ซือจื่อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชิสุ)
ซือจื่อ

ซือจื่อ (จีนตัวย่อ: 狮子; จีนตัวเต็ม: 獅子; พินอิน: Shī Zǐ; เวด-ไจลส์: Shih-tzu; อังกฤษ: Shih Tzu; เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: //ˈʃi ˈdzu/ (ชีซู)/; นิยมเรียกกันว่า ชิสุ) หรือเรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า ชิสุห์ เป็นชื่อของสุนัขพันธุ์หนึ่ง แปลว่า สุนัขสิงโต เป็นสุนัขในสามสายพันธุ์ชั้นสูง พวกเดียวกับปักกิ่งและปั๊ก เป็นสุนัขที่หรูหราที่สุดจากจักรพรรดิจีน โดยกล่าวว่าพระทิเบตมอบสุนัขพันธุ์ชิสีให้จักรพรรดิจีนเป็นของกำนัล สุนัขพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักนอกอาณาจักรจีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903 เริ่มจากอังกฤษ ฝรั่งเศส ซือจื่อเป็นสุนัขตัวเล็กขนยาว เจ้าเสน่ห์มีหางไม่ยาวนักยกสูงขึ้นเหนือหลัง ขนที่หัวมักจะโดนรวบขึ้นแล้วผูกโบว์สีแดงดูสะดุดตามาก มีท่วงทำนองการเดินสูงศักดิ์แบบขุนนาง แต่ลักษณะการเห่าหอนของซือจื่อจะมีความเป็นเฉพาะตัวอย่างมาก เนื่องจากส่วนใหญ่มันจะเห่าคนแปลกหน้า หรือแขก หรือคนต่างถิ่นที่เข้ามาในบ้านเจ้าของบ้านที่เลี้ยงหมาซือจื่อไว้ในบ้าน เห่าทักทายด้วยเสียงใหญ่ดังน่ากลัวมากตลอดเวลาจนกว่าเจ้าของจะปรามถ้าเป็นแบบทีคัพก็จะยังดังอยู่มากด้วย

ซือจื่อมีอายุค่อนข้างยืนยาวคือประมาณ 10-18 ปี ตามแต่ปัจจัยต่างๆเช่น อาหาร และการเลี้ยงดู โรคที่มักเกิดขึ้นกับซือจื่อคือโรคตาแห้ง โรคหูน้ำหนวก หูอักเสบ โดยเจ้าของควรหมั่นทำความสะอาดตาและหูของมันอย่างสม่ำเสมอด้วยผลิตภัณฑ์ทำ ความสะอาดของมันโดยเฉพาะ โรคอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น โรคนิ่ว โรคไต และไส้เลื่อน

ปกติซือจื่อหรือชิสุห์จะมีนิสัยตามสัญชาตญาณ ดุ เห่าเก่ง หอนเก่งมากและเสียงดังมากจนหนวกหู ในบริเวรบ้านที่ใกล้เคียง และสร้างความรำคาญต่อผู้คนอย่างมาก ซือจื่อ คือหมาใครเข้าไปแหย่แล้วกัด ดูจะเป็นสุนัขอารมณ์ศิลปินซะด้วย หลายครั้งที่พบว่ามันจะไม่เชื่อฟังเราถ้ามันไม่อยากทำซะอย่าง แต่อย่างไรก็ตามมันก็ชอบวิ่งและรักความสนุกซึ่งเจ้าของจำเป็นจะต้องพามันออกไปวิ่งออกกำลังกายบ้าง


วิธีการเลี้ยงดูซือจื่อ[แก้]

หมาท้อง อาหารที่เลี้ยงหมาที่กำลังตั้งท้องนั้นจะต้องมีคุณภาพสูง โปรตีนมาก ไขมันน้อย ขนาดและปริมาณที่ให้ในระยะ 6 อาทิตย์แรกของการตั้งท้องพอ ๆ กับใช้เลี้ยงดูหมาใหญ่ หรือหมาโตเต็มวัย ในประจำวัน แต่เราจะเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้นตามน้ำหนักตัวหมาในระยะ 3 อาทิตย์สุดท้ายก่อนคลอดคือ เพิ่มอาหารให้ปริมาณ 15-20 % ของน้ำหนักตัวแม่หมา ก่อนคลอด 1 – 2 วัน แม่หมาบางตัวมักไม่ค่อยกินอาหารหรือไม่กินเลย เพราะมัวแต่หาสถานที่คลอดลูก โดยเฉพาะแม่หมาสาวท้องแรก ฉะนั้นอย่าตกใจจนเกินไป หลังคลอดแล้วก็จะกินอาหารเอง ข้อพึงระวัง อย่าขุนหมจนอ้วนเกินไปจนไม่มีแรงในการเบ่งคลอดลูก

