ตลาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตลาดสดในสิงคโปร์

ตลาด เป็นการชุมนุมกันทางสังคม แลกเปลี่ยนสินค้ากัน ในภาษาทั่วไป ตลาดหมายความรวมถึงสถานที่ที่มนุษย์มาชุมนุมกันเพื่อค้าขาย ในทางเศรษฐศาสตร์ ตลาดหมายถึงการแลกเปลี่ยนซื้อขาย โดยไม่มีความหมายของสถานที่ทางกายภาพ

การค้าขายของไทยสมัยก่อนนั้น เน้นทางน้ำเป็นหลัก เพราะการคมนาคมทางน้ำเป็นการคมนาคมหลักของคนไทย ซึ่งอาจจะเห็นได้จากการมีตลาดน้ำต่าง ๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์

เป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้าและบริการตามความถนัดของแต่ละครอบครัว เป็นแหล่งรายได้ที่สุจริตของแต่ละครอบครัว เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในชุมชนรวมถึงจากภายนอกเข้าสู่ชุมชนด้วย และยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในระดับชุมชน รวมถึงการช่วยธำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณีในชุมชน ในกรณีของชุมชนที่มีวัฒนธรรมความเป็นมา จากการที่กลุ่มคนในชุมชนมีการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีด้วยกัน

ประวัติศาสตร์[แก้]

ตลาดไทยก่อนสมัยรัตนโกสินทร์[แก้]

ในสมัยสุโขทัย[แก้]

ในสมัยสุโขทัยนั้น ได้มีข้อความในจารึกว่า "เบื้องตีนนอนสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว มีป่าหมากลาง มีไร่นา มีถิ่นฐาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก" ซึ่งแสดงถึงว่าตลาด มีมาตั้งแต่ในสมัยโบราณแล้ว

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา[แก้]

ตลาดในสมัยกรุงศรีอยุธยามีทั้งทางบกและทางน้ำ โดยตลาดน้ำจะตั้งอยู่ตามบริเวณท้องน้ำหรือปากน้ำต่างๆ เหล่าพ่อค้าแม่ค้าก็จะขนของมาขาย ส่วนตลาดบกจะตั้งอยู่ตามแหล่งชุมชนโดยตั้งชื่อตามสินค้าที่วางขาย และตลาดขายสินค้าต่างๆในกรุงศรีอยุธยาจะเรียกกันว่าป่า เช่น ป่าตะกั่วขายลูกแหและสิ่งที่ทำมาจากตะกั่ว , ป่าผ้าไหมขายผ้าไหม , ป่ามะพร้าวขายมะพร้าว , ป่าสังคโลกขายชามสังคโลก , ป่าฟูกขายสินค้าเครื่องนอน เป็นต้น

ประเภทของตลาด[แก้]

ตลาดน้ำ[แก้]

ตลาดน้ำ หรือ ตลาดเรือ เกิดขึ้นตามลำคลองที่เป็นแหล่งชุมนุมใหญ่ๆของคนไทย นอกจากชาวบ้านในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์จะค้าขายกันในเรือแล้ว มีการสร้างเรือนแพรับฝากขายสินค้านานาชนิดอีกด้วย เช่น ย่านคลองบางปะกอก ย่านท่าเตียน ย่านคลองมหานาค ย่านวัดไทร ตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ตลาดน้ำดอนหวาย ตลาดน้ำอัมพวา ตลาดน้ำ4ภาค ตลาดน้ำอโยธยา ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ตลาดน้ำวัดลำพญา[1] [2] เป็นต้น เมื่อการค้าขายคับคั่งจอแจมากขึ้นในทางน้ำ ก็เริ่มขยับขยายมาขายบนบก ซึ่งเราเรียกกันว่า "ตลาดบก"

ตลาดบก[แก้]

ตลาดบก เกิดขึ้นเมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับประเทศอังกฤษ ในสมัย พ.ศ. 2398 ย่านการค้าขายที่คับคั่งทางแม่น้ำลำคลองก็ย้ายขึ้นมาบนบก ตามแผนพัฒนาประเทศของพระองค์ มีการสร้างถนน และตึกรามบ้านช่อง การเกิดตลาดบกเกิดขึ้นในยุคสมัยของพระองค์ โดยมีตลาดนางเลิ้งเป็นตลาดบกแห่งแรกอย่างเป็นกิจลักษณะของประเทศไทย มีห้างร้านที่ค้าขายเกิดขึ้นมากมายบนถนนเจริญกรุง ถนนสี่พระยา ถนนตะนาว

ตลาดเทศกาล[แก้]

ตลาดเทศการ (Trade fair) เป็นการนำผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ มาจำหน่ายและแสดงตัวอย่างในพื้นที่กว้าง มักจะมีการจัดขึ้นที่สถานที่กว้าง เช่น ศูนย์การค้า ห้องประชุม หรือสนามบิน เพื่อเป็นการแสดงผลิตภัณฑ์ของบริษัทหรือผู้ผลิตต่างๆ ให้แก่ผู้สนใจ ซึ่งมักจะเป็นการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี หรือบางครั้งจะเป็นการจัดขึ้นระยะสั้นๆ ตามงบประมาณของผู้จัดงาน

ดเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.lumphaya.com/index.php
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-15. สืบค้นเมื่อ 2018-02-28.