ดิอะเมซิ่งเรซเอเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย)
ดิอะเมซิ่งเรซเอเชีย
โลโก้รายการ
สร้างโดยอลิส ดอร์แกนเลอร์
เบ็นตั้น แวนด์ มัสเตอร์
แสดงนำอลัน วู (吴振天) (เดิมชื่อ 吴振宇)
ประเทศแหล่งกำเนิดเอเชีย
จำนวนฤดูกาล4
จำนวนตอน48
การผลิต
ความยาวตอน60 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายเอเอ็กซ์เอ็น เอเชีย
ออกอากาศ9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 –
9 ธันวาคม พ.ศ. 2553
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
ดิ อะเมซิ่ง เรซ

ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย (อังกฤษ: The Amazing Race Asia) เป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้ทางโทรทัศน์ที่สร้างมาจากเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกา ที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ

ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สถานีโทรทัศน์ ซีบีเอส ให้โอกาสประเทศอื่นในการทำ ดิ อะเมซิ่ง เรซ เป็นของตนเอง และเครือข่ายทีวีของเอเชีย เอเอ็กซ์เอ็น เอเชีย ก็เป็นหนึ่งในผู้ผลิตแรก ๆ ที่ได้สิทธิ์ในการผลิด ดิ อะเมซิ่ง เรซ สำหรับประเทศของตนเอง รายการนี้ผลิตโดยบริษัทผลิตรายการของออสเตรเลีย ActiveTV สำหรับเอเอ็กซ์เอ็น โดยความร่วมมือของบัวนาวิสต้า อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย-แปซิฟิก (BVITV-AP) พิธีกรของรายการคือนักแสดงชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน-อเมริกัน อลัน วู[1]

สำหรับรางวัลที่ผู้ชนะจะได้รับคือ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา เงินรางวัลที่ผู้ชนะจะได้รับคือ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง ริคกี้ โอว ผู้จัดการทั่วไปของ โซนี่ พิกเจอร์ส เอนเตอร์เทนเมนต์ เอเชีย บริษัทแม่ของ เอเอ็กซ์เอ็น เอเชีย อธิบายเรื่องเงินรางวัลที่น้อยกว่าเวอร์ชันอเมริกาไว้ว่า "จริง ๆ แล้วเงินไม่ใช่แรงจูงใจหลัก แต่แรงจูงใจหลักนั้นคือการผจญภัย และโอกาสที่จะได้อยู่ในรายการเรียลลิตี้โชว์ที่ดีที่สุดรายการหนึ่งของโลก" แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่รายการได้ยุติลงหลังจากจบฤดูกาลที่ 4 อันเนื่องมาจากปัญหาด้านงบประมาณ

อย่างไรก็ตาม กลางปี ค.ศ.2016 มีการประกาศจากทางโซนี ว่าจะมีการทำรายการนี้ต่อเป็นฤดูกาลที่ 5 และออกฉายในปลายปีเดียวกัน นับเป็นการกลับมาฉายอีกครั้ง หลังจากงดออกอากาศไปนานถึง 6 ปี

การแข่งขัน[แก้]

ผู้เข้าแข่งขัน[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันใน ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย จะประกอบไปด้วยผู้เข้าแข่งขัน 10 ทีม ทีมละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว สำหรับใน ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย มีผู้เกี่ยวข้องและทีมงานที่ถ่ายทำเพียง 30 คนเท่านั้นที่เข้าร่วมในแต่ละซีซั่นของดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย ซึ่งถือเป็นดิ อะเมซิ่ง เรซที่มีผู้เกี่ยวข้องน้อยที่สุด ในบรรดาดิ อะเมซิ่ง เรซ ต่าง ๆ ทั่วโลก เพราะในฉบับอเมริกานั้น มีทีมงานประสานงานกันอีกมากกว่า 50 คนเป็นอย่างน้อย

