ทาร์ทารัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เพอร์เซฟะนีสังเกตการณ์ซิซิฟัสในยมโลก ศิลปะแอตติกบนโถ, ป. 530 ปีก่อนคริสต์ศักราช

ในเทพปกรณัมกรีก ทาร์ทารัส (อังกฤษ: Tartarus, /ˈtɑːrtərəs/; กรีกโบราณ: Τάρταρος, Tártaros)[1]ในเทพปกรณัมคลาสสิก เบื้องล่างของยูเรนัส ไกอาและพอนตัส ทาร์ทารัส หรือ ทาร์ทารอส (กรีกโบราณ: Τάρταρος แปลว่า "สถานที่ลึกไม่สิ้นสุด") เป็นห้วงที่มืดหม่นและมีความลึกไม่มีสิ้นสุด เป็นหลุมลึกขนาดใหญ่ที่ไร้ก้น ถูกใช้เป็นสถานที่คุกมืดสำหรับทรมานและทำให้ได้รับความเจ็บปวดแก่โครนอสซึ่งอยู่ใต้โลกบาดาลเป็นที่ที่ซุสใช้เคียวของโครนอสสับโครนอสผู้เป็นบิดาเป็นพันชิ้นแล้วโปรยลงไปในนรกทาร์ทารัสตามตำนานกรีก ในกอร์จิอัส ผลงานของเพลโต (ประมาณ 400 ปีก่อนคริสตกาล) ได้เขียนไว้ว่าเป็นเหวลึกที่ใช้เป็นคุกใต้ดินสำหรับทรมานและลงโทษคนทำชั่วและเป็นคุกสำหรับพวกไททัน สถานที่ใหญ่โตมโหฬารขนาดนี้ ไม่มีแสงใดๆส่องลงมาได้แน่นอน เหมาะแก่การกักขังยักษ์ และอสูรกายต่างๆได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับสิ่งดั้งเดิมอื่นๆ ทาร์ทารัสเองก็เป็นอำนาจหรือเทพที่มีมาแต่ดั้งเดิม (primordial force) หรือเทพร่วมกับสิ่งที่เป็นรูปธรรมอื่น ๆ เช่นโลก, กลางคืน และเวลา

เทพปกรณัมกรีก[แก้]

ในเทพปกรณัมกรีก ทาร์ทารัสเป็นทั้งเทพและสถานที่ในยมโลก

เทพ[แก้]

ใน Theogony (ป. ปลายศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช) ของเฮสิโอด นักกวีชาวกรีก ทาร์ทารัสเป็นเทพบรรพกาลที่เกิดคนที่สองต่อจากเทพีไกอา ref>Hesiod, Theogony 116–119; Gantz p. 3; Hard, p. 23.</ref> และเป็นบิดาของปีศาจไทฟอน[2] ส่วนHyginusรายงานว่า ทาร์ทารัสเป็นบุตรของAetherกับไกอา[3]

ที่ตั้ง[แก้]

เฮสิโอสกล่าวถึงทาร์ทารัสในฐานะสถานที่ว่า ทั่งทองแดงที่ตกจากสวรรค์จะใช้เวลาเก้าวันก่อนถึงพื้นโลก และทั่งนั้นจะใช้เวลาอีกเก้าวันจากพื้นโลกถึงทาร์ทารัส[4] ในอีเลียด (ป. ศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช) ซุสกล่าวถึงทาร์ทารัสว่า "อยู่ใต้เฮดีส ซึ่งไกลพอ ๆ กับระยะห่างของสวรรค์เหนือโลก"[5] เช่นเดียวกันกับรายงานของApollodorusที่กล่าวถึงทาร์ทารัสไว้เป็น "สถานที่อันมืดมนในเฮดีสที่ไกลจากโลกพอ ๆ กับระยะห่างของโลกกับสวรรค์"[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. The word is of uncertain origin ("Tartarus". Online Etymological Dictionary).
  2. Hesiod. Theogony 820–822; Tripp, s.v. Tartarus; Grimal, s.v. Tartarus.
  3. Hyginus, Fabulae Preface; Smith, s.v. Tartarus.
  4. Hesiod. Theogony, 720–725
  5. Homer. Iliad, 8.17
  6. Apollodorus, 1.1.2.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Apollodorus, Apollodorus, The Library, with an English Translation by Sir James George Frazer, F.B.A., F.R.S. in 2 Volumes. Cambridge, Massachusetts, Harvard University Press; London, William Heinemann Ltd. 1921. Online version at the Perseus Digital Library.
  • Gantz, Timothy, Early Greek Myth: A Guide to Literary and Artistic Sources, Johns Hopkins University Press, 1996, Two volumes: ISBN 978-0-8018-5360-9 (Vol. 1), ISBN 978-0-8018-5362-3 (Vol. 2).
  • Grimal, Pierre, The Dictionary of Classical Mythology, Wiley-Blackwell, 1996. ISBN 978-0-631-20102-1.
  • Hard, Robin, The Routledge Handbook of Greek Mythology: Based on H.J. Rose's "Handbook of Greek Mythology", Psychology Press, 2004, ISBN 9780415186360. Google Books.
  • Hesiod, Theogony from The Homeric Hymns and Homerica with an English Translation by Hugh G. Evelyn-White, Cambridge, MA.,Harvard University Press; London, William Heinemann Ltd. 1914. Online version at the Perseus Digital Library. Greek text available from the same website.
  • Homer, The Iliad with an English Translation by A.T. Murray, PhD in two volumes. Cambridge, MA., Harvard University Press; London, William Heinemann, Ltd. 1924. Online version at the Perseus Digital Library.
  • Homer. Homeri Opera in five volumes. Oxford, Oxford University Press. 1920. Greek text available at the Perseus Digital Library.
  • Homer, The Odyssey with an English Translation by A.T. Murray, PH.D. in two volumes. Cambridge, MA., Harvard University Press; London, William Heinemann, Ltd. 1919. Online version at the Perseus Digital Library. Greek text available from the same website.
  • Hyginus, Fabulae from The Myths of Hyginus translated and edited by Mary Grant. University of Kansas Publications in Humanistic Studies. Online version at the Topos Text Project.
  • Pindar, Odes translated by Diane Arnson Svarlien. 1990. Online version at the Perseus Digital Library.
  • Pindar, The Odes of Pindar including the Principal Fragments with an Introduction and an English Translation by Sir John Sandys, Litt.D., FBA. Cambridge, MA., Harvard University Press; London, William Heinemann Ltd. 1937. Greek text available at the Perseus Digital Library.
  • Publius Vergilius Maro, Aeneid. Theodore C. Williams. trans. Boston. Houghton Mifflin Co. 1910. Online version at the Perseus Digital Library.
  • Publius Vergilius Maro, Bucolics, Aeneid, and Georgics. J. B. Greenough. Boston. Ginn & Co. 1900. Latin text available at the Perseus Digital Library.
  • Smith, William, Dictionary of Greek and Roman Biography and Mythology, London (1873). Online version at the Perseus Digital Library.
  • Tripp, Edward, Crowell's Handbook of Classical Mythology, Thomas Y. Crowell Co; First edition (June 1970). ISBN 069022608X.