ถั่วแปบ (พืช)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ถั่วแปบ
ลักษณะทั่วไป
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: ถั่ว
วงศ์: ถั่ว
วงศ์ย่อย: วงศ์ย่อยถั่ว
สกุล: Lablab
(L.) Sweet
สปีชีส์: Lablab purpureus
ชื่อทวินาม
Lablab purpureus
(L.) Sweet
ชื่อพ้อง[1]

Dolichos lablab L.
Dolichos purpureus L.
Lablab niger Medikus
Lablab lablab (L.) Lyons
Lablab vulgaris (L.) Savi
Vigna aristata Piper

ถั่วแปบ เป็นชื่อไม้เถาชนิด Dolichos lablab L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีม่วงฝักแบน ๆ ภาษากะเหรี่ยงเรียก เบ่าะบาสะ ถั่วแปบเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีแหล่งกระจายพันธุ์มาจากประเทศอินเดีย แล้วจึงกระจายพันธุ์ไปทางภูมิประเทศแบบเขตร้อนหรือร้อนชื้น ถั่วแปบมีโครโมโซมเป็นดิพลอยด์ (2n=22) จำนวน 11 คู่ ที่มีอายุข้ามปี โดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือถั่วแปบเขียว (สีฝักจะมีสีเขียวเข้ม) และถั่วแปบขาว (ลักษณะฝักจะมีสีเขียวซีดขาว)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

ต้นถั่วแปบมีลำต้นเป็นไม้เลื้อยลำต้นบิด มีขนเล็กน้อย สูงประมาณ 1.5 เมตร - 3 เมตร บางพันธ์อาจสูงได้ถึงประมาณ 9 เมตร ลักษณะของใบ เป็นใบประกอบ 3 ใบ คล้ายรูปไข่ปลายเรียวแหลม ดอกมี 2 ชนิดคือ ชนิดดอกสีขาว และชนิดดอกสีม่วง เมล็ดอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลเข้ม หรือเป็นสีดำเมื่อแก่จัด

การใช้ประโยชน์[แก้]

ฝักอ่อน เมล็ด ใช้ประกอบอาหาร เช่นแกงส้ม ผักลวกจิ้มกับน้ำพริก ใช้เป็นสมุนไพรบำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้อาการแพ้ ปลูกเป็นพืชอาหารสัตว์ ปลูกเป็นพืชสำหรับทำปุ๋ย หรือเป็นพืชเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

สารอาหาร[แก้]

ถั่วแปบเป็นพืชตระกูลถั่วที่ให้สารอาหารทางโปรตีนสูง คาร์โบไฮเดรต (กลูโคส กาแลกโทส และกลูตามิเนส) ไขมันชนิดฟอสฟาไทด์ แร่ธาตุ ได้แก่ แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส สังกะสี รวมไปถึงวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี กรดแพนโรทีนิค

ถั่วแปบยังพบว่ามีสาร ไฟโตฮีแมคกลูตินิน (Phytohemagglutinine) ที่ช่วยในการเร่งการผลิตเม็ดเลือดขาวของร่างกาย ลำต้นของถั่วแปบยังพบว่ามีสารแคโรทีน หรือบีตา-แคโรทีน และสาร ลูเทียน (Lutein) ในส่วนของรากถั่วแปบมีเอนไซม์ชนิดหนึ่ง และกรดอะมิโนแยกอิสระอีกหลายชนิด จึงเหมาะแก่การปลูกถั่วแปบเพื่อบำรุงรักษาดิน

ภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Lablab purpureus at Multilingual taxonomic information from the University of Melbourne

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]