ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126
ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว47.147 กิโลเมตร (29.296 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2534[1], พ.ศ. 2537[2]–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก
ปลายทางทิศตะวันตก ทล.117 ใน อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก
 
ปลายทางทิศใต้ ทล.1065 ใน อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 หรือ ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก เป็นเส้นทางคมนาคมรูปแบบถนนวงแหวนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจราจรในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกมีทั้งหมด 2 ช่วง คือถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือและทิศใต้ ซึ่งไม่เชื่อมต่อกันเป็นวงกลม แต่เดิมนั้น กรมทางหลวงได้กำหนดให้ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12

รายละเอียดของเส้นทาง[แก้]

ด้านทิศเหนือ[แก้]

ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศเหนือ มีจุดเริ่มต้นเริ่มที่ทางแยกตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 (นครสวรรค์ - พิษณุโลก) จากนั้นมุ่งหน้าทางทิศตะวันตก แล้วจึงโค้งมาทางทิศเหนือ ผ่านโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ก่อนที่จะตัดกับถนนสิงหวัฒน์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12) แล้วตัดมาทางทิศตะวันออกผ่านสะพานข้ามแม่น้ำน่าน ผ่านสี่แยกบายพาส (ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1086 ไปอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก) ผ่านสะพานข้ามทางรถไฟ และแยกตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (พิษณุโลก - อุตรดิตถ์) จากนั้นจึงวกมาบรรจบกับถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12) ที่หลักกิโลเมตรที่ 10 (ตามหลักกิโลเมตร ถนนมิตรภาพ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) ที่ สามแยกซีพี

ถนนวงแหวนส่วนนี้เป็นถนนลาดยางขนาด 4 ช่องจราจร ทิศทางละ 2 ช่องจราจร มีสะพานต่างระดับที่แยกตัดกับถนนสิงหวัฒน์ และแยกตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (พิษณุโลก - อุตรดิตถ์) นอกจากนี้ยังมีสะพานข้ามทางรถไฟ และสะพานข้ามแม่น้ำน่านอีกด้วย

สถานที่สำคัญ
  • โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ส่วนทะเลแก้ว
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาพิษณุโลก

ด้านทิศใต้[แก้]

ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลกด้านทิศใต้ มีจุดเริ่มต้นที่สี่แยกอินโดจีน (6 กิโลเมตรจากเมืองพิษณุโลก) จากนั้นมุ่งหน้าทางทิศใต้ แล้วจึงโค้งมาทางทิศตะวันตก ตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1064 (ถนนบึงพระ) ผ่านวิทยาลัยเทคนิคสองแคว แล้วตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1063 (ทางไปอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก) ผ่านสะพานข้ามแม่น้ำน่าน ผ่านสี่แยกหนองอ้อ (ถนนนครสวรรค์-พิษณุโลก) และสิ้นสุดโดยบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1065 (ทางไปอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก)

ถนนวงแหวนส่วนนี้เป็นถนนลาดยางขนาด 4 ช่องจราจร ทิศทางละ 2 ช่องจราจร มีสะพานต่างระดับที่แยกตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1064 (ถนนบึงพระ) โดยเป็นสะพานข้ามทางรถไฟด้วย นอกจากนี้ยังมีสะพานข้ามแม่น้ำน่านอีกแห่ง

สถานที่สำคัญ

รายชื่อทางแยก[แก้]

รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 (ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก) ทิศทาง:
ตามเข็มนาฬิกา (ด้านซ้าย: ออกจากเมือง, ด้านขวา: เข้าเมือง)
[3][4]
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก (ด้านเหนือ)
พิษณุโลก 0+000 แยกเอกซ์เรย์ ทล.117 จาก พิจิตร, นครสวรรค์ ทล.117 จากเมืองพิษณุโลก
8+101 แยกเลี่ยงเมือง (บ้านกร่าง)
(สะพาน)
ถนนสิงหวัฒน์ ไป สุโขทัย ถนนสิงหวัฒน์ เข้าเมืองพิษณุโลก
≈11+650 สะพาน ข้ามแม่น้ำน่าน
11+962 แยกแสงดาว ทล.1086 ไป อ.วัดโบสถ์ ทล.1086 เข้าเมืองพิษณุโลก
≈14+020 สะพาน ข้ามทางรถไฟสายเหนือ
ซ้าย: ไปสถานีรถไฟบ้านตูม ขวา: ไปสถานีรถไฟบ้านเต็งหนาม
≈15+400 พล.4003 ทางหลวงชนบท พล.4003 ไป บ.กระบัง, อ.วัดโบสถ์ พล.4003 ทางหลวงชนบท พล.4003 ไป บ.เต็งหนาม, บรรจบ ทล.1086
22+427 แยกดงประโดก ทล.11 ไป อุตรดิตถ์ ทล.11 เข้าเมืองพิษณุโลก
25+297 แยกซีพี ถนนมิตรภาพ ไป อุตรดิตถ์ ถนนมิตรภาพ เข้าเมืองพิษณุโลก
ถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก (ด้านใต้)
พิษณุโลก 29+203 แยกอินโดจีน เชื่อมต่อจาก: ทล.11 จาก อุตรดิตถ์
ถนนมิตรภาพ จาก อ.หล่มสัก ถนนมิตรภาพ จากเมืองพิษณุโลก
41+422 สะพาน ข้ามทางรถไฟสายเหนือ
ซ้าย: ไปสถานีรถไฟบึงพระ ขวา: ไปสถานีรถไฟพิษณุโลก
≈41+467
(สะพาน)
ทล.1064 ไป บ.บึงพระ ทล.1064 ไป ท่าอากาศยานพิษณุโลก, เข้าเมืองพิษณุโลก
46+698 แยกสะกัดน้ำมัน ทล.1063 ไป อ.บางกระทุ่ม ทล.1063 เข้าเมืองพิษณุโลก
≈47+800 สะพาน ข้ามแม่น้ำน่าน
49+952 แยกหนองอ้อ ทล.117 ไป พิจิตร, นครสวรรค์ ทล.117 เข้าเมืองพิษณุโลก
51+054 ทล.1065 ไป อ.บางระกำ ทล.1065 เข้าเมืองพิษณุโลก
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]