ที่มาของประชากรลาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ที่มาของประชากรลาว (Peopling of Laos) หมายถึงการที่กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในลาวเกิดขึ้นเป็นชุมชนในประเทศลาวปัจจุบัน โดยเชื่อว่าประชากรลาวในปัจจุบันมีความเกี่ยวพันกับกลุ่มประชากรที่มีดีเอ็นเอในโครโมโซมวายแบบฮาโลกรุป O ซึ่งมีความใกล้เคียงกับชนกลุ่มน้อยในจีนเมื่อ 35,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งต่อมากลุ่มชนดังกล่าวได้แพร่กระจาย จนบางส่วนเข้ามาอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศลาวในปัจจุบัน

การมาถึงของชาวขมุ[แก้]

แผนที่แสดงการกระจายของผู้พูดภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กลุ่มชนที่พูดกลุ่มภาษาขมุจัดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มแรก ๆ ที่มีหลักฐานว่าเข้ามาถึงดินแดนที่เป็นประเทศลาวในปัจจุบัน ต่อมาได้กลมกลืนไปกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาในกลุ่มภาษามอญ-เขมรที่เข้ามาภายหลัง รวมทั้งกลุ่มชนที่พูดภาษาไท เชื่อกันว่าชาวขมุเหล่านี้ อพยพจากจีนเข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศลาวในทุกวันนี้เมื่ออย่างน้อย 4,000 ปีที่ผ่านมา กลุ่มชนนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของบรรพบุรุษที่พูดภาษาออสโตรเชียติกดั้งเดิม ที่มีบ้านเกิดตามแนวชายแดนจีนในปัจจุบันเมื่อราว 10,000 ปีที่ผ่านมา จากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอในโครโมโซมวายแบบฮาโลกรุป O บรรพบุรุษเหล่านี้ มีต้นกำเนิดร่วมกับกลุ่มขนที่พูดภาษาจีน-ทิเบตดั้งเดิมและภาษาม้ง-เมี่ยนดั้งเดิม

จำนวนประชากรในกลุ่มที่พูดภาษากลุ่มขมุในลาว ได้แก่

  • ชาวขมุ 389,694 คน
  • ชาวเคือน 8,000 คน
  • ชาวมัล 23,193 คน
  • ชาวมลาบรีหรือผีตองเหลือง 24 คน บางครั้งเรียกชาวยัมบรี
  • ชาวโอดู
  • ชาวไพ 15,000 คน
  • ชาวซิญมุล 3,164 คนรวมชาวพองเคนียงและพวกด้วย

การอพยพมาตามแนวชายฝั่งของกลุ่มที่พูดภาษามอญ-เขมร[แก้]

เช่นเดียวกับชาวขมุ กลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษากลุ่มมอญ-เขมร เป็นชนกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชนกลุ่มนี้คาดว่าแพร่กระจายเข้ามาในลาวในยุคโลหะ โดยมีเอกลักษณ์คือปลูกข้าว ตีโลหะ เลี้ยงสัตว์และพูดภาษากลุ่มมอญ-เขมร โดยเริ่มแพร่กระจายจากชายฝั่งตะวันออกไปตะวันตก แล้วจึงอพยพเข้าไปในแผ่นดิน คาดว่าขนกลุ่มนี้เข้าสู่ลาวทางตะวันตก โดยผ่านไทยและกัมพูชาเข้าไป

กลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษากลุ่มมอญ-เขมรในลาวได้แก่

  • ชาวอะเฮว 1,770 คนในแขวงจำปาศักดิ์
  • ชาวอาลัก 4,000 คนทางภาคใต้ของลาว
  • ชาวอะเรมประมาณ 500 คน
  • ชาวบอ 2,950 คน
  • ชาวบรู 69,000 คน
  • ชาวชัต 450 คนในแขวงคำม่วน
  • ชาวฮลังดวนในแขวงอัตตะปือ และบนที่ราบสูงกัสเซง
  • ชาวฮุง 2,000 คนในแขวงบอลิคำไซและแขวงคำม่วน
  • ชาวอิร 4,420 คนในแขวงสาละวัน
  • ชาวเจ๊ะห์ 8,013 คนในภาคใต้ของลาว
  • ชาวเจ็ง 7,320 คนในแขวงอัตตะปือ
  • ชาวกัสเซง 6,000 คนในภาคใต้ของลาว
  • ชาวกาตัง 107,350 คนในลาว
  • ชาวกะตู 14,700 คน
  • ชาวคลอร์ 6,000 คน
  • ชาวเขมร 10,400 คน
  • ชาวคัว 2,000 คน
  • ชาวกรี ชาวกุย 51,180 คน
  • ชาวลาแวหรือชาวเบรา
  • ชาวลาเว 12,750 คน
  • ชาวลาเว็น 40,519 คน
  • ชาวลาวี
  • ชาวมาเล็ง 800 คน
  • ชาวมอญ
  • ชาวแง 12,189 คน
  • ชาวเงือน
  • ชาวญาเฮือน
  • ชาวโอง
  • ชาวโอย
  • ชาวปาโกะห์
  • ชาวพอง
  • ชาวซาดัง
  • ชาวซาลัง
  • ชาวซาปวน
  • ชาวซิงมุน
  • ชาวมากอง
  • ชาวโสก
  • ชาวซู
  • ชาวซูเอย
  • ชาวตาเลียง
  • ชาวตะโอย
  • ชาวแท
  • ชาวตุม
  • ชาวเวียดนาม 76,000 คน
  • ชาวแยะ

การมาถึงของชาวปะหล่องจากพม่า[แก้]

