ดาวมรณะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดาวมรณะดวงแรก)
ดาวมรณะ
ดาวมรณะ (ดวงแรก) จากสตาร์ วอร์สภาคความหวังใหม่
ปรากฏตัวครั้งแรก
ฝ่ายจักรวรรดิกาแลกติก
เปิดตัวไม่ทราบ สร้างในอวกาศ.
General characteristics
Classสถานีรบอวกาศ
FightersTIE Fighters
Armamentsซูเปอร์เลเซอร์
Defensesเทอร์โบเลเซอร์, ปืนใหญ่เลเซอร์, ลำแสงแทรคเตอร์ และปืนใหญ่ไอออน
PropulsionImperial Hyperdrive
Powerสามารถทำลายดาวเคราะห์ด้วยการยิงซูเปอร์เลเซอร์ครั้งเดียว
Width120 กม. (ดาวมรณะที่ 1); 160 ถึง 900 กม. (ดาวมรณะที่ 2, ขึ้นอยู่กับแหล่งอ้างอิงและไม่ได้กล่าวในภาพยนตร์)

ดาวมรณะ หรือ เดธสตาร์ (อังกฤษ: Death Star) เป็นสถานีรบอวกาศขนาดยักษ์ในนิยายและภาพยนตร์ชุดสตาร์ วอร์ส ตลอดทั้งเรื่องชุดนี้มีการสร้างสถานีอวกาศนี้ออกมาทั้งหมดสองรุ่น ทั้งสองรุ่นมีขนาดใหญ่มาก มีรัศมีเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร และมีอาวุธทรงพลังจำนวนมาก โดยดาวมรณะดวงแรกปรากฏในสถานะก่อสร้างในสตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 3: ซิธชำระแค้น และในสภาพเสร็จสมบูรณ์ใน โร้ก วัน: ตำนานสตาร์ วอร์ส และ สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 4: ความหวังใหม่ ส่วนดาวมรณะดวงที่สองซึ่งอยู่ในสถานะก่อสร้าง ปรากฏในสตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6: การกลับมาของเจได โมเดลของจริงของดาวมรณะมีขนาดประมาณ 76 เซนติเมตรตอนนี้ถูกเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑสถานนิยายวิทยาศาสตร์ในซีแอตเติล

ดาวมรณะถูกสร้างขึ้นจากคำสั่งตรงของจักรพรรดิพัลพาทีน แต่แนวคิดหลักของสถานีรบอวกาศเช่นนี้มีตั้งแต่ก่อนเกิดสงครามโคลนเสียอีก จุดประสงค์หลักอันหนึ่งในการสร้างดาวมรณะนั้นก็เพื่อให้จักรพรรดิพัลพาทีนสามารถปกครองจักรวรรดิกาแลกติกได้โดยการสร้างความกลัวที่เป็นรูปธรรมขึ้น ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งบัญชาการดาวมรณะจะต้องเป็นขุนนางที่มียศไม่ต่ำกว่าระดับมอฟฟ์

นั่นไม่ใช่ดวงจันทร์ นั่นมันสถานีอวกาศ"
"มันใหญ่เกินไปที่จะเป็นสถานีอวกาศ

— โอบีวัน เคโนบี และ ฮัน โซโล, สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 4: ความหวังใหม่

ประวัติดาวมรณะ[แก้]

ซ้าย:จักรพรรดิพัลพาทีน ขวา:ดาร์ธ เวเดอร์ ขณะชมดาวมรณะขณะกำลังก่อสร้าง ในสตาร์ วอร์สภาคซิธชำระแค้น

ดาวมรณะดวงแรกนั้น ปรากฏเป็นแผนผังครั้งแรกใน สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 2: กองทัพโคลนส์จู่โจม โดยแผนผังนั้นอยู่ในกำมือของ เคานท์ดูกูและถูกส่งไปให้กับดาร์ธ ซีเดียสเพื่อเก็บรักษาเอาไว้ตลอดในช่วงสงครามโคลน และภายหลังการก่อตั้งจักรวรรดิกาแลกติก จักรพรรดิพัลพาทีนได้ดำริให้มีการสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการสร้างความกลัวอย่างรูปธรรมในการปกครองจักรวาลโดยไม่มีการต่อต้านใดๆในอนาคต

