ทีฟลิปฟล็อป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทีฟลิปฟล็อป หรือ ท๊อกเกิลฟลิปฟล็อป (อังกฤษ: T flip-flops หรือ Toggle flip-flops) จะมีขั้วอินพุตเข้าขั้วเดียวคือขั้ว T ส่วนเอาต์พุตจะมี 2 ขั้วคือ Q และ Q สัญลักษณ์ของ ทีฟลิปฟล็อปแสดงดังภาพ

ซึ่ง ทีฟลิปฟล็อปจะทำงานเมื่อมีสัญญานนาฬิกาเข้ามาซึ่งพิจารณาที่ช่วงขอบขาขึ้นหรือขอบขาลงอย่างใดอย่างหนึ่ง จะทำให้สภาวะเอาต์พุต Q เปลี่ยนเป็นลอจิกตรงกันข้าม กล่าวคือ "ถ้าจากเดิมเป็นลอจิก "1" ก็จะเปลี่ยนเป็น "0" และถ้าจากเดิมเป็นลอจิก "0" ก็จะเปลี่ยนเป็น "1" " ซึ่ง T ฟลิปฟล็อปจะมีคุณสมบัติการทำงานดังตาราง

การสร้าง ทีฟลิปฟล็อปจาก JK ฟลิปฟล็อป


การใช้ฟลิปฟล็อปในวงจรนับ[แก้]

1. วงจรนับแบบไบนารี่ (Binary Counter) โครงสร้างของวงจรนับแบบไบนารี่ จะใช้ T-Flipflop เป็นตัวนับ เอาต์พุตของหลักต่ำจะถูกส่งไปเป็นอินพุทของภาคที่สูงกว่า

รูป 1 วงจรนับ 2 ใช้ T-flipflop ที่สร้างจาก JK-flipflop

รูป 2 วงจรนับ 4 ใช้ T-flipflop ที่สร้างจาก T-flipflop 2 ภาค

จากรูปที่ 2 เอาต์พุตหลัก A ส่งไปเป็นอินพุทของหลัก Bจากหลักการดังกล่าวนี้สามารถนำไปประยุกต์ เป็นวงจรนับ 8และ 16 ได้

รูป 3 วงจรนับ 8

รูป 4 วงจรนับ 16

เอาต์พุตของวงจรนับ 2, 4, 8, 16 นี้ ค่าเอาต์พุตจะเปลี่ยนแปลงตามเลขไบนารี่โดยค่า ทั้งหมดจะเปลี่ยนไปตาม A, B, C และ D

2. วงจรนับที่ไม่ใช่ BINARY

2.1 วงจรนับ 3 (MODULUS 3 COUNTER) เช่น วงจรนับที่มี 2 บิต ค่าการรับ จะเริ่มจาก 0, 1, 2 และวนกลับมา 0 ใหม่

รูป 5 วงจรนับ 3 และ ผลการนับ

2.2 วงจรนับ 5 (MODULUS 5 COUNTER เป็นวงจรนับ 3 บิต ผบการนับเป็นดังนี้คือ 0, 1, 2, 3, 4 ดังแสดงในตารางเอาต์พุต C B A

รูป 6 ฝัง วงจรนับ 5 และ ผลการนับ

รูป7 วงจรนับ 5

2.3 วงจรนับ 6 และนับ 10 เป็น วงจรผสมระหว่างวงจรนับไบนารี่ และวงจรนับที่ไม่ใช่ ไบนารี่วงจรนับ 6 ได้ผลลัพธ์มาจากการนับ 2 แล้วส่งผลให้ วงจรนับ 3 ส่วนวงจรนับ 10 ได้ผล ลัพธ์มาจากวงจรนับ 2 แล้วส่งผลให้วงจรนับ 5

รูป 8 วงจรนับ 6

รูป 9 วงจรนับ 10

ผังเวลา (TIMING DIAGRAM วงจรนับ)[แก้]

ผังเวลา (TIMING DIAGRAM) เป็นเครื่องมือช่วยอธิบายการทำงานของวงจรดิจิทัลที่เกี่ยวเนื่องกับ เวลาดังต้วอย่างของวงจรนับ 3 ในรูปที่ 5 และวงจรนับ 5 ในรูปที่ 7

วงจรนับ 3

รูป 10 แสดงผังเวลาและผลการนับของวงจรนับ 3

วงจรนับ 5

ตารางแสดงผลการนับของวงจรนับ 5 ผังเวลาของวงจรนับ 5

รูป 11 ผลการนับและผังเวลาวงจรนับ 5


ไอซีวงจรนับแบบ ASYNCHRONOUS[แก้]

ไอซีวงจรนับแบบ ASYNCHRONOUS TTL ที่ใช้ทั่วไปมีดังนี้

การใช้งานไอซีวงจรนับเหล่านี้ สามารถดูรายละเอียดได้จากคู่มือ TTL การใช้งานวงจรนับ 7490 วงจรนับ 7490 เป็นวงจรนับ 10 ซึ่งมีวงจรใช้งานดังนี้

5 =  Vcc 

10 = Gnd (สำหรับ 7490)

รูป 12 แสดงวงจรนับส่งจำนวน 2 หลักใช้ ไอซี TTL เบอร์ 7490 เอาต์พุต จาก 7490 เป็นรหัส BCD ถอดรหัสด้วย 7447 หรือ 7448 สามารถนำไปขับตัว เลข 7 ส่วนได้

การใช้งานวงจรนับ 7493 7493[แก้]

เป็นวงจรนับ Binary 4 บิต สามารถตรวจสอบเอาต์พุตได้ด้วย LOGIC MONITOR

5 =   Vcc

10 = Gnd (สำหรับ 7493) รูป13 แสดงวงจรนับไบนารี่ 8 บิตใช้ไอซี TTL เบอร์ 7493