กลุ่มชนที่พูดภาษาในกลุ่มภาษาปะหล่อง เป็นชนพื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อว่าจุดกำเนิดของชนเหล่านี้อยู่ในพม่าใกล้กับแนวชายแดนจีน ชาวปะหล่องมีความสัมพันธุ์ใกล้ชิดกับชาวขมุ โดยเป็นกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกในพม่า กลุ่มชนที่พูดภาษากลุ่มปะหล่องในลาว ได้แก่

  • ชาวบิต 1,530 คน ยังเป็นที่โต้แย้งว่าเป็นชาวปะหล่องหรือชาวขมุ
  • ชาวกอน 1,000 คนในแขวงหลวงน้ำทา
  • ชาวสามเตา 2,359 คน
  • ชาวละเม็ต 16,740 คน

การอพยพของชาวไทจากจีน[แก้]

การอพยพของกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลไทจากเขตภูเขาทางเหนือเข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศลาวในปัจจุบันเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ โดยเข้ามาตามที่ราบลุ่มแม่น้ำทางเหนือ เข้ามาอาศัยในที่ราบลุ่ม และเข้ามาแทนที่หรืออยู่ร่วมกับกลุ่มชนที่พูดภาษาในตระกูลออสโตร-เอเชียติก ภาษาและวัฒนธรรมของชาวไทเป็นวัฒนธรรมที่โดดเด่นในประเทศไทยและลาวในปัจจุบัน จุดกำเนิดของกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลขร้า-ไทมีต้นกำเนิดทางตอนใต้ของจีนและมีบรรบุรุษร่วมกับกลุ่มชนที่พูดภาษาออสโตรนีเซียนดั้งเดิม[1]

กลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลขร้า-ไทในลาวได้แก่

  • ชาวลาว 3,000,000 คน
  • ชาวไทแดง
  • ชาวไทดำ
  • ชาวไทกะปง
  • ชาวไทเฮ
  • ชาวไทคัง 47,636 คน
  • ชาวไทขาว
  • ชาวกงสัต
  • ชาวกวน 2,500 คน
  • ชาวไทลาน
  • ชาวไทเมี่ยน
  • ชาวไทล้านนา
  • ชาวไทลอย
  • ชาวไทลอง
  • ชาวได 134,100 คน
  • ชาวไทอีสาน
  • ชาวไทเหนือ
  • ชาวนุง
  • ชาวย้อ
  • ชาวไทเปา
  • ชาวไทเปือง
  • ชาวพวน 106,099 คน
  • ชาวผู้ไท 154,400 คน
  • ชาวพูโก
  • ชาวเรียน
  • ชาวแสก
  • ชาวไทซัม
  • ชาวไทโย
  • ชาวไทเยน
  • ชาวย้อย
  • ชาวไทยภาคกลาง
  • ชาวจ้วง
  • ชาวไทใหญ่
  • ชาวยาง

การอพยพของชาวม้ง-เมี่ยนจากจีน[แก้]

ชาวม้ง-เมี่ยนอพยพจากจีนเข้าสู่ลาวในช่วงเวลาที่กว้าง ยกเว้นชาวลูเมี่ยนที่อพยพจากจีนเข้าสู่เวียดนามในพุทธศตวรรษที่ 18 แล้วจึงเข้าสู่ลาว จุดกำเนิดของชาวม้งเมี่ยนคาดว่าอยู่ที่ Kweichow ในมณฑลยูนนาน เมื่อราว 2000 ปีที่แล้ว ชาวม้งกลุ่มต่าง ๆ ในลาวได้แก่

  • ชาวม้งดอ 169,800 คน
  • ชาวม้งจัวะ 145,600 คน
  • ชาวลูเมี่ยนหรือเย้า 20,250 คน
  • ชาวกิมมุน 4,500 คน

การอพยพอย่างต่อเนื่องของกลุ่มที่พูดภาษาจีน[แก้]

การอพยพของชาวจีนเข้าสู่ลาวเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาหลายศตวรรษ โดยกลุ่มชาวจีนที่พบมากในลาวมักมาจากทางภาคใต้ของจีน

การอพยพของชาวโลโลจากทิเบตผ่านพม่า[แก้]

กลุ่มชนที่พูดภาษากลุ่มโลโลนี้คาดว่าเป็นลูกหลานของชาวเกวียงโบราณในจีนตะวันตก ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวทิเบต ชาวหน่าซีและชาวเกวียงในปัจจุบัน ชาวโลโลหรือชาวอี้อพยพมาจากทางตะวันออกเฉียงใต้ของทิเบตเข้าสู่เสฉวน ยูนนาน บางส่วนเข้าสู่พม่า และมายังลาว

กลุ่มชาติพันธุ์ในกลุ่มนี้ได้แก่

  • ชาวก้อหรือชาวอาข่า 58,000 คน
  • ชาวฮานี 1,122 คนในแขวงพงสาลี
  • ชาวกะดัว 5,000 คน
  • ชาวลาหู่ 8,702 คน
  • ชาวลาหู่ชิ 3,240 คน
  • ชาวพนา
  • ชาวผู้น้อย
  • ชาวซีลา

การอพยพของชาวกะโดจากจีน[แก้]

นอกจากกลุ่มที่พูดภาษากลุ่มโลโลแล้ว ชาวกะโดเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษากลุ่มทิเบต-พม่าอีกกลุ่มหนึ่งในลาว มี 225 คนในแขวงพงสาลี คาดว่าอพยพมาจากจีน พูดภาษาในกลุ่มพม่า-ทิเบตเช่นเดียวกับชาวโลโล

อ้างอิง[แก้]

  1. Sagart, L. 2004. The higher phylogeny of Austronesian and the position of Tai–Kadai. Oceanic Linguistics 43.411-440.