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนที่เข้าร่วมในการแข่งขันต้องสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ ได้ เนื่องจากความแตกต่างด้านภาษาในทวีปเอเชีย ในการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันจะมาจากหลาย ๆ ประเทศในเอเชีย และไม่จำกัดเฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยรวมแล้ว ผู้เข้าแข่งขันจะมาจากประเทศในเอเชียทั้งหมด ยกเว้นจากประเทศในตะวันออกกลาง แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดที่ทำงานอยู่ในทวีปเอเชียเป็นเวลานาน แม้ว่าผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะไม่ใช่ชาวเอเชีย ผู้เข้าแข่งขันนั้นก็ยังสามารถถูกคัดเลือกมาแข่งในนามของประเทศที่ตนไปทำงานได้[2] (เช่น แอนดี้กับลอร่า (ซีซั่นที่ 1) ที่แข่งในนามของประเทศไทยแต่มาจากสหราชอาณาจักร)

ตั้งแต่ซีซั่นที่ 2 ผู้เข้าแข่งขันที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ หลังจากใน ซีซั่นที่ 1 ผู้เข้าแข่งขันที่พักอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้

เนื้อหาการแข่งขันโดยสรุป[แก้]

เช่นเดียวกับเวอร์ชันอเมริกา แต่ละทีมจะได้รับเงินพร้อมกับคำใบ้เมื่อทีมจะออกเดินทางในเลกต่อไป (ยกเว้นทีมที่ถูกยืดเงินในด่านที่แล้ว และจะไม่ได้รับเงินใช้ ที่เป็นผลมาจากการเข้าเป็นที่สุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออก) เป็นเงินสกุล ดอลลาร์สหรัฐ หากทีมใช้เงินในด่านก่อนหน้าไม่หมด ทีมสามารถเก็บเงินเพื่อนำไปใช้ในด่านถัดไปได้ ยกเว้นในการซื้อตั๋วเครื่องบินที่ทีมจะต้องจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินด้วยบัตรเครดิตที่ทางรายการจัดให้ สำหรับในดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย ธงประดับการแข่งขัน (Route Marker) มีสีเหลืองและแดง ยกเว้นใน ซีซั่นที่ 3 ที่ในช่วงที่มีการไปเยือนในประเทศเวียดนาม Route Marker ถูกเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองและขาวเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับธงของประเทศเวียดนามใต้ ซึ่งคล้ายกับที่ทำใน ซีซั่นที่ 10 ของเวอร์ชันสหรัฐ

สำหรับในเวอร์ชันเอเชีย ทีมจะไม่ออกเดินทางจากเมืองเริ่มต้นโดยทันที แต่ทีมจะยังอยู่ที่เมืองเริ่มต้นในเลกแรกทั้งช่วงในเลกนั้น (ซีซั่นที่ 1) หรือบางส่วนในเลกนั้น (ซีซั่นที่ 2 และ 3) สำหรับซีซั่นที่ 2 ทีมจะต้องทำงานเพิ่มเติม ณ บริเวณใกล้เคียงสถานที่เริ่มต้นในแต่ละเลก สำหรับเรื่องเที่ยวบิน เนื่องจากในเวอร์ชันเอเชียไม่มีการกำหนดเที่ยวบินที่เดินทางระหว่างประเทศไว้ล่วงหน้า ทีมจึงสามารถจองตั๋วเครื่องบินจากสายการบินใด ๆ ก็ได้ที่ทีมเห็นว่าดีที่สุด ยกเว้นในซีซั่นที่ 1 ที่ทีมจะต้องเดินทางโดยสายการบินแอร์เอเชีย เนื่องจากสายการบินแอร์เอเชียเป็นผู้สนับสนุนรายการ

เครื่องหมายและโจทย์คำสั่งต่างๆ[แก้]

สำหรับเครื่องหมายและโจทย์คำสั่งต่าง ๆ ใน ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย ทั้งหมดนำมาจากของ เวอร์ชันอเมริกา ทั้งหมด ฤดูกาลที่ 2 มีการใช้คำสั่งจุดร่วมมือ (Intersection) เป็นครั้งแรก และฤดูกาลที่ 3 มีการใช้คำสั่งย้อนกลับ (U-Turn) เป็นครั้งแรก แม้ว่าการใช้งานโดยรวมจะคล้ายกับเวอร์ชันอเมริกัน แต่ยังมีข้อแตกต่างบางส่วนที่พบเห็นได้ใน ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย

