ทีดับเบิลยูเอ เที่ยวบินที่ 800

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทีดับเบิลยูเอ เที่ยวบินที่ 800
ซากเครื่องบินเที่ยวบินที่ 800 ซึ่งถูกกู้และบูรณะ
สรุปอุบัติการณ์
วันที่17 กรกฎาคม 2539
สรุปถังนํ้ามันเชื้อเพลิงระเบิด
จุดเกิดเหตุมอริตชิสอินเลต
ใกล้อีสต์มอริตชิส รัฐนิวยอร์ก
ประเภทอากาศยานโบอิง 747-131
ดําเนินการโดยทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์
ทะเบียนN93119
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี
นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
จุดพักท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล
ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ปลายทางท่าอากาศยานเลโอนาร์โด ดา วินชี-ฟิอูมิชิโน
โรม ประเทศอิตาลี
ผู้โดยสาร212
ลูกเรือ18
เสียชีวิต230
รอดชีวิต0

ทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 800 (ทีดับเบิลยูเอ 800) เป็นเครื่องบินโบอิง 747-100 ที่ระเบิดและตกสู่มหาสมุทรแอตแลนติกใกล้อีสต์มอริตชิส รัฐนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2539 เมื่อเวลาประมาณ 20:31 EDT หลังนำเครื่องขึ้นจากท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดีได้ 12 นาทีในเที่ยวบินโดยสารระหว่างประเทศกำหนดสู่กรุงโรม โดยมีจุดแวะพักในกรุงปารีส ทั้ง 230 คนบนเครื่องเสียชีวิต เป็นอุบัติเหตุการบินครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับสามในดินแดนสหรัฐ

การเกิดอุบัติเหตุ[แก้]

วันที่ 17 กรกฎาคม 2539 เวลา 20:19 EDT เที่ยวบินที่ 800 พร้อมผู้โดยสาร 212 คน และลูกเรือ 18 คน ออกเดินทางจากท่าอากาศยานเจ.เอฟ.เค. เพื่อมุ่งหน้าสู่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ก่อนจะเดินทางต่อไปยังกรุงโรม ประเทศอิตาลี แต่ขึ้นบินได้เพียง 12 นาที เครื่องบืน โบอิง 747-100 ขึ่งใช้งานมากว่า 25 ปีเกิดระเบิดกลางอากาศเหนือมหาสมุทรแอตแลนติกที่ความสูง 16,000 ฟุตเมื่อเวลา 20:31 EDT ทำให้ส่วนหัวของเครื่องถูกตัดออกจากลำตัวเครื่อง โดยลำตัวเครื่องยังมีแรงดันจำนวนหนึ่งยกลำตัวเครื่องขึ้นสู่ท้องฟ้า ก่อนที่จะตกลงสู่ทะเล ขณะเกิดเหตุ นักบินในเครื่องบินอีกลำหนึ่งและทหารที่ขับเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนอยู่บริเวณนั้นเห็นเหตุการณ์พอดี จึงรุดไปยังที่เกิดเหตุ เหตุการณ์ครั้งนั้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 230 คน

การสอบสวนและสาเหตุของอุบัติเหตุ[แก้]

ในช่วงแรกนั้น เอฟ.บี.ไอ. ร่วมสืบสวนหาสาเหตุในการครั้งนี้ พวกเขาตั้งไว้ 2ประเด็น คือ เครื่องบินอาจถูกยิงตกด้วยมีสไซต์ของกองทัพสหรัฐ แบบกรณีของ มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17 หรืออาจถูกลอบวางระเบิดโดยผู้ก่อการร้าย แบบกรณีของ แพนแอม เที่ยวบินที่ 103 แต่จากสอบสวนของคณะสืบสวนซึ่งได้ประกอบซากเครื่องบินเพื่อทำการสอบสวนหาสาเหตุ [1] ได้ข้อสรุปในปี 2540 ว่าเกิดจากสายไฟในเครื่องบินซึ่งมีสภาพเก่า ทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดประกายไฟในถังเซื้อเพลิง จึงเป็นสาเหตุทำให้เครื่องบินเกิดระเบิดกลางอากาศ [2]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Malaysia crash shares anniversary with TWA Flight 800 ใน USA Today สืบค้นเมื่อ 16-4-2018
  2. Six months later, still no answer to TWA Flight 800 mystery ใน CNN สืบค้นเมื่อ 16-4-2018