ทัดดาวบุษยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทัดดาว บุษยา)

ทัดดาวบุษยา และ ทัดดาว - ยอดขวัญ เป็นบทประพันธ์ของ ชอุ่ม ปัญจพรรค์ เคยพิมพ์รวมเล่มมาแล้วหลายครั้ง เช่น สำนักพิมพ์ผดุงศึกษา ฯลฯ เป็นเรื่องราวของทัดดาว หญิงสาวที่โตมาโดยที่แม่พร่ำสอนให้เธอเกลียดพ่อ และทุกคนในบ้านบุษยา ชะตาชีวิตของเธอหักเหเมื่อแม่ของเธอติดหนีการพนันทำให้เธอต้องแต่งงานกับชายรุ่นราวคราวพ่อ เรื่องวุ่นวายจึงเกิดขึ้นเมื่อทัดดาวหนีการแต่งงาน ทัดดาวรู้ความจริงว่าพ่อของเธอเสียชีวิตเธอจึงตั้งใจจะไปทวงสิทธิ์อันชอบธรรมของเธอคืนในบ้านบุษยาเธอต้องเดินทางไปกับเจ้ายอดขวัญผู้ชายที่เธอเกลียดและตราหน้าเธอเป็นผู้หญิงชั้นต่ำ จากความเกลียดกลายเป็นความผูกพัน จากความผูกพันกลายเปลี่ยนเป็นความรักในที่สุด [1]

ทัดดาวบุษยา ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์แล้วหลายครั้ง โดยครั้งแรก ในรูปแบบภาพยนตร์นำแสดงโดย เกศริน ปัทมวรรณ กับ ฤทธี นฤบาล ออกฉายเมื่อปี 2503 นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์อีกครั้งในปี 2524 นำแสดงโดย เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ กับ จตุพล ภูอภิรมย์ และต่อมาถูกนำมาสร้างเป็นละครครั้งแรก ในปี 2519 ทางช่อง 9 (ภิญโญ ทองเจือ กับ กรรณิกา ธรรมเกษร) ในปี 2530 ทางช่อง 5 (ยุรนันท์ ภมรมนตรี กับ อาภาพร กรทิพย์) ในปี 2540 ทางช่อง 7 (เอกรัตน์ สารสุข กับ สุวนันท์ คงยิ่ง) ในปี 2547 ทางช่อง 5 (ณัฐพล เดชะปัญญา กับ มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล) ในปี 2553 ทางช่อง 3 (ทฤษฎี สหวงษ์ กับ วรกาญจน์ โรจนวัชร)

ภาพยนตร์[แก้]

ทัดดาวบุษยา ฉบับภาพยนตร์ในปี 2503 สร้างโดย นพรัตน์ภาพยนตร์ กำกับโดย รัตน์ เศรษฐภักดี นำแสดงโดย เกศริน ปัทมวรรณ, ฤทธี นฤบาล, ทม วิศวชาติ, ประภาพรรณ นาคทอง ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 ฉายที่โรงภาพยนตร์คาเธ่ย์ [2][3]

นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์อีกครั้งในปี 2524 กำกับการแสดงโดย ไพโรจน์ ช่างแก้ว สร้างโดย ไพโรจน์โปรดักชั่น อำนวยการสร้างโดย ตรีนุช ทิมเจริญ นำแสดงโดย เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, จตุพล ภูอภิรมย์, ธิติมา สังขพิทักษ์, ไกรสร แสงอนันต์, ตรีนุช ทิมเจริญ, เมตตา รุ่งรัตน์ ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2524 ที่โรงภาพยนตร์แอมบาสเดอร์-ดาดา-พลาซาร์-แกรนด์-พาราไดซ์-จันทิมา [4][5]

ละครโทรทัศน์[แก้]

ฉบับละครโทรทัศน์ ถูกทำเป็นละครครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 แสดงโดย ภิญโญ ทองเจือ และ กรรณิการ์ ธรรมเกษร ออกอากาศทางช่อง 9 ได้รับความนิยมอย่างมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 และ ยุรนันท์ ภมรมนตรี, อาภาพร กรทิพย์, ดิลก ทองวัฒนา, นาถยา แดงบุหงา, ปาริฉัตร สัชฌุกร, เปียทิพย์ คุ้มวงศ์ ผลิตโดย รัชฟิล์มทีวี ออกอากาศทางช่อง 5 [6][7]