สำหรับข้อกำหนดในงานอุปสรรค สมาชิกในทีมสามารถทำงานอุปสรรคได้นานแค่ไหนก็ได้ แต่หากงานอุปสรรคนั้นต้องทำตามลำดับผู้ที่มาถึงก่อน โดยปกติแล้วคำสั่งจะกำหนดไว้ว่าทีมต้องทำให้เสร็จในเวลาที่กำหนด หากทีมไม่สามารถทำให้เสร็จในเวลาที่กำหนดได้ จะถือว่าทีมไม่สามารถทำอุปสรรคให้สำเร็จในลำดับนั้นได้ และทีมจะต้องไปต่อหลังทีมที่มาถึงหลังจากพวกเขาเพื่อทำใหม่ (ยกเว้นกรณีที่ทีมจะไม่ทำ Roadblock และโดนโทษปรับเวลา)

ในซีซั่นที่ 1 ทางด่วน (Fast Forward) ครั้งแรกปรากฏขึ้นในเลกที่ 2 (ซึ่งโดยปกติทางด่วนมักปรากฏขึ้นในช่วงกลางของการแข่งขัน) ในซีซั่นที่ 2 และซีซั่นที่ 3 มีทางด่วนให้ใช้เพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น และไม่ใช่ส่วนหนึ่งของจุดร่วมมือ (Intersection) สำหรับการถ่วงเวลา (Yield) ในซีซั่นที่ 1 มีเลกที่มีการถ่วงเวลาประเภท 2 เลกติดกัน

ในซีซั่นที่ 3 มีการถ่วงเวลา (Yield) และการสั่งย้อนกลับ (U-Turn) ปรากฏขึ้นในคนละเลกกัน (การย้อนกลับจะนำมาใช้แทนการถ่วงเวลาตั้งแต่ ซีซั่น 12 ของเวอร์ชันอเมริกัน) เนื่องจากแต่ละทีมสามารถใช้คำสั่ง Yield และ U-Turn ได้เพียงทีมละครั้งตลอดการแข่งขัน จึงเป็นไปได้ว่าทีมสามารถใช้คำสั่งย้อนกลับได้ แม้ว่าจะใช้คำสั่งถ่วงเวลาในเลกก่อน ๆ ไปแล้ว (เช่นเจฟกับทิช่าในซีซั่นที่ 3) และจนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีงานใด ๆ ที่ไม่ได้ออกอากาศทางโทรทัศน์ [ต้องการอ้างอิง]

ซาบรีน่ากับโจ เจอร์ (ซีซั่นที่ 1) เป็นทีมเดียวของเวอร์ชันเอเชียที่สามารถเอาชนะการแข่งขันได้ โดยที่ไม่ได้ใช้คำสั่งถ่วงเวลาหรือทางด่วนเลย รวมถึงเป็นทีมหญิงล้วนทีมที่สองที่ชนะการแข่งขันรายการนี้ (ถัดจาก แพทริเซียกับเซน ในเวอร์ชันบราซิล) ในทุกๆ เวอร์ชันที่ทำการผลิตอีกด้วย

เลกต่าง ๆ ในการแข่งขัน[แก้]

เนื้อหาโดยสรุป[แก้]

โดยทั่วไปรูปแบบการแข่งขันทั้งเวอร์ชันอเมริกา และเวอร์ชันเอเชียจะเหมือนกัน นั่นคือแต่ละทีมต้องเดินทางไปตามเส้นทางที่กำหนดไปตามสถานที่ต่าง ๆ ทำภารกิจต่าง ๆ และเข้าเช็กอินที่จุดหยุดพักให้ได้เร็วที่สุด

