ถนนลำลูกกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3312
ถนนลำลูกกา
Lam_Luk_Ka_Road-Khu_Khot_Station.jpg
ถนนลำลูกกาช่วงสถานีคูคต
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว39.206 กิโลเมตร (24.361 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ถ.พหลโยธิน ใน อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
 
ปลายทางทิศตะวันออก ทล.3369 ใน อ.องครักษ์ จ.นครนายก
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ถนนลำลูกกา หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3312 สายสนามกีฬาธูปะเตมีย์ - คลอง 16 เป็นทางหลวงแผ่นดินขนาด 2 - 6 ช่องจราจร เริ่มตั้งแต่ทางแยกออกจากถนนพหลโยธินตรงสนามกีฬาธูปะเตมีย์ (ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี) ไปทางทิศตะวันออก สิ้นสุดที่คลองสิบหก (ตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก) บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3369 และทางหลวงชนบท นย.4009 รวมระยะทาง 39.206 กิโลเมตร[1]

ถนนแบ่งเป็นสามช่วง ช่วงแรกตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน ไปจนถึงประมาณ 500 เมตรถัดจากแยกถนนนิมิตใหม่ เป็นถนน 6 ช่องทาง มีเกาะกลางถนน ช่วงที่สองไปจนถึงสะพานข้ามคลองสิบหกเป็นถนน 4 ช่องทาง มีเกาะกลางถนนหรือแผงกั้นจนถึงช่วงระหว่างคลองแปด-คลองเก้า ช่วง 200 เมตรสุดท้ายไปจนถึงแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3369 เป็นถนน 2 ช่องทาง ไม่มีเกาะกลางถนนหรือแผงกั้น

รายชื่อทางแยก[แก้]

รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3312 (ถนนลำลูกกา) ทิศทาง: สนามกีฬาธูปเตมีย์ - คลอง 16
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
สนามกีฬาธูปเตมีย์-คลอง 16
ปทุมธานี 0.000 แยกลำลูกกา ถนนพหลโยธิน ไป รังสิต, อ.บางปะอิน ถนนพหลโยธิน ไป ดอนเมือง, สะพานใหม่
แยกฟ้าคราม ถนนเสมาฟ้าคราม บรรจบ ถนนรังสิต-นครนายก, คลองสอง ไม่มี
- ไม่มี ถนนพหลโยธิน ไป กองทัพอากาศ, สะพานใหม่
- ไม่มี ถนนเฉลิมพงษ์ ไป สายไหม, วัชรพล
แยกไสวประชาราษฎร์ ถนนไสวประชาราษฎร์ บรรจบ ถนนรังสิต-นครนายก, คลองสี่ ไม่มี
11.368 ต่างระดับลำลูกกา ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันออก) ไป อ.ธัญบุรี, อ.บางปะอิน ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันออก) ไป รามอินทรา, บางนา
แยกคลองเจ็ด ถนนพันธ์แฉล้มอุทิศ บรรจบ ถนนรังสิต-นครนายก, คลองเจ็ด ไม่มี
16.058 - ไม่มี ถนนนิมิตใหม่ ไป มีนบุรี, บรรจบ ถนนสุวินทวงศ์
ไม่มี ทางเชื่อมต่อ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 62 ไป ถ.พระราม 9, รามอินทรา, อ.บ้านนา, สระบุรี
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ไป อ.หนองเสือ, อ.วังน้อย ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ไป หนองจอก, อ.บางเสาธง
นครนายก 39.206 แยกคลองสิบหก ทล.3369 บรรจบ ถนนรังสิต-นครนายก, คลองสิบหก ไม่มี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

รถประจำทาง[แก้]

  • สาย 374 ของบริษัท กิตติสุนทร จำกัด ซึ่งมีการเดินรถหลายเส้นทางได้แก่
    • รังสิต - ลำลูกกาคลองสิบหก (ใช้รถ ปอ.6250 วิ่งแทน)
    • แยกลำลูกกา - เสมาฟ้าคราม (รังสิตคลองสอง) (รถธรรมดา)
    • ฟ้าคราม (รังสิตคลองสอง) - BTS คูคต (รถปรับอากาศ)
    • แยกลำลูกกา - รินทร์ทอง - เปียร์นนท์ (ลำลูกกาคลองสาม) (รถธรรมดา)
    • ลาดสวาย (ลำลูกกาคลองสี่) - BTS คูคต (รถปรับอากาศ)
    • โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี - รังสิตคลองเจ็ด (ใช้รถสองแถววิ่งแทน)
  • สาย 543 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งมีการเดินรถหลายเส้นทางได้แก่
    • อู่บางเขน - ตลาดใหญ่ลำลูกกา (ลำลูกกาคลองเจ็ด)
    • อู่บางเขน - กรมการปกครอง (ลำลูกกาคลองเก้า) (รถเสริมพิเศษ)
  • สาย 1117 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี - รังสิตคลองแปด ของบริษัท กิตติสุนทร จำกัด (ใช้รถ ปอ.646 วิ่งแทน)
  • สาย 6250 รังสิต - ลำลูกกาคลองสิบ ของบริษัท กิตติสุนทร จำกัด

จุดอันตราย[แก้]

ถนนลำลูกกาส่วนใหญ่เป็นทางตรง จุดที่มักจะเกิดอุบัติเหตุบ่อยคือจุดที่เป็นทางโค้งเพียงไม่กี่แห่ง ได้แก่บริเวณต่อไปนี้

  • ทางโค้งขวาที่แยกถนนแนวมาลี (ทางเข้าวัดลาดสนุ่น) จุดนี้เป็นทางสามแพร่งและมีคลองระบายน้ำอยู่
  • ทางโค้งซ้ายตั้งแต่โรงเรียนระเบียบวิทยาจนถึงสถานีตำรวจภูธรคูคต จุดนี้เป็นทางโค้งซ้ายติดกันสองครั้ง ครั้งละ 45 องศา
  • ทางต่างระดับเชื่อมกับถนนกาญจนาภิเษก มีสองจุดซึ่งรถที่ลงจากทางด่วนต้องตัดเส้นทางข้ามฝั่ง ในขณะที่ความโค้งของสะพานข้ามคลองห้าก็บดบังทัศนวิสัย
  • บริเวณแยกถนนนิมิตใหม่ ทางตรงสู่เส้นทางหลักมีลักษณะเฉียงไปทางซ้าย
  • ทางโค้งซ้ายเกือบปลายสุดของถนน เป็นโค้งหักศอกซึ่งอีก 100 เมตรก็เป็นสามแยกพอดี

โครงการในอนาคต[แก้]

ถนนตัดใหม่เชื่อมระหว่างถนนพหลโยธินที่บริเวณสถานีแยก คปอ. และถนนลำลูกกา ช่วงทางโค้งบริเวณสถานีตำรวจภูธรคูคต ซึ่งก่อสร้างร่วมกันกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ซึ่งเปิดใช้งานแล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2561

อ้างอิง[แก้]

  1. ระยะทางวัดจากกูเกิล แมปส์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]