ตำบลบ้านเก่า (อำเภอพานทอง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลบ้านเก่า
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Ban Kao
ประเทศไทย
จังหวัดชลบุรี
อำเภออำเภอพานทอง
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด11.876 ตร.กม. (4.585 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด3,269 คน
 • ความหนาแน่น275.26 คน/ตร.กม. (712.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 20160
รหัสภูมิศาสตร์200507
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตำบลบ้านเก่า เป็นตำบลในอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี

ประวัติ[แก้]

เล่าสืบกันว่า ประมาณปี พ.ศ. 2310–2313 ซึ่งเป็นปีที่กรุงศรีอยุธยาแตก มีราษฎรอพยพมาจากอยุธยาและช่องนนทรี แต่ในระหว่างนั้น ณ บริเวณตำบลบ้านเก่า มีผู้อพยพมาจากเวียงจันทน์ มาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณคลองส่งน้ำ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า คลองพานทอง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1-2 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จเยี่ยมราษฎรและเห็นสภาพที่ดังกล่าวนี้เป็นที่ลุ่ม ซึ่งไม่เหมาะสมจะเป็นที่อยู่ของคนลาว จึงได้โปรดเกล้าฯให้อพยพคนลาวไปอยู่ที่ดอน และอพยพคนมอญให้มาอยู่แทน แล้วโปรดเกล้าสร้างวัดขึ้น ซึ่งวัดเดิมนั้นห่างจากที่ตั้งของวัดปัจจุบัน ประมาณ 500 เมตร และคนทั่วไปเรียกวัดนี้ว่า วัดบ้านมอญ และตำบลก็เรียกตามผู้ที่อยู่อาศัย คือ ตำบลบ้านมอญ ต่อมาสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ราวปี พ.ศ. 2484 ได้เปลี่ยนชื่อให้ใหม่เป็น ตำบลบ้านเก่า และชื่อวัดก็เปลี่ยนเป็นเป็น วัดบ้านเก่า ตามชื่อของตำบล และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

ประชากร[แก้]

ในอดีตประกอบด้วยกลุ่มชนเชื้อสายลาว ซึ่งใช้ภาษาลาวเป็นภาษาพูดและภาษาเขียน กับเป็นคนเชื้อสายมอญ ใช้ภาษามอญเป็นภาษาพูด ส่วนภาษาเขียนเป็นภาษารามัญ

ส่วนปัจจุบัน นอกจากจะมีชนกลุ่มเดิมทั้งคนมอญและคนลาว แล้วยังมีคนไทยต่างถิ่นที่อพยพมาตั้ง ถิ่นฐานในการทำมาหากินในตำบลบ้านเก่า เนื่องจากเป็นแหล่งอุตสาหกรรม

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

หมู่ที่ 3 ของบ้านเก่าบน และล่าง มีสภาพเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง และอยู่ติดเขตแม่น้ำบางปะกง มีคลองพานทองเป็นแหล่งน้ำ ธรรมชาติ ที่หล่อเลี้ยงการประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรมของหมู่บ้าน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี มีค่าอยู่ในช่วง 28.78 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ที่ 19.92 องศาเซลเซียส - 26.82 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ จะอยู่ในช่วง ถึง 1,566.3 มม. ฝนตกหนักมากที่สุดวัดได้ถึง 1,566.3 มม. ส่วนฝนตกน้อยที่สุดวัดได้ที่ 960.4 มม.

หมู่ที่ 3 ของตำบลบ้านเก่า (บน) ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ของวัดบ้านเก่าซึ่งอยู่ติดกับหมู่ที่ 6 ตำบลบ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า (บน) หมู่ที่ 3 ได้แบ่งเป็น 2 ด้านฝั่งถนน เพราะมีถนนสายสุขุมวิท-พานทอง ตัดผ่านกลางหมู่บ้าน จึงได้แบ่งเป็น บ้านเก่า (บน) และบ้านเก่า (ล่าง) ชุมชนแห่งนี้อาศัยอยู่กันแบบเครือญาติซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง บ้านเรือนที่อยู่อาศัยเป็นไม้โบราณ ลักษณะที่อยู่อาศัยอยู่ในระแวกเดียวกันซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับส่วนที่ประกอบอาชีพ เช่นไปทำนาฝั่งด้านบ้านเก่า (ล่าง)

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้มีการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ โดยการนำของ กำนันวินัย คุ้มครอง (ในขณะนั้น) พร้อมกับ ส.ส. ในเขตพื้นที่ (ในขณะนั้น ส.ส. วิทยา คุณปลื้ม, ส.ส. สง่า ธนะสงวนวงศ์, ส.ส. สนธยา คุณปลื้ม) ร่วมมือกับกรมอาชีวะฯ ต้องการสถานที่เพื่อทำการก่อสร้าง “วิทยาลัยการอาชีพ” ซึ่งได้พื้นที่ธรณีสงฆ์ หมู่ที่ 3 บ้างเก่า (ล่าง) นี้เป็นที่ตั้ง และสถาปนาขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 จึงทำให้มีนักเรียนจากต่างพื้นที่เข้ามาศึกษาเป็นจำนวนมาก ซึ่งนักพัฒนาเกิดแนวความคิดว่าพื้นที่ส่วนนี้น่าจะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยได้ จึงได้ทำการปรับพื้นที่และทำการสร้างการคมนาคม พร้อมทั้งจัดสรรพื้นที่ธรณีสงฆ์ให้กับประชาชนที่ไร้ที่อยู่อาศัยได้จับจองให้เช่าพื้นที่ ในปี พ.ศ. 2541

