ดิอะเมซิ่งเรซเอเชีย 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 2)
ดิอะเมซิ่งเรซเอเชีย 2
โลโก้รายการ
ออกอากาศ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ระยะเวลาการถ่ายทำ กรกฎาคม พ.ศ. 2550[1]
จำนวนตอน 13
ผู้ชนะ เอเดรียนกับคอลลิน
ทวีปที่ผ่าน 4
ประเทศที่ผ่าน 10
เมืองที่ผ่าน 15
ระยะทางการแข่งขัน 51,534 กิโลเมตร
(32,023 ไมล์)
จำนวนเลก 12
ซีซั่นก่อนหน้าและถัดไป
ก่อนหน้า ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 1
ถัดไป ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 3

ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 2 (อังกฤษ: The Amazing Race Asia 2) เป็นปีที่สองของรายการเรียลลิตี้โชว์ทางโทรทัศน์ที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขัน 10 ทีม ทีมละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับซีซั่นนี้เริ่มออกอากาศตอนแรกทางช่องเอเอกซ์เอ็น ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เวลา 21 นาฬิกา (เวลา UTC+8) และตอนสุดท้ายออกอากาศในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เวลา 21 นาฬิกา (เวลา UTC+8)

การผลิต[แก้]

การถ่ายทำและการออกอากาศ[แก้]

ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 2 มีการเดินทางคิดเป็นระยะทางประมาณ 50,000 กิโลเมตร (32,023 ไมล์) ใน 24 วัน รวมถึงไม่ได้มีการตั้งชื่อตอนแต่ละตอนที่ออกอากาศด้วย [2] และมีการเดินทางผ่านทั้งหมด 4 ทวีป[3] สำหรับการแข่งขันครั้งนี้มีการนำกติกาใหม่บางส่วนของเวอร์ชันอเมริกา มาใช้ เช่นกฎ Marked As Elimination (ทีมที่เข้าจุดพักเป็นลำดับสุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออกจะต้องเข้าเป็นที่หนึ่งในเลกถัดไป มิฉะนั้นจะถูกปรับเวลา 30 นาทีแทน) โดยในฤดูกาลนี้ ทางผู้ผลิตรายการพยายามได้พยายามให้มีการแข่งขันกันมากขึ้น โดยให้มีการขับรถด้วยตัวเองมากขึ้น และพยายามลดโอกาสในการขึ้นเครื่องบินในเที่ยวบินเดียวกันของผู้เข้าแข่งขันลง[4]

สำหรับซีซั่นนี้ (และ ซีซั่นที่ 3) มีบทลงโทษที่แตกต่างกันสองประการ สำหรับทีมที่เข้ามาเป็นลำดับสุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออก ขณะที่เอ็ดวินกับโมนิก้าถูก Marked As Elimination เนื่องจากเข้ามาเป็นทีมสุดท้ายในเลกแรกซึ่งไม่มีการคัดออก เทรี่กับเฮนรี่ถูกยืดเงินเนื่องจากเข้าเป็นลำดับสุดท้ายในเลก 6 ที่ไม่มีการคัดออกเช่นกัน และจะไม่ได้รับเงินใช้ในเลกต่อไป โดยผู้เข้าแข่งขันไม่ได้รับการแจ้งล่วงหน้าว่ากฎเรื่องการยืดเงินในกรณีนี้ยังคงมีการใช้อยู่ เรื่องของการเปลี่ยนกฎมาใช้กฎการยืดเงินนี้นำไปสู่การถกเถียงกันระหว่างเฮนรี่กับพิธีกร อลัน วู ที่จุดหยุดพักที่โซล, เกาหลีใต้ ในเลก 6 ที่ทีมเดิมจะไม่ให้เงินคืนกับอลัน[5] และในเลกต่อมาเทรี่กับเฮนรี่ก็ได้พบกับบทลงโทษเดิมในการแข่งขันครั้งนี้ (Marked As Elimination) หลังจากพวกเขาเข้ามาเป็นลำดับสุดท้ายอีกครั้ง โดยรวมฤดูกาลนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากเนื่องจากการลงทุนที่เดินทางไกลผ่าน 4 ทวีปทำให้เป็นสถานที่ที่แตกต่างกันมากๆ รวมถึงมีผู้เข้าแข่งขันที่เป็นดาราเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ฤดูกาลนี้มีผู้ชมที่มากกว่าเดิมในฤดูกาลที่ 1 เป็นอย่างมาก

การคัดเลือกผู้เข้าแข่งขัน[แก้]

ซีซั่นนี้มีผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 10 ทีม จากผู้สมัครกว่า 2,500 คน ซึ่งผู้สมัครนี้ก็มีผู้เข้าแข่งขันที่เคยแข่งขันในเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา รวมอยู่ด้วย คือ เค็นกับวิกซัน ที่ได้รับเลือกให้แข่งในฤดูกาลที่ 12 ของเวอร์ชันสหรัฐฯ[3] ซีซั่นนี้ปิดรับสมัครในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2550 (เป็นเวลาที่ขยายแล้ว 2 สัปดาห์จากกำหนดเดิม) ในการแข่งขันครั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นสามารถเข้าร่วมได้ หลังจากถูกห้ามในซีซั่นที่ 1 การสัมภาษณ์ครั้งสุดท้ายมีขึ้นในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2550 และการถ่ายทำมีขึ้นในช่วงเดือน มิถุนายนถึงกรกฎาคม ในปีเดียวกัน[6][7]

ในซีซั่นนี้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 ทีมนั้นมีทีมที่เป็นทีมพี่น้องที่กลับมารวมตัวกัน เพื่อนสมัยเด็กและคู่เดท[3] เอเดรียนเป็นผู้เข้าแข่งขันคนแรกของดิ อะเมซิ่ง เรซทุก ๆ ฤดูกาลทั้งของสหรัฐอเมริกาและเอเชีย ที่มีปัญหาทางการได้ยิน[8] ซีซั่นนี้ยังมีการนำเสนอผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหลายคน โมนิก้า โล เคยเป็นตัวแทนของเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา เข้าประกวด Miss Chinese International Pageant ปี 1997 และเธอก็ชนะการประกวดด้วย[9] พอลล่า เทเลอร์ เป็นนางแบบ นักแสดง และวีเจทางช่องแชนแนลวีไทยแลนด์[4] พาเมล่า และ วาเนสซ่า ชอง เป็นน้องสาวของ วินซ์ ชอง นักร้องมาเลเซียที่มีชื่อเสียง[10] คินาร์โยชิ (หรือ คินาร์) เป็นนักแสดงและนางแบบชาวอินโดนีเซีย เธออยู่ในโฆษณาโทรทัศน์และภาพยนตร์ของอินโดนีเซีย โดยเคยได้รับรางวัล Citra award สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมในปี พ.ศ. 2549[11] นอกจากนี้ยังเคยเข้าร่วมแข่งขันในรายการ Seleb Dance และรายการเดียวกันของอินเดีย Nach Baliye อีกทั้งยังชนะการแข่งรายการ Fear Factor Indonesia ด้วย โซฟีเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ ให้กับ ดิสคัฟเวอรี แชนแนลอีกด้วย [12] และเป็นนักข่าวในงานภาพยนตร์อาเซียนอีกด้วย[13] มาร์ค เนลสัน เป็นนายแบบ และหนึ่งในพิธีกรรายการกีฬา Sports Unlimited ในช่อง ABS-CBN ของฟิลิปปินส์ ขณะที่เพื่อนร่วมทีม โรวิลสัน เฟอร์นันเดส เป็นพิธีกรรายการกีฬา Gameplan และยังเป็นบรรณาธิการบริหารของนิตยสาร Maxim ฉบับของฟิลิปปินส์ และทั้งคู่ก็เป็นพิธีกรรายการ The Duke ทางAXN (เลิกออกอากาศแล้ว)[14]

