ดรูปัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Drupal
ผู้ออกแบบDries Buytaert
วันที่เปิดตัวJanuary 2001 (2001-01)
รุ่นเสถียร
7.34[1] / 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 (2014-11-19)
ที่เก็บข้อมูล
ภาษาที่เขียนPHP
ระบบปฏิบัติการหลายระบบปฏิบัติการ
ขนาด11.7 MB (uncompressed core)[2]
ภาษาMultilingual
ประเภทContent management framework, Content Management System , Community และ Blog software
สัญญาอนุญาตGPLv2 or later[3]
เว็บไซต์www.drupal.org

ดรูปัล (อังกฤษ: Drupal; สัท. /ˈdruː-pʌl/) เป็นเฟรมเวิร์กสำหรับมอจูลในการสร้างเว็บไซต์และระบบจัดการเนื้อหาเว็บในลักษณะโอเพนซอร์ซ เขียนขึ้นด้วยภาษาพีเอชพี โดยเริ่มพัฒนาใน พ.ศ. 2543 และกลายมาเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซในปี พ.ศ. 2544[4] ดรูปัลถูกใช้งานเป็นระบบเบื้องหลังของเว็บไซต์หลายเว็บทั่วโลก ตั้งแต่เว็บไซต์ขนาดเล็กจนถึงเว็บไซต์หน่วยงานขนาดใหญ่ รวมถึงเว็บไซต์ราชการหลายแห่ง[5][6] และได้รับรางวัลชนะเลิศซอฟต์แวร์ระบบจัดการเนื้อหาเว็บยอดเยี่ยมแห่งปี ในปี 2550 และ 2551[7]

ระบบศูนย์กลางของดรูปัลที่รู้จักในชื่อ "ดรูปัลคอร์" (Drupal core) เป็นส่วนที่รวมการทำงานพื้นฐานของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ซึ่งได้แก่การลงทะเบียนผู้ใช้ การบริหารระบบ การจัดการเมนู ฟีด บล็อก ฟอรั่ม และการสร้างหน้าตาพื้นฐาน โดยในการทำงานของดรูปัลนั้น มักจะทำงานร่วมกับมอจูลตัวอื่นที่เพิ่มเข้ามาตามความต้องการของผู้ใช้งาน ดรูปัลสามารถติดตั้งได้ในพีเอชพี (รุ่น 4.3.5+) และฐานข้อมูล MySQL หรือ PostgreSQL[8] รุ่นที่รองรับปัจจุบันคือ ดรูปัล 6.x และ 7.x และรุ่นในอนาคต 8.x อยู่ในระหว่างการทดสอบและพัฒนา

ดรูปัลมีการนำเฟรมเวิร์กตัวอื่นมาร่วม อาทิ jQuery และ Symfony

ประวัติ[แก้]

ดรูปัลเริ่มต้นเขียนขึ้นโดย ดรีส เบยทาร์ท (Dries Buytaert) โปรแกรมเมอร์ชาวเบลเยียมในปี พ.ศ. 2543 และได้กลายมาเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซในปี 2544 โดยชื่อของ Drupal เป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่รับจากภาษาดัตช์คำว่า "Druppel" ที่หมายถึง "หยดน้ำ" โดยชื่อที่ดรีส์ต้องการตั้งคือ "dorp" (หมายถึง หมู่บ้าน ในภาษาดัตช์) ซึ่งกล่าวถึงชุมชนผู้ใช้งาน แต่ได้สะกดผิดเป็น drop ในขณะที่ตรวจสอบ และคิดว่าชื่อนี้ฟังดูดีกว่า[4]

ระหว่างช่วง พฤษภาคม 2550-เมษายน 2551 ดรูปัลได้ถูกดาวน์โหลดมากกว่า 1.4 ล้านครั้ง และถูกนำไปใช้งานในเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง ดรูปัลได้รับรางวัลชนะเลิศระบบจัดการเนื้อหาเว็บยอดเยี่ยมสำหรับระบบพีเอชพี ในปี 2550 และ 2551 ซึ่งจัดอันดับโดยแพกต์พับลิชิง (Packt Publishing) [7]

