ซูบารุ 360

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซูบารุ 360
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตซูบารุ
เรียกอีกชื่อซูบารุ 450 [1]
K-10 (ระหว่างการพัฒนา)[2]
เริ่มผลิตเมื่อ1958 - 1971
แหล่งผลิตโรงงาน โอกิตะ, โอตะ,กุนมะ, ประเทศญี่ปุ่น
ผู้ออกแบบชินโรคุ โมโมเสะ
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทไมโครคาร์
รูปแบบตัวถัง2-ประตู ซีดาน
2-ประตู เปิดประทุน
3-ประตู สเตชั่น วาก่อน
โครงสร้างเครื่องยนต์วางหลัง ขับเคลื่อนล้อหลัง
รุ่นที่คล้ายกันซูบารุ แซมบ้า
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
  • 356cc EK31 2สูบเรียง
  • 356cc EK32 2สูบเรียง
  • 423cc EK51 2สูบเรียง
มิติ
ระยะฐานล้อ1,801 mm (70.9 in)
ความยาว2,990 mm (117.7 in)
ความกว้าง1,300 mm (51.2 in)
ความสูง1,379 mm (54.3 in)
น้ำหนัก410 kg (900 lb)
ระยะเหตุการณ์
รุ่นต่อไปซูบารุ อาร์ทู

[3]ซูบารุ 360 เป็นรถยนต์ขนาดเล็กที่ผลิตโดยซูบารุ เริ่มสายการผลิตในปี 1958 จนถึงปี 1971 โดยตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ ซูบารุ360 อยู่ในสายการผลิต ซูบารุสามารถผลิตออกมาได้มากถึง 392,000 คัน ชื่อรุ่น "360" นั้นมาจากขนาดเครื่องยนต์ คือ 356cc จากขนาดตัวรถที่เล็ก, น้ำหนักรวมประมาณ450กิโลกรัม, ตัวถังแบบโมโนคอก(Monocoque), ระบบกันสะเทือนหลังแบบกึ่งอิสระสวิงแอ๊กเซิ่ล(Swing Axle), หลังคาผลิตจากไฟเบอร์กลาสและเป็นรถราคาไม่แพง ที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของเคย์คาร์(Kei car)ที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนดขึ้นมา เพราะต้องการที่จะผลักดันรถขนาดเล็กราคาประหยัดให้เป็นรถยนต์แห่งชาติ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระประชาชนหลังเหตุการณ์ สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยังมีความต้องการใช้รถยนต์อยู่ในขณะนั้น

ในประเทศญี่ปุ่นนั้น ซูบารุ 360 มีชื่อเล่นว่า เลดี้บัก(Ladybug) ที่แปลว่าแมลงเต่าทอง ซูบารุ 360 ถือเป็นหนึ่งในรถยนต์ญี่ปุ่นที่ขายดีที่สุด ถึงแม้จะมีเพียงแค่เจเนอร์เรชั่นเดียวก็ตาม นาย มัลคอม บริคลิน ได้น้ำเข้ารถยนต์ ซูบารุ 360 จำนวน 10,000 คัน ไปจำหน่ายใน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้ข้อความโฆษณาว่า "ถูกและขี้เหร่".

เครื่องยนต์และการออกแบบ[แก้]

เครื่องยนต์ รหัส EK31 ที่ถูกใช้ใน ซูบารุ 360

ซูบารุ 360 ใช้เครื่องยนต์ขนาด 356cc 2 จังหวะ 2 สูบเรียง โดยถูกจัดวางไว้ที่บริเวณด้านท้ายของตัวรถ ในแนวขวางกับตัวรถ และถูกเปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 3 มีนาคม ปี 1958[4]

