ดรีมเทียเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดรีมเธียเตอร์)
ดรีมเทียเตอร์
ดรีมเทียเตอร์ในปี ค.ศ. 2020 สมาชิกจากซ้ายไปขวา: จอห์น เปตรุชชี, เจมส์ ลาบรี, ไมก์ แมนจินี, จอร์แดน รูเดส, และจอห์น ไมอัง
ข้อมูลพื้นฐาน
รู้จักในชื่อMajesty (ค.ศ. 1985–1988)
ที่เกิดบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ
แนวเพลง
ช่วงปีค.ศ. 1985–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
สมาชิก
อดีตสมาชิก
  • คริส คอลลินส์
  • เควิน มัวร์
  • ชาร์ลี โดมินิชี
  • เดอเร็ก เชอริเนียน
  • ไมก์ แมนจินี
เว็บไซต์www.dreamtheater.net

ดรีมเทียเตอร์ (อังกฤษ: Dream Theater) เป็นวงดนตรีโพรเกรสซิฟเมทัลชาวอเมริกัน ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1985 ภายใต้ชื่อวงว่า Majesty โดยจอห์น เปตรุชชี, จอห์น ไมอัง และไมค์ พอร์ตนอย ในขณะที่พวกเขาศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยดนตรีเบิร์กลี (Berklee College of Music) ในบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ จากนั้นพวกเขาได้ออกจากการศึกษาเพื่อหันมาทำวงดนตรีอย่างจริงจังซึ่งต่อมามีชื่อว่า ดรีมเทียเตอร์ สมาชิกในวงมีการผัดเปลี่ยนหมุนเวียนไป โดยเจมส์ ลาบรี นักร้องนำคนปัจจุบัน ได้เข้ามาเป็นสมาชิกแทนที่ชาร์ลี โดมินิชี ในปี ค.ศ. 1991 และมือคีย์บอร์ด เควิน มัวร์ ได้ออกจากวงไปหลังจากอัลบั้มที่สาม จึงได้เดอเร็ก เชอริเนียน มาแทนที่ในปี ค.ศ. 1995 และต่อมาได้จอร์แดน รูเดส มาแทนที่ในปี ค.ศ. 1999 แต่สมาชิกตั้งแต่ก่อตั้งวงทั้งสามคนก็ยังคงอยู่ จนกระทั่งปี ค.ศ. 2010 ไมค์ พอร์ตนอย ได้ออกจากวง และได้ไมก์ แมนจินี เข้ามาเป็นมือกลองคนใหม่ ก่อนที่ในปี ค.ศ. 2023 ไมค์ พอร์ตนอยจะกลับมาเป็นมือกลองของวงอีกครั้ง[1]

ปัจจุบัน ดรีมเทียเตอร์ได้ออกจำหน่ายสตูดิโออัลบั้มมาแล้วสิบห้าชุด อัลบั้มที่มียอดจำหน่ายสูงสุด คือ อัลบั้มชุดที่สอง อิมเมจเจสแอนด์เวิดส์ (ค.ศ. 1992) ซึ่งได้อันดับ 61 ในชาร์ตบิลบอร์ด 200[2] สำหรับอัลบั้ม อะเวก (ค.ศ. 1994) และ ซิกซ์ดีกรีส์ออฟอินเนอร์เทอร์บิวเลนซ์ (ค.ศ. 2002) ได้ติดอันดับในชาร์ตในอันดับที่ 32 และ 46 ตามลำดับ และได้รับการวิจารณ์ด้านบวก สำหรับอัลบั้ม เมโทรโพลิส พาร์ต 2: ซีนส์ฟรอมอะเมโมรี ติดอันดับที่ 95 ในรายชื่อ100 กีตาร์อัลบั้มที่ดีที่สุดตลอดกาล ในนิตยสารกีตาร์เวิลด์ประจำเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006[3] และติดในรายชื่อ 15 คอนเซปต์อัลบั้มที่ดีที่สุดของนิตยสารคลาสสิกร็อก ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2003[4]

ในปี ค.ศ. 2018 ดรีมเทียเตอร์มียอดจำหน่ายกว่า 12 ล้านชุดทั่วโลก[5][6] และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี่ 2 รายการ[7][8]

ประวัติ[แก้]

ดรีมเทียเตอร์เริ่มก่อตั้งวงตั้งแต่ปี 1986 ด้วยสมาชิกหลัก 4 คน คือ John Petrucci (กีตาร์) ,John Myung (เบส) , Mike Portnoy (กลอง) ,Kevin Moore (คีย์บอร์ด) หลังจากทั้ง 4 คนได้พบกันที่ Berklee School of Music จากนั้นในปี 1989 จึงได้ออกอัลบั้มที่มีชื่อว่า When Dream An Day Unite ต่อจากนั้นก็ได้นักร้องนำคนใหม่ James LaBrie ซึ่งมาแทน Chalie Dominichi นักร้องคนเก่าที่ลาออกไป

