ทฤษฎีกล่องดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทฤษฎีกล่องดำ หมายถึงสิ่งใด ๆ ที่ถูกนิยามไว้เพียงแค่หน้าที่ของมัน [1][2] ศัพท์ว่า ทฤษฎีกล่องดำ ถูกใช้ในสาขาใดก็ได้ เช่นปรัชญาและวิทยาศาสตร์ หรือสาขาอื่นที่มีการแสวงหาคำตอบหรือการจำกัดความบางอย่าง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างการปรากฏของบางสิ่งที่อยู่ภายนอก โดยเฉพาะสิ่งที่ถูกระบุว่ามีสถานะเสมือนกล่องดำ ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะเฉพาะและพฤติกรรมที่อยู่ภายใน [3][4] การแสวงหาคำตอบดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่ไม่มีลักษณะปรากฏในฉับพลัน แต่ต่อมาก็ปรากฏปัจจัยสำหรับการพิจารณาด้วยตัวมันเองซึ่งแฝงเร้นจากการสังเกตการณ์ ผู้สังเกตการณ์จะถูกสมมติว่าเพิกเฉยในตอนแรก เพราะข้อมูลส่วนใหญ่ที่สามารถใช้ได้ยังคงหลบซ่อนอยู่ในสถานการณ์ภายในอันหนึ่งจากการสืบสวนแบบผิวเผิน องค์ประกอบ กล่องดำ ของนิยามนี้แสดงให้เห็นถึงการระบุลักษณะเฉพาะโดยระบบใดระบบหนึ่ง ซึ่งองค์ประกอบที่สังเกตการณ์ได้ เข้าไปสู่กล่องในจินตนาการที่บรรจุกลุ่มของการแสดงออกที่แตกต่างกัน และการแสดงออกก็สังเกตการณ์ได้เช่นกัน [5]

ที่มาของศัพท์[แก้]

คำศัพท์ กล่องดำ มีบันทึกการใช้เป็นครั้งแรกโดยกองทัพอากาศของสหราชอาณาจักร (RAF) เมื่อประมาณ ค.ศ. 1947 เพื่ออธิบายบรรจุภัณฑ์ปิดผนึกที่ใช้เป็นอุปกรณ์นาวิกโยธิน และการใช้คำนี้แพร่หลายมากขึ้นอย่างกว้างขวางหลังจาก ค.ศ. 1964 [6] คำนี้ใช้แก่อุปกรณ์ที่เรียกว่าเครื่องบันทึกข้อมูลการบิน (FDR) และเครื่องบันทึกเสียงในห้องนักบิน (CVR) หน้าที่ของอุปกรณ์เหล่านี้คือบันทึกการสื่อสารทางวิทยุที่เกิดขึ้นภายในเครื่องบิน และสำคัญอย่างยิ่งต่อการสืบสวนสาเหตุของเครื่องบินตกในสถานที่ที่เกิดอุบัติเหตุ กล่องเหล่านี้แท้จริงแล้วมีสีส้มเพื่อให้สามารถสังเกตได้ง่าย [7][8]

ตัวอย่าง[แก้]

"กล่องดำ" คือภาพพจน์ของกลไกที่ไม่สามารถสังเกตการณ์ได้

พิจารณากล่องดำอันหนึ่งที่ไม่สามารถเปิดออก "ดูข้างใน" ว่ามันทำงานอย่างไร การทำงานที่เป็นไปได้ทั้งหมดจะถูกคาดเดาโดยใช้พื้นฐานว่า อะไรเกิดขึ้นเมื่อบางสิ่งบางอย่างถูกใส่เข้าไป (อินพุต) และอะไรจะปรากฏเป็นผลลัพธ์ออกมาเนื่องจากสิ่งนั้น (เอาต์พุต) เป็นต้นว่า ถ้าใส่ส้มผลหนึ่งเข้าไปข้างหนึ่ง แล้วส้มผลหนึ่งก็หล่นออกมา การคาดเดาอย่างมีหลักการหรือการสร้างสมมติฐานเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในกล่องดำสามารถเป็นไปได้ กล่องดำอาจจะมีผลส้มบรรจุอยู่เต็มก็ได้ กล่องดำอาจจะเป็นสายพานเลื่อนที่เคลื่อนย้ายผลส้มจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่งก็ได้ หรือแม้แต่กล่องดำอาจจะเป็นประตูมิติในพหุภพก็ได้ เนื่องด้วยเราไม่สามารถสืบเสาะการทำงานต่าง ๆ ของกล่องได้ สิ่งที่เราทำได้ทั้งหมดก็มีเพียงการคาดเดา

อย่างไรก็ตาม การปรากฏที่แปลกไปในบางโอกาสจะเข้ามาแทนที่ความเข้าใจของเราเกี่ยวกับกล่องดำ สมมติว่าเมื่อใส่ส้มผลหนึ่งเข้าไป คราวนี้ได้ฝรั่งผลหนึ่งออกมาแทน นั่นหมายความว่าทฤษฎี "ผลส้มบรรจุอยู่เต็ม" และ "สายพานเลื่อน" ใช้ไม่ได้อีกต่อไป และเราอาจต้องเปลี่ยนแปลงการคาดเดาอย่างมีหลักการหรือการสร้างสมมติฐานว่ากล่องดำทำงานอย่างไรเสียใหม่

อ้างอิง[แก้]

  1. Definition from Answers.com
  2. definition from highbeam[ลิงก์เสีย]
  3. Black box theory applied briefly to Isaac Newton
  4. Usage of term
  5. Physics dept, Temple University, Philadelphia
  6. online etymology dictionary
  7. howstuffworks
  8. "cpaglobal". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-08. สืบค้นเมื่อ 2013-02-02.