ทีมมักจะต้องทำภารกิจให้สำเร็จก่อนทุกภารกิจ และเข้าเช็กอินที่จุดหยุดพัก ก่อนที่ทีมจะถูกคัดออกเมื่อเข้าเช็กอินที่จุดหยุดพักนั้น แต่ในบางครั้งหากเลกใดเป็นเลกที่มีการคัดออก และทีมสุดท้ายตามหลังทุกทีมที่เข้าเช็กอินก่อนหน้านั้นมาก ข้อมูลเส้นทางอาจชี้ให้ทีมนั้น ๆ ไปที่จุดหยุดพักโดยไม่ต้องทำภารกิจที่เหลือ ซึ่งจะทำให้ทีมนั้น ๆ ถูกคัดออกจากการแข่งขันทันทีที่ไปถึงจุดหยุดพัก ข้อยกเว้นสำหรับกฎนี้ใน ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย คือหากทีมไม่สามารถรับข้อมูลเส้นทางต่อไปได้ เพราะทีมนั้น ๆ จะต้องทำงานบางชิ้นเพื่อที่จะได้รับมันมา หริอสถานที่สำหรับทำงานนั้น ๆ ได้ปิดทำการแล้วและทีมยังทำงานไม่เสร็จ ในกรณีนี้ ทีมงานถ่ายทำจะบอกให้ทีมนั้น ๆ ไปที่จุดพักได้เลย เพื่อให้อลันคัดออก หรือตัวอลันเองอาจเดินทางมา ณ สถานที่ที่ทีมอยู่ และคัดทีมออกที่นั่น (เช่นที่เกิดขึ้นกับโซฟีกับออเรเลีย และเบร็ทท์กับคินาร์โยชิในซีซั่นที่ 2 และไหมกับโอลิเวอร์ใน ซีซั่นที่ 3)

ในบางเลก ทางรายการจะมีรางวัลให้สำหรับผู้ที่มาถึงเป็นทีมแรก ซึ่งของรางวัลนั้นมักจะมาจากผู้สนับสนุนรายการในซีซั่นนั้น ๆ ซีซั่นที่ 3 เป็นซีซั่นแรกที่มีการมอบรางวัลให้ทุกทีมที่เข้ามาถึงเป็นทีมแรก ในทุก ๆ เลกของการแข่งขัน

ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย ยังมีอีกเลกหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ ซุปเปอร์เลก ที่คำใบ้จะบอกให้ผู้เข้าแข่งขันให้ "ตามหาตัวอลัน วู" โดยคำใบ้นี้ปรากฏขึ้นในซีซั่นที่ 2 แต่อลันเจะทำให้ข้าใจผิดและอ้างว่าสถานที่ที่เขาอยู่นั้นคือจุดหยุดพัก และข้อแตกต่างของจุดพักในเวอร์ชันอเมริกากับเอเชียนั้นคือ ในเวอร์ชันอเมริกาการเข้าจุดพักกจะมีพรหมพร้อมกับป้ายอยู่ด้านข้างโดยที่ภายในป้ายจะมีโลโก้รายการอยู่แต่เปลี่ยนตรงคำว่า ดิ อะเมซิ่ง เป็น ชื่อเมือง ที่เข้าจุดพักและคำว่า เรซ เป็น ชื่อประเทศ ที่เข้าจุดพัก ส่วนในเวอร์ชันเอเชียนั้นจะมีแค่พรหมเข้าจุดพักเท่านั้น ไม่ได้มีป้ายบอกชื่อประเทศและเมืองแต่อย่างใด

สำหรับข้อมูลเส้นทางที่ให้ทีมไปยังเส้นชัย จะไม่ได้กล่าวว่า "ไปเส้นชัย" โดยตรง แต่จะกล่าวว่า "ไปยังจุดหยุดพักสุดท้าย" แทน สิ่งที่แตกต่างกับ เวอร์ชันอเมริกา จะมีพรหมในเรื่องเส้นชัยก็คือ ในเวอร์ชันอเมริกาจะมีพรมสีแดงปูเป็นขั้นบันได และมีโลโก้รายการขนาดใหญ่อยู่บนพื้น แต่ในเวอร์ชันเอเชียจะมีเพียงพรมเช็กอินสำหรับ 3 ทีมสุดท้ายเท่านั้น

เลกที่ไม่มีการคัดออก[แก้]

ในการแข่งขัน จะมีการวางจำนวนของเลกที่ไม่มีการคัดออกไว้ล่วงหน้า เลกที่ไม่มีการคัดออกจะทำให้ทีมที่มาถึงสุดท้ายในเลกนั้น ๆ ไม่ถูกคัดออกและสามารถแข่งต่อได้ ในซีซั่นที่ 1 คำใบ้ที่ให้ทีมไปที่จุดหยุดพักมักจะเปลี่ยนคำว่า "อาจ" เป็นคำว่า "จะ" ในคำใบ้เดิมที่กล่าวว่า "ทีมที่มาถึงสุดท้ายอาจถูกคัดออก" เป็น "ทีมที่มาถึงสุดท้ายจะถูกคัดออก" ในเลกที่มีการคัดออก ในซีซั่นที่ 2 คำใบ้ที่ให้ทีมไปยังจุดหยุดพักที่ไม่ใช่จุดหยุดพักสุดท้าย (เส้นชัย) จะใช้ "อาจ" ซึ่งเหมือนกับเวอร์ชันอเมริกาที่ในช่วงหลัง ๆ คำใบ้ที่ให้ทีมไปยังจุดหยุดพักที่ไม่ใช่เลกแรกจะใช้ว่า "อาจ" ตลอด แต่เลกแรกจะใช้ว่า "จะ"ถูกคัดออก

ในสองฤดูกาลแรกของเวอร์ชันเอเชีย เลกแรกของการแข่งขันเป็นเลกที่ไม่มีการคัดออก ซึ่งในเวอร์ชันอเมริกา เลกแรกของการแข่งขันเป็นเลกคัดออกเสมอ

ในซีซั่นที่ 1 ทีมสุดท้ายที่มาถึงในเลกที่ไม่มีการคัดออก จะต้องถูกยืดเงินทั้งหมดที่ทีมมี และจะไม่ได้รับอนุญาตให้หาเงินใช้ ก่อนที่เลกต่อไปจะเริ่ม ซึ่งคล้ายกับที่ทำในเวอร์ชันอเมริกา ซีซั่นที่ 6 แต่ที่แตกต่างจากเวอร์ชันอเมริกาคือ ซีซั่นที่ 7 ถึง ซีซั่นที่ 9 ของเวอร์ชันอเมริกา ทีมจะต้องทิ้งสัมภาระส่วนตัวทั้งหมด แต่ในเวอร์ชันเอเชียทีมไม่ต้องทำเช่นนั้น

ใน ซีซั่นที่ 2 และ ซีซั่นที่ 3 มีการใช้บทลงโทษ 2 แบบสำหรับทีมที่มาถึงสุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออก บทลงโทษที่เพิ่มเข้ามาคือ ทีมที่ไม่ถูกคัดออกจะต้องเข้าเป็นที่ 1 ให้ได้ในเลกต่อไป หากไม่สามารถทำได้ ทีมจะถูกปรับเวลา 30 นาที กฎนี้รู้จักกันในชื่อ Marked As Elimination ซึ่งคล้ายกับที่ทำในเวอร์ชันอเมริกา ซีซั่นที่ 10 และ ซีซั่นที่ 11 อย่างไรก็ดีบทลงโทษเรื่องการยืดเงินยังคงมีการนำมาใช้ในหนึ่งเลกของการแข่งขัน เพื่อหลีกเลี่ยงความเป็นไปได้ที่ทีมยังคงอยู่ต่อในการแข่งขัน หลังจากโดนโทษปรับเวลาแล้ว ในกรณีที่ทีมเข้าเป็นที่สุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออกอีกครั้ง

กฎกติกาในการแข่งขัน และบทลงโทษ[แก้]

กฎกติกา[แก้]

กฎกติกาส่วนมากจะนำมาจากเวอร์ชันอเมริกาเกือบทั้งหมด เว้นแต่ในบางกรณีที่ ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย มีกฎกติกาเป็นของตนเอง

  • แต่ละทีมจะต้องเซ็นสัญญาลับที่มีเนื้อหาว่า ผู้เข้าแข่งขันจะไม่เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดในการแข่งขันก่อนที่การแข่งขันจะออกอากาศทางโทรทัศน์ หากทีมไม่ปฏิบัติตามสัญญานี้ ทีมจะถูกปรับเป็นเงิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]
  • หากสมาชิกของทีมบาดเจ็บระหว่างการแข่งขัน สมาชิกคนนั้นต้องเข้ารับการประเมินผลทางการแพทย์ว่าพวกเขาสามารถแข่งต่อได้หรือไม่[4]ในเวอร์ชันอเมริกา หากการบาดจ็บนั้นไม่ร้ายแรงหรือไม่ถึงแก่ชีวิต ทีมสามารถเลือกที่จะแข่งต่อหรือยุติการแข่งขันก็ได้ ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นกับมาร์แชลกับแลนซ์ใน ซีซั่นที่ 5
  • ทีมจะต้องปฏิบัติตามกฎจราจรโดยเคร่งครัด หากทีมทำผิดกฎจราจร ทีมจะต้องจ่ายค่าปรับเองและถูกหักแต้มในใบขับขี่ ในกรณีที่ตำรวจเรียกตรวจ[5]

