ตำบลซับตะเคียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำบลซับตะเคียน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Sap Takhian
ประเทศไทย
จังหวัดลพบุรี
อำเภอชัยบาดาล
พื้นที่[ต้องการอ้างอิง]
 • ทั้งหมด41.73 ตร.กม. (16.11 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (31 ธันวาคม 2561)[ต้องการอ้างอิง]
 • ทั้งหมด4,928 คน
 • ความหนาแน่น118.09 คน/ตร.กม. (305.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 15130
รหัสภูมิศาสตร์160409
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลซับตะเคียน
ประเทศ ไทย
จังหวัดลพบุรี
อำเภอชัยบาดาล
จัดตั้ง2539
รหัส อปท.06160406
ที่อยู่ที่ทำการ139 หมู่ 6 บ้านสามแยกเขาน้อย ตำบลซับตะเคียน อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี 15130
โทรศัพท์036-788-600
โทรสาร036-788-601
เว็บไซต์www.saptakhian.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ซับตะเคียน เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย ทำการเกษตรพืชไร่เป็นส่วนใหญ่ นอกจากการทำไร่ยังปลูกผักสวนครัวไว้ในบริเวณบ้าน ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเป็นลักษณะ ญาติมิตร พึ่งพาอาศํยซึ่งกันและกัน เป็นกันเอง มีการพบปะสังสรรค์กันอยู่เสมอ

ประวัติ[แก้]

ในอดีตบ้านหนองโด หมู่ 2 ตำบลซับตะเคียน อพยพมาจากจังหวัดนครสวรรค์ ชัยภูมิ นครราชสีมา ได้เข้ามาจับจองพื้นที่ ถางป่าเพื่อทำการเกษตรพืชไร่ใน ปี 2509

ภูมิศาสตร์[แก้]

  • สภาพที่ตั้ง ภูมิประเทศ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในภาคกลาง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับเนินเขาและภูเขา และบางส่วนเป็นที่ราบลุ่ม ภูมิประเทศตั้งอยู่ในเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27.42 ํc อุณหภูมิขึ้นสูงสุดในเดือนเมษายน วัดได้ 36.23 ํc และลดต่ำสุดในเดือนธันวาคม วัดได้ 18.61 ํc
  • ทรัพยากร ทรัพยากรที่สำคัญ ได้แก่ ป่าไม้ และ ภูเขา ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีพืชสมุนไพรหลากหลายชนิด เป็นเขตุอุทยานซึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่ทำรายได้สู่ชุมชน ด้านการชลประทาน มีฝายกั้นน้ำ และคลองขนาดเล็กในหมู่บ้าน มีการกักเก็บน้ำฝน และ สูบน้ำบาดาลมาใช้ในการอุปโภคบริโภค คนในชุมชนมีที่ดินทำกิน ปลูกพืชไร่ พืชสวน

ประชากร[แก้]

ประชากรทั้งหมด 704 คน แบ่งเป็นชาย 341 คน และ หญิง 363 คน ส่วนใหญ่ใช้ภาษากลางในการสื่อสาร จะมีแค่บางคำที่มีชื่อเรียกต่างไปบ้าง

เศรษฐกิจ[แก้]

ประเภทอุตสาหกรรมครัวเรือนและการเกษตร ส่วนใหญ่ทำการเกษตรพืชไร่และพืชสวนครัว อาทิเช่น ไร่อ้อย มัน ข้าวโพด สวนพริก ผักสวนครัวต่าง ๆ เป็นการทำการเกษตรเพื่อการค้าและยังชีพ

การคมนาคม[แก้]

มีถนนตัดผ่านจากตัวเมืองเข้าถึงชุมชน สามารถโดยสารสู่ตัวเมือง ได้โดยรถโดยสารประจำทาง และรถตู้ประจำทาง จึงต่อรถส่วนบุคคลเข้าถึงชุมชนอีกประมาณ 2 กิโลเมตร

ประเพณีและวัฒนธรรม[แก้]

ประเพณีที่สำคัญ ประเพณีบวชป่าสืบชะตาเขาอ้ายโป้ดและเขาอีด่างทุกปี มีการทำบุญในวันพระและประเพณีต่าง ๆ ของชาวพุทธ วัฒนธรรมของคนในพื้นที่เป็นแบบชาวไทยดั้งเดิม การดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย ใกล้ชิดวัด

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • หมอหยอย นายชัยพร กลิ่นจันทร์ เป็นหมอประจำตำบล ที่ชาวบ้านให้การเคารพนับถือมาก
  • นายก อบต.นาย ยศเดโช เผ่าสุข เป็นผู้นำชุมชนในการพัฒนาชีวิตของคนในชุมชน
  • นางสาวสุจันจิรา วรปัญญา ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลซับตะเคียน

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]