ทีมสำรอง สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์เซนอล ทีมสำรอง
ชื่อเต็มทีมสำรอง สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล
ฉายาปืนใหญ่
ก่อตั้งค.ศ. 1886
สนามอันเดอร์ฮิลล์สเตเดียม
บาร์เนต
ลอนดอน
Ground ความจุ5,500
ประธานอังกฤษ ปีเตอร์ ฮิล-วูด
Head Coachอังกฤษ นีล แบนฟิลด์
ลีกเอฟเอพรีเมียร์ลีกทีมสำรอง
2006-07FAPRL Southern Division, อันดับ 9
Yellow jersey with redcurrant pinstripes, redcurrant shorts, yellow socks with redcurrant band and stripes
สีชุดทีมเยือน

ทีมสำรอง สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล เป็นทีมสำรองที่อยู่ในลีกทีมสำรองทางภาคใต้ของประเทศอังกฤษตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาในปี ค.ศ. 1999 สนามเหย้าคือ อันเดอร์ฮิลล์สเตเดียม ซึ่งเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลบาร์เนตอีกด้วย ผู้เล่นส่วนใหญ่เป็นเยาวชนของสโมสรที่อายุไม่เกิน 21 ปี ส่วนผู้เล่นที่อายุต่ำกว่า 18 ปีจะได้ไปอยู่ในทีมเยาวชนแทน ในบางครั้ง นักเตะรุ่นพี่ในทีมชุดใหญ่ก็จะมาเล่นในทีมสำรองเป็นบางครั้งบางครั้ง อย่างเช่นกรณีที่เพิ่งหายจากอาการบาดเจ็บมาใหม่ๆ

หัวหน้าโค้ชของทีมสำรองคือ นีล แบนฟิลด์ ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมด้วย โดยมี ไมก์ ซาลมอน เป็นผู้ช่วย ส่วนหัวหน้าศูนย์พัฒนาเยาวชนของอาร์เซนอลคือ ไลอัม แบรดี มีเดวิด คอร์ท คอยดูแลพัฒนาการโดยทั่วๆไปของผู้เล่นเยาวชนในทีม

ประวัติ[แก้]

1887-1991[แก้]

อาร์เซนอลมีทีมสำรองตั้งแต่ช่วงแรกๆของการก่อตั้งเป็นรอยัลอาร์เซนอล โดยทีมสำรองเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี 1887 ในช่วงแรกจะเล่นเฉพาะแมตช์กระชับมิตรและรายการชิงถ้วยเท่านั้น โดยในฤดูกาล 1889-90 นั้น ก็สามารถคว้าแชมป์เคนท์จูเนียร์คัพได้ ต่อมาในฤดูกาล 1895-96 วูลิชอาร์เซนอล (เปลี่ยนเป็นชื่อนี้ในปี 1891) ชุดสำรองก็ได้เข้าร่วมการแข่งขันเคนท์ลีก โดยสามารถคว้าแชมป์ได้ในฤดูกาลต่อมา แต่ได้ออกจากการแข่งขันในปี 1900 หรืออาจจะหลังจากนั้นเล็กน้อย [1]

ต่อมา พวกเขาก็ได้เข้าร่วมรายการ ลอนดอนลีก และสามารถคว้าแชมป์ได้สามสมัยในช่วงทศวรรษที่ 1900

จากฤดูกาล 1900-01 และ 1902-03 ทีมสำรองก็ได้เข้ามาเล่นในเคนท์ลีกตะวันตก สามารถคว้าแชมป์ได้ทุกฤดูกาลที่ลงทำการแข่งขัน[2] ต่อมาในปี 1903 ทีมสำรองของอาร์เซนอลต้องย้ายมาเล่นในลีกตะวันออกเฉียงใต้ เพราะว่าแข็งแกร่งเกินกว่าที่ทีมคู่แข่งในลีกตะวันตกจะสามารถสู้ได้ พวกเขาเล่นในลีกนี้มาจนถึงฤดูกาล 1914-15 จึงต้องหยุดไปเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการออกกฎห้ามเล่นฟุตบอล ก่อนหน้าที่จะห้ามเล่นนี้ พวกเขาได้เข้าไปเล่นในลีกดิวิชันหนึ่งของลอนดอนในฤดูกาล 1906-07, 1907-08, 1908-09, 1913-14 และ 1914-15 โดยในปี 1913 นั้นสโมสรได้ตัดคำว่า"วูลิช"ออก เหลือแต่เพียงคำว่า "อาร์เซนอล" เท่านั้น

1919-1939[แก้]

