รูมิโกะ ทากาฮาชิ
รูมิโกะ ทากาฮาชิ | |
---|---|
高橋 留美子 | |
เกิด | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2500 เมืองนีงาตะ จังหวัดนีงาตะ ประเทศญี่ปุ่น |
อาชีพ | นักเขียนการ์ตูน |
ผลงานเด่น | |
รางวัล | Best New Comic Artist Award [1] Seiun Award [2] Inkpot Award [3] Shogakukan Manga Award [4][5] Science Fiction Hall of Fame [6] Eisner Award Hall of Fame [7] Grand Prix de la ville d’Angoulême [8] Medal of Honour (Medal with Purple Ribbon) [9] |
รูมิโกะ ทากาฮาชิ (ญี่ปุ่น: 高橋 留美子; โรมาจิ: Takahashi Rumiko; เกิด 10 ตุลาคม พ.ศ. 2500) เป็นนักเขียนการ์ตูนญี่ปุ่นผู้เขียน ลามู ทรามวัยจากต่างดาว, อิกโคคุ บ้านพักหรรษา, วนาแห่งเงือก, รันม่า ½, ฤทธิ์หมัดเสือหิว, อินุยาฉะ, รินเนะ, Mao หาญสู้พลิกชะตาอาถรรพณ์
เธอเป็นนักเขียนการ์ตูนที่มีชื่อเสียงโด่งดังและได้รับความนิยมอย่างมากทั้งจากผู้คนในวัยเด็กวัยผู้ใหญ่ ผลงานสร้างสรรค์ของเธอมีเอกลักษณ์เป็นที่ยอมรับและมีผู้คนติดตามชื่นชอบทั้งในญี่ปุ่นในต่างประเทศ เนื่องจากการ์ตูนของเธอมีลายเส้นน่ารักอ่านง่ายมีความสนุกสนานในตัวเอง[10]
การงาน
[แก้]ชีวิตการเรียนของเธอไม่ได้เรียนจบมาในด้านศิลปะ แต่เรียนมาในด้านโบราณคดี และตอนแรกเธอคิดว่า เรียนมาทางไหน ก็ไปทางด้านนั้น ไม่ได้สนใจจะมาทางด้านสายงานวาดเขียนการ์ตูน แต่เมื่อเธอได้เจอกับสมุดบันทึกของเพื่อนที่เต็มไปด้วย การ์ตูน และ การ์ตูน จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เธอหันมาฝึกเขียนการ์ตูน
ผลงานเปิดตัวที่ทำให้เธอเป็นที่รู้จักคือ Katte na Yatsura (勝手なやつら) มังงะเรื่องสั้นที่ได้ตีพิมพ์กับโชเน็งซันเดย์และชนะรางวัลนักเขียนหน้าใหม่จากผลงานนี้ใน พ.ศ. 2521 และภายในปีเดียวกัน ลามู ทรามวัยจากต่างดาว ได้เริ่มลงตีพิมพ์เผยแพร่ หลังจากนั้นผลงานเรื่องเด่นหลัก ๆ ของเธอในนิตยสารโชเน็งรายสัปดาห์ และรวมเล่มกับสำนักพิมพ์โชงะกุกัง ทั้ง ลามู ทรามวัยจากต่างดาว, อิกโคคุ บ้านพักหรรษา, รันม่า ½, อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน และ รินเนะ [11] ก็ได้กลายมาเป็นอนิเมะ
รูมิโกะ ทากาฮาชิ เป็นหนึ่งในนักเขียนการ์ตูนที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งในญี่ปุ่นและเป็นนักเขียนการ์ตูนที่เสียภาษีมากที่สุด[12][13]
ผลงาน
[แก้]พ.ศ. | ชื่อมังงะบนปกญี่ปุ่น | ชื่อคอมมิคบนปกภาษาอังกฤษ | ชื่อหนังสือการ์ตูนบนปกไทย | จำนวนเล่ม |
---|---|---|---|---|
2521–2530 | うる星やつら | The Return of Lum Urusei Yatsura | ลามู ทรามวัย จากต่างดาว uruseiya tsura | 34 |
2523–2530 | めぞん一刻 | Maison Ikkoku | อิกโคคุ บ้านพักหรรษา | 15 |
2530–2539 | らんま 12 | Ranma ½ | รันม่า 12 ไอ้หนุ่มกังฟู | 38 |
2539–2552 | 犬 夜 叉 | Inuyasha | เทพอสูร จิ้ง จอก เงิน | 56 |
2552–2560 | Circle of Reincarnation 境界の RINNE りんね | Kyokai no RINNE りんね | Circle of Reincarnation RINNE รินเนะ | 40 |
