ตำบลดงครั่งน้อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลดงครั่งน้อย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Dong Khrang Noi
ประเทศไทย
จังหวัดร้อยเอ็ด
อำเภอเกษตรวิสัย
พื้นที่[ต้องการอ้างอิง]
 • ทั้งหมด95.1 ตร.กม. (36.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (22 มิถุนายน 2554)[ต้องการอ้างอิง]
 • ทั้งหมด7,228 คน
 • ความหนาแน่น76 คน/ตร.กม. (200 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 45150
รหัสภูมิศาสตร์450213
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลดงครั่งน้อย
คำขวัญ: 
การคมนาคมสะดวก เศรษฐกิจดี มีความรู้ทันสมัย สืบสานวัฒนธรรม คุณภาพชีวิตดี สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ
ประเทศ ไทย
จังหวัดร้อยเอ็ด
อำเภอเกษตรวิสัย
พื้นที่
 • ทั้งหมด95.1 ตร.กม. (36.7 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (22 มิถุนายน 2554)[1]
 • ทั้งหมด7,228 คน
รหัส อปท.06450207
ที่อยู่ที่ทำการหมู่ 9 ตำบลดงครั่งน้อย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 45150
โทรศัพท์043-546155
เว็บไซต์www.dongkhrangnoi.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ตำบลดงครั่งน้อย เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลตำบลดงครั่งน้อยและสถานีตำรวจภูธรดงครั่งใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 95.1 ตารางกิโลเมตร หรือ 59,437.50 ไร่

ประวัติ[แก้]

ตำบลดงครั่งน้อยเดิมเป็นส่วนหนึ่งของตำบลดงครั่งใหญ่ ต่อมาแยกและจัดตั้งเป็นตำบลดงครั่งน้อยเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2536 ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 14 หมู่บ้าน โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งกำนันตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง กำนันคนแรกคือ นายบุญโฮม กุลวงศ์

ภูมิศาสตร์[แก้]

ตำบลดงครั่งน้อยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเกษตรวิสัย ระยะห่างจากอำเภอเกษตรวิสัยประมาณ 20 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 95.1 ตารางกิโลเมตร หรือ 59,437.50 ไร่[2]

ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบกว้างใหญ่ ซึ่งเรียกกันว่า "ทุ่งกุลาร้องไห้"

ประชากร[แก้]

  • จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้นตามทะเบียนราษฎร 1,577 ครัวเรือน
  • จำนวนครัวเรือนที่อาศัยอยู่จริง 1,500 ครัวเรือน
  • จำนวนประชากรทั้งหมด 7,024 คน
  • ความหนาแน่นเฉลี่ย 75.09 คนต่อตารางกิโลเมตร[3]

การคมนาคม[แก้]

การเดินทางเข้าสู่ตำบลดงครั่งน้อย มี 2 เส้นทาง เส้นทางแรก เดินทางจากอำเภอ เข้าทางบ้านสำราญนิวาส–ดงครั่งน้อย เส้นทางที่สอง ใช้เส้นทางจากอำเภอ เข้าทางบ้านเมืองบัว–บ้านโพนทอน–ดงครั่งน้อย

หมู่บ้าน[แก้]

ตำบลดงครั่งน้อยแบ่งการปกครองออกเป็น 14 หมู่บ้าน

เศรษฐกิจ[แก้]

ประชาชนในตำบลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร รองลงมาเป็นอาชีพค้าขาย อาชีพรับราชการ และอาชีพรับจ้าง

หน่วยงานและสถานที่สำคัญ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน รายจังหวัด รายอำเภอ และรายตำบล ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2553. สืบค้น 22 มิถุนายน 2554 .
  2. ข้อมูลพื้นฐาน[2]
  3. ข้อมูลประชากร[3] เก็บถาวร 2013-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน