ทองหลางป่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทองหลางป่า
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Fabales
วงศ์: Fabaceae
วงศ์ย่อย: Faboideae
เผ่า: Phaseoleae
สกุล: Erythrina
สปีชีส์: E.  subumbrans
ชื่อทวินาม
Erythrina subumbrans
(Hassk.) Merr.
Philippine Journal of Science 5(2): 113. 1910.
ชื่อพ้อง

Hypaphorus subumbrans Hassk.
Hort. Bogor. Desc. 198. 1858.
Erythrina lithosperma Miq.

ทองหลางป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Erythrina subumbrans) ภาษากะเหรี่ยงเรียกเชอโคว เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นมีหนามแหลมทั่วไป ใบประกอบ โคนก้านใบมีต่อม 1 คู่ ดอกช่อ ดอกย่อยลักษณะคล้ายดอกถั่ว สีแดงสด ดอกล่างบานก่อน กลีบดอกอันบนจะแผ่โค้งรูปเรือ ผลเป็นฝักแบน โคนฝักลีบ ปลายฝักใหญ่กว่า แก่แล้วจะแตกตามยาว ใบแก่สดใช้ตำพอก บำรุงร่างกาย[1] ชาวกะเหรี่ยงนำเนื้อไม้ด้านในเปลือกต้นเอาไปฝนทำแป้งทาหน้า ทำให้ผิวขาว ไม่มีสิว[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. รุ่งรัตน์ เอียดแก้ว วุฒิพล หัวเมืองแก้ว อภิชาต ภัทรธรรม. 2555. การใช้ประโยชน์จากของป่าของราษฎรตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี[ลิงก์เสีย]. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40 (3): 992 – 1001
  2. ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ 2551 พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยง ที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่271 หน้า ดูฉบับเต็ม เก็บถาวร 2021-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน