ณัฏฐ์ บรรทัดฐาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ณัฎฐ์ บรรทัดฐาน)
นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม 2554 – 9 ธันวาคม 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 ธันวาคม พ.ศ. 2517 (49 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (พ.ศ.2547-ปัจจุบัน)
คู่สมรสประสันตยา บรรทัดฐาน (เกตวัลห์)
ลายมือชื่อ

นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ[แก้]

นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2517 เป็นบุตรชายของนายบัญญัติ บรรทัดฐาน และนางสมนึก บุญชู ต่อมาบิดาไปแต่งงานใหม่กับนางจิตติมา สังขะทรัพย์ บุตรีของร้อยโทอุดม สังขะทรัพย์ รับราชการทหาร และนางสมถวิล สังขะทรัพย์ เป็นอาจารย์ ผู้อำนวยการโรงเรียน และเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนสมถวิล สุขุมวิท 67 โรงเรียนดวงถวิล โรงเรียนสมถวิล ราชดำริ โรงเรียนสมถวิล หัวหิน โรงเรียนอนุบาลสมาคมสตรีไทยและแผนกรับเลี้ยงเด็กยากจน โรงเรียนสอนภาษา สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงเรียนศูนย์ฝึกอาชีวเกษตรสงเคราะห์ (จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดสระบุรี)

ณัฏฐ์ สมรสกับนางประสันตยา เกตวัลห์ บุตรี นายประเดิม และ ดร.ชิตาภา เกตวัลห์[1]

ณัฏฐ์สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และระดับปริญญาตรี สาขาการเงินการธนาคาร จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ Post Graduate Diploma in Business Management University of Plymouth ประเทศอังกฤษ[2]

งานการเมือง[แก้]

ณัฎฐ์ บรรทัดฐาน เริ่มต้นทำงานเป็นกรรมการบริษัท บริษัท นัมเบอร์ซิกส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานขาย บริษัท โรแยลซีรามิค อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสนามสู่การเมืองระดับชาติ และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 15[2] เอาชนะนายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ[3]

ในปี 2562 เขาลงสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 38[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://sut1919.blogspot.com/2012/01/blog-post_2187.html
  2. 2.0 2.1 ไทยรัฐ
  3. "ณัฏฐ์ บรรทัดฐาน"ไม่ติดหนวด เบื้องหลังโค่น"ภักดีหาญส์"ผมไม่อยากเห็นนักการเมืองเป็นตัวตลก[ลิงก์เสีย]
  4. เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๘๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]