ตลาดหลักทรัพย์อาเซียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตลาดหลักทรัพย์อาเซียน
ASEAN Exchanges
ประเภทตลาดหลักทรัพย์
ที่ตั้งมาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ , สิงคโปร์, ไทย, เวียดนาม, อาเซียน
ก่อตั้งเมื่อ1 พฤษภาคม 2554 (2554-05-01) (12 ปี)
มูลค่าตามราคาตลาด1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
เว็บไซต์www.aseanexchanges.org

ตลาดหลักทรัพย์อาเซียน (อังกฤษ: ASEAN Exchanges) เป็นตลาดในกลุ่มอาเซียน 7 แห่ง ประกอบด้วยตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ , สิงคโปร์, ไทย, โฮจิมินห์, และฮานอย โดยจะร่วมกันยกระดับหุ้นในอาเซียนให้เป็นหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับจากนักลงทุนทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียน โดยมีเป้าหมายร่วมกันที่จะเพิ่มสภาพคล่องของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์อาเซียน ด้วยการส่งเสริมธุรกรรมข้ามตลาด การเพิ่มประสิทธิภาพช่องทางการเข้าถึงตลาดหลักทรัพย์อาเซียนให้สะดวกและง่ายขึ้น และการออกผลิตภัณฑ์ที่อ้างอิงหลักทรัพย์ในอาเซียน ซึ่งความร่วมมือของตลาดหลักทรัพย์อาเซียนจะเพิ่มความน่าสนใจและดึงดูดการลงทุนมายังภูมิภาค

การรวมตัว[แก้]

ตามแผนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) สมาชิกในกลุ่มตลาดหลักทรัพย์อาเซียนจะร่วมกันยกระดับหุ้นในอาเซียนให้เป็นหลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับ (Asset Class) จากผู้ลงทุนทั่วโลก โดยตลาดหลักทรัพย์สมาชิกมีเป้าหมายร่วมกันที่จะเพิ่มสภาพคล่องของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์สมาชิก ด้วยการส่งเสริมธุรกรรมข้ามตลาด การเพิ่มประสิทธิภาพช่องทางเข้าถึงตลาดหลักทรัพย์อาเซียนให้สะดวกและง่ายขึ้น และการออกผลิตภัณฑ์ที่อ้างอิงหลักทรัพย์ในอาเซียน ทั้งนี้การจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์อาเซียนในครั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์สมาชิกได้ทำงานร่วมกับ ASEAN Capital Markets Forum: ACMF ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานกำกับดูแลของตลาดหลักทรัพย์ในประเทศอาเซียนมาอย่างต่อเนื่อง[1] และในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554 กลุ่มตลาดหลักทรัพย์อาเซียนได้เปิดตัวเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมข้อมูลให้นักลงทุนทั้งในกลุ่มอาเซียนและทั่วโลกได้ทราบเกี่ยวกับความร่วมมือครั้งนี้ โดยมีกำหนดการดำเนินการร่วมกันของตลาดหลักทรัพย์อาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558[2]

ความร่วมมือ[แก้]

มูลค่าทางการตลาด[แก้]

มูลค่าทางการตลาดของตลาดหลักทรัพย์อาเซียนอยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีบริษัทรวมทั้งหมดกว่า 3,000 บริษัททั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน[3]

การดำเนินงาน[แก้]

ตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และไทย จะเริ่มดำเนินงานภายในสิ้นปี พ.ศ. 2554 โดยจะดำเนินงานให้มีการซื้อขายข้ามระบบระหว่างประเทศกันได้ใน 4 ประเทศดังกล่าว ส่วนตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียและเวียดนามจะเข้าร่วมภายในปี พ.ศ. 2556 นอกจากนั้นตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียนอื่นๆอาจมีการพิจารณาเข้าร่วมหลังจากนั้น ยกเว้นประเทศบรูไนที่อาจไม่เข้าร่วมในตลาดหลักทรัพย์อาเซียน[4]

Asean Stars[แก้]

หลักทรัพย์ Asean Stars ประกอบด้วยหุ้นที่มีขนาดใหญ่โดยพิจารณาจากมูลค่าของหลักทรัพย์ตามราคาตลาดและสภาพคล่องของหลักทรัพย์จำนวน 210 ตัวหรือ 30 หลักทรัพย์จากแต่ละตลาดหลักทรัพย์[5] โดย Asean Stars มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมกลุ่มหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ที่มีความน่าสนใจของตลาดหลักทรัพย์แต่ละแห่ง (หุ้นบลูชิพ) ของตลาดหลักทรัพย์อาเซียน ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนที่ไม่มีความคุ้นเคยในการลงทุนหุ้นของตลาดหลักทรัพย์อาเซียน สามารถเลือกหุ้นที่ต้องการได้ง่ายยิ่งขึ้น[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-12. สืบค้นเมื่อ 2011-05-25.
  2. http://www.thejakartapost.com/news/2011/04/11/asean-moves-a-step-closer-market-integration.html
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-12. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-03. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-12. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]