ดิอะเมซิ่งเรซ 13

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดิอะเมซิ่งเรซ 13
โลโก้รายการ
ออกอากาศ 28 กันยายน พ.ศ. 2551
7 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ระยะเวลาการถ่ายทำ 22 เมษายน พ.ศ. 2551
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
จำนวนตอน 11
ผู้ชนะ นิคกับสตาร์
ทวีปที่ผ่าน 5
ประเทศที่ผ่าน 8
เมืองที่ผ่าน 18
ระยะทางการแข่งขัน 40,000 ไมล์
(64,372 กิโลเมตร)
จำนวนเลก 11
ซีซั่นก่อนหน้าและถัดไป
ก่อนหน้า ดิ อะเมซิ่ง เรซ 12
ถัดไป ดิ อะเมซิ่ง เรซ 14

ดิ อะเมซิ่ง เรซ 13 (อังกฤษ: The Amazing Race 13) เป็นฤดูกาลที่ 13 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส

สำหรับฤดูกาลที่ 13 นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ของผังรายการโทรทัศน์ในสหรัฐอเมริกาประจำปี ค.ศ. 2008-09 โดยเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2551 (ณ เวลา 20 นาฬิกา ตามเวลามาตรฐานตะวันออก และเวลามาตรฐานแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกา ทางช่องซีบีเอส [1][2]) และตอนสุดท้ายออกอากาศในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (ซึ่งในประเทศไทยเริ่มออกอากาศในวันที่ 29 กันยายน ทางช่อง เอเอ็กซ์เอ็น ณ เวลา 21 นาฬิกา และสิ้นสุดการออกอากาศในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551)

การผลิต[แก้]

การถ่ายทำและการออกอากาศ[แก้]

ดิ อะเมซิ่ง เรซ 13 ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 23 วัน คิดเป็นระยะทางประมาณ 40,000 ไมล์ใน 8 ประเทศ 5 ทวีป รวมถึงยังไปเยือนยังประเทศที่ใน ดิ อะเมซิ่ง เรซ ฤดูกาลก่อน ๆ ไม่เคยไป เช่น โบลิเวีย กัมพูชา และ คาซัคสถาน นอกจากนี้ บราซิล นิวซีแลนด์ อินเดีย และ รัสเซีย ก็ยังถูกบรรจุไว้ในรายการประเทศที่จะเดินทางไปเยือนด้วย[3][4][5] การแข่งขันนี้ยังเป็นครั้งที่สองที่มีการเดินทางไปทาง ทิศตะวันตก จากเดิมที่มักจะเดินทางไปทาง ทิศตะวันออก (โดยครั้งแรกที่มีการเดินทางไปทางทิศตะวันตกคือ ซีซั่นที่ 10)

การแข่งขันนี้ยังเป็นครั้งแรกที่มีทีมที่ถูกคัดออกไปแล้วที่ไม่สามารถมาเป็นสักขีพยานให้แก่ผู้ชนะได้ เพราะดัลลัส (คู่แม่ลูก โทนี่กับดัลลัส) ทำหนังสือเดินทางและเงินหายทั้งหมดในเลกที่ 10[6] โดยข้อมูลนี้ได้มีการประกาศออกมาเป็นนัย ในสื่อที่มีการโปรโมตการแข่งขันของซีบีเอสก่อนที่การแข่งขันจะออกอากาศทางโทรทัศน์ว่า มีทีมอยู่หนึ่งทีมที่ทำผิดพลาดแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถตามผู้เข้าแข่งขันที่เหลือมาจนถึงเส้นชัยได้[7] ในการสัมภาษณ์หลังการแข่งขันจบลง ดัลลัสเปิดเผยว่าจริง ๆ แล้วสาเหตุที่ทำให้พวกเขาทำหนังสือเดินทางและเงินหาย เกิดจากแบตเตอรี่ของไมโครโฟนจำเป็นต้องถูกเปลี่ยน ตามที่ดัลลัสเปิดเผย เขากล่าวว่าเขาอยู่ในรถแท็กซี่อีกคันหนึ่งก่อนที่เขาจะนึกออกว่าเงินและหนังสือเดินทางถูกทิ้งไว้ในรถแท็กซี่คันแรกที่เขาอยู่ ในที่สุดหนังสือเดินทางของทั้งโทนี่และดัลลัสได้ถูกส่งคืนให้กับสถานทูต ประจำสหรัฐอเมริกาในประเทศรัสเซีย อย่างไรก็ดีมันก็สายเกินไปที่พวกเขาจะกลับไปเป็นสักขีพยานให้กับผู้ชนะได้[6] อย่างไรก็ดี สตาร์เปิดเผยภายหลังว่าโทนี่กับดัลลัสกลับมาร่วมงานปาร์ตี้กับผู้แข่งขันคนอื่น ๆ ที่ พอร์ตแลนด์, ออริกอน ในคืนหลังจากที่การแข่งขันจบลง [8]

ในการสัมภาษณ์เดียวกันนั้นเองหลังจากการแข่งขันจบลง มีการเปิดเผยว่าสตาร์กับดัลลัสเริ่มเดทกัน จนถึงปัจจุบัน (วันออกอากาศ) เป็นระยะเวลาถึง 6 เดือน[6][8]

อย่างไรก็ตาม ในการออกอากาศได้มีการกล่าวไว้ว่าจะมีคำสั่ง ย้อนกลับ ทั้งหมด 2 ครั้งด้วยกัน แต่ในการออกอากาศตลอดทั้งฤดูกาลมีการออกอากาศคำสั่งย้อนกลับ เพียง 1 ครั้งเท่านั้นในเลกที่ 3 (ซึ่งไม่ได้ใช้) ซึ่งในการสัมภาษณ์หลังจากการแข่งขันอีกครั้งหนึ่งนั้น แอนดรูว์กับแดนกล่าวว่ามีคำสั่งย้อนกลับ (U-Turn) ครั้งที่สอง อยู่ในเลก 9 ซึ่งก็ไม่ได้ถูกใช้โดยทีมใดเลย และก็ไม่ได้มีการออกอากาศทางโทรทัศน์[9]

การคัดเลือกผู้เข้าแข่งขัน[แก้]

ดิ อะเมซิ่ง เรซ 13 ปิดรับใบสมัครเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 การสัมภาษณ์รอบรองสุดท้ายมีขึ้นในเดือน ธันวาคม 2550 และการสัมภาษณ์เพื่อคัดตัวครั้งสุดท้ายมีขึ้นในเดือน กุมภาพันธ์ 2551 ใน ลอสแอนเจลิส, แคลิฟอร์เนีย โดยในการแข่งขันนี้มีทั้งคู่นักศึกษา คู่แต่งงานฮิปปี้ และอดีตผู้เล่นเอ็นเอฟแอล ที่หวังจะคืนดีกับภรรยาที่ห่างเหินมานาน ในระหว่างการแข่งขัน[4]

ในการแข่งขันครั้งนี้ยังมีการเปิดตัวจอห์น คีโอแกน คุณพ่อของฟิล คีโอแกน พิธีกรของดิ อะเมซิ่ง เรซ ในฐานะผู้ต้อนรับประจำหมู่บ้านทีพูคี, นิวซีแลนด์ บ้านเกิดของฟิล [10]

การตลาด[แก้]

ซีบีเอสโปรโมต ดิ อะเมซิ่ง เรซ 13 อย่างหนักด้วยการติดป้ายโฆษณาบนยอดของอาคารที่ ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส ก่อนที่จะมีการออกอากาศ[11] ต่างจากซีซั่นอื่น ๆ ที่ซีบีเอสไม่เคย เปิดเผยถึงสถานที่ที่จะไปล่วงหน้า แต่ใน ดิ อะเมซิ่ง เรซ 13 นี้ ซีบีเอสได้เปิดเผยแผนที่การเดินทางที่จะทำให้ทราบว่า ระหว่างการแข่งขัน มีการเดินทางไปที่ใดบ้าง ก่อนที่การแข่งขันจะออกฉายทางโทรทัศน์ [12]

ผลการแข่งขัน[แก้]

ตารางแสดงชื่อ ความสัมพันธ์ของผู้แข่งขันในขณะถ่ายทำของแต่ละทีมพร้อมทั้งแสดงสถานะในการแข่งขัน ดังนี้ เรียงตามลำดับผู้เข้าเส้นชัยก่อน (ตารางนี้อาจไม่ได้แสดงข้อมูลที่ตรงกับข้อมูลที่ออกอากาศในโทรทัศน์เนื่องจากข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาบางส่วน หรือข้อมูลที่ถูกนำออกไปบางส่วน)