ในปี พ.ศ. 2540 นำแสดงโดย เอกรัตน์ สารสุข, สุวนันท์ คงยิ่ง เป็นเวอร์ชันที่โด่งดังในเรตติ้ง 32 เป็นละครเรตติ้งสูงสุดตลอดกาลอันดับ 5 ออกอากาศทุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ออกอากาศทางช่อง 7 บทโทรทัศน์โดย ศัลยา กำกับการแสดงโดย วีระชัย รุ่งเรือง ผลิตโดย ดาราวิดีโอ [8] และต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ได้ออกอากาศทางช่อง 5 อีกครั้ง แสดงโดย ณัฐพล เดชะปัญญา กับ มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล ผลิตโดย เรด ดราม่า (อาร์เอส)

ต่อมาล่าสุด ในปี พ.ศ. 2553 ได้นำมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ครั้งที่ 5 นำแสดงโดย ทฤษฎี สหวงษ์, วรกาญจน์ โรจนวัชร, ธนกฤต พานิชวิทย์, คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์ ผลิตโดย เวฟ มีเดีย โปรดักชั่น จำกัด บทโทรทัศน์โดย ยิ่งยศ ปัญญา กำกับโดย ผอูน จันทรศิริ [9]

รายชื่อนักแสดง[แก้]

ปี พ.ศ. 2503 พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2527 พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2553
ออกอากาศ ภาพยนตร์ ช่อง 9 ภาพยนตร์ ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 5 ช่อง 3
ผลิตโดย นพรัตน์ภาพยนตร์ อารีย์ นักดนตรี ไพโรจน์ โปรดัคชั่น รัชฟิล์มทีวี
รัศมีดาวการละคร
ดาราวิดีโอ เรด ดราม่า (อาร์เอส) เวฟมีเดีย โปรดักชั่น
เจ้ายอดขวัญ ฤทธี นฤบาล ภิญโญ ทองเจือ จตุพล ภูอภิรมย์ ยุรนันท์ ภมรมนตรี เอกรัตน์ สารสุข ณัฐพงษ์ เดชะปัญญา ทฤษฎี สหวงษ์
ทัดดาว / สุทัศน์ เกศริน ปัทมาวรรณ กรรณิกา ธรรมเกษร เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ อาภาพร กรทิพย์ สุวนันท์ คงยิ่ง มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล วรกาญจน์ โรจนวัชร
วิธูร ทม วิศวชาติ สุประวัติ ปัทมสูต ไกรสร แสงอนันต์ ดิลก ทองวัฒนา โชคชัย เจริญสุข สัจจากาจ จิตรพึงธรรม ธนกฤต พานิชวิทย์
เจ้าแสงคำ รจนา นามวงษ์ ตรีนุช ทิมเจริญ น้ำทิพย์ เสียมทอง น้ำค้าง ทองขาว คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์
เดือน กัณทรีย์ สิมะเสถียร เมตตา รุ่งรัตน์ เปียทิพย์ คุ้มวงศ์ รัญญา ศิยานนท์ อภิรดี ภวภูตานนท์ ปภัสรา เตชะไพบูลย์
เต็มดวง นาถยา แดงบุหงา กชกร นิมากรณ์ กัลยา เลิศเกษมทรัพย์ ดารัณ บุญยศักดิ์
เฉิด ทัตพงศ์ พงศทัต
คุณหญิงบุษย์ มารศรี ณ บางช้าง เดือนเต็ม สาลิตุล จารุวรรณ ปัญโญภาส
พ่วง สมพล กงสุวรรณ สมควร กระจ่างศาสตร์ สุเชาว์ พงษ์วิไล
ต้อม ประภาพรรณ นาคทอง พัชรา กุญชร ณ อยุธยา ธิติมา สังขพิทักษ์ ปาริฉัตร ไพรหิรัญ สุวัจนี ไชยมุสิก แก้วใส คริสตัล โชติกา วงศ์วิลาศ
แต้ม โดมดวง อนุศาสนันท์ เมธัส ตรีรัตนวารีสิน
เจ้าพัฒนา กำธร สุวรรณปิยะศิริ ไพโรจน์ สังวริบุตร อภิชาติ หาลำเจียก ดิลก ทองวัฒนา
จิตรี กิ่งดาว ดารณี ปิยะดา เพ็ญจินดา อาภาพร กรทิพย์ สาวิตรี สามิภักดิ์
เที่ยง นภาพร หงสกุล ฟร้อนท์ มอนท์โกเมอรี่ ดารณีนุช โพธิปิติ
บาง วิชัย จงประสิทธิ์พร
เด่น บุษยา ส. อาสนจินดา สมิท ธนโชติ อนุสรณ์ เดชะปัญญา
ยายมา เมตตา รุ่งรัตน์
เหมือน สมพล กงสวรรณ รอง เค้ามูลคดี

อ้างอิง[แก้]