ดาวคาเพลลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Capella A/B

ดาวคาเพลลา สว่างสุกใสที่สุดที่กลุ่มดาวสารถี
ข้อมูลสังเกตการณ์
ต้นยุคอ้างอิง J2000      วิษุวัต J2000
กลุ่มดาว สารถี
ไรต์แอสเซนชัน 05h 16m 41.4s
เดคลิเนชัน +45° 59' 53"
ความส่องสว่างปรากฏ (V) +0.08
+0.71/+0.96
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัมG8III / G0III
ดัชนีสี U-B+0.45
ดัชนีสี B-V+0.80 / −0.25
ดัชนีสี R-I0.44
ชนิดดาวแปรแสงRS CVn
มาตรดาราศาสตร์
ความเร็วแนวเล็ง (Rv)30.2 km/s
การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) RA: 75.52 mas/yr
Dec.: −427.13 mas/yr
พารัลแลกซ์ (π)77.29 ± 0.89 mas
ระยะทาง42.2 ± 0.5 ly
(12.9 ± 0.1 pc)
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (MV)−0.5
+0.14/+0.29
รายละเอียด
มวล2.69/2.56 M
รัศมี10.2/8.5 R
กำลังส่องสว่าง78.5/77.6 L
อุณหภูมิ5270/5900 K
ค่าความเป็นโลหะ40% ดวงอาทิตย์
วงโคจร
ดาวสมาชิกCapella Ab
คาบการโคจร (P)0.284802 ± 0.000005 ปี
ค่ากึ่งแกนเอก (a)0.05647 ± 0.00005"
ความเยื้องศูนย์กลาง (e)0.0000 ± 0.0002
ความเอียง (i)137.18 ± 0.05°
ลองจิจูดของจุดโหนด (Ω)40.8 ± 0.1°
ต้นยุคอ้างอิงจุดใกล้ที่สุด (T)1989.00329 ± 0.00005
ชื่ออื่น
Capella, Alhajoth, Hokulei, α Aurigae, 13 Aurigae, HR 1708, HD 34029, Gl 194, BD+45°1077, FK5 193, HIP 24608, SAO 40186, GC 6427, ADS 3841, CCDM J05168+4559
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น
SIMBADCapella A data
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น
SIMBADCapella B data

ดาวคาเพลลา (อังกฤษ: Capella; ชื่ออื่น: α Aur / α Aurigae / Alpha Aurigae) เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวสารถี และเป็นดาวที่สว่างที่สุดลำดับที่ 11 บนท้องฟ้า เมื่อมองด้วยตาเปล่าเราอาจเห็นเป็นดาวดวงเดียว แต่ที่แท้แล้วเป็นดาวคู่สีเหลืองขนาดใหญ่สองดวงที่อยู่ใกล้กันมาก และมีดาวคู่อีกคู่หนึ่งจางๆ อยู่ใกล้ๆ ด้วย

ดาวคาเพลลาเป็นที่รู้จักในหมู่ชนต่างๆ ทั่วโลกด้วยชื่อที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

  • อาระบิก: al-'Ayyuq العيوق (Alhajoth) (หมายถึง "แพะ")
  • ฮินดู: พราหมณ์ฤทัย ("หัวใจแห่งพราหมณ์")
  • เปอร์เซีย: Bozbān بزبان ("คนเลี้ยงแกะ"), Negahbān نگهبان ("ผู้เฝ้ารักษา")
  • อินคา: Colca
  • ละติน: Amalthea, Hircus ("แพะ")
  • ฮาวาย: Hokulei ("พวงดารา")
  • จีน: Wǔjū'èr 五车二 หวู่จือเอ้อ ("ดาวดวงที่สองของสารถีทั้งห้า")