ในซีซั่นนี้มีผู้เข้าแข่งขันเพียง 2 คนที่ไม่ใช่ชาวเอเชียแท้ ๆ ซึ่งก็คือ เฮนรี่ รี้ด เขาเป็นนาวิกโยธินสหรัฐในตำแหน่ง Senior Chief Petty Officer ที่เกษียณอายุแล้ว ปัจจุบันอาศัยอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ โดยแข่งคู่กับภรรยาชาวฟิลิปปินส์ ตรินิแดด (รู้จักกันในชื่อเทรี่)[15] และอีกคนหนึ่งคือ ออเรเลีย เชนาท เดิมเธอมาจากประเทศฝรั่งเศส แต่ปัจจุบันอาศัยและเป็นตัวแทนของประเทศฮ่องกง โดยแข่งคู่กับโซฟี เต็ง ซึ่งเป็นชาวสิงคโปร์ แต่แข่งขันในตัวแทนของประเทศฮ่องกงเช่นกัน[16][1] และเนื่องจากการแข่งขันในฤดูกาลนี้มีผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นส่วนใหญ่จึงน่าจะเป็นการดึงให้มีผู้ชมมากขึ้น

การตลาด[แก้]

ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 2 มีผู้สนับสนุนหลัก 6 บริษัท (อาวีว่า, คาลเท็กซ์, โนเกีย เอ็นซีรีส์, โซนี่, บินตาน ลากูน รีสอร์ต และ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด)[17] ผู้สนับสนุนมีบทบาทสำคัญต่อการแข่งขันโดยการให้รางวัล หรือในบางภารกิจของการแข่งขัน ก็จะมีสิ่งที่เกี่ยวกับบริษัทผู้สนับสนุนเหล่านี้อยู่ด้วย ฤดูกาลนี้มีการออกอากาศตอนพิเศษ 2 ตอน คือ Racers Revealed ที่ออกอากาศ 3 สัปดาห์ก่อนการแข่งขันจะออกอากาศ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแนะนำตัวผู้เข้าแข่งขันและการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขัน[18] และ Memories ที่ออกอากาศ 1 สัปดาห์หลังจากตอนสุดท้ายออกอากาศ มีเนื้อหาเกี่ยวกับความทรงจำของผู้เข้าแข่งขันในระหว่างการแข่งขัน และไฮไลต์ของการแข่งขัน ซึ่งคล้ายกับที่เคยทำใน ซีซั่นที่ 1

ผลการแข่งขัน[แก้]

ตารางแสดงชื่อ ความสัมพันธ์ของผู้แข่งขันในขณะถ่ายทำของแต่ละทีมพร้อมทั้งแสดงสถานะในการแข่งขัน ดังนี้ (ตารางนี้อาจไม่ได้แสดงข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลที่ออกอากาศในโทรทัศน์เนื่องจากข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาบางส่วนในภายหลัง หรือข้อมูลที่ถูกนำออกไปบางส่วน)

ทีม ความสัมพันธ์ ลำดับที่ (ในแต่ละเลก) ผู้แก้อุปสรรค
1 2 3 4 53 6 7 8 9 10 11 12
สิงคโปร์ เอเดรียนกับคอลลิน เพื่อนที่โรงยิม 7 5 2 2 3 2 2 2 2+ 15 2 1 เอเดรียน 5, คอลลิน 6
มาเลเซีย วาเนสซ่ากับพาเมล่า พี่น้อง 1 4 7 6 7 4 3 5 4~ 35 3 3 2 วาเนสซ่า 6, พาเมล่า 6
ฟิลิปปินส์ โรวิลสันกับมาร์ค คู่เพื่อนซี้ 2 1 1 1 2 1 1 1 1+ 2 2> 1 3 โรวิลสัน 6, มาร์ค 6
มาเลเซีย แอนกับไดแอน คู่คุณแม่นักเต้นรำ 3 3 3 4 1 6 4 3 3~ 4 4< 4 แอน 6, ไดแอน 5
ไทย พอลล่ากับนาตาชา เพื่อนสมัยเด็ก 6 2 4 3 4 5 5 4 5^ 5 5 พอลล่า 5, นาตาชา 5
ฟิลิปปินส์ เทรี่กับเฮนรี่ แต่งงาน 13 ปี 9 9 5 7 6 3>4 6 6 6^ เทรี่ 3, เฮนรี่ 5
ญี่ปุ่น ไดอิจิกับซาวากะ พี่น้อง 8 8 6 5 5 7 ไดอิจิ 3 , ซาวากะ 2
โซฟีกับออเรเลีย อดีตเพื่อนร่วมแฟลต 5 7 8 82 โซฟี 1, ออเรเลีย 1
อินโดนีเซีย เบร็ทท์กับคินาร์โยชิ คบกัน 2 ปี 4 6 91 เบร็ทท์ 1, คินาร์โยชิ 1
เอ็ดวินกับโมนิก้า คบกัน 10 ปี 10 10 เอ็ดวิน 1, โมนิก้า 0


หมายเหตุ 1: เบร็ทท์กับคินาร์โยชิไม่สามารถที่จะทำภารกิจ Detour ให้สำเร็จได้ในเลกที่ 3 เนื่องจากทั้งคู่เลิกทำ Detour “กำแพง” และจะเดินทางไปทำอีก Detour หนึ่ง แต่ทั้งคู่ไปถึง North Shore Rowing Club ซึ่งเป็นสถานที่ทำงานทางแยกอีกงานหนึ่ง เมื่อมันปิดทำการแล้ว และทีมอื่นก็เข้าจุดพักทั้งหมดแล้ว ทีมงานจึงให้เดินทางไปจุดพักได้เลย เพื่อประกาศให้ถูกคัดออกจากการแข่งขัน
หมายเหตุ 2: โซฟีกับออเรเลียไม่สามารถที่จะทำทั้งภารกิจ Roadblock และ Detour ในเลกที่ 4 ให้สำเร็จได้ เนื่องจากทั้งคู่ไปถึงน้ำตก Okere เมื่อมันปิดการให้บริการแล้ว พิธีกรจึงได้เดินทางไปหาและประกาศให้ถูกคัดออกจากการแข่งขัน
หมายเหตุ 3: เลกที่ 5 เป็น Double-Length Leg ซึ่งแบ่งการออกอากาศเป็น 2 ตอน
หมายเหตุ 4: เทรี่กับเฮนรี่ใช้กฎการ Yield สั่งพักทีมโรวิลสันกับมาร์ค ซึ่งโรวิลสันกับมาร์คนั้นได้ล่วงหน้าไปก่อนแล้ว การสั่งพักนี้จึงเป็นโมฆะ
หมายเหตุ 5: ที่จุดพัก เอเดรียนกับคอลลิน และวาเนสซ่ากับพาเมล่า ได้จอดรถผิดที่ โดยไม่ได้จอดที่ลานจอดรถที่ทางรายการจัดไว้ให้ รวมถึงเดินเข้าผิดประตู จึงต้องกลับไปจอดตรงที่ที่ทางรายการจัดไว้ให้ และเดินเข้าประตูให้ถูกต้อง อย่างไรก็ดีความผิดพลาดนี้ไม่ส่งผลต่อลำดับของทีมทั้งหมด