เช่นเดียวกับเครื่องยนต์ 2 จังหวะรุ่นอื่นๆ สำหรับการจ่ายเชื้อเพลิงเข้าสู่เครื่องยนต์นั้น จำเป็นที่จะต้องใช้เชื้อเพลิงที่ผสมกับออโต้ลู้ปแล้วเท่านั้น ฝาถังน้ำมันเชื้อเพลิงจึงมีลักษณะคล้ายถ้วย ใช้ในการตวงออโต้ลู้ปสำหรับเติมลงในถังน้ำมันเชื้อเพลิง ในปี 1964 ซูบารุได้เปิดตัวระบบ ซูบารุเมติก(Subaru matic) เป็นระบบที่จะทำการผสมน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ากับออโต้ลู้ปอัตโนมัติ ก่อนที่จะจ่ายเข้าสู่เครื่องยนต์ โดยที่สามารถเติมออโต้ลู้ปได้ที่ถังออโต้ลูปที่แยกออกจากถังเชื้อเพลิงต่างหาก ไม่ต้องตวงลงในถังน้ำมันเชื้อเพลิงอีกต่อไป

ในรุ่นแรกที่ผลิตออกมานั้น จะมีลักษณะเด่นด้วยเบาะแถวหน้าตอนยาว(ลักษณะคลายกับเบาะของรถกระบะบรรทุกตอนเดียว), แผงคอนโซลหน้าจะผลิตจากโลหะทั้งชิ้นและใช้ระบบเกียร์ธรรมดาแบบ 3 จังหวะอีกด้วย ส่วนในรุ่นที่ผลิตตามออกมาในภายหลังจะมีการเพิ่มอุปกรณ์ต่างๆเข้ามา ในบางรุ่นย่อยจะติดตั้งช่องใส่สำภาระที่หลังเบาะนั่ง, กระจกข้างแถว2สามารถแง้มเปิดได้ในลักษณะคล้ายกระจกแค็ปของรถกระบะ, เปลี่ยนจากเบาะแถวยาวเป็นเบาะแยกสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร, ช่องสำหรับเก็บแผนที่, เกียร์ธรรมดาแบบ 4 จังหวะและสามารถเลือกติดตั้งเกีร์ธรรมดา 3 จังหวะแบบคลัตช์อัตโนมัติ(Autoclutch) ซึ่งในรุ่นคลัตช์อัตโนมัตินี้จะไม่มีการติดตั้งแป้นคลัตช์มาให้ คลัตช์จะถูกควบคุมการทำงานด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าแทน นอกจากที่กล่าวมาแล้วนั้นเอกลักษณ์ที่สำคัญของ ซูบารุ 360 อีกข้อหนึ่งคือถังน้ำมันเชื้อเพลิงถูกติดตั้งไว้สูงกว่าเครื่องยนต์ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ปั๊มเชื้อเพลิงแบบรถยนต์รุ่นอื่นๆ แต่อาศัยการไหลตามแรงโน้มถ่วงลงสู่ระบบจ่ายเชื้อเพลิงก่อนเข้าสู่เครื่องยนต์ต่อไป

ประสิทธิภาพ[แก้]

ในiรุ่นที่ใช้ระบบเกียร์ธรรมดา 3จังหวะนั้น สามารถทำความเร็วูงสุดได้ถึง 60 ไมล์ต่อชัวโมง หรือ ประมาณ 97 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ด้วยน้ำหนักตัวประมาณ 450 กิโลกรัม ส่งผลให้ ซูบารุ 360 ได้รับการยกเว้นจากการบังคับใช้กฎระเบียบด้านความปลอดภัยของสหรัฐอเมริกา รายงานผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกาบันทึกไว้ว่า ซูบารุ 360 สามารถทำความเร็วจาก 0-60 ไมล์ต่อชั่วโมง ได้ที่ประมาณ 37 วินาที และอัตราการบริโภคที่ประมาณ 25-35 ไมล์ ต่อ แกลลอน หรือ ประมาณ 11-15 กิโลเมตร ต่อ ลิตร เครื่องยนต์ EK31 รุ่นแรก มีกำลังเพียง 16 แรงม้าเท่านั้น ส่วนในรุ่นสปอร์ทที่ใช้เครื่องยนต์ EK32 มีกำลังเพิ่มขึ้นเป็น 25 แรงม้า และ 36 แรงม้าในรุ่นสุดท้ายของสายการผลิต ในรุ่นส่งออกนั้น ซูบารุได้ติดตั้งเครื่องยนต์ EK51 เพื่อแทนที่เครื่องยนต์ EK31 เดิม ทำให้ได้กำลังเพิ่มขึ้นเป็น 23 แรงม้าอีกด้วย