หมาแม่ลูกอ่อน อาหารที่ใช้เลี้ยงหมาแม่ลูกอ่อนไม่ได้มีให้เฉพาะแม่หมาเท่านั้น มันต้องถ่ายทอดไปยังลูกหมาด้วย โดยการเปลี่ยนเป็นนม ฉะนั้นปริมาณอาหารที่แม่หมาจะกินต้องเพิ่มขึ้นโดยอาทิตย์แรกเพิ่มเท่าครึ่ง จากปกติ อาทิตย์ที่ 2 เป็น 2เท่า และอาทิตย์ที่ 3 เป็น 3 เท่า

สิ่งที่ต้องเสริมเพิ่มเติมแก่แม่หมาได้แก่ แร่ธาตุ คือ แคลเซียม และฟอสฟอรัส เพราะสิ่งเหล่านี้จะถูกแตกออกไปนมแม่สู่ลูก ๆ ของมันในขณะเดียวกัน แม่หมาจึงมีปริมาณแคลเซียมที่ลดลงด้วย จนถึงระดับที่เกิดขาดแร่ธาตุที่เราเรียกว่า ภาวะแคลเซียมต่ำ แม่หมาแสดงอาการชัก เกร็ง น้ำลายไหลยืด ตัวร้อนจัด ฝรั่งเรียกว่า Milk Fever หรือไข้น้ำนม เมื่อเจ้าของพาไปหาหมอ หมอจึงฉีดแคลเซียมให้ อาการจะทุเลาลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ทางที่ดีควรมีการป้องกันไว้โดยการเพิ่มเติมแคลเซียมลงไปในอาหารแม่ลูก อ่อนตามคำแนะนำของหมอ พร้อมกับให้จากแหล่งอาหารธรรมชาติ คือ นม ซึ่งจะเป็นการป้องกันปัญหาดังกล่าวได้ดี

การเลี้ยงดูสุนัขขณะที่เป็นลูกสุนัข ลูกหมาไทยที่จะนำมาเลี้ยงนั้นควรมีอายุ 2 เดือน หรือหย่านมแล้ว หรือถ้าโตกว่านี้ก็จะยิ่งเลี้ยงง่ายขึ้น เมื่อนำสุนัขเข้ามาอยู่ที่แห่งใหม่วันแรก ถ้าบ้านเลี้ยงสุนัขอยู่แล้วก็ควรให้สุนัขได้รู้จักกับสุนัขที่มีอยู่เดิมและ ให้สุนัขรู้จักสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างไปจากที่เดิม เพื่อให้คุ้นเคยกับที่อยู่ใหม่ เพราะนิสัยสุนัขจะอยากรู้อยากเห็นสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ มาก จึงควรปล่อยให้สุนัขเดินสำรวจสถานที่หรือสิ่งต่าง ๆ ตามลำพัง จะทำให้มันรู้สึกว่า สถานที่ใหม่เป็นสถานที่ที่อบอุ่นปลอดภัย ไม่น่ากลัวใด ๆ แต่สำหรับลุกสุนัขเล็ก ๆ บางตัวเมื่อเข้ามาอยู่ใหม่ จะมีปัญหาบ้าง เช่นมันจะหอนเพราะคิดถึงแม่และพี่น้องที่เคยเล่นกันมา เมื่อหิวก็หอน อาจทำให้รำคาญ เพราะหนวกหู วิธีการแก้ปัญหาลูกสุนัขหอน อาจนำสิ่งของที่ปูนอนในรังเก่าของลูกสุนัขมารองให้นอนในที่อยู่ใหม่ด้วย เพราะลูกสุนัขจะจำกลิ่นได้ และเข้าใจว่ายังอยู่ที่เดิม หรืออาจเลี้ยงสุนัข 2 ตัวอยู่ด้วยกัน เมื่อมีเพื่อนเล่นมันจะไม่เหงาและไม่ค่อยหอน โดยทั่วไปลูกสุนัขตอนเล็ก ๆ นิสัยเหมือนเด็ก จะชอบนอน ตื่นขึ้นมารู้สึก หิวก็ร้อง อิ่มก็นอน แล้วก็เล่น เมื่อโตขึ้นก็จะนอนน้อยลง ชอบตื่นขึ้นมากินและเล่นมากขึ้น จากนั้นก็จะคุ้นเคยกับความเป็นอยู่และสถานที่ใหม่ ลูกสุนัขเมื่ออายุได้ 4-5 เดือน ก็เริ่มถ่ายขนขนจะหยาบกว่าเดิม ฟันน้ำนมก็จะเปลี่ยนเป็นฟันแท้ มีเขี้ยวขึ้นทั้ง 4 เขี้ยว ทำให้คันปาก จึงชอบแทะสิ่งต่าง ๆ ในบ้าน ถ้าสุนัขกัดสิ่งของในบ้านควรทำโทษเพื่อให้เข็ดหลาบไม่ติดเป็นนิสัยควรหาของ เล่น เช่น ลูกบอลเล็ก ๆ กัดแทะแทน ลุกสุนัขอายุ 4-6 เดือนจะชอบเล่นแทะ และซุกวนมาก กินอาหารเก่งอยากรู้อยากเห็นพออายุ 7-8 เดือน ก็จะเริ่มเข้าสู่วันหนุ่มสาว ถ้าเป็นตัวเมียก็จะเริ่มเป็นสัด ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าให้ผสมพันธุ์กันในวัยนี้ อาจทำให้มันเสีย ถ้าจะให้ผสมพันธุ์ควรผลสมเมื่อมีอายุประมาณ 12-18 เดือนจะเหมาะสมมากกว่า