  • สีแดง หมายถึง ทีมนั้นๆ ถูกคัดออก
  • สีเขียว ƒ หมายถึง ทีมนั้นๆ ทำ Fast Forward สำเร็จ ; เลขของเลกที่มีสีเขียวและ ƒ เป็นเลกที่มี Fast Forward แต่ไม่มีทีมไหนใช้
  • สีน้ำเงินตัวเอน หมายถึง ทีมนั้นๆ มาถึงจุดพักเป็นทีมสุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออก แต่จะถูกยึดเงินทั้งหมดที่มีและไม่ได้เงินใช้ในด่านถัดไป และจะไม่ได้รับอนุญาตให้หาเงินใช้จนกว่าการแข่งขันในเลกต่อไปจะเริ่มขึ้น
  • สีน้ำเงินขีดเส้นใต้ หมายถึง ทีมนั้นๆ มาถึงจุดพักเป็นทีมสุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออก แต่จะต้องเข้าเป็นที่ 1 ในด่านถัดไปมิฉะนั้นจะถูกทำโทษเวลา 30 นาที
  • เครื่องหมาย +,~,^,- ที่มีสีเหมือนกัน หมายถึง มีการจับคู่กันทำงานระหว่างทีมตลอดเวลาที่ใช้กฎ Intersection
  • เครื่องหมาย > สีเหลือง หมายถึง ทีมนั้นๆ ใช้คำสั่งพักทีมอื่นแข่งขันชั่วคราว (Yield) ; < หมายถึง ทีมนั้นๆ ถูกพักการแข่งขันชั่วคราว ;<> หมายถึง เลกที่มีกฎการสั่งพักแต่ไม่มีทีมไหนใช้

รางวัล[แก้]

ในบางเลก ทางรายการจะมีรางวัลพิเศษให้กับทีมที่มาถึงจุดพักเป็นทีมแรก

  • เลก 1 – โทรศัพท์มือถือโนเกียร์ N95 และ N73 สำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม
  • เลก 2 – เงินรางวัลมูลค่า 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม
  • เลก 3 – ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากคาร์เทคเป็นเวลา 1 ปี
  • เลก 4 – กล้องถ่ายวิดีโอความละเอียดสูงของโซนี่รุ่น SR7 สำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม
  • เลก 7 – เงินรางวัลมูลค่า 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม
  • เลก 8 – กล้องถ่ายวิดีโอความละเอียดสูงของโซนี่รุ่น SR7 สำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม
  • เลก 9 – โทรศัพท์มือถือโนเกียร์ N95 และ N73 สำหรับสมาชิกแต่ละคนในทีม
  • เลก 11 – ทัวร์ซาฟารีที่แอฟริกาใต้ จากคาร์เทค
  • เลก 12 – เงินรางวัลมูลค่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ

เครื่องหมายต่างๆในการแข่งขัน[แก้]

