ทวี จุลละทรัพย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทวี จุลทรัพย์)
ทวี จุลละทรัพย์
พล.อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ ในปี 2508
รองนายกรัฐมนตรีไทย
ดำรงตำแหน่ง
12 พฤษภาคม 2522 – 3 มีนาคม 2523
นายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน 2519 – 6 ตุลาคม 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
14 ตุลาคม 2516 – 22 พฤษภาคม 2517
นายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์
ก่อนหน้าถนอม กิตติขจร
ถัดไปครวญ สุทธานินทร์
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2516 – 30 กันยายน 2517
ก่อนหน้าถนอม กิตติขจร
ถัดไปกฤษณ์ สีวะรา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 สิงหาคม พ.ศ. 2457
จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 (81 ปี)
โรงพยาบาลศิริราชกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพรรคสหประชาไทย
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
เสรีไทย
คู่สมรสอารีย์ ปิ่นแสง
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดFlag of the กองทัพอากาศไทย กองทัพอากาศไทย
ยศ พลเอก
พลเรือเอก
พลอากาศเอก
บังคับบัญชาผู้บัญชาการทหารสูงสุด

พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ (8 สิงหาคม พ.ศ. 2457 - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539) อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร อดีตประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เป็นหนึ่งในอดีตเสรีไทย และเคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เคยเป็นพระเอกภาพยนตร์ของกองภาพยนตร์ทหารอากาศ เรื่อง "บ้านไร่นาเรา" เมื่อ พ.ศ. 2484 [1]

ประวัติ[แก้]

พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ เกิดที่อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรของรองอำมาตย์โท หรุ่น และนางจ่าง จุลละทรัพย์[2] สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนการบิน และศึกษาวิชาการบิน และเสนาธิการ จากประเทศอังกฤษและอเมริกา เคยเป็นนายทหารเสรีไทยในอเมริกา[3] รับราชการในกองทัพอากาศไทย มีตำแหน่งสูงสุดเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการทหารสูงสุด [4]

พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2514[5] ภายหลังจากนั้นดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุดเพียงตำแหน่งเดียว

พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ สมรสกับคุณหญิงอารี จุลละทรัพย์ (นามสกุลเดิม: ปิ่นแสง) รองนางสาวไทยประจำปี พ.ศ. 2483 ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 อายุ 81 ปี 180 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร

การทำงาน[แก้]

งานการเมือง[แก้]

พล.อ.อ. ทวี เข้าทำงานการเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสหประชาไทย มีจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค ส่วน พล.อ.อ. ทวี เป็นเลขาธิการพรรค [6]

พล.อ.อ. ทวี เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีสมัยแรก พ.ศ. 2506 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร[7] และได้รับพระราชทานยศ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ในปีนั้น[8] ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ. 2514 ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร เช่นเดียวกัน

กระทั่งในปี พ.ศ. 2516 เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด[9]และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[10] ในรัฐบาลศ. สัญญา ธรรมศักดิ์

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช[11] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งอีกสมัยหนึ่งในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์เช่นเดียวกัน[12] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากรัฐประหารในปีพ.ศ. 2520 นำโดยพล.ร.อ. สงัด ชลออยู่

ในปี พ.ศ. 2522 พล.อ.อ. ทวี ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ [4][13]

งานกีฬา[แก้]

พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ เป็นบุคคลสำคัญในวงการกีฬาของไทย ได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2516 สืบต่อจากจอมพล ประภาส จารุเสถียร และดำรงตำแหน่งติดต่อกันหลายสมัย ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในคณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย เมื่อ พ.ศ. 2538 นอกจากนี้ยังเคยเป็นนักกีฬาเรือใบ เคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 5 และเหรียญเงินจากการแข่งขันเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 8 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ [4]

ยศ[แก้]

  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 - ร้อยตรี[14]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2481 - เรืออากาศโท[15]

รางวัลและเกียรติยศ[แก้]

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองใหญ่ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เมื่อ พ.ศ. 2508[16]

  • อิสริยาภรณ์โอลิมปิกสากล (Olympic Order In Gold) จากสภาโอลิมปิกสากล (IOCC)
  • อิสริยาภรณ์ ANOC AWARD จากสมาคมโอลิมปิกนานาชาติ (IOA)
  • รางวัล ASIAN MERIT AWARD จากสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (OCA)
  • อิสริยาภรณ์ซีเกมส์ จากสมาพันธ์ซีเกมส์ (SEA Games Federation)
  • รางวัล Distinguished Service Award by the United States Sports Academy ในปี พ.ศ. 2538