ในปี 1992 อัลบั้ม Images And Words ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ด้วยเนื้อหาเชิงปรัชญาและฝีมือดนตรีที่เหนือชั้น มีเพลงฮิตอย่าง Pull Me Under ,Another Day , Metropolis Part 1 และ Under A Glass Moon ทำให้กระแสดนตรีแนวโปรเกรสซีพร็อก ตื่นตัวขึ้นมาอีกครั้ง

จากนั้นในปี 1994 จึงออกสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 3 ชื่อ Awake กับ ซาวด์ดนตรีที่หนักแน่นขึ้น ซึ่งมือคีย์บอร์ดเควิน มัวร์ได้ลาออกไปขณะบันทึกอัลบั้มชุดนี้ และได้ Derek Sherinian มาแทนในช่วงทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลก และได้อยู่ ร่วมทำอัลบั้มกับวงอีก 2 ชุดคือ A change Of Seasons ในปี 1995 และ Falling Into Infinity ในปี 1997 รวมทั้งอัลบั้มแสดงสดชุด Once In A LIVE time

หลังจากนั้นในปี 1999 อัลบั้มมหากาพย์ Scenes From A Memory ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์อัลบั้มชุดแรกของทางวง ก็ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้ง ด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับการระลึกชาติ และถือว่าเป็นภาคต่อของ Metro Polis Part 1 โดยได้มือคีย์บอร์ดคนปัจจุบันคือ Jordan Rudess ผู้ซึ่งได้ร่วมงานกับ John Petrucci และ Mike Portnoy ในอัลบั้ม Side Project บรรเลงในนาม Liquid Tension Experiment และยังเคยร่วมงานกับ Vinnie Moore มือกีต้าร์สายนีโอคลาสสิคชื่อดังอีกด้วย

หลังจากนั้นทางวงก็ยังออกอัลบั้มและทัวร์คอนเสิร์ตอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัลบั้มอย่าง Six Degrees Of Inner Turbulence ในปี 2002 และ Train Of Thought ในปี 2003 ต่อมาในปี 2004 ได้ออก DVD Live at Budokan บันทึกการแสดงสดครั้งประวัติศาสตร์จากประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งมีภาพประวัติศาสตร์ของวง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันบรรจุอยู่ใน DVD ชุดนี้อีกด้วย ทำให้ DVD Live at Budokan มียอดขายถล่มทลายทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย

ในปี 2005 ดรีมเทียเตอร์ ออกสตูดิโอ อัลบั้มชุดที่ 8 Octavarium เป็นอัลบั้มที่สรุปเรื่องราวทาง ดนตรีของพวกเขาทั้ง 5 สมาชิกในปัจจุบัน

ด้วยซาวด์ที่หลากหลายตั้งแต่เฮฟวีเมทัล อย่างเพลง Panic Attack ,Never Enough จนถึงซาวด์ร่วมสมัยอย่างเพลง I Walk Beside You รวมทั้งเพลงคอนเซ็ปต์อย่าง Octavarium แต่ยังอยู่บนพื้นของโปรเกรสซีพร็อก และยังได้ทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลกซึ่งถือเป็นปีที่ 20 ของวงWorld Tour ชื่อทัวร์ว่า "Octavarium World Tour 2005/2006" ซึ่งจะใช้เวลาการทัวร์ถึง 2 ปีเต็ม ๆ (2005-2006)

Systematic Chaos เป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 9 และเป็นอัลบั้มแรกที่ทางวงออกกับค่ายใหม่ คือ Roadrunner Records โดยอัลบั้มนี้ได้แต่ง และบันทึกเสียง ตั้งแต่เดือน กันยายน 2006 ไปจนถึงเดือน มกราคม 2007 ที่ Avatar Studios ในเมืองนิวยอร์ก ซึ่งโปรดิวเซอร์ของอัลบั้มนี้ก็คือ Mike Portnoy และ John Petrucci โดยมี Paul Northfield เป็น Sound Engineer

ในปี 2009 Dream Theater ได้ออกอัลบั้มที่มี่ชื่อว่า"Black Clouds & Silver Linings"โดยได้ออกซิงเกิลแรกออกมานั่นคือเพลง"A Rite of Passage"

ล่าสุดสตูดิโออัลบั้มที่ 11 อัลบั้ม "A Dramatic Turn of Events" ได้ออกซิงเกิล On the Backs of Angels ออกมาโดยมีกำหนดวางจำหน่าย 13 กันยายน ปี 2011 โดยอัลบั้มนี้ได้มือกลองคนใหม่มาแทนที่ Mike Portnoy ที่ได้ลาออกจากวงไปคือ Mike Mangini ทำหน้าที่แทน