2561–ปัจจุบัน | MAO マオ | MAO หาญสู้พลิกชะตาอาถรรณ์ | 20 |
พ.ศ. | ชื่อมังงะในญี่ปุ่น | จำนวนเล่ม | ชื่อคอมมิคภาษาอังกฤษ | ชื่อหนังสือการ์ตูนในไทย | จำนวนเล่ม |
---|---|---|---|---|---|
2527–2537 | 人 魚シリーズ 1.人魚の森 2.人魚の傷 3.夜叉の瞳 |
|
Mermaid Saga 1.Mermaid Forest 2.Mermaid's Scar | นินเงียวชิริซุ (เงือกซีรีส์ (ซีรีส์การ์ตูนชุดนี้ในไทยยังไม่มีชื่อเรียกที่เป็นทางการ)) 1.วนาแห่งเงือก 2.รอยแผลนางเงือก | 2 |
2530–2549 | 1ポンドの福音 | 4 เล่ม | One-pound Gospel Hungry for Victory | ฤทธิ์หมัดเสือหิว | 4 |
และผลงานเรื่องสั้นอีกมากมายหลากเรื่องหลายแนว ซึ่งตีพิมพ์รวมเล่มภายในชื่อ
รูมิกเวิลด์ (Rumic World)
และ
รูมิกเทียเตอร์ (Rumic Theater)
อีกทั้งยังมีมังงะเรื่องสั้นจบในตอนเรื่องอื่นและผลงานใหม่ที่เขียนขึ้นในภายหลัง ซึ่งยังไม่ได้จัดพิมพ์เป็นรวมเล่ม เช่น
- Sennen no Mushin (Mindlessness for A Thousand Years)
รางวัล
[แก้]พ.ศ. 2521 Best New Comic Artist Award รางวัลนักเขียนหน้าใหม่ของสำนักพิมพ์โชงะกุกัง จากมังงะเรื่องสั้นเรื่อง 勝手なやつら "คัตเตะนะ ยัตสึระ" (พวกงั่งผู้ตั้งมั่น)
พ.ศ. 2523 Shogakukan Manga Award ในการประกาศรางวัลโชงะกุกังมังงะอวอร์ด ครั้งที่ 26 ในสาขา Shōnen Shōjo จากมังงะเรื่อง うる星やつら "อูรูเซ ยัตสึระ" (ลามู ทรามวัยจากต่างดาว) [14]
พ.ศ. 2530 Seiun Award ในการประกาศรางวัลเซอุงอวอร์ด ครั้งที่ 18 จากมังงะเรื่อง うる星やつら "อูรูเซ ยัตสึระ" (ลามู ทรามวัยจากต่างดาว) [15]
พ.ศ. 2532 Seiun Award ในการประกาศรางวัลเซอุงอวอร์ด ครั้งที่ 20 จากมังงะเรื่อง 人魚の森 "นินเงียวโนะโมริ" (วนาแห่งเงือก) มังงะเล่มหนึ่งในชุด 人魚シリーズ "นินเงียวชิริซุ" (เงือกซีรีส์)
พ.ศ. 2537 Inkpot Award ประกาศรางวัลจาก Comic-Con International: San Diego [16]
พ.ศ. 2544 Shogakukan Manga Award ในการประกาศรางวัลโชงะกุกังมังงะอวอร์ด ครั้งที่ 47 ในสาขา Shōnen จากมังงะเรื่อง 犬夜叉 "อินุยาฉะ" (เทพอสูรจิ้งจอกเงิน)
พ.ศ. 2560 Science Fiction Hall of Fame สาขา Creator [17]
พ.ศ. 2561 Eisner Award Hall of Fame หอเกียรติยศ รางวัลไอสเนอร์ ประกาศรางวัลจาก Comic-Con International: San Diego
พ.ศ. 2562 Grand Prix de la ville d’Angoulême รางวัลที่อุทิศมอบให้กับความสำเร็จสูงสุดของนักเขียนการ์ตูนระดับนานาชาติ จากการประกาศผลรางวัลในงาน Angoulême International Comics Festival เทศกาลคอมิคนานาชาติอองกูแลม ครั้งที่ 46 [18]
พ.ศ. 2563 เหรียญอิสริยาภรณ์ (ญี่ปุ่น: 褒章; โรมาจิ: Hōshou, อังกฤษ: Medal of Honour) เหรียญเกียรติยศแถบสีม่วง (ญี่ปุ่น: 紫绶褒章, อังกฤษ: Medal with Purple Ribbon) ซึ่งมอบโดยรัฐบาลญี่ปุ่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ (DISC) Weekly Mangaka Discussion : RumikoTakahashi reddit (ในภาษาอังกฤษ) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-20.