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง ทีมสำรองอาร์เซนอลก็ได้เข้ามาเล่นในลีกรวมลอนดอนอีก (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น the Football Combination ในฤดูร้อนของปี 1939) ในฤดูกาล 1926-27 นั้น ลีกนี้ได้เติบโตขึ้นโดยมีทีมสำรองจากสโมสรที่อยู่ไกลออกไปเข้ามาร่วมทำการแข่งขันกัน เช่น พอร์ธสมัธ, สวานซี, เซาท์เอนด์ และเลสเตอร์ซิตี

ในช่วงรอยต่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 นี้ ทีมสำรองอาร์เซนอลเริ่มประสบความสำเร็จเท่าๆกับทีมชุดใหญ่ โดยสามารถคว้าแชมป์ลีก Combination ได้ 11 ครั้ง นอกจากนั้นในปี 1931 พวกเขาก็ยังได้รับเชิญให้เข้าไปเล่นในลอนดอนเอฟเอชาเลนจ์คัพ และคว้าแชมป์ได้สองครั้งในฤดูกาล 1933-34 และ 1935-36

อาร์เซนอลต้องการให้โอกาสกับนักเตะเยาวชน จึงได้สร้างทีม A ขึ้นมาในปี 1929 โดยตอนแรกนั้นทีม A ได้เล่นในลีกกลางสัปดาห์รายการลอนดอนโปรเฟสชันแนล และได้แชมป์ในฤดูกาล 1931-32[2] ทีมชุดนี้ได้ทำการแข่งขันเรื่อยมาจนถึงปี 1933-34 จนกระทั่งฤดูร้อนของปี 1934 อาร์เซนอลได้จับมือกับ Margate ให้เป็นสโมสรลูก อาร์เซนอลทำข้อตกลงส่งนักเตะดาวรุ่งเข้าไปเล่นในสโมสร Margate เพื่อหาประสบการณ์ในลีกทางใต้และยังให้โอกาสผู้เล่นของ Margate มาเล่นในกับอาร์เซนอลเป็นบางครั้งอีกด้วย ทั้งสองสโมรมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเป็นเวลานาน 4 ปีก่อนที่อาร์เซนอลจะยุติความสัมพันธ์ในปี 1938 หลังจากนั้น อาร์เซนอลก็ได้ส่งทีมสำรองของสโมสรเองเข้าไปเล่นในลีกทางใต้ด้วยสิทธิของสโมสรเอง โดยเกมในบ้านจะเล่นที่สนามที่ตั้งอยู่บนถนน Southbury Road ซึ่งเป็นสนามเหย้าของสโมสร Enfield โดยสโมสรสามารถคว้าอันดับที่ 6 มาครองได้ในฤดูกาล 1938-39

ในฤดูกาล 1939-40 หลังจากลีก Football Combination ได้ทำการแข่งขันเพียง 2 นัดและลีกทางใต้ได้ทำการแข่งชันไปเพียงนัดเดียวนั้น ฟุตบอลก็โดนสั่งห้ามเล่นอีกครั้งเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2ได้เปิดฉากขึ้น อาร์เซนอลจึงไม่มีทีมสำรองหรือทีม A ในช่วงสงครามเลย เหลือแต่เพียงอาร์เซนอลชุดใหญ่เท่านั้น

1945-1999[แก้]

ในฤดูกาล 1946-47 ลีก Football Combination ได้มีการจัดการแข่งขันขึ้นอีกครั้งโดยแบ่งออกเป็นสองดิวิชัน และจะนำผู้ชนะของแต่ละดิวิชันมาทำการแข่งขันกันในรอบชิงชนะเลิศเพื่อตัดสินตำแหน่งแชมป์ การแข่งขันครั้งใหม่ยังมีการจัดแข่งขันบอลชิงถ้วยขึ้นเรียกว่า Football Combination Cup ด้วย ซึ่งทีมที่ได้เข้าแข่งขันก็จะเป็นชุดเดิมกับที่เล่นในลีกแต่จะแบ่งออกเป็น 4 สายโดยผู้ชนะของแต่ละสายจะได้สิทธิเข้าไปเล่นในรอบรองชนะเลิศและชิงชนะเลิศต่อไป การจัดการแข่งขันรูปแบบนี้ได้ดำเนินการไปจนกระทั่งสิ้นสุดฤดูกาล 1954-55 และจากฤดูกาล 1955-56 ลีก Football Combination ได้ปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบปกติ โดยจะแบ่งออกเป็นสองดิวิชันที่มีการตกชั้นและเลื่อนชั้น ส่วน Football Combination Cup ได้ถูกยกเลิกไป แต่ก็ได้มีการจัดการแข่งขันเป็นบางครั้งบางคราวเช่นในฤดูกาล 1965-66 ถึงฤดูกาล 1969-70 รวมไปถึงฤดูกาล 1996-97 ด้วย ทีมสำรองได้เข้าไปเล่นในรายการลอนดอนเอฟเอชาเลนจ์คัพอีกครั้งจนกระทั่งถึงฤดูกาล 1973-74 (ยกเว้นฤดูกาล 1961-62 ที่ทีมชุดใหญ่เข้าไปเล่นแทน)