เครื่องหมาย คำอธิบาย
สัญลักษณ์ธงที่ใช้ในรายการ
สัญลักษณ์ธงที่ใช้ในรายการ
Route Marker เป็นสัญลักษณ์ธงสีแดงและสีเหลือง เป็นเครื่องหมายประจำสถานที่ที่ผู้เข้าแข่งขันสามารถค้นหาคำสั่งต่อๆ ไป
บัตรคำสั่ง Route Infomation
บัตรคำสั่ง Route Infomation
Route Infomation (ข้อมูลเส้นทาง) เป็นสัญลักษณ์ตัวบอกเส้นทางที่ไปยังจุดหมายถัดไป ทีมจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้ไว้อย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะถูกทำโทษปรับเวลาขั้นต่ำในการลงโทษ 30 นาทีบวกกับเวลาที่ได้เปรียบจากการเดินทางที่ผิดไปจากคำสั่ง
Detour (ทางแยก) เป็นสัญลักษณ์ตัวเลือกระหว่างภารกิจที่แตกต่างกันสองประการที่ผู้เข้าแข่งขันต้องเลือกทำให้สำเร็จ ภารกิจทั้ง 2 อย่างนั้นมีข้อดีและข้อเสียในตัวมันเองฉะนั้นควรเลือกที่คิดว่าทั้งทีมถนัดเพื่อทำงานให้เสร็จโดยเร็ว จึงจะได้รับคำสั่งต่อๆ ไป ถ้าหากโดนคำสั่งย้อนกลับ ทีมจะต้องกลับมาทำ Detour อีกอันที่ไม่ได้เลือกทำแต่แรก และกลายเป็นว่าจะต้องทำทั้งสองอันนั่นเอง (ถ้าทำไม่สำเร็จจะถูกปรับ 24 ชั่วโมงแต่ในฤดูกาลที่ 17 เป็นต้นมาจะถูกปรับแค่ 6 ชั่วโมงเท่านั้น)
Roadblock (อุปสรรค) เป็นสัญลักษณ์ภารกิจที่อนุญาตให้สมาชิกเพียงคนเดียวในทีมสามารถทำได้เท่านั้นและเมื่อเลือกแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนคนทำได้ ผู้เข้าแข่งขันที่เลือกทำนั้นต้องทำงานอุปสรรคนั้นให้สำเร็จก่อน จึงจะได้รับคำสั่งต่อๆ ไป (หลังจากฤดูกาลที่ 5 ได้กำหนดตลอดระยะเวลาการแข่งขันให้ทำได้ไม่เกินคนละ 6-7 ครั้ง โดยมากแล้วจะแบ่งในสัดส่วนพอๆ กันและถ้าทำไม่สำเร็จจะถูกปรับ 4 ชั่วโมง)
Face-Off (ภารกิจตัวต่อตัว) เป็นสัญลักษณ์ที่ให้ทีมที่มาขึ้นจุดนี้ รออีกทีมหนึ่งมา และสองทีมจะต้องแข่งภารกิจ ตัวต่อตัว ทีมที่ชนะจะได้คำใบ้ถัดไป ส่วนทีมที่แพ้ต้องรอจนกว่าจะมีอีกทีมถัดมา และแข่งใหม่อีกครั้ง โดยทีมสุดท้ายที่แพ้จะต้องถูกโทษปรับเวลา การแข่งขันภารกิจแบบตัวต่อตัวนี้ จะทำให้ลำดับการแข่งขันเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก
Fast Forward (ทางด่วน) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมใดก็ตามที่เสร็จสิ้นภารกิจ 1 อย่างเป็นพิเศษ ตามคำสั่งของ Fast Forward เรียบร้อยแล้ว จะสามารถเดินทางต่อไปยัง Pit Stop หรือจุดหมายปลายทางสุดท้ายของด่านนั้นๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านด่านใดๆ อีกในระหว่างทาง สิทธิ์ในการใช้สัญลักษณ์นี้ จะให้เฉพาะกับทีมแรกที่สามารถหาและเสร็จสิ้นภารกิจ Fast Forward เท่านั้นและตลอดการแข่งขันทีมๆ นั้นจะใช้สิทธิ์นี้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ยกเว้นในกฏ Intersection จะสามารถทำ Fast Forward ร่วมกันกับอีกทีมที่จับคู่ได้ถึงแม้ว่าจะเป็น Fast Forward ครั้งที่ 2 ก็ตาม (การใช้ Fast Forward ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นได้น้อยมาก) อย่างไรก็ตาม การได้บัตรทางด่วนนี้ ยังคงไม่รับประกันว่าจะไม่ตกรอบ ถ้ายังคงมาถึงเป็นทีมสุดท้าย (มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากๆ)
บัตรผ่านเร่งด่วน
บัตรผ่านเร่งด่วน
Express Pass (บัตรผ่านเร่งด่วน) เป็นสัญลักษณ์ให้กับทีมที่มีบัตรผ่านนี้สามารถข้ามงานใดๆ ก็ได้ที่ไม่ต้องการทำ 1 งาน ไม่ว่าจะเป็นงานรูปแบบใดก็ตามและผ่านไปเลยโดยไม่ต้องมีอะไรเป็นการแลกเปลี่ยน ต่างจาก Fast Forward ที่ข้ามทั้งเลกและต้องทำภารกิจตามที่กำหนด 1 อย่างก่อน (บัตรนี้จะถูกให้กับทีมที่เข้ามาเป็นที่ 1 ในเลกแรกของการแข่งขันซึ่งใช้ได้ถึงเลก 8 จาก 12)
บัตรกอบกู้
บัตรกอบกู้
Salvage Pass (บัตรกอบกู้) เป็นสัญลักษณ์ให้กับทีมที่มีบัตรผ่านนี้สามารถช่วยทีมที่มาถึงเป็นลำดับสุดท้ายไม่ให้ถูกคัดออกได้ หรือจะใช้เพื่อเป็นการช่วยตัวเองไม่ให้ถูกคัดออกด้วยก็ได้ ในกรณีที่ต้องเผชิญหน้ากับการถูกคัดออก (ในเวอร์ชั่นอเมริการจะใช้คำว่า The Save)
ป้ายสั่ง Yield
ป้ายสั่ง Yield
Yield (ถ่วงเวลา) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้มีโอกาสสั่งอีกทีมหนึ่งที่มาที่หลังพวกเขาให้หยุดแข่งได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้ สามารถใช้ในการออกคำสั่งกับอีกทีมหนึ่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดการแข่งขัน (ไม่นับรวมกับคำสั่ง ย้อนกลับ)
ป้ายสั่ง U-Turn
ป้ายสั่ง U-Turn
U-Turn (ย้อนกลัับ) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้มีโอกาสสั่งอีกทีมหนึ่งที่มาที่หลังพวกเขาให้กลับไปทำงาน Detour อีกงานที่ไม่ได้เลือกทำ ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้ สามารถใช้ในการออกคำสั่งกับอีกทีมหนึ่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดการแข่งขัน (ไม่นับรวมกับคำสั่ง ถ่วงเวลา)
Intersection (จุดร่วมมือ) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมต้องจับคู่กับอีกทีมทำภารกิจทุกๆ อย่างร่วมกัน ถ้ามาถึงจุดที่มีคำสั่งแต่ยังไม่มีทีมร่วมงานก็จำเป็นต้องรอและเมื่อมีคำสั่งยกเลิก Intersection จึงจะทำการแข่งขันแบบปกติได้
ป้ายสั่ง Speed Bump
ป้ายสั่ง Speed Bump
Speed Bump (งานเพิ่มเติม) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องทำงานเพิ่มอีก 1 งานในเลกถัดไป เนื่องจากเป็นการลงโทษที่มาถึงเป็นทีมสุดท้ายแต่ไม่ถูกคัดออกในเลกที่แล้ว โดยจะเป็นงานพิเศษ ที่ไม่เหมื่อนกับงานทั่วไปที่แข่งในเลกนั้นๆ ทำให้ทีมที่ได้บทลงโทษนี้ ทำงานเพิ่มมากกว่าปกติอีก 1 งานในเลกนั้น คล้ายกับ Handicap ต่างกันตรงที่เป็นงานใหม่เพิ่มขึ้นมาต่างหาก
ป้ายสั่ง Handicap
ป้ายสั่ง Handicap
Handicap (เพิ่มจำนวนชิ้นงาน) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องเพิ่มจำนวนชิ้นงานมากกว่าปกติ เนื่องจากเป็นการลงโทษที่มาถึงเป็นทีมสุดท้ายแต่ไม่ถูกคัดออกในเลกที่แล้ว เช่น ในงานธรรมดาทั่วไปปกติให้ทำ 50 ชิ้นแต่ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องทำ 75 ชิ้น เป็นต้น คล้ายกับ Speed Bump ต่างกันตรงที่เป็นงานปกติทั่วไปในเลกนั้นๆ เพียงแต่เพิ่มจำนวน
สัญลักษณ์ปลายทางในแต่ละด่าน
สัญลักษณ์ปลายทางในแต่ละด่าน
Pit Stop (จุดหยุดพัก) เป็นสัญลักษณ์จุดหมายปลายทางสุดท้ายของการแข่งขันในแต่ละด่านโดยทีมที่มาถึงเป็นทีมสุดท้าย อาจจะถูกคัดออก หรือบางครั้งจะมีการเตือนในคำใบ้สุดท้ายก่อนถึงจุดพักเลยว่า ทีมที่มาถึงเป็นทีมสุดท้าย จะถูกคัดออก


สถานที่ในการแข่งขัน[แก้]

เดินทางโดยเครื่องบิน; เดินทางโดยรถไฟ; เดินทางโดยเรือ; เดินทางโดยรถประจำทาง; ไม่มี = เดินทางโดยรถยนต์หรือเดิน
ทางแยก อุปสรรค ทางด่วน จุดร่วมมือ ถ่วงเวลา จุดหยุดพัก
แผนที่การเดินทางทั้งหมด (ไม่นับฮ่องกง-ประเทศจีน เนื่องจากเป็นแค่ทางผ่านและไม่มีภารกิจหลักใดๆ)

เลก 1 (สิงคโปร์ → ฟิลิปปินส์)[แก้]

ทางแแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง กล้า (Dare) และ บันได (Stair) โดยทีมที่เลือก Dare จะต้องขึ้นลิฟท์ 45 ชั้น ขึ้นไปบนดาดฟ้าของตึกซันเท็คทาวเวอร์ 3 และไต่เชือกที่มีอุปกรณ์ป้องกันไปยังตึกซันเท็คทาวเวอร์ 4 โดยเชือกจะอยู่เหนือจากพื้นดิน 181 เมตร ส่วนทีมที่เลือก Stair จะต้องเดินขึ้นบันได 45 ชั้นขึ้นไปบนยอดตึกซันเท็คทาวเวอร์ 3 และกลับลงมาเพื่อไปเดินขึ้นบันไดอีก 45 ชั้นที่ตึกซันเท็คทาวเวอร์ 4

ภารกิจเสริม
  • สำหรับงานแรกในเลกนี้ ทีมจะได้รับโปสต์การ์ตที่มีภาพไอคอนแห่งชาติสิงคโปร์อยู่หลายไอคอน ทีมจะต้องค้นหารถแท็กซี่ ที่มีของที่ระลึกที่อยู่ในโปสต์การ์ตนั้นให้พบ ก่อนที่คนขับแท็กซี่จะให้คำใบ้ต่อไปแก่พวกเขา
  • ที่เขาเฟเบอร์ ทีมจะได้รับโทรศัพท์มือถือโนเกีย รุ่น N95 โดยทีมจะต้องใช้โปรแกรม GPS ในเครื่องเพื่อพาแท็กซี่ไปยังสถานที่ต่อไป (ห้างสรรพสินค้าซันเท็คซิตี้)
  • ที่พลาซ่า มีรันดา แต่ละทีมต้องกินไข่บาลุต 8 ฟองที่ร้านขายไข่ ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไปจากเจ้าของร้าน ซึ่งไข่บาลุดนั้นเป็นไข่ที่ใกล้จะฟักเป็นตัวแล้ว และเป็นอาหารยอดนิยมของคนพื้นเมือง

