ซีริล นอร์ทโคท พาร์กินสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซีริล นอร์ทโคท พาร์กินสัน (C. Northcote Parkinson) บุตรชายคนสุดท้องของ William Edward Parkinson เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2452 ที่เมืองดรูแฮม นอร์ทคาโรไรน่า สหรัฐอเมริกา และเสียชีวิตลงในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2536 ที่เมืองเคนท์ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ รวมอายุ 84 ปี

พาร์กินสันเป็นนักประวัติศาสตร์ ทหารเรือ นักประพันธ์ โดยหนังสือที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา และมียอดขายสูงสุด คือ กฎของพาร์กินสัน (Parkinson's Law) จากผลงานนี้เองทำให้เขาได้รับการยกย่องให้เป็นผู้รอบรู้แห่งศาสตร์การบริหารธุรกิจ

ประวัติ[แก้]

พาร์กินสัน เข้าเรียนที่โรงเรียนศิลปะทางตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี 1913 และในปี 1929 เขาเข้าเรียนที่ St. Peter's School และสอบเข้าศึกษาอนุปริญญาทางประวัติศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และสำเร็จการศึกษาในปี 1932 จากนั้นพาร์กินสันหันมาสนใจทางด้านประวัติศาสตร์แห่งราชนาวี และในปี 1934 พาร์กินสันเขียนหนังสือเล่มแรกของเขา คือ Edward Pellew, Viscount Exmouth และเขาก็ลงทะเบียนเข้าศึกษาต่อที่ King's College London โดยทำวิทยานิพนธ์เรื่อง War in the Eastern Seas (1793-1815) ซึ่งได้รับรางวัล Julian Corbett Prize in Naval History ประจำปี 1935

หลังจากสำเร็จการศึกษาในปี 1934 พาร์กินสันเข้ารับราชการที่กองทหารที่ 22 กรมทหารกรุงลอนดอน ในระหว่างปี 1938 – 1945 พาร์กินสันได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ต่างๆ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ประจำ Blundell's School (1938) เป็นผู้สอนวิชานาวี ณ Royal Naval College, Dartmouth (1939) ในปี 1940 พาร์กินสันได้รับแต่งตั้งให้เป็นกัปตันในกองทหารแห่งราชวงศ์ และก้าวสู่ตำแหน่งนายทหารผู้สอน ในปี 1943 พาร์กินสันสมรสกับ Ethelwyn Edith Graves นางพยาบาลประจำโรงพยาบาล Middlesex มีบุตรด้วยกัน 2 คน

หนังสือชื่อ กฎของพาร์กินสัน

ในปี 1945 พาร์กินสันถูกปล่อยตัวจากการรับราชการทหาร จากนั้นเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บรรยายวิชาประวัติศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยลิเวอร์พลู ในระหว่างปี 1946 – 1949 ในปี 1950 พาร์กินสันได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศสิงคโปร์

กฎ 10 ข้อ ของพาร์กินสัน[แก้]

1.กฎของพาร์กินสัน (Parkinson's Law, or The Rising Pyramid)เพื่อให้งานเสร็จสิ้น งานจะขยายออกไปจนเต็มเวลาที่มีอยู่ ข้อเท็จจริงนี้เป็นที่ยอมรับ ดังปรากฏในสุภาษิตว่า “คนที่ยุ่งที่สุดคือคนที่มีเวลาเหลือ” ดังนั้น หญิงชราที่มีเวลาว่างอาจจะใช้เวลาทั้งวันในการเขียนจดหมายถึงหลานสาว เธออาจจะใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงค้นหาไปรษณียบัตร หนึ่งชั่วโมงค้นหาแว่นตา ครึ่งชั่วโมงค้นหาที่อยู่ อีกหนึ่งชั่วโมงสิบห้านาทีเป็นเวลาเขียนข้อความ และใช้เวลาอีกยี่สิบนาทีตกลงใจว่าเมื่อออกจากบ้านไปทิ้งจดหมายที่ตู้ไปรษณีย์ที่ถนนถัดไป จะนำร่มไปด้วยหรือไม่ ในความพยายามทั้งหมดนี้ ถ้าเป็นคนที่มีภาระมากเขาอาจจะใช้เวลาเพียง 3 นาทีเท่านั้น

2.ความตั้งใจของประชาชนหรือการประชุมทั่วไปประจำปี (The Will of the People, or Annual General Meeting)

3.การเงินระดับสูงหรือจุดที่ความสนใจหายไป (High Finance, or The Point of Vanishing Interest) การประชุมจะใช้เวลาพิจารณาหัวข้อประชุม แปรผกผันกับจำนวนเงิน จำนวนเงินยิ่งมาก จะยิ่งใช้เวลาน้อยตามไป

4.ผู้อำนวยการและคณะรัฐมนตรี หรือสัมประสิทธิ์ของการไร้ประสิทธิภาพ (Directors and Councils, or Coefficient of Inefficiency)จำนวนของคณะกรรมการที่มีมากเกินไป จะทำให้การประชุมไม่มีประสิทธิภาพ

5.รายชื่อ หรือหลักการคัดเลือก (The Short List, or Principles of Selection)

6.แผนการ หรือแบบอาคารบริหาร (Plans and Plants, or The Administration Block)การบริหารงานให้เกิดผลสูงสุด ไม่ได้อยู่ที่แบบอาคาร หรือขนาดของห้องทำงานผู้บริหาร

7.บุคลิกภาพ หรือ สูตรของค๊อกเทล (Personality Screen, or The Cocktail Formula)บุคคลที่สำคัญที่สุดในงาน ไม่ใช่คนที่มีบุคลิกภาพดีที่สุดเท่านั้น

8.โรค Injelititis หรือ อัมพาตทำให้สิ้นกำลัง (Injelititis, or Palsied Paralysis)เมื่อในที่ทำงานมีคนที่เป็นอัมพาตในการทำงาน นิ่งเฉย เพียงหนึ่งคน จะทำให้องค์กรเกิดอัมพาตในไม่ช้า

9.จากหลังคามุงจากถึงรถยนต์แฟ็คการ์ด หรือสูตรเพื่อความสำเร็จ (Palm Thatch to Packard, or A Formula for Success)บุคคลที่ไม่เปลี่ยนฐานะภายนอก ตามฐานะทางการเงินที่เพิ่มขึ้น จะได้เปรียบกว่า

10.จุดบำนาญหรืออายุที่เกษียณ (Pension Point, or The Age of Retirement)จุดที่เป็นจุดแปรผันของคนทำงาน คือ 47 ปี


อ้างอิง[แก้]

กฎของพาร์กินสัน เก็บถาวร 2008-08-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน