ซุคฮอย ซู-9

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซุคอย ซู-9
บทบาทเครื่องบินสกัดกั้น
ชาติกำเนิด สหภาพโซเวียต
บริษัทผู้ผลิตซุคฮอย
บินครั้งแรก24 มิถุนายน พ.ศ. 2499
เริ่มใช้พ.ศ. 2503
สถานะปลดประจำการในเมื่อปีพ.ศ. 2513
จำนวนที่ผลิต1,150
พัฒนามาจากไม่มี
แบบอื่นซุคฮอย ซู-11

ซุคฮอย ซู-9 (อังกฤษ: Sukhoi Su-9 Fishpot) (นาโต้ใช้ชื่อรหัสว่าฟิชพอท) เป็นเครื่องบินสกัดกั้นทุกสภาพอากาศติดตั้งขีปนาวุธเครื่องยนต์เดียวที่สร้างขึ้นโดยสหภาพโซเวียต

การพัฒนา[แก้]

ซู-9 เกิดจากการศึกษาอากาศพลศาสตร์ของศูนย์วิจัยในโซเวียต ในช่วงสงครามเกาหลี ซึ่งเพิ่มความรู้ในการปรับแต่งโครงสร้างเพื่อเพิ่มอากาศพลศาสตร์ให้กับเครื่องบินไอพ่น ทำการบินครั้งแรกในปีพ.ศ. 2499 โดยใช้ชื่อว่าที-405 ซู-9 ถูกสร้างขึ้นในเวลาเดียวกับซู-7 ฟิตเตอร์ และทั้งสองแบบฝั่งตะวันตกได้มีโอกาสเห็นที่วันมหกรรมการบินที่ตูชิโนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2499 เข้าประจำการในปีพ.ศ. 2502

ซู-9 ถูกผลิตออกมาทั้งสิ้นประมาณ 1,100 ลำ เชื่อกันว่าซู-9 บางลำถูกพัฒนาเป็นซู-11 ฟิชพ็อท-ซี ไม่มีการส่งออก ซู-9 ที่เหลือถูกเปลี่ยนมาเป็นซู-11 ในเวลาต่อมาซึ่งถูกปลดประจำการในทศวรรษที่ 2513 บางลำถูกดัดแปลงเพื่อใช้ทดสอบหรือเป็นเครื่องบินควบคุมด้วยเครื่องควบคุมระยะไกลอย่างอากาศยานไร้คนขับ ในเวลาต่อมาก็ถูกแทนที่โดยซู-11 ซู-15 ฟลากอน และมิก-25 ฟ็อกซ์แบท

สถิติในด้านการรบของซู-9 นั้นไม่ชัดเจน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ว่าทำหน้าที่ในการสกัดกั้นและลาดตระเวน แต่ในด้านรายละเอียดยังคงเป็นความลับ

มีรายงานว่าซู-9 ได้เข้าสกัดกั้นเครื่องบินยู-2 ของฟรานซิส แกรี่ พาวเวอร์สที่ทำการบินเข้ามาในน่านฟ้าของโซเวียตเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 ซู-9 ที่ได้รับการผลิตขึ้นใหม่ได้บินเข้าใกล้ยู-2 ลำดังกล่าว ซู-9 ลำนั้นไม่ได้ติดอาวุธและทำการชนเข้ากับยู-2 จนพลาดเป้า เนื่องมาจากขนาดและความเร็วที่แตกต่างกันของเครื่องบนทั้งสองลำ สุดท้ายซู-9 ก็บินจากไปเพราะเชื้อเพลิงใกล้หมด

ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2505 ซู-9 ลำหนึ่งที่ได้รับการดัดแปลงโดยมี วลาดิมีร์ เซอร์เกียฟวิช อิลยูชิน เป็นนักบินได้สร้างสถิติโลกด้วยการบินขึ้นไปสูงถึง 28,852 เมตร (94,658 ฟุต) ในเดือนกันยายนปีเดียวกันอิลยูชินได้ทำลายสถิติมากมายด้วยเครื่อบินลำเดิม

การออกแบบ[แก้]

ลำตัวและส่วนหางของซู-9 นั้นมาจากซู-7 แต่ไม่เหมือนตรงที่ปีก ซู-9 นั้นใช้ปีกทรงสามเหลี่ยม มันมีเบรกอากาศอยู่ที่ส่วนหลัง เครื่องยนต์ไลยูห้า เอแอล-7 แบบเดียวและช่องรับลมที่ส่วนจมูกเหมือนกับของซู-7 ซู-9 ถูกสร้างขึ้นมาจากงานแบบก่อนๆ ที่ใช้ชื่อว่าที-9 ซึ่งใกล้เคียงกับซู-9 อย่างมาก ในซุคฮอยซู-9 จะถูกเรียกว่าที-43