เลก 2 (ฟิลิปปินส์)[แก้]

  • มะนิลา (สถานีรถประจำทางกรีนสตาร์)
  • ปีลา, ลากูนา (เทศบาลเมืองปิลา) >อุปสรรค ("Who has an animal instinct?") < (นาข้าว)
  • มะนิลา (ร้านคาลเท็กซ์สตาร์มาร์ท)
  • มะนิลา (ศูนย์เลี้ยงเด็ก นูเอสตรา เซโญรา เด กีอา) >ทางแยก (Heel or Wheel) <
  • ซานตา ครูซ, มะนิลา (สถานีรถไฟฟ้าการ์เรียโด)
  • มะนิลา (สวนปาโก) >จุดหยุดพัก (เลก 2)<

อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกหนึ่งคนของแต่ละทีมจะต้องบังคับควายให้เดินไถนาไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ถูกต้อง โดยเส้นทางดังกล่าวมีลักษณะเหมือนรูปร่างของเลข 8 ซึ่งมีเสาและธงประดับเส้นทางปักอยู่ โดยที่ทุกคนจะได้เรียนวิธีการบังคับควายเบื้องต้นโดยใช้เสียง จากคนท้องถิ่น ระหว่างการบังคับควาย ถ้าใครขอความช่วยเหลือ จะต้องกลับมาเริ่มต้นใหม่ ส่วนทางแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง ส้นเท้า (Heel) และ ล้อ (Wheel) โดยทีมที่เลือก Heel จะต้องจับคู่รองเท้า 250 คู่ โดยที่รองเท้าทั้งหมดจะกองรวมกันอยู่ไม่เป็นระเบียบ ส่วนทีมที่เลือก Wheel จะต้องประกอบรถจักรยานให้ถูกต้องจากชิ้นส่วนต่างๆที่เตรียมไว้ให้

ภารกิจเสริม
  • ที่ร้านคาลเท็กซ์สตาร์มาร์ท แต่ละทีมจะต้องขนของที่จะนำไปบริจาคทั้ง 4 กล่องขึ้นรถสองแถว แล้วนำไปบริจาคให้ศูนย์เลี้ยงเด็กกำพร้าที่กำหนดให้ ที่อยู่ในศาลเจ้าแห่งหนึ่ง ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป

เลก 3 (ฟิลิปปินส์ → ฮ่องกง → นิวซีแลนด์)[แก้]

สะพานอ่าวออกแลนด์ สถานที่ทำหรับทำงานอุปสรรคในเลก 2 ของการแข่งขัน ที่ซึ่งสมาชิกหนึ่งคนต้องบันจีจัมพ์ลงมาจากสะพาน

อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกคนหนึ่งของแต่ละทีมจะต้องกระโดดบันจีจัมพ์สูง 40 ฟุต (131 เมตร) จากสะพานอ่าวออกแลนด์ ส่วนทางแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง กำแพง (Wall) และ คานู (Waka) โดยทีมที่เลือก Wall จะต้องไปปีนผาเทียมที่ศูนย์รำลึกสงครามยามว่างเบอร์เคนเฮด โดยสมาชิกแต่ละทีมจะต้องปีนคนละหนึ่งครั้ง เพื่อหยิบธงให้ได้คนละอัน และสมาชิกคนหนึ่งจะต้องปีนขึ้นไปหยิบธงอีกครั้ง (รวมหยิบธงทั้งหมด 3 อัน) ก่อนที่จะได้คำใบ้ต่อไป ส่วนทีมที่เลือก Waka จะต้องพายเรือ Waka ไปรอบ ๆ ทะเลสาบปูปูกี และเก็บธงให้ได้ครบทั้ง 3 อัน แล้วกลับมารับคำใบ้ต่อไป

ภารกิจเสริม
  • ที่อาคารธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด แต่ละทีมจะต้องนับธนบัตรและเหรียญกษาปณ์จำนวนมากให้ได้จำนวนเงินสกุลดอลลาร์ฮ่องกงที่ถูกต้อง ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป
  • ที่หมู่บ้านประวัติศาสตร์ แต่ละทีมจะต้องใช้กล้องถ่ายรูปโซนี่ไซเบอร์ช็อตถ่ายวัตถุสามชิ้นที่เป็นตัวแทนของบุคคลในประวัติศาสตร์นิวซีแลนด์ที่แตกต่างกัน 3 คน เมื่อเสร็จแล้วทีมจะต้องไปที่ศาลโฮวิคเพื่อรับคำใบ้ต่อไป
  • ที่บ้านผีสิง แต่ละทีมจะต้องเดินผ่านตามเส้นทางในบ้านให้ครบ ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ถัดไป โดยระหว่างทางภายในบ้านก็จะมีผีมาหลอกเหมือนบ้านผีสิงทั่วไป

เลก 4 (นิวซีแลนด์)[แก้]

น้ำพุร้อน Geyser เป็นจุดพักที่ 4 ของการแข่งขัน
  • ทิราอ่า, ไวด์กาโต้ (สถานีบริการแก๊สคาลเท็กซ์)
  • โรโตอู (Okere Falls Scenic Reserve)
  • โรโตอู (Lake Tikitapu) >อุปสรรค ("Who's the real stick in the mud?") <
  • โรโตอู (Hell's Gate) >ทางแยก (Flax or Sticks) < (Te Puia Springs)
  • โรโตอู (Whakarewarewa – น้ำพุร้อน Pohutu) >จุดหยุดพัก (เลก 4)<

อุปสรรคในเลกนี้สมาชิก 1 คนของทีมจะต้องลงไปในบ่อน้ำพุร้อนที่อุณหภูมิ 40°C (104°F) แล้วหาแท่งไม้ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป ทางแยกในเลกนี้ทีมจะต้องเลือกระหว่าง Flax กับ Sticks ใน Flax ทีมจะต้องพับใบไม้และสารกันคล้ายถักเปียตามรูปแบบของชาวพื้นเมืองที่ให้ไว้เสร็จก่อนที่จะได้รับคำใบถัดไป ใน Sticks ทีมจะต้องเล่นโยนไม้ตามแบบฉบับประเพณีของชาวพื้นเมือง โดยจะต้องโยนให้ถูกต้องและห้ามหล่นโดยเด็ดขาด ถ้าหล่นจะต้องเริ่มเล่นใหม่ เมื่อเล่นครบรอบตามที่กำหนดแล้วจะได้รับคำใบถัดไป

ภารกิจเสริม
  • แต่ละทีมจะต้องหยุดระหว่างทางไป โรโตอู เพื่อเติมแก๊สและต้องจ่ายเงินด้วยบัตรของคาลเท็กซ์เพื่อรับคำใบ้จากแคชเชียร์
  • ก่อนงานอุปสรรค ทีมจะต้องนั่งบนเรือล่องแก่งไถลไปตามทางของกระแสน้ำด้วยความเร็วไปจนสุดระยะทางก่อนที่จะได้คำใบ้ถัดไป
  • ที่ Lake Tikitapu ทีมจะต้องขับเรือเจ็ท 450 แรงม้า ทีมจะต้องสำรวจรอบๆ ทะเลสาบที่ขับเรือและหาคำใบต่อไป

เลก 5 (นิวซีแลนด์ → ญี่ปุ่น → เกาหลีใต้)[แก้]

