ฐาปไพพรรณ ไชยศรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฐาปไพพรรณ ไชยศรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเต็มฐาปไพพรรณ ไชยศรี
ชื่อเล่นบะหมี่
เกิด29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (34 ปี)
ไทย จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย
ส่วนสูง1.68 เมตร (5 ฟุต 6 นิ้ว)
น้ำหนัก60 กก.
กระโดดตบ295 ซม.
บล็อก275 ซม.
ข้อมูล
ตำแหน่งตัวรับอิสระ
สโมสรปัจจุบันไทย ไทย-เดนมาร์ค ขอนแก่นสตาร์
หมายเลข12
ทีมชาติ
2008–2019, 2021ไทย ทีมชาติไทย

ฐาปไพพรรณ ไชยศรี ชื่อเล่น บะหมี่ เกิดวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ที่จังหวัดขอนแก่น เป็นอดีตนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย

ประวัติ[แก้]

ฐาปไพพรรณ เป็นบุตรของ สุพจน์ กับรสรินทร์ ไชยศรี เริ่มเล่นวอลเลย์บอลครั้งแรกตอนอายุ 9 ขวบและเป็นตัวสำรองมาเรื่อย ๆ จนกระทั่ง ป.5 ได้ลงสนามตัวจริงเล่นตำแหน่งตัวตบ แต่ไม่เคยได้ตบ เนื่องจากตัวเล็ก เพื่อนจึงไม่กล้าจ่ายบอลให้ จนกระทั่ง ม.1 ได้รับแรงบันดาลใจจากรุ่นพี่จนสามารถได้เป็นตัวแทนนักกีฬาโรงเรียน และช่วง ม.6 ฐาปไพพรรณก็มาฝึกซ้อมอยู่กับแคมป์ทีมชาติ จนกระทั่งเรียนปี 1 จึงติดเป็นตัวสำรองทีมชาติไทย โดยเล่นเป็นตัวรับลงแข่งขันครั้งแรกคือ คัดโอลิมปิกเกมส์ 2008 ที่ประเทศญี่ปุ่น ก่อนที่จะได้เป็นลิเบอโรในรายการสโมสรหญิงชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งการเป็นลิเบอร์โรสร้างความกดดันให้กับฐาปไพพรรณเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่เธอไม่ถนัด แม้หลาย ๆ นัด บะหมี่ จะได้แค่ยืนข้างขอบสนาม เพื่อเป็นแรงเชียร์ให้พี่และเพื่อน ๆ แต่เธอไม่เคยถอดใจที่จะรับใช้ชาติ และยังคงฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาฝีมือของตัวเองต่อไป จนในที่สุดเธอก็มีโอกาสแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวในการแข่งขันเวิลด์ กรังด์ปรีซ์ 2012 ที่นครปฐม ซึ่งฐาปไพพรรณ คือหนึ่งในประวัติศาสตร์การแข่งขันที่ถูกจารึก หลังสาวไทยเฉือนชนะทีมชาติคิวบา 3-2 เซต

นอกจากนั้น ฐาปไพพรรณยังแสดงผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในศึกเวิลด์กรังด์ปรีซ์ เมื่อครั้งที่พบกับเจ้าถิ่นอย่างจีน โดยนัดดังกล่าว ฐาปไพพรรณได้ลงไปทำหน้าที่แทนวิลาวัณย์ และเธอก็สามารถช่วยให้ทีมชาติไทยสร้างประวัติศาสตร์ ชนะทีมชาติจีนในแผ่นดินใหญ่ได้เป็นครั้งแรก โดยฐาปไพพรรณเป็นผู้ที่สร้างความกดดันผู้เล่นจีนทั้งตบและบล็อก แม้เธอจะมีส่วนสูงที่น้อยที่สุด แต่กลับกระโดดได้สูงถึง 295 เซนติเมตร ซึ่งใกล้เคียงกับวิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์ และปลื้มจิตร์ ถินขาว กระทั่งนัดดังกล่าว เธอได้รับการยกให้เป็น woman of the match

การศึกษา[แก้]

สโมสร[แก้]

ผลงาน[แก้]

บุคคล[แก้]

สโมสร[แก้]

ทีมชาติ[แก้]

ชุดใหญ่[แก้]

ชุดมหาวิทยาลัย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Best Players Of 2014 Volleyball Proliga". 16 มี.ค. 2014.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ให้แก่นักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยและเจ้าหน้าที่ เก็บถาวร 2013-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๒ ข ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ หน้า ๑

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]