หญิงข้ามเพศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทรานส์วูแมน)

หญิงข้ามเพศ หรือ ทรานส์วูแมน (อังกฤษ: Trans woman, Trans female, Transsexual woman, Transsexual female) หมายถึงคนแปลงเพศหรือคนข้ามเพศ จากชายข้ามเพศเป็นหญิง (Male-to-female (MTF)) ส่วนคำอื่นที่มิใช่คำในวงการแพทย์ เช่น ที-เกิร์ล (T-girl), ทีจี-เกิร์ล (Tg-girl) และ ทีเอส-เกิร์ล (Ts-girl)[1][2] แต่คำว่า คนข้ามเพศ ดูจะเป็นคำที่มีความหมายทั่วไปมากกว่า[1]

คำว่า "หญิงข้ามเพศ" ("Transgender woman") เริ่มเป็นที่คุ้นหูของคนไทยโดยทั่วไปมากขึ้น นอกจากคำเรียกแบบเดิม เช่น สาวประเภทสอง สาวสอง กะเทย ทั้งนี้คำว่าหญิงข้ามเพศ ในความหมายทางสังคมวิทยาเป็นคำเรียกผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นผู้ชายแต่ต้องการเปลี่ยนเพศสภาพของตนให้เป็นเพศตรงข้าม ซึ่งก็คือเพศหญิง (MTF หรือ Male to female transformation) โดยที่บุคคลนั้นจะยังไม่แปลง หรือแปลงเพศไปแล้วก็ได้  

ผู้ที่เกิดมาเป็นเพศชายแต่กำเนิด แต่รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่และไม่รู้สึกเติมเต็มกับชีวิตพวกเธอ จึงอาจมีความต้องการที่จะเปลี่ยนเพศเป็นผู้หญิง และให้สอดคล้องกับรูปลักษณ์ที่อยากเป็น การข้ามเพศเป็นผู้หญิงมีนัยยะบอกอัตลักษณ์ของพวกเธอถึงการไม่ยอมรับเพศเมื่อแรกเกิด

ถึงแม้ว่าหลังจากการข้ามเพศแล้ว หญิงข้ามเพศจะมีความแตกต่างทางชีวภาพจากผู้หญิงซิสเจนเดอร์ ตัวอย่างเช่น โดยมากมีโครโมโซม XY อย่างไรก็ตามการเป็นผู้หญิงสามารถหมายถึงเพศทางด้านสังคมที่เด่นชัด หรือที่เป็นสิ่งสำคัญของคนข้ามเพศ คือการเลือกอัตลักษณ์ทางเพศ มีบางคนยังคงเป็นคนข้ามเพศ (ไม่ได้แปลงเพศ) หลังจากข้ามเพศแล้ว มีคนข้ามเพศหลายคนพิจารณาว่า รูปร่างของอวัยวะสืบพันธุ์ของตัวเองไม่สำคัญต่อพวกเขา

ภาพรวม[แก้]

การข้ามเพศ[แก้]

การข้ามเพศ หรือ ทรานส์เจนเดอร์ เป็นคำที่ใช้หมายรวมถึงคนที่มีอัตลักษณ์ หรือการแสดงออกทางเพศที่แตกต่างจากเพศกำเนิด ได้แก่ ชายหรือหญิงที่รู้สึกเหมือนเพศตรงข้าม หรือคนที่เรียกตัวเองว่าเป็นคนที่มีจิตใจเหมือนเพศตรงข้าม คนข้ามเพศ ชายแต่งหญิง/หญิงแต่งชาย คนสองเพศ คนหลายเพศ เควียร์หรือเจนเดอร์เควียร์ (Queer หรือ Gender queer) คนไร้เพศ เพศทางเลือก หรืออัตลักษณ์ และการแสดงออกทางเพศอื่นใดก็ตามที่ไม่ตรงตามมาตรฐานความเป็นชายหรือหญิงโดยทั่วไป คนกลุ่มนี้ ผ่านการเลือกอัตลักษณ์ทางสังคมให้สัมพันธ์กับความรู้สึกทางเพศของตนเอง โดยการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ทางเพศ และการแสดงออกทางเพศ เช่น การแต่งกาย บุคลิกภาพ การเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพ รวมถึง การผ่าตัดดัดแปลงทางเพศต่างๆ

Gender expression (การแสดงออกทางเพศ)

มักเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ทางเพศ หมายถึง การแสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางเพศของแต่ละบุคคล และการแสดงออกที่รับรู้ในสายตาของผู้อื่น โดยทั่วไป คนเราจะถูกสังคมหล่อหลอมให้มีการแสดงออกทางเพศที่ตรงกับอัตลักษณ์ทางเพศของตนไม่ว่าจะมีเพศกำเนิดเป็นเพศใดก็ตาม แต่หากบุคคลที่มีจิตใจโน้มเอียงไปในทางตรงกันข้ามกับอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง จึงปรารถนาที่จะเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางเพศของตนเองไปตามความโน้มเอียงทางเพศของจิตใจ จึงมีการแสดงออกทางเพศเปลี่ยนไป ดังนั้นในยุคปัจจุบันอัตลักษณ์ทางเพศที่เห็นเพียงภายนอกอาจมิใช่สิ่งบ่งชี้เพศอย่างแท้จริง เนื่องมีสภาวะเป็นเพียงเพศสภาพ ซึ่งอาจมิใช่เพศวิถี แต่ในโลกยุคใหม่คนส่วนหนึ่งก็ให้การยอมรับในเรื่องดังกล่าวมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้นการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากมีอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างกันจึงมิควรได้รับการยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำได้อีกต่อไป เพราะเป็นการอยุติธรรมต่อบุคคลนั้นๆ


ทรานส์วูแมน เช่นเดียวกับทรานส์แมน หญิงข้ามเพศมีการตัดสินใจหลายเรื่องและทางเลือกต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของพวกเธอ เพศที่พวกเธอเลือก และความรู้สึกของคนสนับสนุนรอบข้าง แต่ละกรณีมีความแตกต่างกันไป ทางเลือกอาจขึ้นอยู่กับแพทย์และด้านการเงิน แต่ก็ไม่ทุกกรณี ทั้งนี้ก็เพื่อปูพื้นฐานในด้านจิตใจเกี่ยวกับเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศของตน บางส่วนอาจจะต้องการเปลี่ยนลักษณะทางกายภาพให้เข้าใกล้ความเป็นหญิงมากที่สุด

ในกรณีหญิงข้ามเพศเรียกว่า Male to female Transgender (MtF) คือ ผู้หญิงที่ได้รับการแปลงเพศมาจากเพศชายเรียบร้อยแล้วหรือเรียกอีกอย่างว่า ผู้หญิงข้ามเพศ ในภาษาอังกฤษ บางครั้ง trans woman ก็เขียนเป็น transwoman (เขียนติดกัน) หรือ trans-woman[3]

หญิงข้ามเพศบางคนรู้สึกการข้ามเพศของตนมีความสมบูรณ์แล้ว มีความต้องการให้เรียกตนว่า "ผู้หญิง" และพิจารณาว่า คำว่า "หญิงข้ามเพศ" หรือ "ชายข้ามเพศเป็นหญิง" เป็นคำที่ใช้กับคนที่ข้ามเพศแบบไม่สมบูรณ์ ดังนั้นจึงมีหลายคนไม่ต้องการให้เรียกตนเองว่า "หญิงข้ามเพศ" ในสังคม ซึ่งมีแนวโน้มว่าตน "ดูเป็นคนอื่น" ที่ดูขัดกับเพศทั้งสองเพศ หรือมีเหตุผลส่วนตัวมากกว่านั้นที่จะแสดงตนเป็นคนแปลงเพศแล้ว

กระบวนการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศ[แก้]

การเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง[แก้]

การเพิ่มฮอร์โมนเพศ หรือ การเทคฮอร์โมน เป็นการเสริมฮอร์โมนเพศหญิง และลดฮอร์โมนเพศชายลง การเปลี่ยนสภาพร่างกายให้เข้าสู่ความเป็นผู้หญิง จำเป็นต้องอาศัย ฮอร์โมนเพศ ที่ร่างกายรับจากภายนอก

จากรูปแบบยาเตรียมที่หลากหลายได้แก่

1. ยาเม็ด โดยแนะนำเป็นยาเฉพาะที่แพทย์แนะนำและบริโภคภายใต้การดูแลและคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีความเข้าใจผิดในวงกว้างเกี่ยวกับการใช้ยาคุมกำเนิดสำหรับเพศหญิง เพื่อเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งในปัจจุบันแพทย์ยังไม่รองรับการเทคฮอร์โมนโดยวิธีการใช้ยาคุมกำเนิดสำหรับเพศหญิง

2. การรับฮอร์โมนทางผิวหนัง ได้แก่ ยาทา แผ่นแปะผิวหนัง และสเปรย์ วิธีนี้ยาสามารถซึมเข้าผิวหนังและเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อออกฤทธิ์ได้โดยตรง และยาฮอร์โมนที่ส่งผ่านทางผิวหนังจะใช้ปริมาณยาเตรียมที่ต่ำกว่ายาเม็ด เพราะ ไม่ผ่านกระบวนการทำลายยาที่ตับก่อนออกฤทธิ์ อีกทั้งยังคงระดับยาในกระแสเลือดอย่างคงที่มากกว่ายาเม็ด อย่างไรก็ตาม ยาสูตรที่มี Estradiol ทั้งหลาย อาจมีผลข้างเคียง ควรหลีกเลี่ยง ใช้ปริมาณน้อย หรือหยุดสำหรับผู้มีความผิดปกติ