บทลงโทษ[แก้]

  • หากทีมขับรถโดยใช้ความเร็วเกินกำหนด เวลาที่ใช้ในการคำนวณโทษปรับเวลาจะคิดจากความเร็วที่เกินกำหนด (เป็นกิโลเมตรต่อชั่วโมง) คูณด้วย 2 นาที[6] อย่างไรก็ดีบทลงโทษนี้จะมีผลเมื่อทีมจะต้องออกเดินทางในเลกต่อไป ซึ่งทำให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของแต่ละทีม แม้ว่าการใช้ความเร็วเกินกำหนดจะผิดกฎของดิ อะเมซิ่ง เรซ เวอร์ชันอเมริกาเช่นกัน (เช่นที่เกิดขึ้นใน ซีซั่นที่ 2 และ ซีซั่นที่ 13) แต่บทลงโทษเรื่องการใช้ความเร็วเกินกำหนดของอเมริกาไม่ได้คิดจากความเร็วไมล์ต่อชั่วโมงที่เกิน แต่จะเป็นโทษปรับเวลา 30 นาทีเมื่อทีมมาถึงจุดพักแทน
  • ในเวอร์ชันอเมริกา ทีมที่ไม่สามารถทำงานอุปสรรค (Roadblock) ให้สำเร็จได้จะต้องรับโทษปรับเวลา 4 ชั่วโมง โดยเริ่มคิดจากเวลาที่ทีมต่อไปมาถึง ณ สถานที่ทำงาน แต่ในเวอร์ชันเอเชีย โทษปรับเวลานี้จะมีผลที่จุดหยุดพักก่อนทีมเข้าเช็กอิน ไม่ใช่ที่สถานที่สำหรับทำงานอุปสรรค[7]
  • การนั่งรถไปกับคนท้องถิ่น (Hitchhiking) เป็นข้อห้ามข้อหนึ่งในการแข่งขัน หากทีมไม่ปฏิบัติตามกฎข้อนี้ทีมจะถูกปรับเวลา 1 ชั่วโมง[8] (เกิดขึ้นกับซาฮิลกับพาร์ชานในซีซั่นที่ 1) ในเวอร์ชันอเมริกา ทีมที่ Hitchhiking จะไม่ถูกทำโทษเวลา แต่หากคำใบ้บอกว่าพวกเขาจะต้องเดินทางไปยังสถานที่ต่อไปอย่างไร ทีมจะต้องกลับไปเดินทางจากสถานที่ที่ตนทำผิดกฎ และเดินทางอย่างที่คำใบ้บอกไว้ ก่อนที่จะมาถึง ณ สถานที่ถัดไป (นาธานกับเจนนิเฟอร์ ในซีซั่นที่ 12) แต่ในกรณีนี้นาธานกับเจนนิเฟอร์ทำผิดระหว่างทางไปยังจุดหยุดพัก และพวกเธอสามารถย้อนกลับไปเดินทางให้ถูกต้องได้ แต่ซาฮิลกับพาร์ชานทำผิดระหว่างที่ทำงานก่อนหน้าในเลกที่ 5 และไม่สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากพวกเขาไม่ทราบเรื่องนี้และรับคำใบ้ไปแล้ว

ประเทศและสถานที่ที่เดินทางไปเยือน[แก้]

จนถึงฤดูกาลที่ 4 ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย เดินทางไปแล้ว 20 ประเทศและผ่าน 4 ทวีป โดยยังไม่เคยผ่านทวีปอเมริกา

ประเทศที่ไปเยือนใน ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย แสดงด้วยสี
เอเชีย โอเชียเนีย ยุโรป แอฟริกา

หมายเหตุ 1: รวม ฮ่องกง และ มาเก๊า

ข้อวิพากษ์วิจารณ์[แก้]

โทษปรับเวลา[แก้]