ทีม ความสัมพันธ์ ลำดับที่ (ในแต่ละช่วง) ผู้แก้อุปสรรค
1 2 «3» 4 5 6 7 8 «9» 10 11
นิคกับสตาร์ พี่ชายกับน้องสาว 1 6 6 52 1 1 1 3 1 1 นิค 5, สตาร์ 3
เคนกับทีน่า คู่ที่แยกกันอยู่ 2 1 1 4 6 4 3 2 35 2 เคน 4, ทีน่า 4
แอนดรูว์กับแดน คู่นักศึกษา 7 8 7 6 6 5 5 44 4 2 3 แอนดรูว์ 6, แดน 3
โทนี่กับดัลลัส แม่กับลูกชาย 6 5 2 4 2 3 2 2 1 46 โทนี่ 4, ดัสลัส 5
เทอเรนซ์กับซาร่าห์ คู่เดทคู่ใหม่ 3 3 3 2 33 4 3 5 เทอเรนซ์ 3, ซาร่าห์ 4
เคลลี่กับคริสตี้ หย่าแล้วทั้งคู่ 5 7 8 3 5 2 6 เคลลี่ 3, คริสตี้ 3
อาจากับไท คู่เดททางไกล 8 4 5 7 7 อาจา 2, ไท 2
มาริซ่ากับบรู๊ค คู่สาวทางใต้ 10 9 4 8 มาริซ่า 2, บรู๊ค 1
มาร์คกับบิล คู่เพื่อนสนิท 4 2 91 มาร์ค 1, บิล 1
แอนโทนี่กับสเตฟานี่ คู่เดท 9 10 แอนโทนี่ 1, สเตฟานี่ 0
อนิต้ากับอาเธอร์ คู่แต่งงานนักเลี้ยงผึ้ง 11 อนิต้า 0, อาเธอร์ 0


หมายเหตุ 1: มาร์คกับบิลเดิมมาถึงเป็นลำดับที่ 8 ในเลกนี้ แต่โดนโทษปรับเวลา 30 นาทีเพราะใช้แท็กซี่ เคลลี่กับคริสตี้ (ทีมที่เหลืออยู่) มาถึงระหว่างที่มาร์คกับบิลโดนโทษปรับเวลาอยู่ ทำให้มาร์คและบิลตกลงมาอยู่อันดับสุดท้ายและถูกคัดออกจากการแข่งขัน
หมายเหตุ 2: นิคกับสตาร์โดนโทษปรับเวลา 30 นาทีในเลกที่ 4 จากการใช้ความเร็วเกินกำหนด อย่างไรก็ดีโทษปรับเวลานี้ไม่ได้ส่งผลต่อลำดับเดิมของพวกเขาทั้งตอนที่เข้าจุดพักและออกจากจุดพักเพื่อไปต่อ โดยโทษปรับเวลานี้ไม่มีการออกอากาศทางโทรทัศน์แต่อย่างใด
หมายเหตุ 3: เทอเรนซ์กับซาร่าห์มาถึงเป็นลำดับที่ 3 แต่พวกเขาโดนใบสั่งข้อหาใช้ความเร็วเกินกำหนดที่นิวซีแลนด์ พวกเขาจะต้องรับโทษปรับเวลา 30 นาที แต่โทษปรับเวลานี้จะไปมีผล ณ เวลาที่ออกจากจุดพักในเลกที่ 5 เพื่อไปต่อในเลกที่ 6 ดังนั้นเมื่อคำนวณโทษปรับเวลาแล้ว พวกเขาจะออกจากจุดพักต่อไปเป็นลำดับที่ 5 แต่พวกเขาไม่ต้องรับโทษปรับเวลาตอนที่เข้า ณ จุดหยุดพัก ซึ่งทำให้ลำดับของพวกเขา ณ ช่วงที่เข้าจุดพักมายังอยู่ในลำดับ 3 เหมือนเดิม
หมายเหตุ 4: แอนดรูว์กับแดนเดิมมาถึงเป็นลำดับที่ 4 แต่พวกเขานั่งแท็กซี่ไปที่จุดหยุดพัก แทนที่จะเดินไปตามคำสั่งในข้อมูลเส้นทาง พวกเขาจึงต้องกลับไปที่จุดสิ้นสุดของงานทางแยก และเดินมาจากที่นั่น อย่างไรก็ดีความผิดพลาดนี้ไม่ส่งผลต่อลำดับของพวกเขา
หมายเหตุ 5: เคนกับทีน่าเดิมมาถึงเป็นลำดับที่ 3 ในเลกนี้ แต่พวกเขาอ่านคำใบ้และบังเอิญเดินมาที่จุดหยุดพักเลย โดยไม่ได้หยิบคำใบ้ที่อยู่ที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน VDNKh เมื่อเสร็จงานทางแยกมา พวกเขาจึงต้องกลับไปหยิบคำใบ้มาก่อนที่จะเข้าจุดหยุดพัก อย่างไรก็ดี ความผิดพลาดนี้ไม่ได้ส่งผลต่อลำดับของพวกเขา
หมายเหตุ 6: โทนี่กับดัลลัส ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้เดินทางมาที่สวนสาธารณะโซโกลนิกี้ (จุดเริ่มต้นของทางแยก) โดยแท็กซี่ (พวกเขาใช้รถไฟฟ้าใต้ดิน) จึงต้องกลับไปที่แฟลตของบูลกาคอฟ ที่เป็นจุดสิ้นสุดของงานอุปสรรค หลังจากทุกทีมเข้าจุดพักไปหมดแล้ว ฟิล จึงมาหาพวกเขาระหว่างที่พวกเขาทำงานทางแยกอยู่ และประกาศว่าพวกเขาถูกคัดออกจากการแข่งขัน

  • สีแดง หมายถึง ทีมนั้นๆ ถูกคัดออก
  • สีเขียว ƒ หมายถึง ทีมนั้นๆ ทำ Fast Forward สำเร็จ ; เลขของเลกที่มีสีเขียวและ ƒ เป็นเลกที่มี Fast Forward แต่ไม่มีทีมไหนใช้
  • สีน้ำเงินตัวหนา หมายถึง ทีมนั้นๆ มาถึงจุดพักเป็นทีมสุดท้ายในเลกที่ไม่มีการคัดออก แต่จะต้องทำภารกิจเพิ่มในด่านถัดไปเรียกว่า "สปีด บัมพ์"
  • เครื่องหมาย » สีน้ำตาล หมายถึง ทีมนั้นๆ ใช้คำสั่งย้อนกลับให้กับทีมอื่น (U-Turn)  ; « หมายถึงทีมนั้นๆ ถูกสั่งให้ย้อนกลับ ; «» หมายถึงเลกที่มีกฎการย้อนกลับแต่ไม่มีทีมไหนใช้

เครื่องหมายต่างๆในการแข่งขัน[แก้]

