กระบองเพชร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ตะบองเพชร)
กระบองเพชร
Ferocactus pilosus ต้นกระบองเพชรในเม็กซิโก
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Cactaceae
Juss.
วงศ์ย่อย

กระบองเพชร เป็นพืชในวงศ์ Cactaceae (Mila sp.) ที่มีแหล่งกำเนิดในทะเลทราย[ต้องการอ้างอิง] ต้นกระบองเพชรสามารถยืนต้นอยู่ได้ แม้อยู่ในทะเลทรายที่แห้งแล้งกันดาร โดยไม่ตาย เพราะนาน ๆ ครั้งหนึ่งจะมีฝนตกจำนวนมาก โดยต้นกระบองเพชรจะเก็บน้ำไว้ในลำต้นเป็นจำนวนมาก มันจะใช้น้ำตลอดระยะเวลาแห้งแล้งที่ยาวนาน และมันจะเปลี่ยนใบเป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำแต่คงยังคายน้ำอยู่ ดังนั้นมันจึงสามารถอยู่ในทะเลทรายได้

สรรพคุณทางสมุนไพรของกระบองเพชร สามารถใช้บรรเทาโรคบิดได้ สารสกัดกระบองเพชรช่วยลดอาการเมาค้าง

กระบองเพชรมีชื่ออื่นดังนี้ : โบตั๋น ท้าวพันตา

นิเวศวิทยา[แก้]

กระบองเพชรมีหลายชนิดที่อยู่ในทะเลทราย แต่บางชนิดอยู่ตามป่าธรรมดาหรือสภาพแวดล้อมทั่วไป กระบองเพชรส่วนใหญ่จะมีตามทะเลทรายมากกว่า ต้นกระบองเพชรที่ ขายทั่วไปที่จะเป็นแบบบอนไซหรือชนิดที่มีขนาดปกติ แบบทั่วไปที่มีขนาดปานกลางเท่ากับต้นจริง กระบองเพชรจะเปลี่ยนใบเป็นหนาม เพื่อลดการคายน้ำแต่คงยังคายน้ำอยู่ เป็นไม้ประดับ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์[แก้]

ลักษณะทั่วไป กระบองเพชรเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 - 12 ฟุต ลำต้นมีสีเขียวหรือเขียวคล้ำ มีขนหรือหนามรอบต้นหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ลักษณะต้นเป็นเหลี่ยมรูปทรงกระบอกรูปทรงกลม หรือแล้วแต่ชนิดพันธุ์ หนามคือส่วนของลำต้นที่ทำหน้าที่แทนใบ หรือบางชนิดก็มีใบแบนกลมหนาใหญ่ อาจมีดอกสีแดง สีเหลือง หรือสีขาว ลักษณะดอกและขนาดดอกขึ้นกับชนิดพันธุ์[ต้องการอ้างอิง]

สายพันธุ์กระบองเพชร[แก้]

กระบองเพชรมีมากกว่า 127 สกุล และกว่า 2,047 สปีชีส์[1]

รายชื่อสกุลของกระบองเพชร[แก้]

พบว่าสกุลของกระบองเพชรมีมากกว่า 127 สกุลโดยมีสกุลต่าง ๆ ดังนี้[2]

  • สกุล Acanthocalycium
  • สกุล Acanthocereus
  • สกุล Airampoa
  • สกุล Aporocactus
  • สกุล Ariocarpus
  • สกุล Armatocereus
  • สกุล Arrojadoa
  • สกุล Arthrocereus
  • สกุล Bergerocactus Britton & Rose – snakecactus
  • สกุล Borzicactus Riccob. – borzicactus P
  • สกุล 'Brasiliopuntia (K. Schum.) A. Berger – Brazilian pricklypear
  • สกุล Carnegiea Britton & Rose – saguaro
  • สกุล Cephalocereus Pfeiff. – cephalocereus
  • สกุล Cereus Mill. – sweetpotato cactus
  • สกุล Cleistocactus Lem. – cleistocactus
  • สกุล Consolea Lem. – pricklypear
  • สกุล Corryocactus Britton & Rose – corryocactus
  • สกุล Coryphantha (Engelm.) Lem. – beehive cactus
  • สกุล Cumulopuntia
  • สกุล Cylindropuntia (Engelm.) Kreuzinger – cholla
  • สกุล Eccremocactus Britton & Rose – eccremocactus
  • สกุล Echinocactus Link & Otto – echinocactus
  • สกุล Echinocereus Engelm. – hedgehog cactus
  • สกุล Echinomastus Britton & Rose – fishhook cactus
  • สกุล Echinopsis Zuccagni – echinopsis
  • สกุล Epiphyllum Haw. – climbing cactus
  • สกุล Epithelantha F.A.C. Weber ex Britton & Rose – pingpong-ball cactus
  • สกุล Escobaria Britton & Rose – foxtail cactus
  • สกุล Ferocactus Britton & Rose – barrel cactus
  • สกุล Glandulicactus Backeb.
  • สกุล Grusonia Rchb. ex Britton & Rose – cholla
  • สกุล Hamatocactus Britton & Rose – hamatocactus
  • สกุล Harrisia Britton – applecactus
  • สกุล Hatiora Britton & Rose – hatiora
  • สกุล Hylocereus (A. Berger) Britton & Rose – nightblooming cactus
  • สกุล Leptocereus (A. Berger) Britton & Rose – leptocereus
  • สกุล Lobivia Britton & Rose – lobivia P
  • สกุล Lophophora J.M. Coult. – lophophora
  • สกุลs Mammillaria Haw. – globe cactus
  • สกุล Melocactus Link & Otto – melocactus
  • สกุล Neolloydia Britton & Rose – neolloydia
  • สกุล Notocactus (K.M. Schum.) Backeb. & F.M. Knuth – notocactus
  • สกุล Opuntia Mill. – pricklypear
  • สกุล Pachycereus (A. Berger) Britton & Rose – pachycereus
  • สกุล Parodia Speg. – parodia
  • สกุล Pediocactus Britton & Rose – pincushion cactus
  • สกุล Peniocereus (A. Berger) Britton & Rose – peniocereus
  • สกุล Pereskia Mill. – pereskia
  • สกุล Pilosocereus Byles & Rowley – tree cactus
  • สกุล Rebutia K. Schum. – rebutia
  • สกุล Rhipsalis Gaertn. – rhipsalis
  • สกุล Schlumbergera Lem. – schlumbergera
  • สกุล Sclerocactus Britton & Rose – fishhook cactus
  • สกุล Selenicereus (A. Berger) Britton & Rose – moonlight cactus
  • สกุล Stenocereus (A. Berger) Riccob. – stenocereus
  • สกุล Thelocactus (K. Schum.) Britton & Rose – thelocactus
  • สกุล Trichocereus (A. Berger) Riccob. – trichocereus
  • สกุล Wigginsia D.M. Porter

