ช้างบอร์เนียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ช้างบอร์เนียว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Proboscidea
วงศ์: Elephantidae
สกุล: Elephas
สปีชีส์: E.  maximus
สปีชีส์ย่อย: E.  m. borneensis
Trinomial name
Elephas maximus borneensis
Deraniyagala, 1950

ช้างบอร์เนียว หรือ ช้างแคระบอร์เนียว (อังกฤษ: Borneo elephant) เป็นชนิดย่อยของช้างเอเชียชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Elephas maximus borneensis พบได้เฉพาะบนเกาะบอร์เนียวเท่านั้น

ถูกเรียกว่าเป็น "ช้างแคระ" เพราะมีขนาดลำตัวที่เมื่อโตเต็มที่แล้วมีขนาดเล็กกว่าช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ อย่างมาก โดยมีความสูงประมาณ 8 ฟุต เท่านั้นเอง ตัวผู้มีงาสั้น ๆ หรือไม่มีเลย ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้[2] มีใบหูใหญ่ มีลำตัวอ้วนกลมกว่า และมีนิสัยไม่ดุร้าย มีลักษณะความแตกต่างทางพันธุกรรมจากช้างเอเชียชนิดอื่น ๆ พอสมควร

สุลต่านแห่งซูลูได้นำเอาช้างที่ถูกจับเข้ามาบนเกาะบอร์เนียวในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก่อนจะถูกปล่อยเข้าป่าไป[3] เดิมเชื่อว่าเคยมีอยู่ในภาคใต้ตอนล่างของไทยด้วย โดยมีบันทึกในโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคใต้ โรงเรียนสตรีพัทลุง ระบุว่า

ช้างแคระเหล่านี้มีถิ่นที่อยู่บริเวณที่ราบลุ่มทางตอนเหนือของทะเลสาบสงขลา ชาวบ้านในท้องถิ่นเรียกว่า ช้างค่อม, ช้างแคระ, ช้างแกลบ หรือ ช้างพรุ มีรูปร่างลักษณะอย่างช้างทั่ว ๆ ไปแต่มีขนาดเล็กกว่า ขนาดลำตัวสูงประมาณควาย ซึ่งในบันทึกการพบเห็นช้างค่อมนั้น มีการบันทึกไว้น้อยมาก และสูญหายไปเมื่อราว ๆ 60-70 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งในปี พ.ศ. 2506 นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล นักนิยมไพรคนสำคัญของไทย ทำการสำรวจในเรื่องช้างแคระนี้ ก็ไม่ปรากฏร่องรอยรอบ ๆ ทะเลสาบสงขลาอีกเลย

[4]

เป็นช้างที่เพิ่งได้รับการแบ่งแยกเป็นชนิดย่อยเมื่อไม่นานมานี้ และอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์แล้ว จากการวิจัยพบว่า ช้างแคระบอร์เนียวอาศัยหากินตามป่าในที่ราบลุ่มและบริเวณลุ่มแม่น้ำ ซึ่งใกล้กับพื้นที่ทำกินของผู้คนบนเกาะด้วย และพบว่ามีจำนวนประชากรประมาณ 1,500 ตัว[5] โดยจะอาศัยอยู่ในป่าแถบตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียวเท่านั้น ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ก็อยู่ในเขตรัฐซาบะฮ์ของมาเลเซีย

ทางกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) ได้มีโครงการอนุรักษ์และศึกษาเกี่ยวกับช้างชนิดนี้ เนื่องจากยังมีข้อมูลทางวิชาการอยู่น้อยมาก[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Choudhury, A., Lahiri Choudhury, D. K., Desai, A., Duckworth, J. W., Easa, P. S., Johnsingh, A.J.T., Fernando, P., Hedges, S., Gunawardena, M., Kurt, F., Karanth, U., Lister, A., Menon, V., Riddle, H., Rübel, A., Wikramanayake, E. (2008). "Elephas maximus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2010.4.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Shoshani, J., Eisenberg, J.F. (1982) Elephas maximus. Mammalian Species 182: 1–8
  3. Cranbrook, E., Payne, J., Leh, C.M.U. (2008) Origin of the elephants Elephas maximus L. of Borneo. Sarawak Museum Journal.
  4. ""ช้างแคระบอร์เนียว" ช้างน้อยน่ารักบนเกาะบอร์เนียว". ผู้จัดการออนไลน์. 16 March 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-16. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.
  5. Asian Elephants เก็บถาวร 2011-07-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Elephant Facts.
  6. [https://web.archive.org/web/20120127123544/http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=News&file=print&sid=2319 เก็บถาวร 2012-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ช้างแคระบอร์เนียวกำลังถูกคุกคาม จากนิตยสารสารคดี]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Elephas maximus borneensis ที่วิกิสปีชีส์