เครื่องหมาย คำอธิบาย
สัญลักษณ์ธงที่ใช้ในรายการ
สัญลักษณ์ธงที่ใช้ในรายการ
Route Marker เป็นสัญลักษณ์ธงสีแดงและสีเหลือง เป็นเครื่องหมายประจำสถานที่ที่ผู้เข้าแข่งขันสามารถค้นหาคำสั่งต่อๆ ไป
บัตรคำสั่ง Route Infomation
บัตรคำสั่ง Route Infomation
Route Infomation (ข้อมูลเส้นทาง) เป็นสัญลักษณ์ตัวบอกเส้นทางที่ไปยังจุดหมายถัดไป ทีมจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ให้ไว้อย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นจะถูกทำโทษปรับเวลาขั้นต่ำในการลงโทษ 30 นาทีบวกกับเวลาที่ได้เปรียบจากการเดินทางที่ผิดไปจากคำสั่ง
Detour (ทางแยก) เป็นสัญลักษณ์ตัวเลือกระหว่างภารกิจที่แตกต่างกันสองประการที่ผู้เข้าแข่งขันต้องเลือกทำให้สำเร็จ ภารกิจทั้ง 2 อย่างนั้นมีข้อดีและข้อเสียในตัวมันเองฉะนั้นควรเลือกที่คิดว่าทั้งทีมถนัดเพื่อทำงานให้เสร็จโดยเร็ว จึงจะได้รับคำสั่งต่อๆ ไป ถ้าหากโดนคำสั่งย้อนกลับ ทีมจะต้องกลับมาทำ Detour อีกอันที่ไม่ได้เลือกทำแต่แรก และกลายเป็นว่าจะต้องทำทั้งสองอันนั่นเอง (ถ้าทำไม่สำเร็จจะถูกปรับ 24 ชั่วโมงแต่ในฤดูกาลที่ 17 เป็นต้นมาจะถูกปรับแค่ 6 ชั่วโมงเท่านั้น)
Roadblock (อุปสรรค) เป็นสัญลักษณ์ภารกิจที่อนุญาตให้สมาชิกเพียงคนเดียวในทีมสามารถทำได้เท่านั้นและเมื่อเลือกแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนคนทำได้ ผู้เข้าแข่งขันที่เลือกทำนั้นต้องทำงานอุปสรรคนั้นให้สำเร็จก่อน จึงจะได้รับคำสั่งต่อๆ ไป (หลังจากฤดูกาลที่ 5 ได้กำหนดตลอดระยะเวลาการแข่งขันให้ทำได้ไม่เกินคนละ 6-7 ครั้ง โดยมากแล้วจะแบ่งในสัดส่วนพอๆ กันและถ้าทำไม่สำเร็จจะถูกปรับ 4 ชั่วโมง)
Face-Off (ภารกิจตัวต่อตัว) เป็นสัญลักษณ์ที่ให้ทีมที่มาขึ้นจุดนี้ รออีกทีมหนึ่งมา และสองทีมจะต้องแข่งภารกิจ ตัวต่อตัว ทีมที่ชนะจะได้คำใบ้ถัดไป ส่วนทีมที่แพ้ต้องรอจนกว่าจะมีอีกทีมถัดมา และแข่งใหม่อีกครั้ง โดยทีมสุดท้ายที่แพ้จะต้องถูกโทษปรับเวลา การแข่งขันภารกิจแบบตัวต่อตัวนี้ จะทำให้ลำดับการแข่งขันเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก
Fast Forward (ทางด่วน) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมใดก็ตามที่เสร็จสิ้นภารกิจ 1 อย่างเป็นพิเศษ ตามคำสั่งของ Fast Forward เรียบร้อยแล้ว จะสามารถเดินทางต่อไปยัง Pit Stop หรือจุดหมายปลายทางสุดท้ายของด่านนั้นๆ ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านด่านใดๆ อีกในระหว่างทาง สิทธิ์ในการใช้สัญลักษณ์นี้ จะให้เฉพาะกับทีมแรกที่สามารถหาและเสร็จสิ้นภารกิจ Fast Forward เท่านั้นและตลอดการแข่งขันทีมๆ นั้นจะใช้สิทธิ์นี้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ยกเว้นในกฏ Intersection จะสามารถทำ Fast Forward ร่วมกันกับอีกทีมที่จับคู่ได้ถึงแม้ว่าจะเป็น Fast Forward ครั้งที่ 2 ก็ตาม (การใช้ Fast Forward ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นได้น้อยมาก) อย่างไรก็ตาม การได้บัตรทางด่วนนี้ ยังคงไม่รับประกันว่าจะไม่ตกรอบ ถ้ายังคงมาถึงเป็นทีมสุดท้าย (มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากๆ)
บัตรผ่านเร่งด่วน
บัตรผ่านเร่งด่วน
Express Pass (บัตรผ่านเร่งด่วน) เป็นสัญลักษณ์ให้กับทีมที่มีบัตรผ่านนี้สามารถข้ามงานใดๆ ก็ได้ที่ไม่ต้องการทำ 1 งาน ไม่ว่าจะเป็นงานรูปแบบใดก็ตามและผ่านไปเลยโดยไม่ต้องมีอะไรเป็นการแลกเปลี่ยน ต่างจาก Fast Forward ที่ข้ามทั้งเลกและต้องทำภารกิจตามที่กำหนด 1 อย่างก่อน (บัตรนี้จะถูกให้กับทีมที่เข้ามาเป็นที่ 1 ในเลกแรกของการแข่งขันซึ่งใช้ได้ถึงเลก 8 จาก 12)
บัตรกอบกู้
บัตรกอบกู้
Salvage Pass (บัตรกอบกู้) เป็นสัญลักษณ์ให้กับทีมที่มีบัตรผ่านนี้สามารถช่วยทีมที่มาถึงเป็นลำดับสุดท้ายไม่ให้ถูกคัดออกได้ หรือจะใช้เพื่อเป็นการช่วยตัวเองไม่ให้ถูกคัดออกด้วยก็ได้ ในกรณีที่ต้องเผชิญหน้ากับการถูกคัดออก (ในเวอร์ชั่นอเมริการจะใช้คำว่า The Save)
ป้ายสั่ง Yield
ป้ายสั่ง Yield
Yield (ถ่วงเวลา) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้มีโอกาสสั่งอีกทีมหนึ่งที่มาที่หลังพวกเขาให้หยุดแข่งได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้ สามารถใช้ในการออกคำสั่งกับอีกทีมหนึ่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดการแข่งขัน (ไม่นับรวมกับคำสั่ง ย้อนกลับ)
ป้ายสั่ง U-Turn
ป้ายสั่ง U-Turn
U-Turn (ย้อนกลัับ) เป็นสัญลักษณ์ที่อนุญาตให้ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้มีโอกาสสั่งอีกทีมหนึ่งที่มาที่หลังพวกเขาให้กลับไปทำงาน Detour อีกงานที่ไม่ได้เลือกทำ ทีมที่เลือกใช้สัญลักษณ์นี้ สามารถใช้ในการออกคำสั่งกับอีกทีมหนึ่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นตลอดการแข่งขัน (ไม่นับรวมกับคำสั่ง ถ่วงเวลา)
Intersection (จุดร่วมมือ) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมต้องจับคู่กับอีกทีมทำภารกิจทุกๆ อย่างร่วมกัน ถ้ามาถึงจุดที่มีคำสั่งแต่ยังไม่มีทีมร่วมงานก็จำเป็นต้องรอและเมื่อมีคำสั่งยกเลิก Intersection จึงจะทำการแข่งขันแบบปกติได้
ป้ายสั่ง Speed Bump
ป้ายสั่ง Speed Bump
Speed Bump (งานเพิ่มเติม) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องทำงานเพิ่มอีก 1 งานในเลกถัดไป เนื่องจากเป็นการลงโทษที่มาถึงเป็นทีมสุดท้ายแต่ไม่ถูกคัดออกในเลกที่แล้ว โดยจะเป็นงานพิเศษ ที่ไม่เหมื่อนกับงานทั่วไปที่แข่งในเลกนั้นๆ ทำให้ทีมที่ได้บทลงโทษนี้ ทำงานเพิ่มมากกว่าปกติอีก 1 งานในเลกนั้น คล้ายกับ Handicap ต่างกันตรงที่เป็นงานใหม่เพิ่มขึ้นมาต่างหาก
ป้ายสั่ง Handicap
ป้ายสั่ง Handicap
Handicap (เพิ่มจำนวนชิ้นงาน) เป็นสัญลักษณ์ที่สั่งให้ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องเพิ่มจำนวนชิ้นงานมากกว่าปกติ เนื่องจากเป็นการลงโทษที่มาถึงเป็นทีมสุดท้ายแต่ไม่ถูกคัดออกในเลกที่แล้ว เช่น ในงานธรรมดาทั่วไปปกติให้ทำ 50 ชิ้นแต่ทีมที่ได้สัญลักษณ์นี้ต้องทำ 75 ชิ้น เป็นต้น คล้ายกับ Speed Bump ต่างกันตรงที่เป็นงานปกติทั่วไปในเลกนั้นๆ เพียงแต่เพิ่มจำนวน
สัญลักษณ์ปลายทางในแต่ละด่าน
สัญลักษณ์ปลายทางในแต่ละด่าน
Pit Stop (จุดหยุดพัก) เป็นสัญลักษณ์จุดหมายปลายทางสุดท้ายของการแข่งขันในแต่ละด่านโดยทีมที่มาถึงเป็นทีมสุดท้าย อาจจะถูกคัดออก หรือบางครั้งจะมีการเตือนในคำใบ้สุดท้ายก่อนถึงจุดพักเลยว่า ทีมที่มาถึงเป็นทีมสุดท้าย จะถูกคัดออก