ในซีซั่นที่ 1 มีการใช้โทษปรับเวลาบ่อยมาก แม้ว่าโทษปรับเวลาส่วนใหญ่จะทำให้ทีมไม่สามารถเข้าเช็กอินที่จุดหยุดพักได้ทันทีเมิ่อทีมมาถึงจุดหยุดพัก (ซึ่งอาจทำให้ลำกับของทีมตกลงมาและทำให้พวกเขาเข้าเป็นลำดับสุดท้าย และถูกคัดออก เช่นเดียวกับที่เกิดกับซาฮิลกับพาร์ชานในซีซั่นที่ 1) ก็ยังมีข้อถกเถียงเรื่องโทษปรับเวลาว่า โทษปรับเวลาบางครั้งจะไปมีผลตอนที่ทีมออกเดินทางจากจุดพักในเลกต่อไปหรือไม่ หรือโทษปรับเวลาทุกครั้งจะทำให้ทีมไม่สามารถเช็กอินได้จนกว่าโทษปรับเวลาจะหมด

กรณีที่โทษปรับเวลามีผลในเลกต่อไปนั้น เป็นกรณีที่เกิดขึ้นกับ แอนดี้กับลอร่า (ซีซั่นที่ 1) ที่ออกเดินทางจากจุดหยุดพัก Chard Farm Winery ที่ควีนส์ทาวน์ ประเทศนิวซีแลนด์ ในเลก 7 โดยมีโทษปรับเวลา 92 นาที ซึ่งเป็นผลจากการใช้ความเร็วเกินกำหนด กรณีนี้ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่าแอนดี้กับลอร่าได้รับโทษปรับเวลา 92 นาทีนั้นก่อนที่จะเข้าเช็กอินยังจุดหยุดพักในเลก 6 หรือไม่ ซึ่งถ้าหากมี โทษปรับเวลานั้นจะทำให้พวกเขาตกลงมาอยู่ในอันดับสุดท้ายและถูกคัดออกจากการแข่งขัน แต่โทษปรับเวลานี้ได้ใช้อย่างถูกต้องแล้วเนื่องจากในทุกๆ เวอร์ชันของรายการนี้ โทษปรับเวลาการใช้ความเร็วเกินกำหนดเป็นโทษเดียวที่จะไปบวกตอนเริ่มเลกถัดไป ทีมจะได้รับอนุญาตให้เข้าพักทันทีโดยไม่ต้องรอโทษปรับและเวลาโทษปรับจะไปเริ่มในด่านถัดไปแทน แชรอนกับเมโลดี้ที่ถูกคัดออกในเลก 7 ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่าพวกเธอรู้สึกช็อกที่กฎเรื่องการ "ใช้ความเร็วเกินกำหนด" ไม่ได้ถูกถูกลงโทษเมื่อทีมเข้าเช็กอินที่จุดหยุดพัก แม้ว่าพวกเธอจะได้ทราบว่ากฎนี้มีการนำไปใช้อย่างไรแล้วก็ตาม[9]

ข้อวิพากษ์วิจารณ์อื่น ๆ[แก้]

แม้ว่าในซีซั่นที่ 1 จะประสบความสำเร็จอย่างมากก็ตาม มีผู้ติดตามชมหลายคนตั้งข้อสังเกตว่าทีมไม่ได้ "ขับรถไปยังสถานที่ต่อไป" ด้วยตัวเองเสมอไป ผู้ติดตามชมยังตั้งข้อสังเกตว่าแต่ละทีมมักจะเดินทางบนเที่ยวบินเดียวกัน ตามที่อลัน วู ให้สัมภาษณ์[10] ซึ่งในซีซั่นที่ 2 ทีมงานรับปากว่าจะแก้ปัญหาในเริ่องนี้

อ้างอิง[แก้]

  1. 'Amazing Race: Asia' is on
  2. "The Amazing Race Asia Application Deadline Extended!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-01. สืบค้นเมื่อ 2008-11-12.
  3. "Our femme fatales - Four gutsy ladies make up the two Malaysian teams". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-19. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.
  4. "Season 1: Episode 4 - Spending Some Time With A Grey Nurse". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-05. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.
  5. "Season 1: Episode 6 - Caught in the Act". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-29. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.
  6. "Season 1: Episode 6 - Riding Through the Mud". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-05. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.
  7. "Season 1: Episode 3 - Cave Dwellers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-05. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.
  8. "Season 1: Episode 5 - Climb Up, Jump Down". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-05. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.
  9. We're so shocked and disappointed[ลิงก์เสีย]
  10. "Conversation with an amazing TV host". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-16. สืบค้นเมื่อ 2008-11-15.

ดูเพิ่ม[แก้]