การออกจากวงของไมก์ พอร์ตนอย (ค.ศ. 2010–2011)[แก้]

ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2010 ไมก์ พอร์ตนอยประกาศว่าเขาจะออกจากดรีมเทียเตอร์

เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2010 ไมก์ พอร์ตนอยประกาศว่าเขาจะออกจากดรีมเทียเตอร์ ด้วยเหตุที่ว่าเขาต้องการที่จะหยุดพัก และต้องการทำงานดนตรีอื่น ๆ นอกเหนือจากดรีมเทียเตอร์[9] รายละเอียดเรื่องนี้จากมิวสิกเรดาร์ จอห์น เปตรุชชีเปิดเผยว่า ไมก์ พอร์ตนอยไม่ได้ต้องการที่จะออกจากวง เขาแค่ต้องการพักวงเป็นเวลา 5 ปี[10] ท้ายที่สุดเขาก็ได้ลดเวลาพักเหลือ 1 ปี[11] แต่สมาชิกที่เหลือของวงปฏิเสธข้อเสนอของเขา ทำให้เขาตัดสินใจออกจากวง

ผลงาน[แก้]

สตูดิโออัลบั้มและอีพี[แก้]

ทัวร์คอนเสิร์ต[แก้]

  • Majesty Shows (1986-1988)
  • Early Dream Theater Shows (1989)
  • When Dream and Tour Unite (1989)
  • Pre-Images and Words Shows (1990-1992)
  • Images and Tour (1992-1993)
  • Music in Progress Tour (1993)
  • Pre-Awake Shows (1994)
  • Waking Up the World Tour (1994-1995)
  • A Change of Seasons Tour (1995)
  • Home for the Holidays (tour)|Home for the Holidays (1995)
  • The Fix for '96 (1996)
  • An Evening of New Music (1997)
  • Touring into Infinity (1997-1998)
  • Deep Purple/ELP/Dream Theater Tour (1998)
  • An Intimate Evening with Dream Theater (1998)
  • Pre-Scenes From a Memory (1999)
  • Scenes From a Memory Tour (1999)
  • Metropolis 2000 (2000)
  • World Tourbulence (2002)
  • Escape From the Studio (2003)
  • Train of Thought Tour (2004)
  • Octavarium Tour (2005-2006)
  • Gigantour 2005 (2005)
  • Chaos in Motion Tour (2007-2008)
  • Progressive Nation 2008 (2008)
  • Black Clouds & Silver Linings Tour (2009-2010)
  • Progressive Nation 2009 (2009)
  • The Final Frontier World Tour 2010 (2010)
  • A Dramatic Turn of Events Tour (2011)
  • Along for the Ride Tour (2014)
  • 30th Anniversary Tour (2015)
  • The Astonishing Live (2016)
  • Images, Words & Beyond (2018)
  • Distance over Time Tour (2019)

อ้างอิง[แก้]

  1. Singer, Quentin (October 25, 2023). "Drummer Mike Portnoy Has Rejoined Dream Theater". Forbes. สืบค้นเมื่อ October 26, 2023.
  2. Billboard Chart history for Dream Theater can be seen at แม่แบบ:BillboardID/D/แม่แบบ:BillboardEncode/D/chart Billboard.com.
  3. "Guitar World's (Readers Choice) Greatest 100 Guitar Albums Of All Time". chud.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ สิงหาคม 5, 2012. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 7, 2012.
  4. "Classic Rock Magazine - Rock's 30 Greatest Concept Albums (March 2003)". rocklistmusic.co.uk. สืบค้นเมื่อ May 15, 2012.
  5. "Dream Theater". iMusic.
  6. "JOHN PETRUCCI". TC Electronic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 30, 2017.
  7. "Dream Theater, Megadeth, Mastodon Among Grammy Awards Nominees". Blabbermouth.net. November 30, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2011. สืบค้นเมื่อ December 1, 2011.
  8. "Dream Theater Earn Second Grammy Nomination – Dream Theater – The Astonishing Out 1.29 | Official Site Official Blog". Dreamtheater.net. ธันวาคม 7, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 6, 2016. สืบค้นเมื่อ มกราคม 30, 2016.
  9. Portnoy, Mike. "Mike Portnoy leaves Dream Theater". Facebook. สืบค้นเมื่อ July 6, 2012.
  10. Bosso, Joe. "Interview: Dream Theater's John Petrucci, Jordan Rudess on the band's future". MusicRadar. สืบค้นเมื่อ December 3, 2012.
  11. "Mike Portnoy: 'It Would Be A Tragedy If I Never Got To Be On Stage With Dream Theater Again'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-03. สืบค้นเมื่อ July 24, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]