ตัวสงกรานต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตัวสงกรานต์ เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกหนึ่ง เป็นสัตว์จำพวกหนอนปล้อง เช่น ปลิง จัดอยู่ในไฟลัม Annelida ชั้น Polychaeta มีหลายชนิด

ตัวสงกรานต์เท่าที่พบในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ คือ Sylidae พบในกรุงเทพมหานคร และ Nereidae พบในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีขนาดและสีสันแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่สีแดงสด, สีเขียว หรือสีฟ้าอมม่วง ตัวแก่จะมีขาตามปล้องสำหรับเคลื่อนไหวในน้ำและคทบคลานได้ในที่ชื้นแฉะ หรือซอกมุมที่อับชื้น ลำตัวมีความยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร

ส่วนใหญ่จะพบในทะเลเขตน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำลำคลองที่เชื่อมติดกับทะเล ตัวแก่บางชนิดสามารถใช้ชีวิตอาศัยอยู่ในน้ำจืดได้ โดยจะอยู่ตามก้นแม่น้ำ แต่โดยปกติแล้วจะไม่พบมากนักในน้ำจืด การที่อยู่ในน้ำจืดเกิดจากการพลัดหลงเข้าไป แต่ไม่สามารถที่จะแพร่ขยายพันธุ์ในน้ำจืดได้ เนื่องจากสภาพตามธรรมชาติไม่อำนวย

ทั้งนี้ตัวสงกรานต์ไม่มีอันตรายใด ๆ ต่อมนุษย์

เหตุที่ได้ชื่อว่า "ตัวสงกรานต์" เนื่องจากในอดีตมักพบในช่วงฤดูร้อนตรงกับช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดย นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล นักสัตววิทยาที่มีชื่อเสียงในอดีตของไทย ได้บันทึกว่าเคยจับตัวสงกรานต์ได้ที่บ้านเชิงสะพานอุรุพงษ์ ถนนเพชรบุรี ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2488 เวลา 08.00 น. ตอนน้ำขึ้น ลักษณะที่พบคือ เมื่ออยู่ในน้ำจะมีสีรุ้งต่าง ๆ ลำตัวยาวประมาณ 4.2 เซนติเมตร มีขาจำนวนมากอยู่ข้างท้องคล้ายตะขาบ ขณะที่ว่ายน้ำดูเหมือนตัวจะบิดเป็นเกลียว และทันทีที่จับต้อง ตัวจะขาดออกจากกันเป็นท่อน ๆ[1] [2]

อ้างอิง[แก้]

  1. หน้า 8 ต่อข่าวหน้า 1, ตัว 100 ขาไร้ซึ่งอันตราย. "เคียงข่าว". เดลินิวส์ฉบับที่ 23,768: วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557: แรม 3 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเมีย
  2. ฉัตรชัย ปรีชา, สิทธิ กุหลาบทอง และ สาวิกา กัลปพฤกษ์. 2554. บทความปริทัศน์ : ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของตัวสงกรานต์ (Namalycastis spp.: Nereididae) ในประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 4(2):667-677.