ที่อาคารโซนี่ ทีมจะต้องชักชวนคนญี่ปุ่นให้ร่วมร้องเพลงพื้นเมือง "ซากุระ"

ทางแยกแรกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง Catch It และ Cart It โดยทีมที่เลือก Catch It จะต้องจับปลาทอง 40 ตัวโดยใช้ที่ตักที่ทำจากกระดาษสา ที่เมื่อโดนน้ำกระดาษจะขาดและทำให้ตักต่อไปไม่ได้ สำหรับทีมที่เลือก Cart It ทีมจะต้องหาร้านซักแห้งที่กำหนดให้และนำชุด ยูกาตะ ไปส่งให้ลูกค้า ณ ที่อยู่ที่กำหนดให้ อุปสรรคแรกในเลกนี้ สมาชิกของทีมหนึ่งคนจะต้องถอดรหัสปริศนาที่ซ่อนอยู่ในก้อน น้ำแข็ง ซึ่งคำตอบนั้นเป็นชื่อของหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น (เมืองฟุกุโอะกะ) เมื่อสมาชิกคนนั้นสามารถหาคำตอบได้ เจ้าหน้าที่จึงจะให้คำใบ้ต่อไป

ทางแยกที่สองในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง Slither และ Deliver โดยทีมที่เลือก Slither จะต้องไปที่ตลาดปลา Jugalchi ที่พวกเขาจะต้องหาถังเลี้ยงปลาที่กำหนดให้ที่เต็มไปด้วยปลาหมึก ทีมจะต้องหยิบเหรียญ อายุ 100 ปีของเกาหลีจากก้นถังและนำขึ้นมา ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป สำหรับทีมที่เลือก Deliver ทีมจะต้องส่งอาหาร 6 กล่องไปยัง 3 สถานที่ที่แตกต่างกัน โดยที่อยู่ของผู้รับในบางสถานที่เป็นที่อยู่ที่ไม่ชัดเจน ที่อาจก่อให้เกิดความสับสนได้ อุปสรรคที่สองในเลกนี้ ทีมจะต้องไปที่สวน Yougdusan แล้วหาคนเฝ้าประตู สมาชิกของทีมหนึ่งคนจะได้รับกุญแจ โดยสมาชิกคนนั้นจะต้องไขแม่กุญแจให้ถูกต้องก่อนที่คนเฝ้าสวนจะให้คำใบ้ต่อไป หากทีมทำกุญแจหัก ทีมจะต้องเริ่มต้นใหม่

ภารกิจเสริม
  • ที่อาคารโซนี่ แต่ละทีมจะต้องชักชวนให้คนญี่ปุ่นมาร่วมร้องเพลงซากุระ (さくら) ซึ่งเป็นเพลงพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของญึ่ปุ่น โดยสมาชิกคนหนึ่งจะต้องร่วมร้องไปด้วย และอีกคนหนึ่งจะต้องบันทึกภาพไว้ด้วยกล้อง Sony HD Handycam
  • ที่ชิบุยะ แต่ละทีมจะต้องตามหาผู้หญิงในชุดคอสเพลย์ โดยดูจากรูปภาพในกล้อง Sony Cybershot ที่ได้รับมา
  • ที่สถาบัน Jongro ทีมจะต้องใช้เทควันโด เตะกระดาน 3 แผ่นให้หักก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไปจากผู้สอนเทควันโด

เลก 6 (เกาหลีใต้)[แก้]

  • อันซอง (ซออิลฟาร์ม) >อุปสรรค ("Who's Bean the Most Patient?") <
  • ซูวอน (Woncheon Resort)
  • ยงอิน (หมู่บ้านวัฒนธรรมพื้นบ้านเกาหลี) >ทางแยก (Too Ho or Too Heavy) <
  • โซล (Peace Plaza – สวนโอลิมปิก) >จุดหยุดพัก (เลก 6)<

อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกคนหนึ่งของแต่ละทีมจะต้องคำใบ้ซึ่งซ่อนอยู่ในโอ่งถั่วเหลือง โดยในบริเวณนั้นมีโอ่งทั้งหมด 1,500 ใบ โดยจะมีคำใบ้อยู่ซองหนึ่งที่มีเงินพิเศษจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมูลค่า 50 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนทางแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง Too Ho และ Too Heavy โดยทีมที่เลือก Too Ho จะต้องเล่นเกมพื้นเมืองของเกาหลี ซึ่งต้องขว้างแท่งไม้ไผ่ 3 แท่งให้ลงกระบอกซึ่งอยู่ห่างไป 4.5 เมตร ส่วนทีมที่เลือก Too Heavy จะต้องขนฟืน 30 ท่อนด้วยเครื่องมือแบบท้องถิ่นไปยังจุดที่กำหนดให้

ภารกิจเสริม
  • ที่วอนชอนรีสอร์ท ทีมจะต้องนั่งเรือถีบและหาคำใบ้จากทุ่นที่ลอยน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก ก่อนที่จะได้คำใบต่อไป

เลก 7 (เกาหลีใต้ → เยอรมนี → สาธารณรัฐเช็ก)[แก้]

สะพานชาร์ลส์ เป็นสถานที่ที่แต่ละทีมจะต้องหาคำใบ้ ซึ่งซ่อนอยู่ในรูปปั้นที่มีช่องโหว่

อุปสรรคในเลกนี้สมาชิก 1 คนของทีมจะต้องสวมชุดเกราะทหารโบราณและตามหาเจ้าหญิงที่อยู่บริเวณวังคินสกี้และยื่นใบส่งสารว่ามารับคำใบ้ ก่อนที่จะได้คำใบ้ต่อไป ในทางแยกของเลกนี้ทีมจะต้องเลือกระหว่าง Bow หรือ Blow สำหรับ Bow ทีมจะต้องยิงธนูให้เข้าเป้า 3 สีคือ เหลือง แดง ขาว โดยใช้ลูกธนูโบราณก่อนที่จะได้คำใบถัดไป ส่วน Blow ทีมจะต้องเดินทางไปยังโรงงานผลิตแก้วและเจียรไนก้นแก้วให้เป็นลายดาว 5 แฉกก่อนที่จะได้รับคำใบ้ถัดไป

ภารกิจเสริม
  • ที่สะพานชาร์ลส์ แต่ละทีมจะต้องหาคำใบ้ในบริเวณสะพาน ซึ่งซ่อนอยู่ในรูปปั้นที่มีช่องโหว่อยู่
  • ที่จัตุรัสเมืองเบรอน แต่ละทีมจะต้องหาคนที่มีโทรศัพท์มือถือโนเกียรุ่น N95 ที่มีรูปของทีมนั้นๆอยู่ เพื่อรับคำใบ้ถัดไป โดยในโทรศัพท์มือถือนั้นจะมีคลิปวิดีโอจากบุคคลใกล้ชิดของแต่ละคนให้ดู

เลก 8 (สาธารณรัฐเช็ก)[แก้]

ที่ปราสาทพารากู ทีมจะต้องรออีกทีมเพื่อทำการจับคู่ในกฎจุดร่วมมือ
  • Railway: เบรอน (สถานีรถไฟเบรอน) ไป ปราก (สถานีรถไฟกลางปราก)
  • ปราก (หอคอยสังเกตการณ์ที่เนินเพ็นริน)
  • ปราก (เกาะเสตเลกี้, แม่น้ำเวทาว่า)
  • ปราก (ปราสาทปราก) >จุดร่วมมือ<
  • ปราก (สนามกีฬาน้ำแข็ง Letňany) >ทางแยก (Snap or Roll) <
  • ปราก (สระว่ายน้ำหมายเลข 4) >อุปสรรค (Who Wants To Make A Splash?) <
  • ปราก (สวนวีโบวาซากี้) >จุดหยุดพัก (เลก 8)<

ทางแยกในเลกนี้ ทีมที่จับคู่กันจะต้องเลือกระหว่าง ถ่ายรูป (Snap) และ กลิ้งถัง (Roll) โดยทีมที่เลือก Snap จะต้องไปถ่ายรูปสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของปราก 3 แห่งตามที่กำหนดไว้ แล้วนำภาพมาให้เจ้าหน้าที่เพื่อรับคำใบ้ต่อไป ส่วนทีมที่เลือก Roll ทีมจะต้องไปที่ร้านเบียร์ ที่กำหนด เมื่อไปถึงจะต้องกลิ้งถังเบียร์ 2 ถัง แต่ละถังมีปริมาตร 50 ลิตร (13 แกลลอน) นำไปส่งที่สถานที่ที่กำหนดให้ (Admiral Botel) ส่วนอุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกคนหนึ่งของแต่ละทีมจะต้องขึ้นไปบนกระดานสูง 10 เมตร แล้วกระโดดน้ำลงมาที่สระ ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป

ภารกิจเสริม
  • ที่เนิน Petřín แต่ละทีมจะต้องเดินขึ้นหอคอยสังเกตการณ์และนับจำนวนขั้นบันไดทั้งหมด และจะต้องเขียบคำตอบบนกระดานเมื่อไปถึงด้านบน หากตอบผิดจะต้องลงมาข้างล่างและเดินขึ้นไปใหม่จนกว่าจะตอบถูกต้อง
  • ทีมจะต้องพายเรือบนแม่น้ำ Vlrava ไป 140 องศาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปยังสถานที่ต่อไปเพื่อรับคำใบ้ต่อไป โดยจะมีเข็มทิศ ให้แต่ละทีม
  • ที่สนามกีฬาน้ำแข็ง Letňany ทีมที่จับคู่กันจะต้องยิงประตูให้ได้ 12 ประตู เพื่อรับคำใบ้ต่อไป

เลก 9 (สาธารณรัฐเช็ก → ฮังการี)[แก้]

  • Railway: ปราก (สถานีรถไฟกลางปราก) ไป บูดาเปสต์, ฮังการี ฮังการี (สถานีรถไฟ Keleti)
  • บูดาเปสต์ (จัตุรัส Batthyány)
  • ใกล้ๆ บูดาเปสต์ (ฟาร์ม Magyar) >ทางแยก (Pitch or Pull) <
  • ยูเชอคกราส (Extreme Canopy) >อุปสรรค (Who wants to ready zoom up in a view?) <
  • ยูเชอคกราส (น้ำพุเฮอร์คิวลีสในปราสาท Visegrád)
  • ยูเชอคกราส (หอคอยซาลามอน - ปราสาท Visegrád) >จุดหยุดพัก (เลก 9)<

ทางแยกในเลกนี้แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง โยน (Pitch) และ ดึง (Pull) โดยทีมที่เลือก Pitch จะต้องบรรทุกฟางกองใหญ่ใส่ในรถลา แล้วสวมตนเองเป็นคนขับรถลาท้องถิ่น พารถลาไปส่งที่ฟาร์มที่อยู่ใกล้ ๆ สำหรับทีมที่เลือก Pull จะต้องรีดนมแพะ ให้ได้ 200 มิลลิลิตร (7 ออนซ์) แล้วพาแพะกลับเข้าคอกก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกหนึ่งคนในแต่ละทีม จะต้องค้นหาเลขหลายจำนวนที่เมื่อรวมกันแล้วจะได้ 1,000 ที่อยู่ใน Extreme Canopy ท่ามกลางสุนัขจิ้งจอกบิน (Pteropus) อันเป็นอุปสรรคต่อการค้นหา สมาชิกคนใดที่ตอบจำนวนที่รวมกันแล้วถูก (1,000) จะต้องกลับไปเริ่มใหม่ และหากมีทีมใดรอตอบอยู่ก่อนแล้ว ทีมนั้นจะถูกส่งไปต่อแถวใหม่ และต้องรอจนกว่าจะถึงช่วงของเขา ทีมที่อยู่ข้างหน้าทำสำเร็จ หรือทีมที่อยู่ข้างหน้าต้องกลับไปเริ่มใหม่

ภารกิจเสริม
  • หลังจากทำงานอุปสรรคเสร็จ ทีมจะต้องค้นหาสถานที่ที่อยู่บนธนบัตร ฉบับละ 1,000 โฟรินต์ (น้ำพุเฮอร์คิวลีส) แล้วหาทางไปที่น้ำพุซึ่งอยู่ในปราสาท Visegrád

เลก 10 (ฮังการี)[แก้]

อนุสาวรีย์เสรีภาพ เป็นจุดหยุดพักที่ 10 ในการแข่งขัน
  • บูดาเปสต์ (รูปปั้นเจ้าหญิงน้อย) >ทางด่วน (Count Fence Posts) <
  • บูดาเปสต์ (ปราสาทบูดา) >อุปสรรค (Who is ready for "The Raiders of the Lost Clue"?) <
  • บูดาเปสต์ (เกาะมาร์กาเร็ต)
  • บูดาเปสต์ (จัตุรัสวีรบุรุษ) >ถ่วงเวลา (โรวิลสันกับมาร์คใช้คำสั่งถ่วงเวลาแอนกับไดแอน) < >ทางแยก (Say It or Play It) <
  • บูดาเปสต์ (เนิน Gellért – อนุสาวรีย์เสรีภาพ) >จุดหยุดพัก (เลก 10)<

ทางด่วนในเลกนี้ ทีมที่เลือกทำจะต้องนับรั้วบนสะพาน Erzsébet ซึ่งที่ปลายสะพานอีกข้างหนึ่งจะมีตู้เซฟตั้งอยู่ จำนวนรั้วบนสะพานก็คือรหัสเปิดตู้เซฟ เมื่อทีมที่เลือกทำนับจำนวนรั้วเสร็จแล้วก็ต้องเปิดตู้เซฟด้วยรหัสที่นับมาได้เพื่อรับคำใบ้ที่อยู่ในตู้เซฟ อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกหนึ่งคนของแต่ละทีมจะต้องถือโคม แล้วลงไปค้นหาคำใบ้ซึ่งซ่อนอยู่ในหีบใบใดใบหนึ่งในอุโมงค์เขาวงกตที่มืดและวกวนในปราสาทบูดา ส่นทางแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง พูด (Say It) และ เล่น (Play It) โดยทีมที่เลือก Say It จะต้องออกเสียงผู้ปกครองของฮังการี 14 คนให้ถูกต้อง ซึ่งในบริเวณ Heroes' Square จะมีรูปปั้นพร้อมชื่อของบุคคลเหล่านั้นตั้งอยู่ ส่วนที่ที่เลือก Play It จะต้องเล่นลูกรูบิกให้มีสีอยู่ด้านเดียวกันให้ครบ 6 ด้าน(โดยทีมได้รับคำแนะนำให้เล่นทีละด้าน และแต่ละคนเล่นคนละด้านให้ได้สีเดียวกัน)