ชื่อตอนในการแข่งขัน[แก้]

ชื่อตอนในการแข่งขันมักมาจากคำพูดสำคัญ ๆ ของผู้เข้าแข่งขันในเลกนั้น ๆ[13]

  1. Bees Are Much Calmer Than All This! – อนิต้า
  2. Do You Like American Candy? – มาริซ่า
  3. Did You Push My Sports Bra Off the Ledge? – คริสตี้
  4. I Wonder If They Like Blondes in New Zealand? – มาริซ่า
  5. Do It Like a Madman – แดน
  6. Please Hold While I Singe My Skull – คริสตี้
  7. My Nose Is on Fire – ซาร่าห์
  8. I’m Like an Angry Cow – เทอเรนซ์
  9. That Is Studly – แอนดรูว์
  10. You're Gonna Get Me Killed - ทีน่า
  11. You Look Like Peter Pan - สตาร์

รางวัล[แก้]

ในบางเลก ทางรายการจะมีรางวัลพิเศษให้กับทีมที่มาถึงจุดพักเป็นทีมแรก สำหรับรางวัลที่เป็นแพ็กเกจทัวร์ทั้งหมดสนับสนุนโดยแทรเวลโลซิตี้

สถานี "คนคัดออก"[แก้]

5 ทีมแรกที่ถูกคัดออกถูกส่งมาที่ บ้านพักที่ อะคาปัลโก, เม็กซิโก เพื่อรอเป็นสักขีพยานให้แก่ผู้ชนะ ทีมที่ถูกคัดออกภายหลังโทรศัพท์เข้ามาที่บ้านพักเพื่อแจ้งข่าวการคัดออก แต่ยังคงเดินทางต่อไปเพื่อจะแจ้งข่าวล่วงหน้าเกี่ยวกับทีมที่ถูกคัดออกในการแข่งขันที่กำลังดำเนินอยู่ ทีมที่ถูกคัดออกภายหลังได้กลับมาพบกับทีมที่ถูกคัดออกก่อน ณ จุดหมายสุดท้าย (พอร์ตแลนด์) เพื่อเป็นสักขีพยานให้แก่ผู้ชนะเมื่อพวกเขาเข้าเส้นชัย อย่างไรก็ดี ทีมทั้งหมดไม่รวมทีมของโทนี่กับดัลลัส ที่ยังคงอยู่ในประเทศรัสเซียหลังจากพวกเขาถูกคัดออก เพราะดัลลัสทำหนังสือเดินทางหาย

ซีบีเอสโพสต์วิดีโอขนาดสั้นลงบนเว็บไซต์หลังจากแต่ละตอนออกอากาศ ตามเวลามาตรฐานแปซิฟิก เพื่อแสดงให้เห็นว่าแต่ละทีมทำอะไรบ้าง ระหว่างอยู่ที่บ้านพัก

  • หลังจากจบ เลก 1 อนิต้ากับอาเธอร์ เป็นทีมแรกที่ถูกคัดออกและถูกส่งมาที่บ้านพัก พวกเขาแสดงออกถึงความผิดหวังที่ถูกคัดออกเร็วเกินไป แต่ก็รู้สึกเห็นคุณค่าในสิ่งรอบ ๆ ตัวพวกเขาและรู้สึกดีที่พวกเขาจะได้นอนในบ้านพักได้อย่างหรูหรา
  • หลังจากจบ เลก 2 แอนโทนี่กับสเตฟฟานี่ เป็นทีมที่สองที่ถูกคัดออก และถูกส่งมาที่บ้านพัก อนิต้ากับอาเธอร์รู้สึกประหลาดใจ แต่ก็ตื่นเต้นที่พวกเขากับแอนโทนี่และสเตฟฟานี่ ที่ได้รับการต้อนรับจากอนิต้ากับอาเธอร์ และรู้สึกเศร้าน้อยลงหลังจากพวกเขาถูกคัดออก หลังจากรับประทานอาหาร พวกเขาทำนายว่าเทอเรนซ์กับซาร่าห์จะชนะการแข่งขัน หลังจากนั้นทั้งสองทีมได้เดินทางออกจากบ้านพักไปชมวิวและเสียงเพลงของอะคาปัลโก
  • หลังจากจบ เลก 3 มาร์คกับบิล เป็นทีมที่สามที่ถูกคัดออกและถูกส่งมาที่บ้านพัก พวกเขารู้สึกดีใจที่ทั้งสองทีมก่อนหน้าช็อกและเสียใจที่ได้ยินว่าพวกเขาถูกคัดออก หลังจากพวกเขาเล่าเรื่องเกี่ยวกับการที่พวกเขาถูกคัดออก พวกเขาเห็นหน้ากากของนักมวยปล้ำเม็กซิกันในห้องที่อยู่ในบ้านพัก หลังจากนั้นทั้งสามทีมได้ออกไปยังนิทรรศการ Luchadore ในตอนกลางคืน ที่ซึ่งแอนโทนี่กับสเตฟฟานี่ไม่ค่อยจะสนใจนิทรรศการสักเท่าไรนัก และแยกออกมาเดินเล่นตามถนนแทน
  • หลังจากจบ เลก 4 มาริซ่ากับบรู๊ค กลายเป็นทีมที่สี่ที่ถูกคัดออกและถูกส่งมาที่บ้านพัก พวกเธอตื่นเต้นที่ได้เห็นความฟุ่มเฟือยของบ้านพัก พวกเธอได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในนิวซีแลนด์ ก่อนที่ทั้งสี่ทีมจะเข้าเมืองและแอนโทนี่ สเตฟฟานี่ และบิลเล่นบันจีจัมพ์ ในขณะที่คนอื่น ๆ ยืนดู
  • หลังจากจบ เลก 5 อาจากับไท กลายเป็นทีมที่ห้าที่ถูกคัดออก และถูกส่งมาที่บ้านพัก อย่างไรก็ดีก่อนที่พวกเขาจะมาถึง สี่ทีมแรกไปตลาด และกลับมาเตรียมอาหารกลางวันแก่ทีมที่จะถูกคัดออกเป็นทีมที่ห้า ทีมรู้สึกตกใจที่รู้ว่าเป็นอาจากับไท พวกเขาเล่าให้ทืมอื่น ๆ ฟังว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างการแข่งขัน หลังจากทานอาหารเสร็จ แอนโทนี่ไม่ได้เสนอที่จะล้างจานให้ ทำให้สเตฟฟานี่รู้สึกลำบากใจ ในขณะเดียวกันไทรู้สึกอึดอัดใจที่ไม่ได้อยู่ในการแข่งขันให้นานกว่านี้ และทำนายแอนดรูว์กับแดนจะเป็นทีมต่อไปที่ถูกคัดออก
  • เลก 6 เป็นเลกที่ ไม่มีการคัดออก ห้าทีมที่ถูกคัดออกได้ไปที่ชายหาด ที่ซึ่งพวกเขาพบกับบุคคลที่สุดแสนอัศจรรย์ ที่ทำท่าทางของเขาอยู่บนมหาสมุทร ทีมมีปฏิกิริยาที่ผสมกันไปต่อกิจกรรมนี้ อนิต้ารู้สึกตื่นเต้นและเต็มไปด้วยความนับถือบุคคลผู้นั้น ในขณะที่ไทมีปัญหาในการทำความเข้าใจวิถีชีวิตที่แตกต่างกันของบุคคลในเม็กซิโก
  • หลังจากจบ เลก 7 เคลลี่กับคริสตี้ เป็นทีมที่หกที่ถูกคัดออก แต่ไม่ได้ถูกส่งมาที่บ้านพัก พวกเธอโทรศัพท์เข้าระหว่างช่วงเช้าตรู่ที่อะคาปัลโก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ห้าทีมแรกรอโทรศัพท์จากทีมที่ถูกคัดออก พวกเธอรำลึกถึงช่วงเวลาอันน่าหวาดกลัวในงานอุปสรรค "เทศกาลโฮลี่" และแจ้งข่าวความคีบหน้าในการแข่งขันแก่พวกเขา
  • หลังจากจบ เลก 8 เทอเรนซ์กับซาร่าห์ เป็นทีมที่เจ็ดที่ถูกคัดออก แต่ไม่ได้ถูกส่งมาที่บ้านพัก ก่อนที่พวกเขาจะโทรศัพท์มา ห้าทีมแรกได้ไปที่ "La Quebrada" เพื่อดูนักไต่เขากระโดดลงไปในทะเล หลังจากนั้นพวกเขาออกความเห็นว่าใครน่าจะถูกคัดออกเป็นคนต่อไป โดยทีมส่วนมากคิดว่าน่าจะเป็นแอนดรูว์กับแดน แต่พวกเขาก็ช็อกกันทั้งหมดหลังจากเทอเรนซ์กับซาร่าห์โทรศัพท์มา เพราะว่ามีอยู่หลายทีมที่ถูกคัดออกไปแล้วให้กำลังใจพวกเขา
  • เลก 9 เป็นเลกที่ ไม่มีการคัดออก ขณะที่อาจากับไททะเลาะกันเล็กน้อย มาริซ่ากับบรูคต้องดิ้นรนทำขนมปังปิ้งให้ได้ แอนโทนี่เริ่มบ่นถึงเวลาที่ผ่านไปอย่างเชื่องช้าในบ้านพัก ทีมส่วนมากเริ่มเผยถึงชีวิตที่ตนต้องจากบ้านมาเป็นเวลานาน และอยากที่จะกลับบ้านไปใช้ชีวิตอย่างปกติขึ้นทุกที ๆ พวกเขาส่วนมากยังทำนายและอยากให้โทนี่กับดัลลัส และเคนกับทีน่าชนะการแข่งขัน
  • หลังจากจบ เลก 10 โทนี่กับดัลลัส เป็นทีมที่แปดและทีมสุดท้ายที่ถูกคัดออก ห้าทีมแรกจัดกระเป๋าเพื่อเตรียมไปที่เส้นชัย ระหว่างที่พวกเขาจัดกระเป๋าและเดินทางออกจากบ้านพัก แต่ละทีมรำลึกถึงประสบการณ์ต่อแต่ละทีมที่เกิดขึ้นในบ้านพัก และแสดงออกถึงความตื่นเต้นที่จะได้กลับบ้านในอีกไม่ช้านี้
  • เลก 11 เป็นเลกสุดท้ายของ ดิ อะเมซิ่ง เรซ 13 ทั้งห้าทีมที่ตกรอบไปก่อนมาถึงพอร์ตแลนด์, ออริกอน และเข้าพักในโรงแรมที่อยู่ใกล้กับเส้นชัย พวกเขาได้พบเทอเรนซ์กับซาร่าห์เป็นทีมแรก ทีมที่ถูกคัดออกกำลังรอโทรศัพท์เพื่อที่จะทราบว่าใครถูกคัดออกในเลกที่ผ่านมา โทนี่กับดัลลัสโทรศัพท์เข้ามาที่โรงแรมหลังจากนั้นและเปิดเผลว่าพวกเขาถูกคัดออก และจะไม่สามารถไปที่เส้นชัยได้เพราะพวกเขาทำหนังสือเดินทางหาย ทีมที่ถูกคัดออกเดินทางต่อไปยังเส้นชัย ที่นั่นเองพวกเขาได้เจอกับเคลลี่กับคริสตี้ และทีมที่ถูกคัดออกก็ออกความเห็นกันอีกครั้งว่าอยากให้ใครเป็นผู้ชนะ มาร์คกับบิลหวังว่าเคนกับทีน่าจะเป็นผู้ชนะแต่พวกเขาก็ได้ทราบว่านิคกับสตาร์ชนะการแข่งขัน นิคกับสตาร์ไม่เชื่อว่าพวกเขาชนะการแข่งขัน และได้กล่าวว่าพวกเขาดีอกดีใจมาก ในขณะที่เคนกับทีน่ากล่าวว่าพวกเขาผิดหวังแต่พวกเขาให้คำมั่นว่าจะมีการจัดงานแต่งงานขึ้น แอนดรูว์กับแดนกล่าวว่าพวกเขารู้สึกภูมิใจมากที่ทำได้ถึงที่ 3 ในการแข่งขันครั้งนี้

