ตำบลเมืองเก่า (อำเภอเมืองสุโขทัย)

พิกัด: 17°2′23.942″N 99°38′45.820″E / 17.03998389°N 99.64606111°E / 17.03998389; 99.64606111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลเมืองเก่า
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Mueang Kao
วัดมหาธาตุ
วัดมหาธาตุ
ตำบลเมืองเก่าตั้งอยู่ในจังหวัดสุโขทัย
ตำบลเมืองเก่า
ตำบลเมืองเก่า
พิกัด: 17°2′23.942″N 99°38′45.820″E / 17.03998389°N 99.64606111°E / 17.03998389; 99.64606111
ประเทศไทย
จังหวัดสุโขทัย
อำเภอเมืองสุโขทัย
พื้นที่
 • ทั้งหมด70.98 ตร.กม. (27.41 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)[1][2]
 • ทั้งหมด17,536 คน
 • ความหนาแน่น247.05 คน/ตร.กม. (639.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 64210
รหัสภูมิศาสตร์640103
เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า
เทศบาลตำบลเมืองเก่า
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตำบลเมืองเก่า เป็นตำบลหนึ่งทางตะวันตกของอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นสถานที่ตั้งของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อันเป็นเขตพระราชวังเก่าของอาณาจักรสุโขทัย ดังมีหลักฐานเป็นศาลหลักเมือง เหตุที่ได้ชื่อว่า "เมืองเก่า" เนื่องด้วยเคยเป็นราชธานีมาก่อน และมีการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมต่อ ๆ กันมา เช่น ประเพณีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ เป็นต้น

ตำบลเมืองเก่ามีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขา และมีแนวเขาหลวงทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตำบล ลักษณะดินเป็นดินเหนียวและดินร่วนปนเหนียว มีลำคลองไหลผ่าน มีอ่างเก็บน้ำสิริพงษ์ และตระพังเก็บน้ำหลายแห่ง อาชีพหลักของประชากรในตำบลเมืองเก่า เช่น ทำนา เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย และหัตถกรรม

การปกครอง[แก้]

ตำบลเมืองเก่าแบ่งการปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 เพชรไฝ
  • หมู่ที่ 2 นา
  • หมู่ที่ 3 เมืองเก่า
  • หมู่ที่ 4 วังตะคร้อ
  • หมู่ที่ 5 ปากคลอง
  • หมู่ที่ 6 มนต์คีรี
  • หมู่ที่ 7 วังวน
  • หมู่ที่ 8 เชตุพน
  • หมู่ที่ 9 ราวต้นเกลือ
  • หมู่ที่ 10 ศรีชุม
  • หมู่ที่ 11 แสนตอ

โดยมีองค์กรปกครองท้องถิ่น 2 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลเมืองเก่า ซึ่งครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ 2, 3, 8 และ 10 และองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า ซึ่งครอบคลุมพื้นที่นอกเขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า

อาณาเขต[แก้]

สถานที่สำคัญ[แก้]

โบราณสถาน[แก้]

  • อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ซึ่งเป็นมรดกอันยิ่งใหญ่ของคนไทย และเป็นมรดกโลก โดยมีโบราณสถานที่สำคัญมากมาย มีวัดอยู่ในบริเวณไม่น้อยกว่า 14 วัด มีศาลหลักเมือง อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง พิพิธภัณฑ์ เตาทุเรียง เป็นต้น

ศาสนสถาน[แก้]

สถานศึกษา[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ตำบลเมืองเก่า". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลตำบลเมืองเก่า". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]