ชุมพร เทพพิทักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชุมพร เทพพิทักษ์
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดคมสันต์ เทพพิทักษ์
เกิด5 กรกฎาคม พ.ศ. 2482
จังหวัดชุมพร ประเทศสยาม
เสียชีวิต9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (78 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสมยุรี เทพพิทักษ์
บุตร4 คน
อาชีพ
  • นักแสดง
  • ผู้กำกับภาพยนตร์
ปีที่แสดงพ.ศ. 2507–2559
รางวัล
พระสุรัสวดีผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2520 - แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู
เมขลาผู้แสดงประกอบชายดีเด่น
พ.ศ. 2554 - เงาพราย

ชุมพร เทพพิทักษ์ (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 − 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) ชื่อเล่น เดียร์ เป็นนักแสดงและอดีตผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย

ประวัติ[แก้]

เกิดที่อำเภอสวี จังหวัดชุมพรเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดขันเงินและโรงเรียนศรียาภัย เดินทางเข้าสู่กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาต่อที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย โดยพักอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกับ พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรักษ์ (อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2544) ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้อง แต่ขณะที่เรียนเมื่ออายุได้ 17 ปี ต้องโทษจำคุกในคดีฆาตกรรมด้วยอาวุธปืน และรับสารภาพ จึงถูกลดโทษเหลือ 25 ปี จากนั้นได้รับการลดหย่อนโทษเรื่อยมา จนได้รับอิสรภาพในที่สุด ในระหว่างต้องโทษ อยู่ห้องขังเดียวกับ แคล้ว ธนิกุล

เข้าสู่วงการบันเทิงครั้งแรกด้วยการเป็นนักแสดงบทร้ายแทน ประจวบ ฤกษ์ยามดี นักแสดงบทตัวร้ายที่ไม่สบาย ด้วยความที่หน้าตาคล้ายกัน จากการชักชวนของ ปริญญา ทัศนียกุล และ ลือชัย นฤนาท ในเรื่อง คมแสนคม ในปี พ.ศ. 2507 ตามด้วยบทตัวร้ายมาโดยตลอด

ในปี พ.ศ. 2511 มีผลงานละครโทรทัศน์ทางช่อง 4 บางขุนพรหม, ช่อง 5 และช่อง 7 ในยุคแพร่ภาพระบบขาวดำ ด้วยการพลิกบทบาทมารับบทเป็นพระเอกบ้าง ซึ่งก็ได้รับการวิจารณ์ในตอนต้นว่า คนดูจะรับได้หรือไม่กับการที่ผู้ร้ายในแบบภาพยนตร์ใหญ่ มารับบทพระเอกในแบบละครโทรทัศน์ ซึ่งก็ได้รับบทพระเอกแนวลูกทุ่งหรือแอ็คชั่น และถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร

ต่อมาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ มีผลงานมากมาย อาทิ ถุยชีวิต (พ.ศ. 2521), นักสู้ภูธร ในปีเดียวกัน, ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก (พ.ศ. 2522) และที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู ในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งได้รับรางวัลตุ๊กตาทองสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม และได้รับรางวัลอื่น ๆ รวมทั้งหมด 5 รางวัล และยังคงมีผลงานออกมาเป็นระยะๆ เช่น บางระจัน (พ.ศ. 2543),'โหมโรง'(พ.ศ. 2547), ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ (พ.ศ. 2550), รักสยามเท่าฟ้า (พ.ศ. 2551), 2022 สึนามิ วันโลกสังหาร (พ.ศ. 2552) ผลงานละครโทรทัศน์ได้แก่ สุสานคนเป็น (พ.ศ. 2545) ธิดาวานร 2 (พ.ศ. 2552) และ เงาพราย (พ.ศ. 2554) ผลงานละครเรื่องสุดท้ายคือเรื่อง ขุนกระทิง และผลงานภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายคือเรื่อง ขุนพันธ์ (พ.ศ. 2559)

ชุมพรมีอาการป่วยด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา และได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ศรราม เทพพิทักษ์ ผู้เป็นลูกชายได้ทันดูใจจนวินาทีสุดท้าย มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ มยุรี เทพพิทักษ์ (นามสกุลเดิม-ศรีสินธุ์อุไร) (ถึงแก่กรรมแล้ว) มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 4 คน ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นเป็นนักร้องและนักแสดงที่มีชื่อเสียง คือ ศรราม เทพพิทักษ์

ผลงาน[แก้]

ผลงานกำกับการแสดง[แก้]

แสดงภาพยนตร์[แก้]

ละครโทรทัศน์[แก้]