ต่อมาดาวมรณะดวงแรกปรากฏในสภาพเสร็จสมบูรณ์ในโร้ค วัน: ตำนานสตาร์ วอร์ส โดยมีข้าหลวงทาร์คินเป็นผู้บัญชาการ เมื่อฝ่ายกบฏ ได้รับทราบข่าวดาวมรณะ สภาพันธมิตรแห่งฝ่ายกบฏ มีความเห็นแย่งออกเป็นสองฝ่ายจนหาข้อสรุปไม่ได้ว่าจะยอมจำนนต่อฝ่ายจักรวรรดิหรือไม่ ทำให้จิน เออร์โซ รวมกลุ่มฝ่ายกบฏผู้ที่ยังคงจะรบต่อกันตั้งหน่วยรบที่ชื่อว่าโร้ค วัน (Rogue one) เพื่อขโมยแผนผังมาให้ฝ่ายกบฏ ซึ่งภายหลังกองบินของฝ่ายกบฏก็ตามมาช่วยหน่วยโร้ค วันและสามารถชิงแผนผังดาวมรณะไปได้ หลังจากหนีการตามล่าของจักรวรรดิ ฝ่ายกบฏก็พบว่าดาวมรณะมีจุดอ่อนที่ช่องระบายความร้อนกึ่งกลางดาวมรณะ จึงมีการระเบิดสงครามอวกาศขึ้น โดยดาวมรณะดวงแรกถูกทำลายโดยลุค สกายวอล์คเกอร์ ก่อนที่ทาร์คินจะสั่งยิงดาวยาวิน 4 ซึ่งเป็นที่ตั้งของฐานทัพกบฏ ทำให้ฝ่ายพันธมิตรกบฏได้รับชัยชนะไป

หลังจากดาวมรณะดวงแรกถูกทำลาย จักรพรรดิพัลพาทีนจึงสั่งให้สร้างดาวมรณะดวงที่สองขึ้น โดยสร้างใกล้ดวงจันทร์เอนดอร์และสร้างเครื่องสร้างสนามพลังบนดวงจันทร์เอนดอร์เพื่อป้องกันฝ่ายกบฏ แต่สุดท้ายในสตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 6: การกลับมาของเจได ดาวมรณะดวงที่สองถูกทำลายโดย แลนโด คาลริสเซียน และ เวดจ์ แอนทิลลิส ของพันธมิตรฝ่ายกบฏ ส่งผลให้อำนาจของจักรวรรดิล่มสลายอย่างแท้จริง

ดาวมรณะนั้นมีเจ้าหน้าที่ถึง 265,675 คน ยุทโธปกรณ์ประกอบด้วย ทหารปืนใหญ่ 52,276 คน, ทหาร 607,360 คน, กองพันพายุ 30,984 คน, เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือยานรบ 42,782 คน, และนักบินและเจ้าหน้าที่เสริม 180,216 คน โรงเก็บยานของดาวมรณะมีตั้งแต่ยานรบ, ยานประจัญบาน, ยานบก, ยานกองหนุน, และ ยาน TIE fighters 7,293 ลำ นอกจากนั้นยังมีระบบป้องกันโดยมีปืน turbolaser 10,000 กระบอก, ปืนใหญ่อิออน 2,600 กระบอก และลำแสง tractor อย่างน้อย 768 เครื่อง ดาวมรณะทั้งสองดวงจะมีซูเปอร์เลเซอร์ทำลายล้างสูงซึ่งสามารถทำลายดาวเคราะห์ได้ทั้งดวง ข้อมูลจาก Star Wars Databank กล่าวว่าดาวมรณะดวงแรกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 120 กิโลเมตร ส่วนดาวมรณะดวงที่สองมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 160 กิโลเมตร

ผลกระทบ[แก้]

ไฟล์:DeathStar2.jpg
ดาวมรณะดวงที่สองขณะทำการก่อสร้าง จากสตาร์ วอร์สภาคการกลับมาของเจได

คำร้องถึงทำเนียบขาว[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ได้มีผู้เสนอคำร้องต่อทำเนียบขาวแบบออนไลน์ผ่านทาง https://petitions.whitehouse.gov เก็บถาวร 2018-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เพื่อให้มีการเริ่มสร้างดาวมรณะใน พ.ศ. 2559 โดยอ้างว่าจะเป็นการสร้างโอกาสในการสำรวจจักรวาล พัฒนาความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ เสริมความแข็งแกร่งให้กับกองทัพ และสร้างงานให้กับชาวอเมริกัน ภายหลังจากการเสนอนี้มีผู้ร่วมลงชื่อมากกว่า 25,000 คน ซึ่งมากจนถึงเกณฑ์ที่ทางทำเนียบขาวจะต้องให้การตอบรับกับเรื่องที่เสนอดังกล่าว ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ทางทำเนียบขาวจึงได้ตอบรับกลับมาว่าไม่สามารถทำได้[1] เนื่องจากค่าใช้จ่ายประมาณในการสร้างดาวมรณะอาจสูงถึง 850,000,000,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ[2] และยังติดตลกด้วยการกล่าวเสริมว่า "ไม่สนับสนุนการทำลายดาวเคราะห์" และ "ไม่ต้องการสร้างดาวมรณะซึ่งสามารถถูกทำลายได้โดยนักบินอวกาศเพียงคนเดียว"[1][3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Shawcross, Paul (January 11, 2013). "This Isn't the Petition Response You're Looking For". Wired (magazine). สืบค้นเมื่อ January13, 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. http://www4.lehigh.edu/business/about/deathstar.aspx
  3. "It's a trap! Petition to build Death Star will spark White House response". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-16. สืบค้นเมื่อ 2013-01-28.
  4. "US shoots down Death Star superlaser petition".

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]