ในปี พ.ศ. 2546 ทำการสร้างสถานีอนามันตำบลบ้านเก่า องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า สนามกีฬาประจำตำบลบ้านเก่า และสถานีตำรวจ (ย่อย) ตำบลบ้านเก่า ทำให้หมู่มี่ 3 ของบ้านเก่า (ล่าง) กลายเป็นแหล่งรวมของหน่วยงานราชการต่าง ๆ

ภูมิศาสตร์[แก้]

ที่ตั้ง หมู่ที่ 3 บ้านเก่า (บน) และบ้านเก่า (ล่าง) ซึ่งห่างจากอำเภอพานทอง ไปทางทิศตะวันออกใกล้สุด 4 กิโลเมตร ไกลสุด 12 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดชลบุรี ใกล้สุด 11 กิโลเมตร ไกลสุด 12 กิโลเมตร

  • ทิศเหนือ ติดกับ คลองพานทอง (ต.พานทอง)
  • ทิศใต้ ติดกับ บ้านมาบสามเกลียว ต.ดอนหัวฬ่อ
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ต.พานทอง อ.พานทอง จ.ชลบุรี
  • ทิศตะวันตก ติดกับ หมู่ที่ 6 ต.บ้านเก่า อ.พานทอง จ.ชลบุรี

การคมนาคม[แก้]

ช่องทางคมนาคมเต็มไปด้วยความสะดวกสบาย มีทั้งรถสองแถวประจำทาง บ้านเก่า – ชลบุรี บริเวณใกล้ ๆ ก็มีรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างไว้บริการอีกด้วย

ลักษณะทั่วไป[แก้]

  • พื้นที่โดยรอบทั้งหมด 1,321 ตร.กม. หรือประมาณ 826 ไร่ จำนวนครัวเรือน 50 ครัวเรือน จำนวนประชากร 132 คน
  • เพศชาย 66 คน (เป็นบุคคลผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 7 คน)
  • เพศหญิง 66 คน (เป็นบุคคลผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 7 คน)
  • ศาสนา ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดประจำหมู่บ้านคือ วัดบ้านเก่า ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวตำบลบ้านเก่า
  • อาชีพ ชาวบ้าน หมู่ที่ 3 บ้านเก่าบน และบ้านเก่าล่าง ประกอบอาชีพเลี้ยงปลา-กุ้ง ร้านอาหาร,ร้านค้า,บ้านเช่า,ห้องเช่า, และทำงานโรงงาน

สภาพทางสังคม[แก้]

สภาพสังคมของชาวบ้าน หมู่ที่ 3 บ้านเก่าบน-ล่าง อยู่กันอย่างสังคมเครือญาติ ปลูกบ้านใกล้เรือนเคียงกัน ต่อมาเมื่อมีการพัฒนา ก่อเกิดความเจริญ ทำให้เกิดการกระจายของประชากร ทำให้เกิดเป็นสังคมที่ใหญ่ขึ้น เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาตามกฎข้อบังคับ ประชากรส่วนใหญ่ อ่านออกเขียนได้ ชาวบ้านทุกคนให้ความร่วมมือ และเข้าไปมีส่วนร่วมกับทางภาตรัฐ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ปัญหา และความต้องการต่าง ๆ


ขนบธรรมเนียมประเพณี[แก้]

ประเพณีและพิธีกรรมท้องถิ่น เป็นทั้งแบบพุทธ และแบบมอญจะเห็นได้ชัดในพิธีงานศพของคนมอญโดยแท้ ส่วนประเพณีนั้นเป็นแบบของคนไทยชาวพุทธที่นับถือปฏิบัติกันมา ส่วนประเพณีที่สืบทอดต่อกันมาคืองานนมัสการ “หลวงพ่อพระครูเปิ้น” จะมีงานในวัน ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี

ประเพณีท้องถิ่นในเขตตำบลบ้านเก่า ชาวตำบลบ้านเก่ายึดถือประเพณีและให้ความร่วมมือด้วยดีตลอดมา คือ

  • ประเพณีสงกรานต์
  • ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา
  • ประเพณีออกพรรษา โดยการตักบาตรข้าวต้มหาง การตักบาตรกระยาสารท
  • ประเพณีวันขึ้นปีใหม่
  • ประเพณีลอยกระทง
  • ประเพณีงานพระครูหลวงพ่อเปิ้นวัดบ้านเก่า ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลที่สำคัญที่ชาวบ้านเคารพและถือว่ามีค่าสูงสุดของตำบลบ้านเก่า (ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี)
  • ประเณีพื้นบ้าน อาทิเช่น โกนจุก, โกนผมไฟ

ผลิตภัณฑ์ชุมชน[แก้]

  • กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรรวมตัวกันเพื่อจัดทำพวงหรีดจัดจำหน่าย ดอกไม้จันทร์

สถานที่สำคัญ[แก้]

โบราณสถานและโบราณวัตถุ มีอยู่ที่วัดบ้านเก่า สามารถไปศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้ แหล่งท่องเที่ยวในตำบลสามารถชมได้จากแหล่งธรรมชาติ คือคลองพานทอง

  • สนามกีฬาตำบล
  • ลานกีฬาตำบล
  • สระน้ำสาธารณะซึ่งไว้เป็นที่ออกกำลังกาย พักผ่อนหย่อนใจ
  • ถนนริมคลอง ซึ่งเป็นถนนเพื่อสุขภาพ ใช้ในการวิ่งออกกำลังกาย และขี่จักรยาน
  • บ้านไม้กึ่งประยุกต์ที่สวยงาม
  • บ่อตกปลา, กุ้ง

อ้างอิง[แก้]