สถานที่ในการแข่งขัน[แก้]

เดินทางโดยเครื่องบิน; เดินทางโดยรถไฟ; เดินทางโดยเรือ; เดินทางโดยรถประจำทาง; ไม่มี = เดินทางโดยรถยนต์หรือเดิน
ทางแยก อุปสรรค ทางด่วน ย้อนกลับ งานเพิ่มเติม จุดหยุดพัก
แผนที่แสดงเส้นทาง
ทางแยกทางหนึ่งในเลก 1 คือการไต่ลงมาจาก Elevador Lacerda (ซ้าย) ด้วยตาข่ายที่ขึงอยู่ ก่อนที่ทีมจะได้รับคำใบ้ให้ไปที่จุดหยุดพัก Forte de São Marcelo (ขวา) ด้วยเรือ

เลก 1 (สหรัฐอเมริกา → บราซิล)[แก้]

ทางแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง ขึ้นแบบแข็ง ๆ (Hard Way Up) และ ลงแบบนิ่ม ๆ (Soft Way Down) โดยทีมที่เลือกขึ้นแบบแข็ง ๆ จะต้องเลียนแบบพิธีทางศาสนาโดยการไต่ขึ้น Escadaria do Passo โดยใช้แขนและหัวเข่าเท่านั้น เมื่อขึ้นไปถึงจุดสูงสุด พวกเขาจะถูกถามคำถามปริศนา (คุณไต่ขึ้นมากี่ขั้น ?) โดยทีมจะได้รับคำใบ้ต่อไปเมื่อตอบคำถามถูกต้อง หากตอบไม่ถูก ทีมจะต้องไต่บันไดขึ้นมาใหม่ (คำตอบที่ถูกต้องคือ 53 ขั้น) ส่วนลงแบบนิ่ม ๆ ทีมจะต้องขึ้นไปถึงยอดของ Elevador Lacerda (ลิฟต์กลางแจ้ง) ที่สูง 240 ฟุตและไต่ลงมาที่พื้นถนน เพื่อรับคำใบ้ต่อไป

ภารกิจเสริม
  • ที่ร้านแซนด์วิช o Rei do Pernil ทีมจะต้องเข็นรถเข็นท้องถิ่นไปส่งที่ Praça da Sé เพื่อรับคำใบ้ต่อไป

เลก 2 (บราซิล)[แก้]

ทางแยกในเลกนี้ ทีมจะต้องเลือกระหว่าง ชายหาด (Beach It) และ ท่าเรือ (Docket) โดยทีมที่เลือกชายหาดจะต้องเข็นเรือใบท้องถิ่นของบราซิล ที่รู้จักกันในชื่อ Jangada (อังกฤษ) ลงไปยังปากชายหาดโดยใช้ท่อนซุงกลิ้งเรือไป โดยมีคนท้องถิ่นช่วย เมื่อเสร็จแล้วจึงจะได้รับคำใบ้ต่อไป สำหรับทีมที่เลือกท่าเรือ ทีมจะได้รับชุดตัวเลขมา 1 ชุด หลังจากนั้นทีมจะต้องไปยังท่าเรือ Porto do Pecém (โปรตุเกส) เมื่อไปถึง ทีมต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาชุดตัวเลขนั้น เพื่อให้พบตัวอักษร 4 ตัวที่อยู่ข้างหน้าที่จะเป็นตัวบอกว่าตู้สินค้านั้นอยู่ที่จุดใดของท่าเรือ หลังจากทีมค้าหาเสร็จ ทีมจะต้องหาตู้สินค้านั้นเพื่อหยิบคำใบ้ต่อไป ในอุปสรรคของเลกนี้ สมาชิกในทีมหนึ่งคนต้องหาชื่อของจุดหมายต่อไป (Cidade da Criança) บนกำแพงของสวนสาธารณะที่เต็มไปด้วยโฆษณา

เลก 3 (บราซิล → โบลิเวีย)[แก้]

