ล็อกเนสส์

พิกัด: 57°18′N 4°27′W / 57.300°N 4.450°W / 57.300; -4.450
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทะเลสาบล็อกเนสส์)
ทะเลสาบเนสส์
ทะเลสาบที่มีซากปราสาทอยู่เบื้องหน้า
มี Urquhart Castle อยู่เบื้องหน้า
ทะเลสาบเนสส์ตั้งอยู่ในสกอตแลนด์
ทะเลสาบเนสส์
ทะเลสาบเนสส์
ที่ตั้งScottish Highlands
พิกัด57°18′N 4°27′W / 57.300°N 4.450°W / 57.300; -4.450
ชนิดทะเลสาบน้ำจืด, oligotrophic, dimictic[1]
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักRiver Oich/Caledonian Canal, River Moriston, River Foyers, River Enrick, River Coiltie
แหล่งน้ำไหลออกRiver Ness/Caledonian Canal
พื้นที่รับน้ำ685 ตารางไมล์ (1,770 ตารางกิโลเมตร)
ประเทศในลุ่มน้ำสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร
ช่วงยาวที่สุด22.5 ไมล์ (36.2 กิโลเมตร)
ช่วงกว้างที่สุด1.7 ไมล์ (2.7 กิโลเมตร)
พื้นที่พื้นน้ำ21.8 ตารางไมล์ (56 ตารางกิโลเมตร)
ความลึกโดยเฉลี่ย132 m (433 ft)
ความลึกสูงสุด226.96 เมตร (124.10 ฟาทอม; 744.6 ฟุต)[2]
ปริมาณน้ำ1.8 ลูกบาศก์ไมล์ (7.5 ลูกบาศก์กิโลเมตร)
ความสูงของพื้นที่15.8 เมตร (52 ฟุต)
เกาะ1 (Cherry Island)
เมืองFort Augustus, Invermoriston, Drumnadrochit, Abriachan, Lochend; Whitebridge, Foyers, Inverfarigaig, Dores.

ล็อกเนสส์ หรือ ทะเลสาบเนสส์ (แกลิกสกอต: Loch Nis "Loch" แปลว่า "ทะเลสาบ") เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่อยู่ทางที่ราบสูงตอนเหนือของสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ในสถานที่ที่เรียกว่า "เกรตเกลน" มีชื่อเสียงในเรื่องของสัตว์ประหลาดที่มีชื่อว่า "เนสซี" จัดเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกทางเหนือ

ล็อกเนสส์ตั้งที่อยู่ที่เส้นรุ้ง 56 องศาเหนือ ลักษณะรูปร่างของทะเลสาบแห่งนี้ออกจะผิดแผกไปจากทะเลสาบอื่น ๆ คือเหยียดยาวออกไปเหมือนกิ่งไม้ ทะเลสาบนี้มีความยาวประมาณ 37 กิโลเมตร (23 ไมล์) แต่มีส่วนกว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร (1 ไมล์) เท่านั้น คิดเป็นเนื้อที่พื้นน้ำราว 56 ตารางกิโลเมตร (22 สแควร์ไมล์) ความลึกเฉลี่ย 132 เมตร บริเวณที่ลึกสุดประมาณ 300 เมตร อุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำในทะเลสาบค่อนข้างเย็น คือประมาณ 5.6 องศาเซลเซียส แต่น้ำในทะเลสาบไม่เคยเย็นจนเป็นน้ำแข็ง แหล่งน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลสาบประกอบด้วยแม่น้ำ 8 สาย ธารน้ำใหญ่ 60 สาย และธารน้ำเล็ก ๆ อีกนับร้อยสาย น้ำในทะเลสาบแห่งนี้ขุ่นมัวอยู่ตลอดเวลา แสงอินฟราเรดทะลุได้ไม่เกิน 1.5 เมตร

ความทึบของน้ำนี้ไม่ใช่ความขุ่นมัว ไม่ใช่ทึบเพราะตะกอนสิ่งสกปรกซึ่งตกตะกอนได้ แต่ทึบเนื่องจากจุลินทรีย์สีบางชนิดซึ่งแขวนลอยอยู่บนผิวน้ำ ซึ่งมาจากถ่านหินชนิดร่วนที่ถูกชะล้างลงมาจากภูเขาลงสู่ทะเลสาบเป็นเวลานานหลายพันปี อีกอย่างหนึ่ง ตลอดความยาวของทะเลสาบเต็มไปด้วยชะง่อนผาและโขดหินใต้น้ำ ทัศนียภาพรอบทะเลสาบเงียบสงบและขนาบข้างด้วยหน้าผา เนินหญ้า และต้นสน มีปราสาทโบราณแบบสกอตแลนด์ตั้งอยู่ชื่อ "เออร์คิวฮาร์ต"

จุดกำเนิดของล็อกเนสส์ใช้เป็นทฤษฎีอธิบายการเข้ามาอยู่ของไดโนเสาร์ในยุคดึกดำบรรพ์จนกลายมาเป็นเนสซีด้วย คือ สันนิษฐานว่าเมื่อราว 250 ล้านปี ได้เกิดการเคลื่อนไหวของผิวโลกตามรอยร้าวที่พาดผ่านตอนเหนือของสกอตแลนด์ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดหุบเขาและเหวลึกขนาดใหญ่ซึ่งเรียกว่าเกรตเกลน ในปัจจุบัน น้ำจากภูเขาได้ไหลทะลักลงไปสู่หุบเหว นานเข้าก่อให้เกิดทะเลสาบขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งได้แก่ ล็อกเนสส์, ล็อกออยช์ และล็อกโลชี ทะเลสาบนี้มีทางติดต่อกับทะเลเหนือด้วย ซึ่งในบริเวณทะเลเหนือนั้นมีรายงานว่าได้พบซากสัตว์ยุคโบราณที่มีรูปร่างคล้ายเนสซีอยู่หลายครั้ง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ในยุคนั้น สัตว์จำพวกนี้ได้ผ่านจากทะเลเหนือเข้ามาสู่ล็อกเนสส์ และเมื่อราว 8,000–10,000 ปีก่อน ทะเลสาบนี้ได้ถูกตัดขาดจากทะเลเหนือ จึงทำให้สัตว์เหล่านี้ถูกกักขังอยู่ในล็อกเนสส์ ประกอบกับสภาพของทะเลสาบที่ใหญ่พอและมีปริมาณปลา ซึ่งเป็นแหล่งอาหารมากพอ จึงทำให้มันดำรงชีวิตอยู่ได้และหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน

ในปี ค.ศ. 1933 ได้มีการตัดถนนผ่านทะเลสาบทำให้มีผู้คนสัญจรไปมามากขึ้น และทำให้มีหลายคนได้เจอะเจอเนสซีมากขึ้นด้วย หลายคนอ้างว่า ได้พบเนสซีตอนขึ้นมาบนบก[3]

ในปี ค.ศ. 2016 มีชาวประมงท้องถิ่นอ้างว่าสามารถใช้อุปกรณ์โซนาร์ตรวจจับสภาพของล็อกเนสส์พบว่ามีร่องลึกยาวประมาณ 9 ไมล์ ในระดับความลึก 813–900 ฟุต ซึ่งทำให้ล็อกเนสส์เป็นทะเลสาบที่มีความลึกเป็นอันดับ 2 ของสหราชอาณาจักรรองจากทะเลสาบโมราร์ที่ลึกถึง 1,017 ฟุต และอาจเป็นแหล่งซ่อนตัวของเนสซี[4] โดยทะเลสาบโมราร์นั้นก็เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ตั้งอยู่ที่ราบสูงตอนเหนือของสกอตแลนด์ และเชื่อว่ามีสัตว์ประหลาดทะเลสาบอาศัยอยู่เช่นกัน โดยเรียกว่า "โมรัก"[5][6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Dill, W.A. (1993). Inland Fisheries of Europe, p. 227. EIFAC FAO Technical Report 52 suppl.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cooperS
  3. "Bathymetrical Survey of the Fresh-Water Lochs of Scotland, 1897-1909". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-08. สืบค้นเมื่อ 2007-02-08.
  4. "เนสซี ซ่อนตัวที่ไหน? ชาวประมงพบที่ซ่อนของเนสซีลึก 900 ฟุต". เพชรรามา. January 20, 2016. สืบค้นเมื่อ July 31, 2016.
  5. Campbell, Elizabeth Montgomery; Solomon, David John (1972). The Search for Morag. Tom Stacey. ISBN 0-85468-093-4.
  6. "Cryptozoology". lochmorar.org.uk. สืบค้นเมื่อ 13 July 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]