอย่างดีแล้วก็ตาม แต่ที-34 ยุคแรกก็มีข้อบกพร่องทาง ด้านเครื่องยนต์มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเกียร์และคลัทช์ ความสูญเสียของที-34 ใน ฤดูร้อนปีนั้น ครึ่งหนึ่งเกิดจากความบกพร่องของมันเอง มากกว่าที่จะเป็นจากฝ่ายข้าศึก

จากการสูญเสียมากมายในช่วงแรกของฝ่ายโซเวียต จึงได้คิดหาวิธีทำให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตรถถูกลง แต่รถ ถังยังใช้งานได้ดี เช่นเรื่องการทำให้โลหะแข็งขึ้น ในที่สุดในเวลาแค่ 2 ปี ค่าใช้จ่ายในการผลิตรถที-34ก็ลด ลงจากคันละ 269,500 รูเบิ้ลในปี ค.ศ. 1941 เหลือแค่ 135,000 รูเบิ้ล ระยะเวลาในการสร้างก็ลดลงครึ่งหนึ่ง ใช้เวลาในการผลิต1200คันต่อเดือน แม้คนงานส่วนมากจะเป็นผู้หญิง คนสูงอายุ และเด็ก

ที-34 เหนือกว่ารถถังเยอรมันอย่างมากเมื่อสามารถลุยได้ทั้งในสภาพพื้นผิวทีเป็นโคลนหนา หรือน้ำแข็ง อาวุธของฝ่ายทหารราบเยอรมันก็ทำอะไรมันไม่ได้ แต่ที่ทำให้ ที-34 ไม่ประสบควมสำเร็จขนานใหญ่ก็เพราะพลประจำรถถังที่ได้รับการฝึกน้อย และฝ่ายบัญชาการที่มีข้อบกพร่อง ฝ่ายเยอรมันได้แก้เกมด้วยการผลิตปืนต่อสู้รถถัง และรถถังที่ใหญ่กว่า แม้ทหารเยอรมันบอกว่าที่พวกเขาต้องการก็คือให้เยอรมันผลิต ที-34 ออกมาสู้กับที-34 ของโซเวียต

ที-43 หวังแจ้งเกิด แต่ไม่ไหว[แก้]

หลังจากฝ่ายเยอรมันนำปืนขนาด 75 มม.มาติดรถถังของพวกเขาในปี ค.ศ. 1942 ทำให้ที-34 ไม่ได้เปรียบอีกต่อไป โซเวียตก็ได้เริ่มออกแบบรถถังรุ่นใหม่คือ ที-43 ซึ่งหวังจะให้เด่นในเรื่องเกราะที่เพิ่มการป้องกันได้มากขึ้น มันจะเป็นรถถังเอนกประสงค์ โดยจะเข้ามาแทน ที-34 และ รถถังหนัก เควี-1 แต่ปีถัดมา เยอรมนีส่งรถถังทีเกอร์และพันท์เซอร์เข้าสนามรบ ปืนของที-34 สู้กับรถถังรุ่นใหม่ไม่ไหว มองกันว่าปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 88 มม.น่าจะสู้ได้ และมันสามารถนำมาปรับใช้กับรถถังได้ แต่เกราะของ ที-43 รุ่นต้นแบบก็ยังต้านทานปืนใหญ่รถถังขนาด 88 มม.ของทีเกอร์ไม่ไหว ขณะเดียวกันความเร็วของมันก็สู้ ที-34 ไม่ได้ โซเวียตจึงตัดสินใจปรับปรุง ที-34 จนกลายเป็นรุ่น ที-34/85 ตามขนาดของปืน การตัดสินใจพัฒนารถถังรุ่นเก่า แทนการผลิตรุ่นใหม่ มีความสำคัญต่อการรักษาอัตราการผลิตรถถังของโซเวียตอย่างมาก เพราะขณะที่โซเวียตผลิตที-34/85 ได้เดือนละ 1,200 คันเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1944 นาซีเยอรมันมีรถถังพันท์เซอร์อยู่ในแนวรบตะวันออกแค่ 304 คันเท่านั้น ข้อด้อยของที-34 จึงสู้กับรถถังเหล่านี้ได้ไม่ยากเย็นนัก

ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการสร้าง ที-34/85 ก็ลดลงเรื่อยๆ ปี ค.ศ. 1945 ค่าใช้จ่ายลดเหลือคันละ142,000 รูเบิ้ล ขณะที่ศักยภาพการเคลื่อนที่และความเร็วยังเท่าเดิม ส่วนระบบอาวุธและเกราะก็เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จนถึงปลายปี ค.ศ. 1945 ที-34 ถูกผลิตออกมากว่า 57,000 คัน และคิดเป็น 55 เปอร์เซ็นต์ของรถถังทั้งหมดที่โซเวียตมีอยู่

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง[แก้]

หลังสงคราม มีการผลิตที-34 ออกมาอีกมากมาย รวมทั้งมีการออกใบอนุญาตให้ประเทศอื่นๆสามารถผลิตมันได้ด้วยอย่างจีน โปแลนด์ และ เชคโกสโลวาเกีย ในยุคทศวรรษที่ 1960 ที-34/85 มีการปรับปรุงให้ทันสมัยเพื่อการส่งออกและการเป็นกำลังสำรอง ประเมินกันว่า ที-34 ถูกผลิตออกมาทั้งสิ้น 84,070 คัน มันถูกใช้ในกลุ่มประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอ ในสงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม สงครามบอสเนีย ตะวันออกกลาง อัฟกานิสถาน อังโกล่า โซมาเลีย และไซปรัส รวมแล้ว 39 ประเทศทั่วโลกเคยนำ ที-34 เข้าประจำการ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Zaloga & Kinnear 1996:18
  2. Specifications for T-34 model 41 WWIIVehicles.com. Retrieved on 18 May 2013.
  3. Zaloga & Sarson 1994:5
  4. Zaloga & Grandsen 1984:184
  5. McFadden, David Frederick (2002). Two ways to build a better mousetrap. Ohio: Ohio State University. p. 11.
  6. Guderian, Heinz (2000). "6". Panzer Leader. London: Penguin Classics. p. 233. ISBN 978-0-14-139027-7.
  7. Caidin, M. (1974). 14 "The incredible T-34 tank." In The Tigers are Burning (2nd ed., p. 162). Los Angeles: Pinnacle Books.
  8. Kennedy, Paul (2013). Engineers of Victory. New York: Random House. pp. 184. ISBN 978-1-4000-6761-9.
  9. "Achtung Panzer! – T-34!".
  10. "The T-34 in WWII: the Legend vs. the Performance | Operation Barbarrosa". www.operationbarbarossa.net. สืบค้นเมื่อ 2015-12-16.
  11. Harrison 2002
  12. Krivosheev, G. I. (1997). Soviet Casualties and Combat Losses. Greenhill. p. 253. ISBN 978-1-85367-280-4.
  13. International Institute for Strategic Studies (IISS) (2010). The Military Balance 2010. London: IISS. ISBN 978-1-85743-557-3.