ดวงฤทธิ์ บุนนาค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดวงฤทธิ์ บุนนาค
เกิด14 มีนาคม พ.ศ. 2509 (58 ปี)
 ไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่า
รางวัล
  •  • รางวัลอะเคเซีย ระดับเหรียญทอง
  •  • รางวัลสถาปัตยกรรมที่สมควรเผยแพร่
  •  • รางวัลสถาปัตยกรรมยอดเยี่ยมแห่งเอเซีย[1]
การทำงานดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด (DBALP)
ผลงานสำคัญ
โครงการสำคัญ
  •  • อาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิหลังที่ 2
เว็บไซต์frankgehryarchitecture.com

ดวงฤทธิ์ บุนนาค (เกิดวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2509) (ชื่อเล่น: ด้วง) เป็นสถาปนิกและนักออกแบบชาวไทย คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ผู้ก่อตั้ง บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด (DBALP) เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักออกแบบในสไตล์โมเดิร์นเรียบง่าย โดยเฉพาะการออกแบบอาคารทรงสี่เหลี่ยมและการเล่นกับองค์ประกอบทางธรรมชาติ[2] มีผลงานตัวอย่างเช่น โรงแรมคอสต้าลันตา, โรงแรมเดอะนาคา, ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) และเดอะแจมแฟคทอรี่ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานออกแบบของเขา

ประวัติ[แก้]

ดวงฤทธิ์จบการศึกษาในระดับพื้นฐานจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 2)[3] และได้ศึกษาต่อสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ที่สมาคมสถาปัตยกรรม วิทยาลัยสถาปัตยกรรม (AA) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ในปี 2538 ได้ทำงานเป็นสถาปนิกบริษัท สถาปนิก 49 (A49) จำกัด และในปี 2541 ได้เปิดบริษัทของตัวเองในชื่อ บริษัท ดวงฤทธิ์ บุนนาค จำกัด ในด้านวิชาชีพดวงฤทธิ์ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการสภาสถาปนิก 2 สมัย ในชุดที่ 3 (2550-2553) และชุดที่ 4 (2553-2556)

นอกจากนี้เขายังมีประสบการณ์ด้านการสอนและการบรรยายในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยศิลปากร[3] โดยเขายังเป็นเจ้าของร้าน Anyroom ชั้น 4 สยามดิสคัฟเวอรี่ ที่เป็นร้านขายเฟอร์นิเจอร์ของดวงฤทธิ์เอง และยังเป็นร้านอาหาร ร้านขายหนังสือ และร้านกาแฟ[4]

ในปี พ.ศ. 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งเขาเป็นกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ[5]

ผลงาน[แก้]

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • 2558 - รางวัลอะเคเซีย - The Naka Phuket[10]
  • 2557 - รางวัลสถาปัตยกรรมที่สมควรเผยแพร่ (สมาคมสถาปนิกสยาม) - สถานปฏิบัติธรรมเขาใหญ่[11]
  • 2535 - รางวัลรองชนะเลิศการ ประกวดความคิดสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4 หัวข้อ “กรุงเทพในทศวรรษหน้า” โดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์[3]
  • รางวัลอะเคเซีย ระดับเหรียญทอง - โรงแรมคอสต้า ลันตา บนเกาะลันตา

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ดวงฤทธิ์เคยสมรสกับอัชฌานาท บุนนาค มีบุตร 2 คน ภายหลังหย่ากับอัชฌานาท เขาได้คบหากับดารานักแสดง รวมถึง อุ้ม สิริยากร พุกกะเวส[12] และเข็ม กฤตธีรา อินพรวิจิตร[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. 'ดวงฤทธิ์ บุนนาค' ชนะรางวัล Best Building of the Year จาก สวัสดีครับ ผมเด็ก RECU18 ชื่อเดียครับ เวทีARCASIA, วอยส์ทีวี .วันที่ 18 พ.ย. 2558
  2. ดวงฤทธิ์ บุนนาค “ผมไม่ใช่ Minimalist”, positioningmag.com .วันที่ 24 พฤษภาคม 2016
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 ดวงฤทธิ์ บุนนาค, ประวัติผลงาน
  4. The Wall Street Journal, Thai Architect Duangrit Bunnag on Life in Bangkok
  5. "เชฟชุมพล – นิค จีนี่ – ดวงฤทธิ์ นั่งกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ ดึง 'หมอเลี้ยบ' เป็นกรรมการและเลขานุการ" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-09-13.
  6. "ISA Behind the Scene 2023 ครั้งที่ 3 : "The Emsphere"". สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์.
  7. "สวนกลางกรุงของ TRUE". Positioning Magazine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2006-03-05.
  8. "กลุ่มทรูเนรมิตTrue Branding Shop ชั้น3 สยามพารากอน". bangkokbiznews. 2017-03-22.
  9. "'ไอคอนสยาม'เนรมิต'ไอคอนคราฟต์' พื้นที่นำเสนอคุณค่าความเป็นไทย ผ่านงานนวัตศิลป์". naewna.com. 2018-11-09.
  10. "'ดวงฤทธิ์ บุนนาค' ชนะรางวัล Best Building of the Year จากเวทีสถาปนิกเอเชีย ARCASIA 2015". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-11-17.
  11. สมาคมสถาปนิกสยาม, ผลการคัดเลือกผลงานสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2557 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. ยินดีกับ "อุ้ม สิริยากร" ว่าที่สะใภ้ "บุนนาค"[ลิงก์เสีย]
  13. "เลิก "อุ้ม" ซบ "เข็ม ตีสิบ" สเปก "ด้วง" 'ติสท์ & ต๊อง'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-08. สืบค้นเมื่อ 2015-11-13.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]