รูปแบบตัวถัง[แก้]

ซูบารุ 360 คัสตอม

ซูบารุ 360 ถูกผลิตออกมาหลาหหลายรูปแบบตัวถัง ไม่ว่าจะเป็น 2 ประตู สเตชั่นวาก่อน (ซูบารุเรียกตัวถังสเตชั่นวาก่อนว่า คัสต้อม), ตัวถัง 2 ประตู เปิดประทุน, และตัวถัง 2 ประตู ซีดาน ที่ใช้เป็นพื้นฐานให้ต่อยอดไปเป็นรุ่นสปอร์ทที่ถูกผลิตออกมาถึง2รุ่นด้วยกัน รุ่นแรกคือ ซูบารุ ยัง เอส (Young S) มาพร้อมกับเครื่องยนต์ที่ถูกปรับปรุงขึ้นเล็กน้อย ซูบารุเรียกเครื่องยนต์ที่ถูกปรับปรุงนี้ว่า EK32F และยังใช้เกียร์ธรรมดา 4 จังหวะแทนเกียร์ 3 จังหวะเดิมอีกด้วย ภายในห้องโดยสารได้มีการเปลี่ยนจากเบาะเดี่ยวตอนยาวมาใช้เป็นเบาะแยกสำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารแทน ส่วนภายนอกนั้น หลังคาได้มีการคาดแถบสีขาวเข้าไปและทำเป็นร่องบุ๋มไว้สำหรับใส่กระดานโต้คลื่นอีกด้ว รุ่นต่อมาคือ ซูบารุ ยัง เอสเอส (Young SS) ในภาพรวมของ ยังเอสเอส นั้นมีความคล้ายคลึงกับ ยังเอส เพียงแต่ซูบารุทำการปรับปรุงเครื่องยนต์อีกครั้ง โดยการเปลี่ยนมาใช้กระบอกสูบชุบแข็ง และคาร์บูเรเตอร์คู่รุ่นBS32จาก มิคูนิ โซเลกซ์(Mikuni-Solex) ซูบารุเรียกเครื่องยนต์ที่ถูกปรับปรุงใหม่นี้ว่า EK32S ผลจากการปรับปรุงในครั้งนี้ ส่งผลให้เครื่องยนต์มีแรงม้าสูงถึง 36 แรงม้า (หรือประมาณ 27 กิโลวัตต์) ทำให้เครื่องยนต์รุ่นนี้มีอัตราส่วนแรงม้าต่อปริมาตรเครื่องยนต์ที่ 100 แรงม้าต่อลิตร

ในปี 1961 ซูบารุได้ผลิตรถตู้และรถบรรทุกเล็ก ที่มีชื่อว่า ซูบารุแซ็มบ้า โดยซูบารุได้นำเครื่องยนต์ของ ซูบารุ 360 มาใช้ในรถตู้และรถบรรทุกใหม่นี้ด้วย จากขนาดตัวรถที่กระทัดรัด สามารถขับไปในตรอกซอกซอยที่มีขนาดเล็กได้ดี และยังประหยัดน้ำมันอีกด้วย ส่งผลให้รถบรรทุกเล็กนี้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ส่วนในรุ่นที่ผลิตเพื่อส่งออกนั้นรู้จักในชื่อ ซูบารุ 450 ชื่อใหม่นี้มาจากการที่ซูบารุเปลี่ยนเครื่องยนต์จาก EK31 เดิม มาใช้เครื่องยนต์ EK51 ซึ่งมีขนาด 423cc แทน ในบางประเทศรู้จัก ซูบารุ 450 ในชื่อ ซูบารุ ไมอา(Subaru Maia)

คลังภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. New Subaru, The Autocar, 4 November 1960, page 821
  2. "Subaru History". Subaru Global. Subaru Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-06. สืบค้นเมื่อ 10 April 2017.
  3. https://en.wikipedia.org/wiki/Subaru_360
  4. "Subaru History". Subaru Global. Subaru Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-06. สืบค้นเมื่อ 10 April 2017.