การทำงาน[แก้]

ดรูปัลทำงานโดยบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ใช้เป็นโปรแกรมเบื้องหลังของเว็บไซต์ในการจัดการระบบและฐานข้อมูลโดยความสามารถหลักทำงานผ่านดรูปัลคอร์ และความสามารถอื่นเพิ่มเติมทำงานผ่านมอจูลที่ติดตั้งเพิ่ม และธีมสำหรับการจัดการการแสดงผล ดรูปัลรองรับการทำงานในภาษาอื่นนอกเหนือภาษาอังกฤษจำนวนมากกว่า 44 ภาษา[9] นอกจากมอจูลและธีมที่เปิดให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์แล้ว ดรูปัลเปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปร่วมพัฒนาและแปลภาษา

ดรูปัลคอร์ (Drupal core)
เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งพื้นฐานที่พร้อมใช้งานในการสร้างเว็บไซต์ ที่รวมถึงความสามารถในการบริหารผู้ใช้งาน การลงทะเบียน การจัดหมวดหมู่ ระบบค้นหา และความสามารถพื้นฐานของการจัดหน้าตาเว็บ หรือบล็อก
มอจูล (module)
เป็นกลุ่มของชุดคำสั่งเพิ่มเติม เพิ่มความสามารถเข้าไปเพิ่มจากคำสั่งพื้นฐานที่มี ซึ่งในเว็บไซต์ทั่วไปที่ใช้งานดรูปัลมักจะมีการติดตั้งมอจูลเพิ่มเสมอ โดยตัวอย่างความสามารถที่เพิ่มขึ้นมาได้แก่ ระบบอีคอมเมิร์ซ ระบบการแสดงภาพสไลด์โชว์ การเชื่อมต่อกับระบบอื่น
ธีม (theme)
เป็นชุดของคำสั่งที่ควบคุมการแสดงผลทั้งในส่วนของเนื้อหาและหน้าตา โดยหน้าตาของเว็บจะจัดการผ่านซีเอสเอส แสดงลักษณะของตำแหน่ง สี และการจัดวางเนื้อหา และส่วนจัดการเนื้อหาทำงานผ่านเทมเพลต ที่แสดงผลตามความต้องการของผู้ใช้คร่อมทับการแสดงผลหลักของระบบผ่านภาษาพีเอชพี

ชุมชน[แก้]

ดรูปัลมีการใช้งานในหลายเว็บไซต์ทั่วโลก ทั้งในเว็บไซต์ขนาดเล็กจนถึงเว็บไซต์ขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์รางวัลพูลิตเซอร์[10] (เว็บไซต์องค์กร) Popular Science (เว็บไซต์ข่าว) Yahoo! Research (เว็บไซต์หน่วยงาน) Ubuntu.org (เว็บไซต์ชุมชน) MTV United Kingdom และ Sony Music (เว็บไซต์บันเทิง) มหาวิทยาลัยแอมเฮิรตซ์ (เว็บไซต์สถานศึกษา) [5][6] Recovery.org (เว็บไซต์หน่วยงานราชการ) [11] สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (เว็บไซต์องค์กร) [12] FukDuk (เว็บไซต์สถานีโทรทัศน์ออนไลน์ไทย) [13]

ดรูปัลมีผู้ใช้งานทั่วโลก โดยมีผู้ลงทะเบียนในเว็บไซต์ Drupal.org กว่า 350,000 ชื่อบัญชี โดยมีมากกว่า 2,000 คนที่ลงชื่อเป็นนักพัฒนาอาสาสมัคร[14] โดยทางดรูปัลมีการจัดสัมมนาหลายครั้ง ในชื่อ ดรูปัลคอน (DrupalCon) โดยในปี 2551 จัดขึ้นที่บอสตัน มีผู้เข้ามาร่วมงานกว่า 800 คน และในปี 2552 จัดขึ้นที่ วอชิงตัน ดี.ซี. มีผู้เข้าชมกว่า 1,400 คน[15][16] และปารีส ในประเทศไทยมีการจัด ดรูปัลแคมป์บางกอก ในปี 2551[17]