ภารกิจเสริม
  • ที่เกาะมาร์กาเร็ต ทีมจะต้องนั่งจักรยาน สามล้อไปรอบ ๆ เกาะ ค้นหาที่พักของนักบุญมาร์กาเร็ต เมื่อพบแล้วพวกเขาต้องไปนำตุ๊กตารูปกระต่าย ที่เป็นสัญลักษณ์ของเกาะนั้นมา แล้วนำตุ๊กตากลับไปให้คนที่ยืนอยู่ที่สถานที่ที่ทีมนั่งจักรยานสามล้อ

เลก 11 (ฮังการี → แอฟริกาใต้)[แก้]

ทีมจะต้องค้นหากล่องคำใบ้ที่ถูกต้องจากจำนวนหลายกล่องในบริเวณเนินเขานี้เพื่อให้ได้คำใบถัดไป

อุปสรรคในเลกนี้สมาชิก 1 คนของทีมจะต้องขับรถสูตร 1 โดยขับแปดรอบติดต่อกันภายใน 7 นาทีและเมื่อขับไป 4 รอบให้เข้าจุดตรวจแต่ถ้าทำเวลาเกิน 7 นาทีจะต้องถูกทำโทษ 5 นาทีแล้วจึงไปเริ่มทำอุปสรรคใหม่ ทางแยกในเลกนี้ทีมจะต้องเลือกระหว่าง In One End กับ Out The Other สำหรับ In One End ทีมจะต้องขนฟางและอาหารสำหรับช้างจำนวน 100 กิโลกรัม (220 ปอด์น) เมื่อคนงานนับจำนวนที่ถูกต้องแล้วจึงจะได้รับคำใบ้ถัดไป สำหรับ Out The Other โกยอุจจาระช้างจำนวน 1 คอกแล้วนำไปตากแดดทำเป็นปุ๋ยก่อนที่จะได้รับคำใบ้ถัดไป

ภารกิจเสริม
  • ที่เนินเขาสังเกตการณ์, ทีมจะต้องค้นหากล่องคำใบ้ที่ถูกต้องจากจำนวนหลายกล่องในบริเวณนั้นเพื่อให้ได้คำใบถัดไป
  • ที่บ้านเด็กกำพร้า, ทีมจะต้องทาสีบ้านตามเส้นที่ขีดไว้ให้เสร็จและจะได้รับคำใบต่อไปโดยจะต้องมอบเงินจำนวน 34,500 แรนด์ หรือ 5,000 ดอลล่าสหรัฐฯ ให้แก่สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าที่มาพร้อมกับคำใบ้
  • ที่สวนน้ำ, ทีมจะต้องหาคำใบ้ภายในสวนน้ำที่ล้อมรอบไปด้วยแมวน้ำ

เลก 12 (แอฟริกาใต้ → สิงคโปร์)[แก้]

สวนสาธารณะจีนในสิงคโปร์ เป็นเส้นชัยของ ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 2
  • เคปทาวน์ (พิพิธภัณฑ์เขตหก) >ทางแยก (Search or Assemble) < (Victoria & Alfred Waterfront)
  • เคปทาวน์ (Green Point Common)
  • เคปทาวน์ (Atlantis Dunes)
  • เคปทาวน์ (Cape Point)
  • Flight: เคปทาวน์ (ท่าอากาศยานนานาชาติเคปทาวน์) ไป สิงคโปร์ สิงคโปร์ (ท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์)
  • สิงคโปร์ (ใกล้แม่น้ำสิงคโปร์ – Raffles' Landing Site)
  • สิงคโปร์ (เซนโตซา – หาดตันจง) >อุปสรรค (Who can flag their worldly knowledge?) <
  • สิงคโปร์ (สวนสาธารณะจีน) >จุดหยุดพัก (เส้นชัย)< (เส้นชัย)

ในทางแยกของเลกนี้ทีมจะต้องเลือกระหว่าง Search กับ Assemble ใน Search ทีมจะต้องหาหินที่มีสีเหลืองและจุดสีแดงอยู่ตรงกลางจำนวน 3 ก้อนจากหินหลากสีต่างๆ จำนวนหลายหมื่นก้อนก่อนที่จะได้รับคำใบ้ถัดไป ส่วนใน Assemble ทีมจะต้องประดิษฐ์วิทยุเล็กๆ จากของเล่นที่พังแล้ว โดยจะมีแบบให้และจะต้องเปิดใช้งานได้ เมื่อทีมทำสำเร็จจะได้รับคำใบถัดไป อุปสรรคสุดท้ายสำหรับการแข่งขัน สมาชิกคนหนึ่งของทีมจะต้องปักธงเรียงประเทศที่ได้เดินทางไปแข่งขันมาทั้งหมด 10 ประเทศจึงจะได้รับอนุญาตให้ไปรับคำใบถัดไป ซึ่งเป็นจุดหมายสุดท้ายไปสู่เส้นชัย

ภารกิจเสริม
  • ที่พิพิธภัณฑ์เขตหก, ทีมต้องหาชื่อถนน 1 ใน 6 ชื่อจากขั้นบันไดในพิพิธภัณฑ์ซึ่งเป็นรหัสผ่านในการเข้าโน้ตบุ๊ก ของโซนี่ เพื่อที่จะได้รหัสที่ถูกต้องเมื่อได้รหัสแล้วจะต้องอ่าน 1 ย่อหน้าของข้อความประวัติศาสตร์ของประเทศแอฟริกาใต้ที่ติดอยู่ที่ฝาผนังก่อนที่จะได้คำใบถัดไป
  • ทีมที่ไปถึงสนามกีฬาหลักของ FIFA World Cup 2010 จะต้องยิงลูกฟุตบอลเข้าประตูทั้งหมด 3 ประตูก่อนที่จะได้รับคำใบ้ถัดไป
  • ที่ Atlantis Dunes, ทีมจะต้องขับรถไปตามเนินเขาทรายและหาคำใบ้ 1 ใน 18 จุดที่ตั้งไว้อยู่โดยไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับแต่ถ้าเปิดฝาแล้วไม่เจอคำใบ้จะต้องรอเวลา 1 นาฬิกาทรายจึงจะแข่งต่อได้

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Hey good-looking, let's race". สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "The Second Amazing Race Asia Begins!". สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 3.2 "The Amazing Race Asia 2 Returns". Asia Media Journal Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-07. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 "Even more thrills in TARA2". The Star (Maleysia). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-23. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "Where'd the Fight Go??". Alive Not Dead. 4 มกราคม 2551. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "The Amazing Race Asia Season 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-07. สืบค้นเมื่อ 2007-12-06.
  7. "THE AMAZING RACE ASIA (Season 2) - APPLICATION PROCEDURE AND ELIGIBILITY REQUIREMENTS" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-03-07. สืบค้นเมื่อ 2008-12-13.
  8. "S'pore team has show's first hearing-impaired contestant". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "Edwin & Monica Bio". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-27. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "Our femme fatales - Four gutsy ladies make up the two Malaysian teams". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-19. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "Kinaryosih". สืบค้นเมื่อ 2008-02-17.
  12. "Sophie Teng - About Me". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-01. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "Film Festival". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-01. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "The Amazing Race season 2 Asia: Marc Nelson & Rovilson Fernandez". สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "Henry & Terri Bio". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "Sophie & Aurelia Bio". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-20. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. ""New Teams Race across 4 Continents in Asia and Beyond for a No Holds Barred Season 2 of The Amazing Race Asia!"". Aviva Asia Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-09. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. ""The Amazing Race Asia 2 - Racers Revealed - A One Hour Special"". The Amazing Race Asia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2550. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]