ระหว่างที่มาถึงเมือง ลาปาซ ทีมจะต้องค้างแรมที่ลานหน้าอนุสาวรีย์ซีมอง โบลีวาร์

ทางแยกในเลกนี้ ทีมจะต้องเลือกระหว่าง ดนตรีเดินแถว (Musical March) และ ถนนขรุขระ (Bumpy Ride) โดยทีมที่เลือก Musical March ทีมจะต้องหาวงมาร์ชท้องถิ่นและพาวงไปรอบเมือง หาสมาชิกที่กระจายอยู่ในเมือง และพาสมาชิกไปหาหัวหน้าวง ก่อนที่ทีมจะได้รับคำใบ้ต่อไป สำหรับทีมที่เลือก Bumpy Ride ทีมจะต้องขี่จักรยานไม้ลงมาบนถนนที่เต็มไปด้วยหินกรวด ก่อนที่ทีมจะได้รับคำใบ้ต่อไป อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกในทีมหนึ่งคนจะเรียนท่ามวยปล้ำ 6 ท่าจากนักมวยปล้ำอาชีพหญิง (Fighting Cholitas (Cholitas Luchadoras)) และขึ้นไปทำท่าเหล่านั้นบนเวที หลังจากสมาชิกคนนั้นทำครบ 6 ท่าที่กำหนดให้แล้ว ทีมจึงจะได้รับคำใบ้ต่อไป หากสมาชิกคนนั้นทำพลาดแม้แต่ท่าเดียว สมาชิกคนนั้นจะต้องกลับไปฝึกกับนักมวยปล้ำใหม่ก่อนที่จะขึ้นมาอีกครั้ง

ภารกิจเสริม
  • ที่อนุสาวรีย์ซีมอง โบลีวาร์ ทีมต้องหาคำใบ้ต่อไปจากหนังสือพิมพ์ที่มาส่งที่ลานหน้ารูปปั้น
  • ที่ร้านขายหมวกนาวาเอซ ทีมต้องซื้อหมวกท้องถิ่นที่เรียกว่า Bombin ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป ทีมได้รับคำแนะนำให้เก็บหมวกเหล่านั้นไว้สำหรับให้นักมวยปล้ำอาชีพ เพื่อเป็นของขวัญแก่พวกเธอ หลังจากที่ทำงานอุปสรรคในเลกนี้สำเร็จ

เลก 4 (โบลิเวีย → นิวซีแลนด์)[แก้]

ยอดเขาอีเด็น เป็นสถานที่สำหรับทำงานอุปสรรค โดยสมาชิกของทีมหนึ่งคนจะต้องจับคู่รอยสักที่อยู่บนคำใบ้กับรอยสักบนหน้ามาวรีให้ถูกต้อง

ทางด่วนในเลกนี้ ทีมจะต้องปีนขึ้นไปบนยอดของสกายทาวเวอร์เพื่อนำโนมของทราเวลลอซิตี้ที่มีคำใบ้เพื่อไปสู่จุดหยุดพักต่อไปลงมา อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกหนึ่งคนในแต่ละทีมจะต้องเลือกภาพเขียนรอยสัก ที่กำหนดให้ แล้วนำไปจับคู่กับรอยสักที่อยู่บนหน้าของนักรบชาวมาวรีให้ถูกต้อง ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป สำหรับทางแยกในเลกนี้ทีมจะต้องเลือกระหว่าง ขึ้นอยู่กับเวลา (Matter Of Time) และ ขึ้นอยู่กับฝีมือ (Matter Of Skill) โดยทีมที่เลือก Matter Of Time จะต้องใช้เท้าบดกีวีหนึ่งถังเพื่อทำน้ำผลไม้ 12 ควอร์ต และแต่ละคนจะต้องดื่มน้ำกีวีนั้นคนละ 1 แก้วเมื่อทำเสร็จ ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป สำหรับทีมที่เลือก Matter Of Skill ทีมจะต้องประกอบโบลว์คาร์ท 2 คัน และสมาชิกในทีมจะต้องขี่โบลว์คาร์ทรอบสนามเป็นจำนวน 3 รอบก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป

ภารกิจเสริม
  • ที่อ่าวฮาเบอร์ ทีมจะต้องแกะปมเชือกขนาดใหญ่ให้ได้ ซึ่งคำใบ้ต่อไปจะซ่อนอยู่ในปมเชือกนั้น
  • ที่โรงแรมซิติ้ไลฟ์ ทีมจะต้องใช้กล้องส่องทางไกล เพื่อค้นหาตัวโนม 8 ตัวของแทรเวลโลซิตี้ที่ซ่อนอยู่ในเมือง แล้วไปนำโนมตัวใดตัวหนึ่งที่พบมา โดยคำใบ้ต่อไปจะอยู่ที่ตัวโนมนั้น และทีมจะต้องนำมันไปที่จุดหยุดพักด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติม
  • สำหรับงานทางด่วน (Fast Forward) ในเลกนี้ คล้ายกับงานอุปสรรค (Roadblock) ใน เลก 5 ของ ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 1 โดยเป้าหมายของงานนั้นเหมือนกัน คือ ขึ้นไปถึงยอดของสกายทาวเวอร์ แตกต่างกันที่ในดิ อะเมซิ่ง เรซ 13 งานนี้เป็นงาน Fast Forward และทั้งสองคนจะต้องปีนขึ้นไป แต่ในดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 1 งานนี้เป็นงาน Roadblock ซึ่งจะมีผู้ปีนขึ้นไปเพียงคนเดียว

เลก 5 (นิวซีแลนด์ → กัมพูชา)[แก้]

นครวัด เป็นสถานที่สำหรับทำงานอุปสรรคในเลก 5 ที่ทีมจะต้องหาห้องเสียงสะท้อนที่กำหนดให้

ทางแยกในเลกนี้ทีมจะต้องเลือกระหว่าง ชีวิตชาวบ้าน (Village Life) และ ทำงานอย่างชาวบ้าน (Village Work) โดยทีมที่เลือก Village Work ทีมจะต้องไปที่ทะเลสาบเขมรและนำปลา 2 ตะกร้าในกับดักที่กำหนดให้ มาให้คนบนฝั่งอ่าวเสียมราฐที่ทะเลสาบเขมร สำหรับทีมที่เลือก Village Life ทีมจะต้องไปนำฟันปลอมหนึ่งชิ้นจากทันตแพทย์ ตุ๊กตา จากช่างตัดเสื้อ และลูกบาสเกตบอลบนสนามที่ลอยอยู่บนทะเลสาบเขมร สมาชิกแต่ละคนในทีมยังจะต้องเล่นบาสเกตบอลให้ลงตะกร้า 1 ครั้งก่อนที่จะนำสิ่งที่พวกเขาไปเก็บมาไปคืนคนบนฝั่ง อุปสรรคในเลกนี้ทีมจะต้องไปที่นครวัด และสมาชิกหนึ่งคนของแต่ละทีมจะต้องหา "ปราสาทกร๊อกธรอง" (หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "ห้องเสียงสะท้อน") ที่เมื่อสมาชิกคนนั้นทุบหน้าอกของตน เขาจะได้ยินเสียงสะท้อนกลับมา ซึ่งในห้องนั้นจะมีรูปสลักหินอยู่ โดยคำใบ้ต่อไปจะอยู่ข้างหลังรูปสลักหินนั้น และทีมจะต้องนำรูปสลักหินนั้นไปที่จุดพักด้วย

ภารกิจเสริม
  • เมื่อทีมมาถึงเสียมราฐ ทีมจะต้องเติมน้ำมันดีเซล 25 ลิตร ใส่รถบรรทุก แล้วขับรถบรรทุกไปที่ทะเลสาบเขมร ทะเลสาบน้ำจืด ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อไปถึงทีมจะต้องนั่งเรือ ที่กำหนดให้ไปยังภัตตาคารโค แอนเด็ธเพื่อรับคำใบ้ต่อไป

เลก 6 (กัมพูชา → อินเดีย)[แก้]

อุปสรรคในเลกนี้ ทีมจะต้องพ่นสีรถตุ๊กตุ๊ก (ในภาพ) ให้เป็นสีเขียว

อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกหนึ่งคนของแต่ละทีมจะต้องพ่นสีรถตุ๊กตุ๊ก สีดำให้เป็นสีเขียว เพื่อแสดงว่ารถคันนี้กำลังเปลี่ยนไปใช้น้ำมันไบโอดีเซล โดยก่อนที่จะพ่นสี สมาชิกคนนั้นจะต้องหุ้มตัวถังรถที่เป็นสีเหลือง ตัวกระจก และล้อ ของรถตุ๊กตุ๊กด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ ทางแยกในเลกนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง แลกเงิน (Launder Money) และ รีดผ้า (Launder Clothes) โดยทีมที่เลือก Launder Money ทีมจะต้องทำพวงมาลัย แต่งงานท้องถิ่นของชาวอินเดียโดยใช้ธนบัตรสกุลรูปี จำนวน 10 ฉบับให้ได้จำนวนเงิน 780 รูปี แล้วนำไปให้เจ้าบ่าวที่ำพราคาซ แบงเคว็ท ฮอลล์ เพื่อรับคำใบ้ต่อไป สำหรับทีมที่เลือก Launder Clothes ทีมจะต้องใช้เตารีด โบราณที่ใช้พลังงานถ่าน รีดผ้า 20 ชิ้น เพื่อที่จะรับคำใบ้ต่อไปจากคนรีดผ้า