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

  •  สหรัฐ :
    • พ.ศ. 2490 - เหรียญออฟฟรีดอม ประดับใบปาร์มสีบรอนซ์[32]
    • พ.ศ. 2506 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นผู้บัญชาการ[33]
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญเอเซียติค-แปซิฟิกแคมเพน
    • พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญชัยชนะสงครามโลกครั้งที่สอง
  •  เวียดนามใต้ :
    • พ.ศ. 2498 - เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชาติเวียดนาม ชั้นประถมาภรณ์
    • พ.ศ. 2500 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิมกานห์ ชั้นที่ 1
  •  พม่า :
    • พ.ศ. 2499 - เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งสหภาพพม่า ชั้นสะโดมหาสเรสิตู (ฝ่ายทหาร)[34]
  •  ไต้หวัน :
  •  เอธิโอเปีย :
    • พ.ศ. 2506 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราแห่งเอธิโอเปีย ชั้นที่ 1
  •  นอร์เวย์ :
  •  มาเลเซีย :
    • พ.ศ. 2507 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ยัง มูเลีย ปังกวน เนการา ชั้นที่ 2[36][37]
    • พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์หยาง มูเลีย เซเตีย มาห์โกตา มาเลเซีย ชั้นที่ 1[38]
  •  เบลเยียม :
    • พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 1[36]
  •  อิหร่าน :
    • พ.ศ. 2510 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เฟิร์สโฮมายูนวิธแสซ

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประวัติ กองดุริยางค์ทหารอากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-12. สืบค้นเมื่อ 2007-11-08.
  2. "ประวัติจาก หอพิพิธภัณฑ์กีฬาแห่งชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-13. สืบค้นเมื่อ 2007-11-08.
  3. นายทหารเสรีไทยในสหรัฐอเมริกา
  4. 4.0 4.1 4.2 "พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์ "ทุเรียนเหล็กแห่งบ้านอัมพวัน" ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-23. สืบค้นเมื่อ 2007-11-08.
  5. ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
  6. "ระบอบเผด็จการทหาร สฤษดิ์ – ถนอม – ประภาส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-01. สืบค้นเมื่อ 2007-11-08.
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
  8. "ได้รับพระราชทานยศ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-08-01. สืบค้นเมื่อ 2018-07-31.
  9. "แต่งตั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุด" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-11-15. สืบค้นเมื่อ 2018-07-31.
  10. "ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-18. สืบค้นเมื่อ 2018-07-31.
  11. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-07-02.
  12. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  13. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
  14. ประกาศ พระราชทานยศทหาร (หน้า ๒๕๙๖)
  15. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องพระราชทานยศทหาร (หน้า ๔๔๕)
  16. "รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-31. สืบค้นเมื่อ 2018-05-31.
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
  19. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รามาธิบดี, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๔๔๕, ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๐๘
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๖
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๘๗, ๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๘๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๑๓, ๘ กันยายน ๒๕๐๕
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๓๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗
  25. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชี รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๑, ๗ ตุลาคม ๒๔๗๗
  26. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๔ ง หน้า ๒๖๙๗, ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๖
  27. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๕๑ ง หน้า ๑๓๗๐, ๕ มิถุนายน ๒๕๐๕
  28. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๕ ตอนที่ ๗๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๑๕, ๒๕ ธันวาคม ๒๔๙๑
  29. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๘ กรกฎาคม ๒๕๐๙
  30. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๑๗ ง หน้า ๔๒๙, ๒๖ มีนาคม ๒๔๘๙
  31. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๕๘ ง หน้า ๑๔๗๓, ๒๖ มิถุนายน ๒๕๐๕
  32. ราชกิจจานุเบกษา ,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 61 ตอนที่ 77 หน้า 2447, 26 ธันวาคม 2490
  33. AGO 1963-02 — HQDA GENERAL ORDER: MULTIPLES AWARDS BY PARAGRAPHS
  34. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 73 ตอนที่ 11 หน้า 385, 31 มกราคม 2499
  35. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 76 ตอนที่ 95 หน้า 2252, 23 ตุลาคม 2505
  36. 36.0 36.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 84 ตอนที่ 73 หน้า 2237, 8 สิงหาคม 2510
  37. SENARAI PENUH PENERIMA DARJAH KEBESARAN, BINTANG DAN PINGAT PERSEKUTUAN TAHUN 1964
  38. "Semakan Penerima Darjah Kebesaran, Bintang dan Pingat Persekutuan"

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]