ทีม A ได้จัดตั้งขึ้นอีกครั้งในตอนต้นฤดูกาล 1948-49 ซึ่งทีมชุดนี้ได้เข้าไปเล่นในรายการ Eastern Counties League, Eastern Counties League Cup และ East Anglian Cup นอกจากนั้น ทีม A ยังได้เข้าไปเล่นในลีกกลางสัปดาห์รายการลอนดอนโปรเฟสชันแนลในฤดูกาล 1949-50 ถึงฤดูกาล 1957-58 อีกด้วย สามารถคว้าแชมป์สมัยที่สองไดเในฤดูกาล 1952-53 ต่อมา ในช่วงหน้าร้อนของปี 1958 ทีม A ได้เขาไปเล่นใน Metropolitan League, Metropolitan League Cup และ Metropolitan League Professional Cup เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าทีมๆนี้ประสบความสำเร็จมาจนถึงกลางทศวรรษที่ 1960 ปลายทศวรรษนี้ ทีม A ต้องแข่งกับทีมสมัครเล่นที่แข็งแกร่งกว่ามากจนกระทั่งสโมสรเลิกส่งทีม A เข้าไปเล่นในรายการนี้จนกระทั่งฟุตบอลรายการนี้ได้ปิดฉากในในฤดูกาล 1968-69

1999-ปัจจุบัน[แก้]

ในฤดูกาล 1999 ลีก Combination ถูกยกเลิก และได้มีการก่อตั้ง เอฟเอพรีเมียร์ลีกทีมสำรอง อาร์เซนอลไม่เคยเป็นแชมป์ลีกนี้เลยสักครั้ง เคยได้รองแชมป์ในฤดูกาล 2001-02 โดยตั้งแต่ฤดูกาล 1999-2000 นั้น ทีมสำรองก็ได้เล่นในเอฟเอพรีเมียร์ลีกทีมสำรอง (ภาคใต้) มาตลอด

ผู้เล่นในทีมสำรองสามารถขึ้นไปเล่นในลีกคัพได้นับตั้งแต่ฤดูกาล 1997-98 เป็นต้นมา

ผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นทีมสำรองของอาร์เซนอลจากการประกาศของสโมสร มีดังนี้[3] หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
–– GK อังกฤษ James Shea
–– GK โปแลนด์ Wojciech Szczęsny
–– DF อังกฤษ Kerrea Gilbert (ย้ายไป เลสเตอร์ซิตี ด้วยสัญญายืมตัว จนถึงมิถุนายน 2009)
–– DF อังกฤษ Abu Ogogo
–– DF อังกฤษ Thomas Cruise
–– DF อังกฤษ Paul Rodgers
–– DF อังกฤษ Rene Steer
–– DF อังกฤษ Kyle Bartley
–– DF นอร์เวย์ Håvard Nordtveit (ย้ายไป UD Salamanca ด้วยสัญญายืมตัว จนถึงมิถุนายน 2009)
–– DF อังกฤษ Craig Eastmond
–– DF อังกฤษ Luke Ayling
–– DF อังกฤษ Anton Blackwood
–– DF อังกฤษ Gavin Hoyte
–– MF เนเธอร์แลนด์ Vincent van den Berg (ย้ายไป FC Zwolle ด้วยสัญญายืมตัว จนถึงมิถุนายน 2009)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
–– MF อังกฤษ Mark Randall
–– MF ฝรั่งเศส Francis Coquelin
–– MF เดนมาร์ก Jonas Rasmussen
–– MF อังกฤษ Kieran Gibbs
–– MF เนเธอร์แลนด์ Nacer Barazite (ย้ายไป ดาร์บี เคาท์ตี ด้วยสัญญายืมตัว จนถึงธันวาคม 2008)
–– MF สเปน Fran Mérida
–– MF อังกฤษ James Dunne
–– MF อังกฤษ Sanchez Watt
–– MF อังกฤษ Jay Emmanuel-Thomas
–– MF อังกฤษ Henri Lansbury
–– FW อังกฤษ Rhys Murphy
–– FW โปรตุเกส Rui Fonte
–– FW ฝรั่งเศส Gilles Sunu
–– FW อังกฤษ Jay Simpson

อ้างอิง[แก้]

  1. "Woolwich Arsenal Reserves". Football Club History Database. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-16. สืบค้นเมื่อ 2008-08-25.
  2. 2.0 2.1 Kelly, Andy. "Complete Honours List". Arsenal Pics. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-04-08. สืบค้นเมื่อ 2006-12-03.
  3. "Reserve Players". Arsenal.com. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]