เลก 7 (อินเดีย)[แก้]

สุสานจักรพรรดิฮูมายัน ในเดลี ประเทศอินเดีย เป็นจุดหยุดพักที่ 7 ของ ดิ อะเมซิ่ง เรซ 13

อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกหนึ่งคนในแต่ละทีมจะต้องค้นหาซองคำใบ้ที่เขียนว่า ดิ อะเมซิ่ง เรซ ท่ามกลางซองคำใบ้นับร้อยที่มีคำว่า Sorry, Try again. (เสียใจด้วย ลองอีกครั้ง) บนบันไดที่อยู่ท่ามกลางงานฉลองในเทศกาลแห่งสี (เทศกาลโฮลี่) ทางแยกในเลกนี้ทีมจะต้องเลือกระหว่าง ปวดตา (Bleary Eyed) และ แสบตา (Teary Eyed) โดยทีมที่เลือก Bleary Eyed จะต้องเดินไปตามสายไฟฟ้าแล้วจดเลขที่อยู่บนสายไฟฟ้านั้นทั้งหมด แล้วนำไปรายงานคนตัดชุดหากตัวเลขทั้งหมดถูกต้อง ทีมจะต้องไปเสียบปลั๊กรูปปั้นของพระพิฆเนศวรก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป สำหรับทีมที่เลือก Teary Eyed ทีมจะต้องขนพริกหนักกระสอบละ 40 ปอนด์ จำนวน 2 กระสอบ ไป 1/4 ไมล์ที่ร้านที่กำหนด แล้วตำพริกให้แหลกโดยใช้ ครกกับสาก ก่อนที่จะรับคำใบ้ต่อไปจากเจ้าของร้าน สำหรับงานเพิ่มเติมของเคนกับทีน่า พวกเขาจะต้องไปที่วัดสิกข์ แล้วบริการน้ำให้กับชาวสิกข์ จนกว่าจะไม่มีใครขอน้ำอีก พวกเขาจึงจะได้รับอนุญาตให้แข่งต่อและทำงานทางแยกได้

ภารกิจเสริม
  • ที่โรงพยาบาลนก ทีมจะต้องค้นหากรงนกที่มีคำใบ้เพื่อรับคำใบ้ต่อไป

เลก 8 (อินเดีย → คาซัคสถาน)[แก้]

อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกหนึ่งคนในแต่ละทีมจะต้องค้นหาไข่ทองหนึ่งในเจ็ดใบ ท่ามกลางไก่กว่า 30,000 ตัวในโรงเลี้ยง ทางด่วนสุดท้ายในการแข่งขัน ทีมจะต้องไปยังร้านอาหาร แล้วรับประทาน ไขมันส่วนก้นของแกะ ซึ่งเป็นอาหารราคาแพงในประเทศคาซัคสถาน ทางแยกในเลกนี้ทีมจะต้องเลือกระหว่าง เล่นแบบบ้า ๆ (Play Like Mad) และ แสดงแบบโง่ ๆ (Act Like Fools) โดยทีมที่เลือก Play Like Mad จะต้องไปยังพิพิธภัณฑ์เครื่องดนตรีท้องถิ่นแห่งชาติ แล้วเล่นเพลงท้องถิ่นโดยใช้ ดอมบรา และ แชงโคบิช ต่อหน้าผู้คนในสวนสาธารณะเพื่อให้ได้เงินอย่างน้อย 1.50 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 180 เทนจ์คาซัค) ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป สำหรับทีมที่เลือก Act Like Fools จะต้องไปโรงละครหุ่นเชิด แล้วทั้งสองคนจะต้องสวมชุดคอสตูมของวัว แล้งเดินไปยังแท่นขายนม ที่ถนนซีเบ็ค ซอลลี่ ตัดถนนคูไนล์ แล้วดึ่มนมให้หมดแก้ว ซึ่งที่ก้นแก้วจะมีชื่อสถานที่ต่อไป (ตลาดเชลลีออน) ซึ่งทีมจะต้องไปรับคำใบ้ต่อไปที่ร้านที่กำหนด เมื่อเสร็จงานทางแยกแล้ว ทีมจะต้องนำดอมบรา หรือชุดคอสตูมวัว แล้วแต่กรณี ไปยังจุดหยุดพัก

ภารกิจเสริม
  • ที่ค็อคโตเบ อาร์ช ทีมจะได้รับคำใบ้ต่อไปจากการส่งของนกอินทรีที่ถูกฝึกมาโดยนักรบมองโกล

เลก 9 (คาซัคสถาน → รัสเซีย)[แก้]

โบสถ์ครูติตซืย โพร์วอเย่ สถานที่ซึ่งทีมจะต้องจุดเทียนเคารพสถานที่ เพื่อรับคำใบ้ต่อไป

ทางแยกในเลกนี้แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง บู๊ท (Boots) และ ซุป (Borscht) โดยแต่ละทีมจะต้องสวมเครื่องแบบทหารรัสเซียก่อน แล้วทีมที่เลือก Boots จะต้องเดินขบวนมาร์ชให้เข้ากับทหารที่จะเดินไปพร้อม ๆ กัน เมื่อครูฝึกเห็นว่าทีมเดินได้เรียบร้อย ทีมจึงจะได้รับคำใบ้ต่อไป สำหรับทีมที่เลือก Borscht ทีมจะต้องบริการ บอร์ช (ซุปบีทรูท) ให้ทหาร 75 นายก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป อุปสรรคในเลกนี้ทีมจะต้องขนแป้งหนักกระสอบละ 55 ปอนด์ จำนวน 50 กระสอบ จากนอกร้านไปวางในร้าน ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไปจากเจ้าของร้านขนมปัง

ภารกิจเสริม
  • ที่โบสถ์ครูติตซืย ทีมจะต้องจุดเทียนเคารพสถานที่ ก่อนที่จะได้รับคำใบ้ต่อไป สำหรับผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้หญิง จะต้องสวมผ้าผูกคอ ก่อน ตามประเพณีทางศาสนาของวัดนั้น

เลก 10 (รัสเซีย)[แก้]

สวนเวเดเอนฮา (VDNKh) เป็นจุดหยุดพักที่ 10 และจุดคัดออกสุดท้ายใน ดิ อะเมซิ่ง เรซ 13

อุปสรรคในเลกนี้ สมาชิกหนึ่งคนในแต่ละทีมจะต้องนับจำนวนรูปปั้นของ โจเซฟ สตาลิน และ วลาดิมีร์ เลนิน ที่อยู่ในสวนสาธารณะ แล้วเดินทางไปที่ร้านขายหนังสือเพื่อบอกคำตอบกับผู้จัดการร้านหนังสือ โดยคำตอบที่บอกจะมีค่าเท่ากับ จำนวนรูปปั้นของเลนิน (6 รูปปั้น) เป็นหลักสิบ และจำนวนรูปปั้นของสตาลิน (2 รูปปั้น) เป็นหลักหน่วย หากตอบผิด สมาชิกคนนั้นจะต้องรอ 10 นาที จึงจะตอบใหม่ได้ หากถูกต้อง ทีมจะได้รับหนังสือ The Master and Margarita ที่เขียนโดย มีฮาอิล บุลกาคอฟ โดยสมาชิกคนนั้นจะต้องเปิดไปที่หน้า 62 (คำตอบที่ถูกต้อง) เพื่อค้นหาชื่อสถานที่ต่อไป (แฟลตของบุลกาคอฟ) ที่ซึ่งคำใบ้ต่อไปและสมาชิกอีกคนของทีมจะรออยู่