สารสำคัญที่พบ[แก้]

สารสกัด กระบองเพชร เข้มข้น สกัดด้วยกรรมวิธี Deioinzed Water Extraction & Spray Drying Process ประกอบด้วยด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด โดยมีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญได้แก่

  • กลุ่มสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ซึ่งสามารถช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ
  • กลุ่มสารโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharides) ช่วยต้านเชื้อไวรัสและช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน

และยังมีใยอาหารชนิดพิเศษช่วยลดไขมันในเลือดและคอเลสเตอรอล


การปลูกเลี้ยง[แก้]

การปลูกแบ่งเป็น 2 วิธี

  1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในอาคารและภายนอกอาคาร ใช้กระถางทรงและขนาดต่างกันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ คือตั้งแต่ขนาด 4-10 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ทรายหรือดินร่วน อัตรา 1:1 ผสมดินปลูก การเปลี่ยนกระถางแล้วแต่ความเหมาะสมของชนิดพันธุ์และผู้ปลูก แต่ถ้าจะให้เจริญสวยงามต้องควบคุมเรื่องปุ๋ย และน้ำให้ถูกวิธี
  2. การปลูกในแปลงปลูกเป็นแนวรั้วบ้าน แต่จะต้องเป็นชนิดพันธุ์ ที่ค่อนข้างใหญ่ แข็งแรง ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1:3 ผสมดินปลูก

การดูแลรักษา[แก้]

  • แสง : ต้องการแสงแดดน้อยในร่ม จนถึงแสงแดดจัดกลางแจ้ง
  • น้ำ : ต้องการปริมาณน้ำน้อย ทนต่อความแห้งแล้งให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง หรือแล้วแต่ความเหมาะสม
  • ดิน : ดินร่วนปนทราย ความชื้นปานกลาง
  • ปุ๋ย : ควรใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 5-6 ครั้ง
  • การขยายพันธุ์ : การใช้เมล็ด และการปักชำ การปักชำเป็นวิธีที่นิยมและได้ผลดี
  • ศัตรูพืช : ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรูพืช เพราะเป็นไม้ที่มีความทนทานต่อการทำลายของศัตรูพืชได้ดี
  • โรค : โรครากเน่า (Sclerotium root rot)
    • อาการ : ลำต้นเหี่ยว และแคระแกร็น
    • การป้องกัน : ควบคุมการให้น้ำ และความชื้นอย่างเหมาะสม
    • การรักษา : ตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้งหรือปลูกใหม่[ต้องการอ้างอิง]

ความเชื่อ[แก้]

การเป็นมงคล คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นกระบองเพชรไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดโชคลาภ เพราะถ้าผู้ใดปลูกต้นกระบองเพชรให้ เกิดดอกได้มากและสวยงามแสดงว่าผู้นั้นจะมีโชคลาภ ดังนั้นคนไทยโบราณถือว่าเป็นไม้เสี่ยงทายยังเชื่ออีกว่ายังสามารถป้องกันศัตรูจากภายนอกได้อีกด้วย เพราะต้นกระบองเพชรมีหนามและความคงทนแข็งแรง ดังนั้นคนไทยโบราณจึงนิยมปลูกตามแนวรั้วบ้าน เพื่อให้เป็นที่กลัวเกรงของศัตรูภายนอกตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นกระบองเพชรไว้ทางทิศตะวันตก ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์[ต้องการอ้างอิง]

ภาพต้นกระบองเพชร[แก้]

ต้นกระบองเพชรแต่ละชนิดจะแตกต่างกันตามพันธุ์ของมัน และกระบองเพชรบางชนิดจะมีดอกด้วย

อ้างอิง[แก้]