ดรูปัลถูกวิจารณ์ว่าเป็นระบบที่ซับซ้อนและยากต่อการเรียนรู้ในช่วงเริ่มต้น โดยดรูปัลเป็นซอฟต์แวร์ที่มีเส้นโค้งการเรียนรู้ที่สูงชัน[18] ส่งผลให้ผู้ใช้ใหม่เลิกสนใจดรูปัลและหันไปใช้ซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานง่ายแทนที่ โดยดรีส์ผู้ก่อตั้งดรูปัลได้กล่าวว่าระบบการใช้งานที่ยากนี้จะถูกปรับปรุงในรุ่น ดรูปัล 7 ที่จะออกมา โดยซอฟต์แวร์จะไม่ถูกเปิดให้ใช้งานจนกว่า 90% ของปัญหาด้านนี้จะถูกแก้ไข[19]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Download page". drupal.org. สืบค้นเมื่อ 2014-11-19.
  2. "drupal 7.34". drupal.org. สืบค้นเมื่อ 2014-11-19.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ licensingfaq
  4. 4.0 4.1 ประวัติอย่างเป็นทางการ
  5. 5.0 5.1 Drupal case studies
  6. 6.0 6.1 "45 Drupal Sites Which You May Not Have Known Were Drupal Based". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-04. สืบค้นเมื่อ 2009-02-18.
  7. 7.0 7.1 Drupal ชนะเลิศ CMS 2551
  8. Drupal System Requirements
  9. Drupal Translations
  10. รายละเอียดเว็บไซต์พูลิตเซอร์
  11. Obama using Drupal
  12. Thaihealth.or.th[ลิงก์เสีย]
  13. "FuKDuK.tv V.2 - turn fukduk to Web2.0 (Drupal+AJAX)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-25. สืบค้นเมื่อ 2009-02-22.
  14. "Drupal.org stats". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-04. สืบค้นเมื่อ 2009-02-18.
  15. Washington Post. Rediscovering the Internet
  16. Drupalcon D.C.
  17. "Drupalcamp Bangkok". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-16. สืบค้นเมื่อ 2009-02-18.
  18. Harnessing Drupal for Citizen Journalism
  19. "Starting to work on Drupal 7"

หนังสืออ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Douglass, Robert T., Mike Little, and Jared W. Smith. Building Online Communities With Drupal, phpBB, and WordPress. New York: Springer Verlag/Apress, 2005. ISBN 1590595629.
  • Gillmor, Dan. We the Media: Grassroots Journalism by the People for the People. Sebastopol, Calif.: O’Reilly, 2004. ISBN 0-596-00733-7.
  • Graf, Hagen. Drupal. Community-Websites entwickeln und verwalten mit dem Open Source-CMS. Munich: Addison-Wesley, 2006. ISBN 3827323215. (เยอรมัน)
  • Mercer, David. Drupal: Creating Blogs, Forums, Portals, and Community Websites. Birmingham, England: Packt Publishing, 2006. ISBN 1904811809.
  • Peacock, Michael. Selling Online with Drupal e-Commerce. Birmingham, England: Packt Publishing, 2008. ISBN 978-1-847194-06-0
  • Shreves, Ric. Drupal 5 Themes. Birmingham, England: Packt Publishing, 2007. ISBN 1847191827.
  • Trippi, Joe. The Revolution Will Not Be Televised: Democracy, the Internet, and the Overthrow of Everything. New York: ReganBooks, 2004. ISBN 0-06-076155-5.
  • VanDyk, John K., and Matt Westgate. Pro Drupal Development. New York: Springer Verlag/Apress, 2007. ISBN 1590597559.
  • VanDyk, John K. Pro Drupal Development, Second Edition. New York: Springer Verlag/Apress, 2008. ISBN 1430209895.
  • Herremans, D. Drupal 6: Ultimate Community Site Guide. Switzerland, 2009. ISBN 978-2-8399-0490-2.
  • Mansfield, Niall. Practical Drupal. Cambridge: UIT Cambridge Ltd, 2008. ISBN 095445295X.
  • Mercer, David. Drupal 6. Birmingham, England: Packt Publishing, 2008. ISBN 1847192971.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ชุมชน[แก้]