ดริฟต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดริฟท์)
การประกวดดริฟต์ที่ แอตแลนตา สหรัฐอเมริกา

การดริฟต์ (อังกฤษ: Drifting หรือ Powersliding) คือ รูปแบบการขับขี่รถยนต์ในทางโค้ง โดยทำการโอเวอร์สเตียร์ (oversteer) เข้าหาโค้ง แล้วผ่านโค้งนั้นไปสำหรับการนี้โดยเฉพาะ การดริฟต์อาจใช้เพื่อความสนุก ซึ่งมีจุดประสงค์ที่ผสมผสานระหว่างความสนุกกับการเสริมทักษะในการควบคุมรถ หรืออาจใช้ในการแข่งขันก็ได้

การแข่งดริฟต์ เป็นการแข่งที่ดูจากพฤติกรรมการดริฟต์มากกว่าความเร็วที่วิ่งได้ต่อรอบหรือตำแหน่งที่เข้าเส้นชัย เกณฑ์การตัดสินหลัก ๆ จะขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัยได้แก่ มุมการเข้าโค้ง ไลน์ ความเร็ว และลูกเล่นหรือสไตล์การดริฟต์ โดยปกติแล้วการดริฟต์ไม่ใช่วิธีที่ทำให้ไปได้เร็วที่สุดในสนามแข่ง แต่ในบางครั้งการดริฟต์นั้นจะมีประโยชน์อย่างมาก เช่นในการแข่งแรลลี่ แต่ในการแข่งเซอร์กิตนั้น การดริฟต์จะทำให้รถไปได้ช้ากว่าการใช้เทคนิคธรรมดา การดริฟต์นั้นจะสามารถกระทำได้ง่ายกับรถที่เป็นระบบขับเคลื่อนด้วยล้อหลัง เพราะลักษณะการถ่ายกำลังและการถ่ายเทน้ำหนักของรถประเภทนี้เหมาะสมที่สุด

ประวัติ[แก้]

การดริฟต์มีต้นกำเนิดมาจากกลุ่มนักแข่งตามถนนบนภูเขาแถบชนบทของประเทศญี่ปุ่น เป็นการแข่งบนถนนบนภูเขา (เรียกว่า โทเกะ) เคอิชิ ทสึชิยะ (Keiichi Tsuchiya) ที่ได้ชื่อดริฟต์คิง เมื่อตอนแข่งรถอยู่ และอยู่ในอันดับรั้งท้าย เขาตัดสินใจที่จะเหวี่ยงรถผ่านโค้ง ทำให้เหล่าฝูงชนรู้สึกตกตะลึงและรู้สึกประหลาดใจไปตาม ๆ กัน ภายหลัง Tsuchiya เรียกมันว่า “การดริฟต์” ในขณะที่นี่อาจไม่ใช่ต้นกำเนิดของมัน แต่มันก็เป็นที่มาของชื่อและการแสดงให้คนอื่นเห็นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1977 เคอิชิเริ่มต้นอาชีพการแข่งของเขาด้วยการขับรถหลายคัน ในการแข่งระดับมือสมัครเล่นรายการต่าง ๆ การแข่งขันโดยใช้รถที่ไม่ค่อยมีกำลังนั้นค่อนข้างยาก แต่ก็ทำให้ได้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี ต่อมาเคอิชิได้มีโอกาสขับรถแข่งโตโยต้า เออี86 สปรินเตอร์ ทรูเอโน่ ซึ่งมีสปอนเซอร์หลักคือ ADVAN ในหลาย ๆ การแข่ง ในขณะที่เข้าโค้งลงเนิน เขาจะดริฟต์รถของเขา ทำให้ได้ความเร็วขณะเข้าโค้งมากกว่าคู่แข่งคนอื่น ๆ เทคนิคนี้ ทำให้เขาได้รับการขนานนามว่าเป็น Drift King ไม่ใช่เพราะอย่างที่หลายคนเข้าใจว่าเขาเป็นคนแรกที่ดริฟต์

รายการแข่งดริฟต์[แก้]

มีหลายรายการได้แก่

  1. d1 professional drift championship จัดในญี่ปู่น
  2. fd formula drift จัดในอเมริกา และประเทศอื่นๆ
  3. European Drift Championship
  4. Australian Drifting Grand Prix
  5. D1 new zealand