ทางแยกในเลกนี้แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง รถไฟ (Ride the Rails) และ รถราง (Ride the Lines) โดยทีมที่เลือก Ride the Rails จะต้องเดินทางโดย รถไฟฟ้าใต้ดินมอสโกจากสถานีรถไฟใต้ดินโซโคลนีกี (Sokolniki) ไปยังสถานีถนน 1905 (Ulitsa 1905 Goda) แล้วหยิบซามซ่ามาหนึ่งชิ้นมาจากแท่นขายขนม ข้อมูลที่อยู่บนกระดาษห่อจะบอกให้ทีมนั่งรถไฟใต้ดินไปที่ สถานีคิไทโกรอช (Kitay-Gorod) แล้วนำอาหารนั้นไปส่งให้กับผู้หญิงที่สวมบาบุชก้า (ผ้าโพกหัวชนิดหนึ่ง) ที่อยู่หน้าอนุสาวรีย์นักบวชเซนต์ ซีริล และ เซนต์ มีโธดิอัส ผู้ประดิษฐ์ อักษรซีริลลิก ที่จัตุรัสสลาเวียนสกายา (Slavyanskaya) สำหรับทีมที่เลือก Ride The Lines จะต้องนั่งรถรางบัส จากสถานีรถไฟใต้ดินโซโคลนีกีไปที่ สถานีรถไฟใต้ดินคราสโนเซลสกายา (Krasnoselskaya) เพื่อไปรับกุญแจจากช่างทำกุญแจ แล้วนำกุญแจนั้นมาเปิดล็อกเกอร์ที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินริชสกายา (Rizhskaya) เมื่อทีมทำงานทางแยกเสร็จแล้ว ทีมจะได้รับโปสต์การ์ตที่มีภาพของสถานีรถไฟใต้ดินเวเดเอนฮา และหลังโปสต์การ์ตจะมีคำอธิบายให้ทีมค้นหากล่องคำใบ้บริเวณรอบสถานีนั้น เพื่อหยิบคำใบ้ต่อไป สำหรับงานเพิ่มเติมของแอนดริวกับแดน พวกเขาจะต้องเรียนและเต้นแบบท้องถิ่นรัสเซียให้เป็นที่พอใจแก่ครูสอนเต้นรำ ก่อนที่จะกลับไปทำงานทางแยก

ภารกิจเสริม
  • ทีมจะต้องค้นหานักแสดงคนหนึ่งที่แสดงในเรื่อง "ล่าตุลาแดง" (The Hunt for Red October) ในเรือดำน้ำ ท่ามกลางลูกเรือในเรือ

เลก 11 (รัสเซีย → สหรัฐอเมริกา)[แก้]

พิทท็อกซ์ แมนชั่น เป็นเส้นชัยสำหรับการแข่งขัน ดิ อะเมซิ่ง เรซ 13

ในทางแยกสุดท้ายของการแข่งขันนี้ แต่ละทีมจะต้องเลือกระหว่าง สูงแห้ง (High & Dry) และ ต่ำเปียก (Low & Wet) โดยทีมที่เลือก High & Dry สมาชิกทั้งสองคนในทีมจะต้องปีนต้นไม้ ไป 30 ฟุต เดินข้ามท่อนซุงยาว 40 ฟุตที่พาดอยู่บนอากาศ และกระโดดไปหยิบคำใบ้คนละครึ่งส่วนจากบนอากาศ หากสมาชิกคนใดก็ตามตกจากท่อนซุงโดยที่ไม่ได้คำใบ้ สมาชิกคนนั้นจะต้องเริ่มทำใหม่ตั้งแต่ต้น สำหรับทีมที่เลือก Low & Wet จะต้องเดินไปบนสะพานซุงที่ลอยอยู่กลางน้ำเป็นระยะทาง 850 ฟุต เพื่อไปหยิบคำใบ้จากอีกฝั่งของลำน้ำ แล้วเดินกลับมา

ภารกิจเสริม
  • ทีมจะต้องรูดสลิงจากสะพานพระเจ้า ไปยังเกาะที่อยู่ข้าง ๆ เพื่อหยิบคำใบ้ต่อไป เมื่อถึงที่นั่น ทีมจะต้องทบทวนความจำเกี่ยวกับงานทั้งหมดที่ผ่านมาใน 10 เลกของการแข่งขัน โดยทีมจะต้องไปที่กระดานเกมที่กำหนดแล้วเล่นเกมให้ผ่าน (จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 10 แผ่นป้ายบนกระดานเกม แต่ละป้ายนั้นแทนแต่ละเลกของการแข่งขัน ทีมจะต้องเปิดป้ายทีละแผ่น เริ่มจากแผ่นที่ 1 เมื่อทีมเปิดแผ่นป้ายเสร็จ ทีมจะพบกับสัญลักษณ์จุดหยุดพัก ทางแยก อุปสรรค หรือข้อมูลแสดงเส้นทาง เมื่อทีมพบสัญลักษณ์ ทีมจะต้องไปหาภาพที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์นั้นจากกล่องคำใบ้ที่ตั้งอยู่บนทุ่งหญ้ากว่า 150 กล่อง (ภาพที่ถูกต้องคือภาพของสถานที่ หรืองานที่ทำ ณ ช่วงนั้นที่ตรงกับสัญลักษณ์นั้น เช่นในป้ายที่ 1 เป็นภาพ Route Info ดังนั้นทีมจะต้องไปค้นหารถเข็นกาแฟ จากร้านแซนด์วิช o Rei do Pernil) เมื่อทีมพบภาพที่ตรงกับสัญลักษณ์นั้นแล้ว ทีมจะต้องนำภาพมาวางที่ช่องแผ่นป้าย หากถูกต้อง ไฟสีเขียวจะติดขึ้นบนแผ่นป้าย หากไม่ถูก จะมีเสียงบอกว่าผิด เมื่อทีมทำถูกครบ 10 ป้ายแล้ว ทีมจึงจะสามารถไปหยิบคำใบ้ต่อไปได้ที่ลานจอดรถ)
  • ที่อาคารพอร์ตแลนด์ ทีมจะต้องค้นหารูปปั้น ไดโนเสาร์ สีเขียวที่อยู่ที่อาคารสแตนด์ดาร์ด ที่อยู่ใกล้กับอาคารพอร์ตแลนด์ โดยกล่องคำใบ้ต่อไปจะตั้งอยู่ใกล้กับรูปปั้นนั้น
  • ที่แท่นขายอาหารบนถนนอัลเดอร์ ทีมจะต้องค้นหารถขายอาหารของประเทศที่เป็นจุดหยุดพักสุดท้าย (รัสเซีย) โดยเจ้าของรถจะให้คำใบ้ต่อไปแก่พวกพวกเขา คำใบ้นี้จะบอกให้ทีมไปที่ที่ "The Magic Is In The Hole" (เวทมนตร์อยู่ในรู) โดยทีมจะต้องแปลความหมายจากประโยคนี้ก่อนที่จะไปยังสถานที่นั้น (ประโยคนี้เป็นสโลแกนของร้านวูดูโดนัท)

อ้างอิง[แก้]

  1. "CBS Announces New 2008-2009 Primetime Schedule". Futon Critic. 14 พฤษภาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "CBS Announces 2008-2009 Premiere Dates". Futon Critic. 26 มิถุนายน 2551. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "'Amazing Race' honcho teases new season". Entertainment Weekly. 31 กรกฎาคม 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-28. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 "Meet the new teams on 'The Amazing Race'". AP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-22. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "Meet Phil Keoghan: 'Amazing' host, amazing experiences". USA Today. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 Dehnart, Andy (2 ธันวาคม 2551). "Dallas is dating Starr, missed the finale because of lost passport, which was returned". Reality Blurred. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "CBS reveals the identities of 'The Amazing Race's thirteenth season cast". Reality TV World. 19 สิงหาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 Bracchitta, John (8 ธันวาคม 2551). "Exclusive: Nick and Starr Spangler dish about their 'The Amazing Race' win". Reality TV World. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. Woodruff, Teeuwynn (11 ธันวาคม 2551). ""We Were the Only Team to Complete Every Detour and Every Roadblock on the Race!" RealityNewsOnline's Exclusive Interview with The Amazing Race 13's Finalists Dan & Andrew". Reality News Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-12. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "'Amazing Race' adds family touch in NZ". Otago Daily Times. 2551. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2551. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. Schneider, Michael (16 กันยายน 2551). "CBS getting physical with ads". นิตยสารวาไรตี้. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. Serpe, Gina (26 กันยายน 2551). "Amazing Race Route Revealed". E!. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "The Amazing Race Episode Title from CBS Schedule". สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

ดูเพิ่ม[แก้]