หมาโต ในวัยนี้เราสามารถให้อาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดได้แล้วซึ่งอาหารสำเร็จรูปที่นิยมมี 2 แบบ คือ อาหารแห้ง ส่วนใหญ่จะมีความชื้นต่ำมากคือ ไม่เกิน 10 % มักอัดอยู่ในรูปเม็ดทรงต่าง ๆ กัน ทำมาจากวัตถุดิบ คือ เนื้อวัว ม้า ไก่ หรือปลาป่น ฯลฯ บรรจุกล่องกระดาษ

อาหารเปียก มีความชื้นสูงประมาณ 65-70 % ทำมาจากเนื้อวัว เนื้อม้า และเนื้อปลา ยังคงมีรูปร่างเป็นก้อนเนื้อให้เห็น บรรจุกระป๋อง จะน่ากินกว่าแบบแห้ง

ทั้งสองแบบสามารถเทใส่ภาชนะให้สุนัขกินได้ทันที แต่หมาจะกินหรือไม่นั้นอีกเรื่องหนึ่งเพราะหมาบางตัวไม่ยอมรับอาหารเหล่านี้ จะเป็นเพราะกลิ่นหรือรสหรือความแข็งกระด้างก็เป็นได้ ดังนั้นจึงต้องมีการฝึกหัดให้กินก่อน โดยการหลอกล่อด้วยเล่ห์กล กล่าวคืออาจผสมอาหารสำเร็จรูปจำนวนเล็กน้อยลงในอาหารสำเร็จขึ้นไปทีละน้อย ทำบ่อย ๆ จนในที่สุดหมาตัวนั้น สามารถกินอาหารสำเร็จรูปล้วน ๆ ผู้เลี้ยงบางคนอาจว่าวิธีนี้ไม่ทันใจ ใช้วิธีเผด็จการ กินก็กิน ไม่กินก็อด จะอดได้ไม่นาน สุดท้ายก็ยอมกิน แต่ควรระวังจะเจอตัวที่ยอมอดเป็นอดตายเข้าจริง ๆ

หมาสูงอายุ หมาสูงอายุจะมีร่างกายที่เริ่มเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา ดังนั้นการให้อาหารจึงควรที่จะให้ตามความเหมาะสมของวัยของสุนัข ซึ่งควรมีลักษณะเป็นอาหารที่ย่อยง่าย เช่นเนื้อที่ไม่มีพังพืด อาหารที่มีไขมันน้อย อาหารที่มีโปรตีนสูง เพื่อที่จะได้ไปเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ ปริมาณที่ให้ก็ไม่ควรมากเกินไปเนื่องจาก หมาวัยนี้จะไม่กระฉับกระเฉง การวิ่งออกกำลังกายก็น้อยลงตามอายุ ฉะนั้นอาหารที่กินเข้าไปมาก ๆ นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้วยังก่อให้เกิดโทษ เช่น ท้องอืด แน่นเฟ้อ

อนึ่ง หมาที่แก่มาก ๆ อัตราการกินอาหารย่อมต่ำลงเป็นธรรมดา บางครั้งอาจกินวันละเพียงเล็กน้อย หรือกินบ้างไม่กินบ้างเจ้าของอาจให้อาหารเสริมเช่น อาหารสำเร็จรูป น้ำซุปและวิตามินต่าง ๆ เป็นการช่วยกระตุ้นความอยากอาหารและความแข็งแรงของร่างกายอีกทางหนึ่ง

ลักษณะทั่วไป[แก้]

เป็นสุนัขขนาดเล็ก ขนยาวจรดพื้น โครงสร้างมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวลำตัวมากกว่าความสูง กว้างและลึก เส้นกลางหลังตรงไม่โค้ง ศีรษะมีลักษณะกว้างกลม จมูกและปากสั้นยาวไม่เกิน 1 นิ้ว บริเวณหน้าไม่มีรอยย่น รอยต่อระหว่างปากและหน้าเป็นมุมหักที่ชัดเจน ตามีลักษณะกลมโต นัยน์ตาสีเข้ม ตาไม่ยื่นโปนออกมา หูมีขนาดใหญ่และยาวปรกลงทั้ง 2 ข้าง ฟันหน้าบนและล่างขบกันพอดี หรือฟันล่างขบอยู่ด้านนอก หางม้วนงอวางพาดอยู่บนแผ่นหลังและขนยาวปรกคลุม ซือจื่อ มีได้หลายสี ตั้งแต่ สีขาว ดำ เทา น้ำตาล และเทาแกมแดง 2 - 3 สี และมักมีมาร์คกิ้งเป็นสีขาว บริเวณใบหน้า ไหล่ สะโพก และปลายหาง