- ↑ Seiun Award 第18回 (昭和62年/1987年度) และ 第20回 (平成1年/1989年度) 星雲賞 ครั้งที่ 18 (ปีโชวะที่ 62 / ปี ค.ศ. 1987) และ ครั้งที่ 20 (ปีเฮเซที่ 1 / ปี ค.ศ. 1989) prizesworld.com (ในภาษาญี่ปุ่น) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-18.
- ↑ Inkpot Award (T) 1994 Comic-Con (ในภาษาอังกฤษ) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-17.
- ↑ 小学館漫画賞 第26回(1980年)受賞作品 โชงะกุกังมังงะอวอร์ด Cmoa.jp (ในภาษาญี่ปุ่น) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-17.
- ↑ 小学館漫画賞 第47回(2001年)受賞作品 โชงะกุกังมังงะอวอร์ด Cmoa.jp (ในภาษาญี่ปุ่น) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-17.
- ↑ Science Fiction Hall of Fame 2017 (Awards Summary) sfadb (ในภาษาอังกฤษ) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-18.
- ↑ Eisner Awards 2018 เก็บถาวร 2017-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Hall of Fame: Voters’ Choices Comic-Con (ในภาษาอังกฤษ) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-07-26.
- ↑ RUMIKO TAKAHASHI GRAND PRIX DU FESTIVAL D'ANGOULEME 2019 เก็บถาวร 2019-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน grandprix.bdangouleme.com (ในภาษาฝรั่งเศส) เรียกข้อมูลเมื่อ 2019-02-08.
- ↑ อาจารย์ Takahashi Rumiko ผู้เขียน Inuyasha ได้รับอิสริยาภรณ์เหรียญเกียรติยศแถบสีม่วง เก็บถาวร 2020-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน akibatan.com/2020/11 เรียกข้อมูลเมื่อ 2020-12-06.
- ↑ mangaka! ทาคาฮาชิ รูมิโกะ : เจ้าหญิงผู้เขียนการ์ตูนผู้ชาย เก็บถาวร 2018-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-17.
- ↑ "「高橋留美子」作品でアニメ化した作品5選!" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2018-05-11.
- ↑ "Japanese Top Tax Payers" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2008-02-26.
- ↑ "2005年高額納税者ランキング" (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2008-02-26.
- ↑ 小学館漫画賞受賞作品 comics.shogakukan.co.jp (ในภาษาญี่ปุ่น) เรียกข้อมูลเมื่อ 2019-02-08.
- ↑ Seiun Awards sfadb (ในภาษาอังกฤษ) เรียกข้อมูลเมื่อ 2019-02-08.
- ↑ Awards Front Page เก็บถาวร 2018-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Comic-Con (ในภาษาอังกฤษ) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-18.
- ↑ Science Fiction Hall of Fame sfadb (ในภาษาอังกฤษ) เรียกข้อมูลเมื่อ 2018-05-18.
- ↑ อาจารย์ทากาฮาชิ รูมิโกะ ได้รับรางวัล Angoulême Grand Prix 2019 เก็บถาวร 2020-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน news.dexclub.com เรียกข้อมูลเมื่อ 2019-02-08.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รูมิกเวิลด์ — แฟนไซต์เกี่ยวกับผลงานของรูมิโกะ ทากาฮาชิ(อังกฤษ)
- รูมิโกะ ทากาฮาชิ ที่เครือข่ายข่าวอนิเมะ(อังกฤษ)
- บทสัมภาษณ์ใน แอะนิเมริกา(อังกฤษ)