ปี พ.ศ. เรื่อง สถานีโทรทัศน์ บทบาท หมายเหตุ
2511 แม่หญิง ช่อง 4 พราหมณ์ เทพราช (คุณแขก)
2513 สอยดาว สาวเดือน ช่อง 4 สมิง
2514 อุบัติเหตุ ช่อง 4 อารุม
พรหมพยศ ช่อง 4
2515 ผู้กองยอดรัก ช่อง 4 พัน น้ำสุพรรณ
แม่ปิง ช่อง 4
บ้านมายา ช่อง 4
2516 หลานสาวคุณหญิง ช่อง 4
กรงทอง ช่อง 4
2519 สายใจ ช่อง 9
2522 พ่อปลาไหล ช่อง 9 อุลิต
2524 แดงสะพรั่งดั่งดวงใจ ช่อง 5
2535 คุณหญิงนอกทำเนียบ ช่อง 7 ศรี
แก้วสารพัดนึก ช่อง 7
ภูตแม่น้ำโขง ช่อง 7
หลุมฝังรัก ช่อง 7
คลุมถุงชน ช่อง 7
2536 ลิขิตชีวิต ช่อง 7
พรหมพยศ ช่อง 9
2536–2537 ศีรษะมาร ช่อง 7 ลุงพร
2537 น้ำใสใจจริง ช่อง 7 พ่อของโจม
กระสือ ช่อง 7 หมออิ่ม
2538 ภูตพิศวาส ช่อง 7 ลุงอิน
ความรักของคุณฉุย ภาค 2 ช่อง 7
2539 ดั่งดวงหฤทัย ช่อง 7 เจ้าหลวง (แคว้นทานตะ)
2540 หุบเขากินคน ช่อง 7 วามพราหมณ์
สัมปทานหัวใจ ช่อง 7 อ่อง
บ้านบุษบาบัณ ช่อง 7
ทองเนื้อเก้า ช่อง 7
ภูตคนอลเวง ช่อง 7
2541 นางบาป ช่อง 7 ประกอบ
มุกมังกร ช่อง 7 พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์
มัจจุราชติ๊งต๊อง ช่อง 7
2542 พระจันทร์ลายกระต่าย ช่อง 5 ฉัตรชัย (พ่อฉัตรลดา)
แม่ย่านาง ช่อง 7
รักสองภพ ช่อง 7
ใต้แสงตะวัน ตะลุมพุก ช่อง 7
ระเบิดเถิดเทิง ตอน คุณพ่อ...ครับ ช่อง 5 รับเชิญ
2544 แม่โขง ช่อง 7
ทายาทอสูร ช่อง 7 ปุโรหิต (พ่อของขุนศรีอินทร์)/ปู่สุธรรม
นายฮ้อยทมิฬ ช่อง 7
ขุมทรัพย์แม่น้ำแคว ช่อง 7
2545 เส้นไหมสีเงิน ช่อง 3 ตาพจน์
สุสานคนเป็น ช่อง 7 หมอผัน
พระจันทร์แดง ช่อง 3
ไอ้ม้าเหล็ก ช่อง 3
จารชนยอดรัก ช่อง 7
สาวน้อยในตะเกียงแก้ว ช่อง 7
2546 พุทธานุภาพ ช่อง 3 นายมั่น รับเชิญ
จารชนยอดรัก ช่อง 7
สายน้ำ ลูกผู้ชาย ช่อง 3 ปู่เต่า
พยัคฆ์ร้าย โอมเพี้ยง ช่อง 3 การุณ (เสี่ยป้อม)
ผี! วิญญาณและความผูกพัน ตอน อวสานหมอผี ช่อง itv
มหาเฮง ช่อง 7 นายตุ๋ย
นะหน้าทอง ช่อง 7
ผี! วิญญาณและความผูกพัน ตอน พ่อมดหมอผี ช่อง itv
2547 ภูตพิศวาส ช่อง 7 ลุงอิน
หวานใจไทยแลนด์ ช่อง 3
รักแผลงฤทธิ์ ช่อง 3
2548 คลื่นรักสีคราม ช่อง 5 ผู้เฒ่าลมโชย
นายกระจอก ช่อง 3 ปู่ของไอ้หมีและก้อง
ดื้อนักรักเลย ช่อง 3 ปู่ไท
วีรบุรุษกองขยะ ช่อง 7
นางบาป ช่อง 3 หลวงตา
2549 น.ส.สัปเหร่อ ช่อง 3 รับเชิญ
ดวงใจปาฏิหาริย์ ช่อง 7 ครูผาด
2550 แหวนดอกไม้ ช่อง 3
2551 นิมิตมาร ช่อง 3
สุดแดนหัวใจ ช่อง 3 ผู้กำกับการแสดง รับเชิญ
เจาะเวลาหาโก๊ะ ช่อง 7
2552 พยัคฆ์ยี่เก ช่อง 7 หมอมนตรี
วีรชนคนกล้า ตอน จอมนางจามเทวี ช่อง 5 ฤาษี
เจ้าหญิงลำซิ่ง ช่อง 7 สุชาติ
2553 ธิดาวานร 2 ช่อง 7 สะมะแอ
สาปภูษา ช่อง 3 หมอผี
ตำรวจเหล็ก ช่อง 7 ลุงสิงห์/บอส
สู้ยิบตา ช่อง 7 น้าปาน
เป็นต่อ ช่อง 3
โก๊ะซ่า ท้ามิติ ช่อง 7 เฒ่าหอม
2554 เงาพราย ช่อง 3 ตาเลิศ ปัญจาวร
เสือสั่งฟ้า ช่อง 7
ป่านางเสือ ช่อง 7
2555 บ่วง ช่อง 3 ตาหล้า
2556 มายาตวัน ช่อง 3 หลวงพ่อจรูญ รับเชิญ
ฟ้ากระจ่างดาว ช่อง 3 หลวงพ่อจรูญ รับเชิญ
นางมาร ช่อง 8 ปู่
เด็กชายในเงา ThaiPBS
2557 เรือนริษยา ช่อง 3 พ่อเฒ่า รับเชิญ
2558 ข้าบดินทร์ ช่อง 3 พระครูโพ
ข้ามากับพระ ช่อง 7
หวานใจนายจิตระเบิด ช่อง 7
2559 ขุนกระทิง ช่อง 7 นายพล รับเชิญ
2560 ทหารกล้ากรุงศรีอยุธยา ช่อง 5

รางวัล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]