3. ยาฉีดเข้าสู่กระแสเลือด ยาฉีดสามารถเข้าสู่ร่างกายได้จากการฉีดเข้ากระแสเลือดโดยตรง วิธีนี้เห็นผลค่อนข้างเร็ว อย่างไรก็ตามอาจเกิดอันตรายได้ในรายที่แพ้ยาฉีด ถึงขั้นช็อคหมดสติ เกิดผื่น หรือเกิดอาการไม่พึงประสงค์เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดแสบปวดร้อนบริเวณที่ฉีด บางตำรับไม่แนะนำให้ใช้เนื่องจากผลข้างเคียงของส่วนประกอบหลักทำให้เกิดภาวะผิดปกติของร่างกายการปรับเพิ่มลดฮอร์โมนควรทำตามหลักการแพทย์ มีแพทย์เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ และตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนเพศโดยความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเลือกใช้ฮอร์โมนให้ถูกกับร่างกายและความต้องการ

ฮอร์โมนที่สำคัญได้แก่

  1. เอสโตรเจน (Estrogen) การเสริม Estrogen เข้าร่างกาย ควรคำนึงถึงผลข้างเคียง ในระยะสั้นอาจยังไม่เห็นผลชัดเจน แต่ระยะยาว อาจเกิดภาวะผิดปกติแก่ร่างกาย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง  หลอดเลือดดำอุดตัน/ลิ่มเลือดที่ปอด  มะเร็งเต้านม ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) สูงรุนแรง  (ควรระวังการใช้เอสโตรเจนชนิดรับประทาน)  และการทำงานของตับหรือไตผิดปกติ   Estrogen ที่เสริมเข้าสู่ร่างกาย แบ่งประเภทตามรูปแบบทางเคมีได้แก่ 17-β estradiol , Ethinyl Estradiol, Estradiol valerate, Conjugated Estrogen ในปัจจุบัน ไม่แนะนำ ยาคุมกำเนิด, พรีมาริน, ยาเอสตราดิออลแบบฉีด
  2. โปรเจสเตอโรน (Progesterone)  บางคนเชื่อว่าทำให้เต้านมมีการพัฒนาคล้ายธรรมชาติ บางการวิจัย พบว่าผลต่อเต้านม ยังไม่ชัดเจน การใช้โปรเจสเตอโรนในหญิงวัยทอง พบมะเร็งเต้านมสูงขึ้นโดยเฉพาะ การใช้ร่วมกับเอสโตรเจน หลาย guideline ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะอาจทำให้เกิดหลอดเลือดดำอุดตัน เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองเพิ่มขึ้น มีภาวะซึมเศร้า มีน้ำหนักเพิ่ม และไขมันในเลือดสูง ในปัจจุบัน ไม่แนะนำทุกรูปแบบ
  3. กลุ่มต้านฮอร์โมนเพศชาย (Anti-Androgen hormones) ควรใช้เอสตราดิออลควบคู่ไปกับยาต้านฮอร์โมนเพศชาย หญิงข้ามเพศที่ผ่าตัดอัณฑะออกแล้วหรือผ่าตัดแปลงเพศแล้ว แนะนำหยุดใช้ยาต้านฮอร์โมนเพศชาย ใช้เอสตราดิออลเพียงตัวเดียว เป็นฮอร์โมนทดแทน

การผ่าตัดกล่องเสียง[แก้]

เพื่อทำเสียงให้ใกล้เคียงเสียงผู้หญิง ที่มีความเล็ก แหลม มากขึ้น

ศัลยกรรมใบหน้า[แก้]

การผ่าตัดแปลงอวัยวะสืบพันธุ์[แก้]

จากเดิมที่มีเพศสภาพเป็นชาย กลายเป็นอวัยวะสืบพันธุ์มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกับอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Kenagy, Gretchen P. (2005). "Transgender Health: Findings from Two Needs Assessment Studies in Philadelphia". Health and Social Work, Vol. 30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-04. สืบค้นเมื่อ 2008-03-29.
  2. Novic, Richard (2005). Alice In Genderland: A Crossdresser Comes Of Age. iUniverse, page 77, ISBN 0595315623. สืบค้นเมื่อ 2008-03-29.
  3. Serano, Julia (2007). Whipping girl: a transsexual woman on sexism and the scapegoating of femininity. Emeryville, CA: Seal Press. pp. 29–30. ISBN 1-58005-154-5.