ด้วงงวงข้าวโพด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ด้วงงวงข้าวโพด (Corn weevil, Corn weevil, Maize weevil beetles)​

ด้วงงวงข้าวโพด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
ชื่อทวินาม
'​'Sitophilus zeamais Motschulsky'​'

ความสำคัญและลักษณะการทำลาย[แก้]

ด้วงงวงข้าวโพดเป็นแมลงศัตรูสำคัญที่สุดของเมล็ดธัญพืชทั้งที่ใช้ทำพันธุ์หรือเพื่อการบริโภคและข้าวสาร โดยอาศัยและกัดกินภายในเมล็ดโดยทำลายร่วมกับด้วงงวงช้าง เมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้เป็นเวลา 6 เดือน จะได้รับความเสียหายสูงถึง 22 เปอร์เซ็นต์ ทำให้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไปไม่ได้

ลักษณะทั่วไปและพัฒนาการ[แก้]

ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลดำ ส่วนหัวจะยื่นออกมาเป็นงวง ( snout หรือ rostrum ) สามารถบินออกไปทำลายเมล็ดพืชตั้งแต่ยังอยู่ในไร่นาโดยตัวเมียจะเจาะรูที่เมล็ดพืชแล้ววางไข่รูละ 1 ฟอง หลังจากนั้นปิดปากรูไว้ด้วยไข ( waxy secretion ) ตัวเมียวางไข่ประมาณ 300-400 ฟอง ไข่จะฟักใน 3-6 วัน เป็นตัวหนอนสีขาวลำตัวสั้นป้อม อาศัยกัดกินอยู่ภายในเมล็ด ระยะหนอน 20-30 วัน โดยลอกคราบ 4 ครั้ง แล้วจึงเข้าดักแด้เป็นเวลา 3-7 วัน เมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะเจาะผิวเมล็ดออกมาสู่ภายนอก ทำให้เมล็ดที่ถูกด้วงงวงข้าวโพดอาศัยอยู่เป็น รูพรุน วงจรชีวิตใช้เวลา 30 – 45 วัน ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้นาน 1-8 เดือน ด้วงงวงข้าวโพดสามารถบินได้ดีกว่าด้วงงวงข้าวและพบว่ามักเข้าไปทำลายข้าวโพดตั้งแต่อยู่ในไร่

แหล่งอาหาร[แก้]

เมล็ดธัญพืชทุกชนิด ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ และเมล็ดพืชชนิดอื่น ๆ

ศัตรูธรรมชาติ[แก้]

แตนเบียน ได้แก่ Anisopteromalus calandrae, Theocolax elegans และ Lariophagas distinguendus

การป้องกันและกำจัดการเข้าทำลายของด้วงงวงข้าวโพด[แก้]

สามารถกระทำได้หลายวิธี เช่นการใช้สารเคมีและสารรม ซึ่งได้แก่ ฟอสฟีน ( phosphine ) และ เมธิลโบรไมด์ ( methyl bromide ) ซึ่งการกระทำวิธีการดังกล่าวข้างต้นถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการจะทำให้สารรมขาดประสิทธิภาพ และแมลงเกิดการปรับตัวสร้างความต้านทานสารรมนี้ได้ และนอกจากนี้เมธิลโบรไมด์เป็นสารรมที่เป็นตัวการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศโลกและทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

อ้างอิง[แก้]