ช่องว่างระหว่างดาราจักร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ช่องว่างระหว่างดาราจักร (อังกฤษ: Intergalactic space) เป็นที่ว่างทางกายภาพที่อยู่ระหว่างดาราจักร โดยทั่วไปจะไม่มีฝุ่นใดๆ อยู่เลย มีสภาพเกือบจะเป็นสุญญากาศสมบูรณ์ บางทฤษฎีให้ค่าความหนาแน่นเฉลี่ยของเอกภพไว้ที่ประมาณ 1 ไฮโดรเจนอะตอมต่อลูกบาศก์เมตร[1][2] แต่ค่าความหนาแน่นของเอกภพมีค่าไม่เท่ากันเสมอไป มันอาจมีความหนาแน่นมากในดาราจักร (รวมทั้งโครงสร้างที่มีความหนาแน่นสูงมากภายในดาราจักร เช่น ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ และหลุมดำ) ทำให้พื้นที่ว่างอันกว้างใหญ่ที่เหลือมีความหนาแน่นต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเอกภพอย่างมาก และมีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 2.73 เคลวิน[3]

ในพื้นที่ระหว่างดาราจักร มีพลาสมาอย่างจางๆ อยู่[4][5] ซึ่งเชื่อว่ามันเป็นตัวโยงโครงสร้างเส้นใยของเอกภพเอาไว้[6] และมีค่าความหนาแน่นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเอกภพ สสารนี้เรียกว่าเป็น มวลสารระหว่างดาราจักร (intergalactic medium (IGM)) ส่วนใหญ่เป็นประจุไฮโดรเจน เช่น พลาสมาแห่งหนึ่งประกอบด้วยประจุอิเล็กตรอนและโปรตอนเป็นจำนวนเท่าๆ กัน คาดว่ามวลสารระหว่างดาราจักรมีค่าความหนาแน่นประมาณ 10-100 เท่าของค่าเฉลี่ยของเอกภพ (คือประมาณ 10-100 ไฮโดรเจนอะตอมต่อลูกบาศก์เมตร) มันอาจมีค่าสูงถึง 1000 เท่าของค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของเอกภพก็ได้ในเขตที่มีกระจุกดาราจักรอยู่เป็นจำนวนมาก

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Davidson, Keay & Smoot, George. Wrinkles in Time. New York: Avon, 2008: 158-163
  2. Silk, Joseph. Big Bang. New York: Freeman, 1977: 299.
  3. NASA COBE website
  4. The origin of intergalactic magnetic fields due to extragalactic jets
  5. "The Universe is 99.999% plasma". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-05. สืบค้นเมื่อ 2008-05-24.
  6. The Universe in Hot Gas