ฐากร ตัณฑสิทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฐากร ตัณฑสิทธิ์
ประธานคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม [a]
เริ่มดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2566
สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 26
ก่อนหน้าอัครวัฒน์ อัศวเหม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
12 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
เลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ดำรงตำแหน่ง
5 มกราคม พ.ศ. 2555 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 กันยายน พ.ศ. 2503 (63 ปี)
จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย
เชื้อชาติไทย
พรรคการเมืองไทยสร้างไทย (2565–ปัจจุบัน)
คู่สมรสนางพรพาณี ตัณฑสิทธิ์
บุตร3 คน

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ (เกิด 10 กันยายน พ.ศ. 2503) อดีตเลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และประธานคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร อดีตเลขาธิการ กสทช คนแรกของสำนักงาน กสทช

ประวัติ[แก้]

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2503 ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับสอง) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโทด้านรัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยดีทรอยต์[1] สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2556 ได้รับปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในปี 2558 ได้รับรางวัลบุคคลคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์แห่งปีจากมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2560 ได้รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ ด้านทรัพยากรมนุษย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2] และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขารัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ในปีดังกล่าวอีกด้วย[3]

ครอบครัว[แก้]

ในด้านครอบครัว ได้สมรสกับ นางพรพาณี ตัณฑสิทธิ์ สำเร็จการศึกษาอักษรศาสตร์บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและปริญญาโทสาขา Teaching English as a second language จาก University of South Florida (USF) และเป็นอดีตอาจารย์คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยมีบุตรธิดา 3 คน ได้แก่ นายฉันทวิชญ์ ตัณฑสิทธิ์ นักเรียนทุนธนาคารแห่งประเทศไทย สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีจากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน(LSE) ปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ปริญญาโทด้านนโยบายสาธารณะจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และกำลังศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้านนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด น.ส.อิสรีย์ ตัณฑสิทธิ์ สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขากฎหมายจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ระดับปริญญาโท สาขากฎหมายจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย(ANU) และเนติบัณฑิตไทย ปัจจุบันรับราชการเป็นผู้พิพากษา และนายกฤตธี ตัณฑสิทธิ์ นักเรียนทุนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในระดับปริญญาตรี สาขานโยบายสังคม จากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน(LSE) และปริญญาโทด้าน Medical Anthropology จาก University College London (UCL) ปัจจุบันเป็นอาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การทำงาน[แก้]

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เคยทำงานอยู่ที่สำนักงบประมาณ ตั้งแต่ปี 2530 - 2548 กระทั่งมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการ กสทช. มีผลงานสำคัญคือการจัดการประมูลคลื่นความถี่ในย่านความถี่ที่สามารถนำมาใช้กับเทคโนโลยี 4G ในช่วงปี พ.ศ. 2558 ที่มีการแข่งขันในการประมูลอย่างดุเดือดจนสร้างรายได้เข้ารัฐได้อย่างมหาศาล โดยการประมูลครั้งแรกของคลื่นย่าน 1800 MHz เป็นเวลาสองวันสามารถสร้างรายได้ให้กับรัฐกว่า 8 หมื่นล้านบาท[4] และ การประมูลคลื่น 900 MHz ในเดือนถัดมาที่ใช้เวลากว่า 4 วัน 3 คืน นั้นสร้างรายได้เข้ารัฐกว่าอีกหนึ่งแสนห้าหมื่นล้านบาท[5] และในปีดังกล่าว ยังได้ออกกฎลงทะเบียนซิมเพื่อจัดระเบียบและสร้างความปลอดภัยให้แก่สังคม

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ บริหารงานของ กสทช. โดยมีการจัดการประมูลในคลื่นย่าน 1800 MHz และ คลื่น 900 MHz สร้างรายได้เข้ารัฐกว่าอีก 5 หมื่นล้านบาท[6] ถัดมาในปี 2562 ก็ได้จัดประมูลคลื่น 700 MHz ล่วงหน้าเพื่อกรุยทางประเทศไทยเข้าสู่ยุค 5G และโกยเงินเข้ารัฐกว่าอีก 5.6 หมื่นล้านบาท[7] และในปี 2563 ได้มีการจัดประมูลคลื่น 5G อีก 4 ย่าน คือ 700 MHz, 1800 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz โดยการเคาะราคาการประมูลได้เกิดขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 โดยผลการประมูลในครั้งนั้น ได้มีการสร้างรายได้เกิดขึ้นประมาณ 100,521 ล้านบาท และผู้ชนะการประมูลทุกรายได้มีการชำระค่าประมูลและรับใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว จึงทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประมูล 5G สำเร็จประเทศแรกในกลุ่มอาเซียน[8][9]

งานการเมือง[แก้]

ฐากร เข้าร่วมงานการเมืองกับคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยสร้างไทย ต่อมาได้เลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.แทนคุณหญิงสุดารัตน์ ที่ลาออกจากตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566

ฐากร ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 เพื่อแสดงความรับผิดชอบกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคลงมติสวนทางกับมติพรรคร่วมฝ่ายค้าน[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ก่อนวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ชื่อเดิมคือ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม

อ้างอิง[แก้]

  1. "ฐากร ตัณฑสิทธิ์". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. ‘เลขาฯกสทช.’ รับรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ ด้านทรัพยากรมนุษย์ มธ.
  3. สภา มศว มอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 5 ผู้ทำคุณประโยชน์ให้สังคม
  4. Thailand's 4G auction bids rise to $2.26 bln at close
  5. Thailand: Jasmine, True Corp bid $4.2b to win marathon 4G auction on 900MHz
  6. เวทีเอก “DTAC”-“กสทช.” มาตรการเยียวยาคลื่น!
  7. กสทช.ยิ้มแก้มปริได้5.6หมื่นล้านจัดสรรคลื่น 700 MHz โวเยียวยาทีวีดิจิทัลแล้วยังเหลือเข้าคลัง2หมื่นล้าน
  8. ประมูลคลื่น “5G” เป้า 1.2 แสนล้าน ถ้าขายออกคลื่นเดียว “กสทช.”จะได้เงินเท่าไร
  9. "Thailand 'first' Asean nation to roll out 5G commercial service". nationthailand (ภาษาอังกฤษ). 2020-08-19.
  10. “ฐากร” ลาออกเลขาฯ พรรคไทยสร้างไทย รับผิดชอบ หลัง 3 สส.โหวต
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๕๐, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๔๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๐, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