ปีกทรงสามเหลี่ยมนั้นถูกนำมาใช้เพราะมีแรงฉุดน้อยในขณะทำการบินที่ความเร็วเหนือเสียง นอกจากนั้นมันเพิ่มพื้นที่ในการเก็บเชื้อเพลิงได้มากกว่าเมื่อเทียบกับซู-7 ซู-9 สามารถทำความเร็วได้ถึง 1.8 มัคหรือ 1.14 มัคเมื่อติดตั้งขีปนาวุธเข้าไปด้วย อัตราสินเปลืองเชื้อเพลิงของยังถูกมองว่าน้อย แต่อย่างไรก็ตามมันก็ถูกจำกัดด้วยเรื่องพิสัย นอกจากนี้แล้วความเร็วในการหมุนที่แม้ว่าจะมากกว่าซู-7 ซึ่งทำได้สูงถึง 360 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซู-9 นั้นมีการควบคุมที่ดีกว่า แต่ก็มักทำให้นักบินพลาดได้บ่อยกว่าซู-7 ที่มีคันบังคับหนักกว่า

ซู-9 มีเรดาร์อาร์1แอลในส่วนที่เป็นกรวยแหลมและมีอาวุธเป็นขีปนาวุธอากาศสู่อากาศเค-5 แต่ก็เป็นขีปนาวุธที่แทบจะไร้ประโยชน์เมื่อทำการรบติดพันเพราะว่ามันมีพิสัยที่ใกล้มาก ไม่เหมือนกับซู-7 และซู-15 ตรงที่ซู-9 ไม่มีปืนใหญ่อากาศ ถึงแม้ว่าจะมีจุดติดตั้งอาวุธสองตำแหน่งบนลำตัว แต่ก็ถูกใช้เพื่อติดถังเชื้อเพลิงแทน

สำหรับรุ่นสองที่นั่งที่ใช้ในการฝึกนั้นมีชื่อว่าซู-9ยู ถูกผลิตออกมาในจำนวนที่จำกัด (ประมาณ 50 ลำ) มีชื่อเล่นว่าไมเดน (Maiden) มีจอแสดงระบบอาวุธและเรดาร์ในห้องนักบินทั้งสองห้อง ทำให้ผู้ฝึกสามารถซ้อมรบจริงๆ ได้ แต่เนื่องมาจากที่นั่งที่สองนั้นเป็นการเพิ่มการใช้เชื้อเพลิงจึงไม่เหมาะกับการรบจริง

รุ่นต่างๆ[แก้]

ที-405
เป็นต้นแบบของซู-9.
ซู-9
เป็นรุ่นตามมาตรฐานการผลิต มีประมาณ 1,100 ลำ
ซู-9ซู
รุ่นสำหรับการฝึก มันมีอาวุธและอุปกณ์ทุกอย่างเพียบพร้อมแต่ไม่สามารถทำการรบได้อย่างเต็มที่ มีเพียง 50 ลำเท่านั้นที่ถูกผลิต
ที-431
ซู-9 ที่ถูกดัดแปลงมาเพื่อทำลายสิถิติความสูงในปีพ.ศ. 2505
ซุคฮอย ซู-11
เป็นการพัฒนาก้าวต่อไปของซู-9.

รายละเอียด ซุคฮอย ซู-9[แก้]

[1]

  • ผู้สร้าง: (โรงงานสร้างอากาศยานแห่งสหภาพโซเวียต) ปัจจุบันคือบริษัทซุคฮอย
  • ประเภท:เจ๊ตขับไล่-โจมตีภาคพื้นดิน ที่นั่งเดียว
  • เครื่องยนต์:เทอร์โบเจ๊ตไลยูก้า เอแอล-7 เอฟ 1 ให้แรงขับ 9,007 กิโลกรัม
  • กางปีก:8.23 เมตร
  • ยาว:17.37 เมตร
  • สูง:4.88 เมตร
  • พื้นที่ปีก: 39.48 ตารางเมตร
  • น้ำหนักเปล่า: 9,072 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นปกติ: 12,247 กิโลกรัม
  • น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด:13,608 กิโลกรัม
  • อัตราเร็วขั้นสูงสุด: 1.8 มัค ที่ระยะสูง 11000 เมตร และ 0.95 มัค ที่ระยะสูง 305 เมตร
  • อัตราไต่ขั้นต้น: 137 เมตร/วินาที
  • เพดานบินใช้งาน: 17,000 เมตร
  • อาวุธ:อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศนำวิถีด้วยเรดาร์แบบ เอเอ-3 อัลคาไล (Alkaki) 4 นัด

ดูเพิ่ม[แก้]

การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
อากาศยานที่เทียบเท่า

อ้างอิง[แก้]

  1. อภิวัตน์ โควินทรานนท์,อากาศยาน1979ฉบับเครื่องบิน,เอวิเอชั่น ออบเซิร์ฟเวอร์,กรุงเทพ,2522

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]