ตำบลเวียง (อำเภอเทิง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลเวียง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Wiang
ตำบลเวียงตั้งอยู่ในจังหวัดเชียงราย
ตำบลเวียง
ตำบลเวียง
พิกัด: 19°41′26″N 100°13′04″E / 19.69056°N 100.21778°E / 19.69056; 100.21778
ประเทศไทย
จังหวัดเชียงราย
อำเภอเทิง
ประชากร
 (2553)
 • ทั้งหมด16,710 คน
รหัสไปรษณีย์ 57160
รหัสภูมิศาสตร์570401
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตำบลเวียง เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 25 หมู่บ้าน และเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการหลายแห่งของอำเภอเทิง

ประวัติ[แก้]

ตำบลเวียงเดิมเป็นเมือง ๆ หนึ่ง ขึ้นตรงต่อ จ.น่าน เมื่อปี พ.ศ. 2444 ขณะนั้นเรียกตำบลว่าแคว่น และตำบลเวียงเรียกว่า "แคว่นเวียง" ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 จึงได้แยกการปกครองออกมาจาก จ.น่าน ขึ้นตรงต่อ จ.เชียงราย ใช้ชื่อว่า อ.เทิง ครั้งแรก ต.เวียงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน โดยในปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 25 หมู่บ้าน

สภาพทั่วไปของตำบล[แก้]

อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเทิงประมาณ 1 กม อยู่ห่างจาก จ.เชียงราย 63 กม.พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีน้ำแม่ลาวและน้ำแม่อิงไหลผ่าน และมีภูเขาบางส่วน

อาณาเขตตำบล[แก้]

หมู่บ้าน[แก้]

สถานที่ราชการที่สำคัญในตำบล[แก้]

  • ที่ว่าการอำเภอเทิง
  • โรงพยาบาลเทิง
  • สถานีตำรวจภูธรเทิง
  • สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเทิง
  • ศาลจังหวัดเทิง
  • สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดเทิง
  • เรือนจำอำเภอเทิง
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเชียงราย เขตที่ ๔
  • ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเวียง
  • สำนักงานเทศบาลตำบลเวียงเทิง
  • สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงราย สาขาเทิง
  • สำนักงานเกษตรอำเภอเทิง
  • สำนักงานพัฒนาการอำเภอเทิง
  • สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาเทิง
  • หน่วยสัสดีอำเภอเทิง
  • ศูนย์ปฏิบัติการปศุสัตว์เทิง
  • สำนักงานป่าไม้จังหวัดเชียงรายประจำอำเภอเทิง
  • สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่เชียงราย สาขาเทิง
  • สำนักงานผู้ประสานงานวัฒนธรรมอำเภอเทิง
  • สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงราย (สาขาเทิง )

รัฐวิสาหกิจที่สำคัญ[แก้]

ธนาคาร[แก้]

วัดในเขตตำบล[แก้]

สถานศึกษาในเขตตำบลเวียง[แก้]

ประชากร[แก้]

จำนวนประชากรทั้งสิ้น 14,106 คน เป็นประชากรชาย จำนวน 7,052 คน และประชากรหญิง จำนวน 7,054 คน และจำนวนหลังคาเรือน 4,892 หลังคาเรือน

อาชีพ[แก้]

อาชีพหลักของประชากรในเขตตำบลเวียง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม อาทิ การทำนา การทำสวน การทำไร่ การทำการประมง นอกจากนี้ยังประกอบอาชีพทางด้านพาณิชยกรรม อาทิ การค้าขาย การบริการ และยังประกอบอาชีพรับจ้าง ประกอบกิจการอุตสาหกรรมครัวเรือน รับราชการ

ทรัพยากรธรรมชาติ[แก้]

  • ทรัพยากรป่าไม้

พื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ป่าดอยทา ป่าห้วยไคร้

  • ทรัพยากรน้ำ

แม่น้ำสำคัญ ได้แก่ น้ำแม่ลาว น้ำแม่อิง

  • ทรัพยากรดิน

ดินมีลักษณะเป็นดินร่วน เหมาะสำหรับทำการเกษตร

อ้างอิง[แก้]